โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามประชาชน

ดัชนี สงครามประชาชน

งครามประชาชน หรือเรียก สงครามประชาชนยืดเยื้อ เป็นยุทธศาสตร์การทหาร-การเมืองที่ผู้นำปฏิวัติคอมมิวนิสต์และการเมืองชาวจีน เหมา เจ๋อตง (ค.ศ. 1893–1976) พัฒนาขึ้นครั้งแรก มโนทัศน์เบื้องต้นคือการรักษาการสนับสนุนของประชาชนและล่อข้าศึกให้อยู่ลึกเข้ามาในชนบท (เป็นการยืดเส้นทางกำลังบำรุง) ที่ซึ่งประชาชนจะทำให้ข้าศึกหมดกำลังโดยการสงครามเคลื่อนที่และกองโจรผสมกัน คอมมิวนิสต์ใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวต่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองและรัฐบาลคอมมิวนิสต์ใช้ในสงครามกลางเมืองจีน นักลัทธิเหมาใช้คำนี้เป็นยุทธศาสตร์การต่อสู้ปฏิวัติด้วยอาวุธระยะยาว หลังสงครามจีน–เวียดนาม..

11 ความสัมพันธ์: ฟีเดล กัสโตรการปฏิวัติคิวบาลัทธิเหมาสงครามกลางเมืองจีนสงครามจีน–เวียดนามสงครามโลกครั้งที่สองสงครามเวียดนามแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้เช เกบาราเหมา เจ๋อตงเติ้ง เสี่ยวผิง

ฟีเดล กัสโตร

ฟีเดล อาเลคันโดร กัสโตร รุซ (Fidel Alejandro Castro Ruz (audio); 13 สิงหาคม ค.ศ. 1926 — 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016) เป็นนักปฏิวัติและนักการเมืองคิวบา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคิวบาตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามประชาชนและฟีเดล กัสโตร · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติคิวบา

การปฏิวัติคิวบา (Revolución cubana) เป็นการปฏิวัติด้วยอาวุธโดยขบวนการ 26 กรกฎาคมของฟีเดล กัสโตรต่อรัฐบาลผู้เผด็จการคิวบา ฟุลเคนเซียว บาติสตา ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามประชาชนและการปฏิวัติคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเหมา

ลัทธิเหมา คือ ทฤษฎีทางการเมืองที่พัฒนามาจากคำสอน และนโยบายของ เหมา เจ๋อตง (1893–1976) ผู้นำทางการเมืองและการปฏิวัติของประเทศจีน โดยในระยะแรกเริ่มถูกเรียกว่า "ทฤษฎีความคิดของเหมา เจ๋อตง" ลัทธิเหมาถูกพัฒนาขึ้นมาระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 จนกระทั่งได้รับการปฏิรูปจากเติ้ง เสี่ยวผิง ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างลัทธิเหมากับลัทธิมากซ์รูปแบบอื่นคือ เหมากล่าวว่าชาวนาควรเป็นปราการป้องกันพลังการปฏิวัติ นำโดยชนชั้นใช้แรงงานในประเทศจีน หมวดหมู่:เหมา เจ๋อตง หมวดหมู่:อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน หมวดหมู่:สำนักคิดลัทธิมากซ์ หมวดหมู่:วัฒนธรรมจีน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์การเมืองจีน หมวดหมู่:ปรัชญาจีน หมวดหมู่:ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิแก้ หมวดหมู่:การเมืองซ้ายจัด.

ใหม่!!: สงครามประชาชนและลัทธิเหมา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองจีน

งครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1927-1950) เป็นสงครามกลางเมือง สู้รบกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคปกครองสาธารณรัฐจีน ฝ่ายหนึ่ง กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกฝ่ายหนึ่งGay, Kathlyn.

ใหม่!!: สงครามประชาชนและสงครามกลางเมืองจีน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–เวียดนาม

งครามจีน–เวียดนาม (Chiến tranh biên giới Việt-Trung) หรือรู้จักกันในชื่อ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม เป็นสงครามชายแดนสั้น ๆ สู้รบกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในต้นปี 2522 ประเทศจีนเปิดฉากการรุกเพื่อตอบโต้การบุกครองและยึดครองกัมพูชาของเวียดนามในต้นปี 2521 (ซึ่งยุติการปกครองของเขมรแดงที่จีนหนุนหลัง) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เฮนรี คิสซินเจอร์ เขียนว่า ผู้นำจีน เติ้ง เสี่ยวผิง มองเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นความพยายามของโซเวียตที่จะ "เหยียดหนวดชั่วร้ายของมันมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล...

ใหม่!!: สงครามประชาชนและสงครามจีน–เวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สงครามประชาชนและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: สงครามประชาชนและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หรือ เวียดกง หรือ เหวียดกง (Mặt trận Dân tộc Giải phóng miền Nam Việt Nam หรือ Việt Cộng) ก่อตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนและต่อต้านรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และกองทัพประชาชนเวียดนาม แนวร่วมนี้ก่อตั้งตามแนวชายแดนกัมพูชา ประธานคือ เหงียน หืว เถาะ พรรคนี้ได้เข้าร่วมในรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: สงครามประชาชนและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เช เกบารา

อร์เนสโต เกบารา (Ernesto Guevara)ในระบบเสียงภาษาสเปนทั้งในยุโรปและลาตินอเมริกาโดยทั่วไปไม่ปรากฏหน่วยเสียง (ตรงกับเสียงของตัวอักษร v ในภาษาอังกฤษ) เพราะตัวอักษร b และ v แทนหน่วยเสียงเดียวกันคือ ซึ่งในการออกเสียงจริงอาจแปรเป็นเสียงกัก ริมฝีปาก ก้อง หรือเสียงเปิด ริมฝีปาก ก้อง ก็ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งภายในคำและในประโยค รวมทั้งความระมัดระวังในการเปล่งเสียงของผู้พูด อนึ่ง เสียง นี้เป็นเสียงที่ฟังดูคล้ายกับเสียง หรือ สำหรับหูคนไทยหลายคน แต่ความจริงไม่ใช่ทั้งคู่ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เช (Che,; 14 มิถุนายนThe date of birth recorded on his birth certificate was June 14, 1928, although one tertiary source, (Julia Constenla, quoted by Jon Lee Anderson), asserts that he was actually born on May 14 of that year. Constenla alleges that she was told by Che's mother, Celia de la Serna, that she was already pregnant when she and Ernesto Guevara Lynch were married and that the date on the birth certificate of their son was forged to make it appear that he was born a month later than the actual date to avoid scandal. (Anderson 1997, pp. 3, 769.) ค.ศ. 1928 – 9 ตุลาคม ค.ศ. 1967) เป็นนักปฏิวัติลัทธิมากซ์ นายแพทย์ นักเขียน ผู้นำนักรบกองโจร นักการทูต และนักทฤษฎีการทหารชาวอาร์เจนตินา ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งจากการปฏิวัติคิวบา ภาพใบหน้าของเขากลายเป็นสัญลักษณ์ที่พบทั่วไปของวัฒนธรรมต่อต้านและการกบฏ และเป็นตราต้นแบบที่รู้จักกันเป็นสากลภายในวัฒนธรรมสมัยนิยม ครั้งยังเป็นนักศึกษาแพทย์หนุ่ม เกบาราเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาใต้และรู้สึกสะเทือนใจกับความยากจนข้นแค้น ความหิวโหย และโรคภัยที่เขาพบระหว่างทาง Speech by Che Guevara to the Cuban Militia on August 19, 1960.

ใหม่!!: สงครามประชาชนและเช เกบารา · ดูเพิ่มเติม »

เหมา เจ๋อตง

หมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อตุง (26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 — 9 กันยายน พ.ศ. 2519) หรือที่นิยมเรียกอีกอย่างว่า ท่านประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และทำให้จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: สงครามประชาชนและเหมา เจ๋อตง · ดูเพิ่มเติม »

เติ้ง เสี่ยวผิง

ติ้ง เสี่ยวผิง (22 สิงหาคม พ.ศ. 2447 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ถึง..

ใหม่!!: สงครามประชาชนและเติ้ง เสี่ยวผิง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »