โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิเหมา

ดัชนี ลัทธิเหมา

ลัทธิเหมา คือ ทฤษฎีทางการเมืองที่พัฒนามาจากคำสอน และนโยบายของ เหมา เจ๋อตง (1893–1976) ผู้นำทางการเมืองและการปฏิวัติของประเทศจีน โดยในระยะแรกเริ่มถูกเรียกว่า "ทฤษฎีความคิดของเหมา เจ๋อตง" ลัทธิเหมาถูกพัฒนาขึ้นมาระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1970 จนกระทั่งได้รับการปฏิรูปจากเติ้ง เสี่ยวผิง ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างลัทธิเหมากับลัทธิมากซ์รูปแบบอื่นคือ เหมากล่าวว่าชาวนาควรเป็นปราการป้องกันพลังการปฏิวัติ นำโดยชนชั้นใช้แรงงานในประเทศจีน หมวดหมู่:เหมา เจ๋อตง หมวดหมู่:อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน หมวดหมู่:สำนักคิดลัทธิมากซ์ หมวดหมู่:วัฒนธรรมจีน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์การเมืองจีน หมวดหมู่:ปรัชญาจีน หมวดหมู่:ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ หมวดหมู่:การต่อต้านลัทธิแก้ หมวดหมู่:การเมืองซ้ายจัด.

3 ความสัมพันธ์: ลัทธิมากซ์เหมา เจ๋อตงเติ้ง เสี่ยวผิง

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: ลัทธิเหมาและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เหมา เจ๋อตง

หมา เจ๋อตง หรือ เหมา เจ๋อตุง (26 ธันวาคม พ.ศ. 2436 — 9 กันยายน พ.ศ. 2519) หรือที่นิยมเรียกอีกอย่างว่า ท่านประธานเหมา เป็นผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และทำให้จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ลัทธิเหมาและเหมา เจ๋อตง · ดูเพิ่มเติม »

เติ้ง เสี่ยวผิง

ติ้ง เสี่ยวผิง (22 สิงหาคม พ.ศ. 2447 - 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ถึง..

ใหม่!!: ลัทธิเหมาและเติ้ง เสี่ยวผิง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Maoism

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »