โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามกลางเมืองอเมริกา

ดัชนี สงครามกลางเมืองอเมริกา

งครามกลางเมืองอเมริกา (American Civil War) เป็นสงครามกลางเมืองซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐระหว่างปี 1861 ถึง 1865 สืบเนื่องจากข้อโต้แย้งยืดเยื้อเกี่ยวกับทาส ระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นกลุ่มชาตินิยมสหภาพซึ่งประกาศความภักดีต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐ กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสมาพันธรัฐซึ่งสนับสนุนสิทธของรัฐในการขยายทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในบรรดา 34 รัฐของสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ 1861 เจ็ดรัฐทาสในภาคใต้ประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐเพื่อตั้งเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา หรือ "ฝ่ายใต้" สมาพันธรัฐเติบโตจนมี 11 รัฐทาส รัฐบาลสหรัฐไม่เคยรับรองทางการทูตซึ่งสมาพันธรัฐ เช่นเดียวกับประเทศอื่นทุกประเทศ (แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะให้สถานภาพคู่สงคราม) รัฐที่ยังภักดีต่อสหรัฐ (รวมทั้งรัฐชายแดนซึ่งทาสชอบด้วยกฎหมาย) เรียก "สหภาพ" หรือ "ฝ่ายเหนือ" สงครามเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน..

67 ความสัมพันธ์: บริเตนใหญ่ชาวแองโกล-แซกซันพ.ศ. 2404พรรคริพับลิกัน (สหรัฐ)กฎหมายรัฐธรรมนูญกฎหมายทาสที่หลบหนีกระท่อมน้อยของลุงทอมการสงครามกองโจรการซื้อลุยเซียนามหาสมุทรแอตแลนติกมิสซิสซิปปียุทธการที่แอตแลนตายุทธการที่แอนตีแทมยุทธการที่โอลด์เชิร์ชยุทธการที่เกตตีสเบิร์กยูลิสซีส เอส. แกรนต์รัฐฟลอริดารัฐมิสซูรีรัฐลุยเซียนารัฐจอร์เจียรัฐธรรมนูญสหรัฐรัฐนิวเม็กซิโกรัฐแอละแบมารัฐเวสต์เวอร์จิเนียรัฐเวอร์จิเนียรัฐเทนเนสซีรัฐเท็กซัสรัฐเซาท์แคโรไลนาราชนาวีวินฟีลด์ สก็อตต์ แฮนค็อคศาลสูงสุดสหรัฐสมาพันธรัฐอเมริกาสหรัฐสงครามกลางเมืองสงครามโบะชิงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงครามเบ็ดเสร็จสงครามเม็กซิโก–อเมริกาอับราฮัม ลินคอล์นอำนาจอธิปไตยของปวงชนอนุรักษนิยมจอร์จ วอชิงตันจอห์น บราวน์จอห์น วิลค์ส บูธจอห์น เบาว์ริงทาสทางรถไฟประวัติศาสตร์สหรัฐประธานาธิบดีสหรัฐประเทศจอร์เจีย...นโปเลียนแม่น้ำมิสซิสซิปปีแม่น้ำคัมเบอร์แลนด์แม่น้ำโพโทแมกแม่น้ำเจมส์แอนดรูว์ จอห์นสันแฮเรียต บีเชอร์ สโตว์โรเบิร์ต อี. ลีโทรเลขโปรเตสแตนต์เรือกำปั่นเรือรบแนวเส้นประจัญบานเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่เจฟเฟอร์สัน เดวิสเจมส์ บูแคนันเดวิด เฟรากัต10 กุมภาพันธ์ ขยายดัชนี (17 มากกว่า) »

บริเตนใหญ่

ริเตนใหญ่ (Great Britain) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริติช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป มีเกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันตก เกาะบริเตนใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กนับร้อยเกาะ บริเตนใหญ่เนื้อที่ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ บริเตนใหญ่เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากเกาะชวาและเกาะฮนชู คำว่าบริเตนใหญ่บางครั้งใช้ในความหมายของสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของอังกฤษและสกอตแลนด์ในช่วงพ.ศ. 2250–2344 ก่อนที่นอร์เทิร์นไอร์แลนด์จะเข้าร่วม เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และนอร์เทิร์นไอร์แลน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2404

ทธศักราช 2404 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1861.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและพ.ศ. 2404 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคริพับลิกัน (สหรัฐ)

รรคริพับลิกัน (Republican Party หรือ Grand Old Party, อักษรย่อ: GOP) เป็นพรรคการเมืองอนุรักษนิยม ซึ่งเป็นหนึ่งในสองพรรคของสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (อีกพรรคหนึ่งคือ พรรคเดโมแครต) ประธานาธิบดีจากพรรคนี้คนล่าสุดคือ ดอนัลด์ ทรัมป์ ถ้านับตั้งแต่ ค.ศ. 1856 พรรคริพับลิกันส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีทั้งหมด 39 ครั้ง ชนะ 24 ครั้ง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและพรรคริพับลิกัน (สหรัฐ) · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายกลุ่มหนึ่งที่ว่าด้วยการจัดองค์กรของรัฐและการใช้อำนาจรัฐ ส่วน รัฐธรรมนูญ ที่หมายถึง กฎหมายสูงสุดของรัฐเป็นรายฉบับ ๆ ไป เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" และไม่เรียก "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" (เรียก "รัฐธรรมนูญ" เฉย ๆ) หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและกฎหมายรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

กฎหมายทาสที่หลบหนี

ผู้หวังดีติดป้ายประกาศให้คนผิวสีที่กำลังหลบหนีระวังเจ้าหน้าที่จับกุม กฎหมายไล่ล่าทาสที่หลบหนี (Fugitive Slave Law) ของประเทศสหรัฐฯ ผ่านรัฐสภาออกประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2393 โดยมีผู้ออกเสียงคัดค้านเพียง 4 เสียง กฎหมายฉบับนี้กำหนดบทลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลที่ไม่จับกุมและกล่าวโทษทาสที่หลบหนีจะต้องถูกปรับไม่เกิน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้ที่เป็นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นทาสหลบหนีจะถูกจับโดยไม่มีการประกันและจะถูกนำตัวส่งให้ผู้เป็นเจ้าของทาสซึ่งสามารถอ้างความเป็นเจ้าของได้เพียงด้วยการสาบานว่าเป็นเจ้าของทาสจริง คนผิวสีผู้ต้องสงสัยว่าเป็นทาสหลบหนีไม่มีสิทธิ์ที่จะขอให้ศาลพิจารณาการสอบสวน ผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ทาสที่หลบหนีโดยการให้ที่พักพิง ให้อาหารหรือการช่วยเหลือในแบบอื่นใด มีโทษจำคุก 6 เดือนและปรับ 1,000 ดอลลาร์ เจ้าหน้าที่ที่จับทาสหลบหนีได้จะได้รับเงินรางวัล ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการลักพาตัวทาสที่ถูกปล่อยเสรีเพื่อนำไปขายแก่ผู้ต้องการใช้ทาส กฎหมายฉบับนี้แม้ถูกต่อต้านโดยบุคคลเพียงจำนวนน้อยในตอนแรก แต่ก็ได้นำไปสู่ขบวนการ “ทางรถไฟใต้ดิน” (Underground Railroad) ที่มีผู้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทาสที่ได้รับอิสรภาพแล้วที่เดินทางมุ่งไปสู่ภาคเหนือของประเทศสหรัฐฯ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและกฎหมายทาสที่หลบหนี · ดูเพิ่มเติม »

กระท่อมน้อยของลุงทอม

กระท่อมน้อยของลุงทอม (Uncle Tom's Cabin) เป็นบทประพันธ์ประเภทนวนิยายของแฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (Harriet Beecher Stowe) เกี่ยวกับปัญหาด้านทาสในสหรัฐอเมริกา วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1852 นวนิยายเรื่องนี้มีอิทธิพลกับทัศนคติที่มีต่อชาวแอฟริกัน-อเมริกัน และพวกทาสในสหรัฐอเมริกาอย่างมาก จนกระทั่งนำไปสู่สงครามกลางเมืองอเมริกาในที่สุด สโตว์เป็นชาวคอนเนตทิกัต เป็นครูที่วิทยาลัยสตรีฮาร์ตฟอร์ด และเป็นแกนนำสนับสนุนการเลิกทาสที่กระตือรือร้นอย่างยิ่ง เธอใช้ตัวละคร "ลุงทอม" เป็นแกนหลักในนวนิยาย เขาเป็นทาสผิวดำผู้ต้องทนทุกข์ทรมานมาเป็นเวลานาน เนื้อเรื่องยังเกี่ยวข้องกับทาสคนอื่น ๆ และเจ้านายผู้เป็นเจ้าของทาสเหล่านั้น นวนิยายพรรณนาอย่างลึกซึ้งถึงความเป็นจริงอันโหดร้ายของการเป็นทาส ในขณะเดียวกันก็สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับความรักและความศรัทธาของชาวคริสต์ซึ่งสามารถเอาชนะได้แม้สิ่งที่พังพินาศลงอย่างสิ้นเชิง คือความเป็นมนุษย์ที่ต้องสูญสิ้นไปเนื่องจากตกเป็นทาสThe Complete Idiot's Guide to American Literature โดย ลอรี อี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและกระท่อมน้อยของลุงทอม · ดูเพิ่มเติม »

การสงครามกองโจร

การสงครามกองโจร (guerrilla warfare) เป็นการสงครามนอกแบบรูปแบบหนึ่ง ซึ่งพลรบกลุ่มเล็ก เช่น พลเรือนติดอาวุธและหน่วยทหารหน่วยเล็กๆที่ไว้วางใจได้ ใช้ยุทธวิธีทางทหาร เช่น การซุ่มโจมตี (ambush) การก่อวินาศกรรม (sabotage) การตีโฉบฉวย (raid) การจู่โจมแบบไม่ให้ตั้งตัว (surprise attack) และการเคลื่อนที่พิเศษเพื่อพิชิตกองทัพตามแบบที่ใหญ่กว่าและเคลื่อนที่ได้น้อยกว่า หรือโจมตีเป้าหมายที่อ่อนแอกว่า และถอนตัวในทันทีโดยที่ศัตรูไม่ทันได้ตั้งตัวและจะทำให้โดนกองทัพใหญ่ที่ตามมาข้างหลังถล่มได้ หมวดหมู่:การสงครามแบ่งตามประเภท.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและการสงครามกองโจร · ดูเพิ่มเติม »

การซื้อลุยเซียนา

การซื้อลุยเซียนา (Louisiana Purchase) หรือ การขายลุยเซียนา (Vente de la Louisiane) คือการที่สหรัฐได้ดินแดนลุยเซียนา (พื้นที่ 828,000 ตารางไมล์ หรือ 2.14 ล้านตารางกิโลเมตร) มาเป็นส่วนหนึ่งของตนด้วยการซื้อจากฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและการซื้อลุยเซียนา · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มิสซิสซิปปี

มิสซิสซิปปี (Mississippi) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและมิสซิสซิปปี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แอตแลนตา

ทธการแอตแลนตา คือหนึ่งในการรบในยุทธนาการแอตแลนตา ซึ่งรบกันในระหว่างสงครามกลางเมืองของชาวอเมริกัน ในวันที่ 22 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและยุทธการที่แอตแลนตา · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แอนตีแทม

ทธการแอนตีแทม (Battle of Antietam) รู้จักกันในอีกชื่อว่า ยุทธการที่ชาร์ปสเบิร์ก (โดยเฉพาะในทางใต้ของสหรัฐ) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอเมริกา และเป็นการเผชิญหน้ากันในระดับกองทัพสนามครั้งแรกในเขตสงครามตะวันออกของสงครามกลางเมืองอเมริกา ที่อุบัติขึ้นในดินแดนฝั่งสหภาพ การต่อสู้กินเวลาตลอดทั้งวันของวันที่ 17 กันยายน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและยุทธการที่แอนตีแทม · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่โอลด์เชิร์ช

ทธการโอลด์เชิร์ช (Battle of Old Church) หรือยุทธการมาตาเดควินครีก (Battle of Matadequin Creek) คือการรบในยุทธนาการโอเวอร์แลนด์ของนายพลฝ่ายสหรัฐพลเอกยูลิซิส แกรนท์ ที่รบกับกองทัพแห่งเวอร์จิเนียตอนเหนือของนายพลฝ่ายสหพันธ์ พลเอกโรเบิร์ต ลี ในขณะนั้นกองทัพฝ่ายสหรัฐกำลังรุกคืบเข้าไปในแนวรบโตโตโปโตมอยครีก, ในขณะเดียวกันกองทหารม้าของนายพลฝ่ายสหรัฐ พลตรีฟิลลิป เชอริแดนเริ่มที่จะสำรวจไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้ ต่อมากองพันทหารม้าเพนซิลวาเนียหน่วยที่ 17, ภายใต้การควบคุมของนายพลฝ่ายสหพันธรัฐ พันเอกโทมัส ซี. เดวิน เคลื่อนกำลังจากตัวเมืองโอลด์ เชิร์ชเพื่อสำรวจตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ตามแนวรบบึงมาตาเดควิน ซึ่งให้ความสามารถในการป้องกันการโจมตีได้ดีกว่า เนื่องจากเขาเห็นความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของถนนที่ตัดผ่านเมืองโอลด์ โคลด์ ฮาร์เบอร์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองริชมอนด์เพียงหกไมล์ (9.6 กิโลเมตร), ในขณะเดียวกัน นายพลฝ่ายสหพันธ์ พลเอกลีส่งสาส์นไปยังกองพลน้อยซึ่งประกอบไปด้วยทหารจำนวน 2,000 นายของพลจัตวาแมทธิว ซี. บัทเลอร์ที่อยู่ทางเหนือของเมืองโคลด์ ฮาร์เบอร์โดยในสาส์นได้แจ้งกำหนดการโจมตีถนนตัดตัวเมือง และในวันที่ 30 พฤษภาคม, กองพลน้อยของบัทเลอร์ก็เคลื่อนทัพมาจนถึงถนนตัดผ่านเมือง และทำการดันกองพันทหารม้าเพนซิลวาเนียให้ถอยหนี แม้ว่าจะมีกองพันทหารม้าฝ่ายสหรัฐอีกสองกองพันถูกส่งเข้ามาเพื่อยึดจุดถนนตัดผ่านเมืองคืน, จนกระทั่งกองพลน้อยขนาดใหญ่ของฝ่ายสหพันธ์มาถึงตำแหน่งการรบ, ฝ่ายสหพันธ์จึงสามารถตีทหารฝ่ายสหรัฐให้ถอยทัพได้ ซึ่งหลังจากนั้นนายพลเดวินของฝ่ายสหพันธ์จึงสั่งให้กองพลน้อยของเขาทั้งหมด รวมทั้งกองพลสำรองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลจัตวาเวสลีย์ เมอร์ริตต์และอีกสองกองพลเพิ่มเติมที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลจัตวาจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ด้วย ซึ่งทำให้ผู้บังคับบัญชากองพลใหญ่ พลจัตวาอัลเฟร็ด ทอร์เบิร์ต ของฝ่ายสหรัฐสั่งให้ทั้งกองพลของเขาทำเช่นเดียวกันกับฝ่ายตรงข้าม ทำให้การรบครั้งนี้ปราศจากกลยุทธ์ใดๆ นอกจากการประจัญหน้าเข้าหากัน, แต่ฝ่ายสหรัฐมีความได้เปรียบจากการที่มีปืนยาวแบบบรรจุได้หลายนัดอยู่ ในขณะที่ฝ่ายสหพันธ์ไม่มี อีกทั้งยังมีจำนวนมากกว่า จึงทำให้กองพันทหารม้าของฝ่ายสหพันธ์แตกพ่ายและถอยทัพไปยังเมืองโคลด์ ฮาร์เบอร์ โดยที่ยังมีทหารฝ่ายสหรัฐไล่ตามมาถึงเมือง โดยค้างแรมอยู่ห่างจากเมืองอยู่ 1.5 ไมล์ (2.4 กิโลเมตร) การรบครั้งนี้ทำให้นายพลเชอริแดนสามารถยึดถนนสายสำคัญได้ในวันถัดมา, และทำให้เกิดการรบนองเลือดขึ้น ซึ่งก็คือยุทธการโคลด์ฮาร์เบอร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและยุทธการที่โอลด์เชิร์ช · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก

ทธการเกตตีสเบิร์ก (Battle of Gettysburg; 1 – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1863) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยเป็นการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสหรัฐอเมริกา นำโดยนายพลจอร์จ กอร์ดอน มีด กับฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา นำโดยนายพลโรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี โดยสมรภูมิแห่งนี้ได้เกิดขึ้นในเมืองเกตตีสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย การปะทะกันกินเวลาทั้งสิ้น 3 วัน ยุทธการดังกล่าวนับว่าเป็นสมรภูมิที่นองเลือดมากแห่งหนึ่งในสงครามกลางเมืองอเมริกา โดยมียอดผู้เสียชีวิตเกือบ 10,000 คน และบาดเจ็บอีกเกือบ 30,000 คน สงครามครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนในสงครามกลางเมืองอเมริกัน เนื่องจาก กองทัพแห่งโปโตแมค ภายใต้การนำของ พลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด สามารถเอาชนะ กองทัพแห่งเวอร์จิเนียเหนือ ภายใต้การนำของ พลเอก โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ซึ่งยุทธการนี้ เป็นการหยุดความพยายามของ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี ในการโจมตีฝ่ายเหนือ หลังจากที่นายพล โรเบิร์ต อี. ลี ประสบชัยชนะที่ ยุทธการชาร์ลอตส์วิลล์, เวอร์จิเนีย ในช่วง เดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1863 นายพลลี ได้นำทัพผ่าน ช่องเขาเชอนานโดห์ เพื่อเริ่มการโจมตีฝ่ายเหนือเป็นครั้งที่สอง และเมื่อกองทัพของเขามีกำลังใจในการรบสูง ลีตั้งใจที่จะขยับการปะทะขึ้นไปทางเหนือของ เวอร์จิเนีย และหวังว่า นักการเมืองของฝ่ายเหนือ จะยอมเซ็นสนธิสัญญายอมแพ้ เมื่อเขาเข้าโจมตีเมือง แฮริสเบิร์ก, รัฐเพนซิลเวเนีย หรือแม้แต่เมืองที่ใหญ่ที่สุดของ รัฐเพนซิลเวเนีย, เมือง ฟิลาเดลเฟีย เพื่อเป็นการตอบโต้นายพลลี พลตรี โจเซฟ ฮุกเกอร์ จึงได้รับกการทาบทามจาก ประธานาธิบบดี อับราฮัม ลินคอล์น ให้ไล่ล่าลี แต่ฮุกเกอร์ ได้ถูกปลดจากตำแหน่งก่อนยุทธการเกติสเบิร์กราว 3 วัน และ ถูกทดแทนโดย พลตรี จอร์จ กอร์ดอน มีด บางส่วนของทั้งสองกองทัพ ปะทะกันในวันที่ 1 กรกฎาคม บริเวณแนวสันเขาด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง ซึ่ง พลจัตวา จอหน์ บูฟอรด์ ผู้นำกองทหารม้าของฝ่ายเหนือ ได้ตั้งแนวป้องกันไว้ ค.ศ. 1863 นายพลลีจึงสั่งให้ทหารราบ สองกองพัน นำโดย พลจัตวา เจมส์ เจ. อาร์ชเชอร์ และ พลจัตวา โจเซฟ อาร์. เดวิสเข้าโจมตีจุดนั้นโดยทันที เพื่อเข้ายึดแนวสันเขา ก่อนที่กำลังเสริมของฝ่ายเหนือ ซึ่งเป็นทหารราบ สองกองพล จะมาถึง หลังจากนั้นไม่นาน ทหารราบฝ่ายใต้อีกสองกองพัน นำโดย พลตรี แฮรรี่ เฮทฮ์ ได้เข้าโจมตีทหารม้าฝ่ายเหนือ ซึ่งได้ลงจากหลังม้าแล้ว ทำให้ทหารฝ่ายเหนือล่าถอยเข้าไปในเมือง ในวันที่สองของยุทธการเกตติสเบิร์ก ส่วนใหญ่ของทั้งสองกองทัพ ได้รวมกลุ่มใหม่แล้ว ฝ่ายเหนือได้ตั้งแนวป้องกัน เป็นรูปเบ็ดตกปลา ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 กรกฎาคม นายพลลี ได้ส่งทหารจำนวนมากเข้าโจมตีปีกซ้ายของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาลิตเตลราวน์ทอป, ทุ่งวิตฟิลล์, เดวิลส เดน และ ไร่พิชออร์ชารด์ และที่ปีกขวาของทหารฝ่ายเหนือ ที่ เขาคัลปส์ฮิลล์ และที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ ถึงแม้จะถูกโจมตีอย่างหนัก ฝ่ายเหนือสามารถคงแนวป้องกันไว้ได้ ในวันที่สามของยุทธการเกตติสเบิร์ก การปะทะยังดำเนินต่อไปที่เขาคัลปส์ฮิลล์ และการปะทะกับทหารม้าของฝ่ายเหนือ ท้งทางปีกซ้างและขวา แต่การปะทะครั้งใหญ่ที่สุดคือที่ เขาเซมิแทรีฮิลล์ รู้ในนามของ พิกก์เกตส์ ชารจ์ นำโดย จอรจ์ เอ็ดเวิรด์ พิกก์เกต์ ฝ่ายใต้ถูกต้านโดยการระดมยิงปืนใหญ่ของฝ่ายเหนือ และปืนไรเฟิล ซึ่งมีระยะหวังผลมากกว่าปืนมัสเกตหลายเท่า ในที่สุด ฝ่ายใต้ได้ถอยทัพออกจากเมือง ด้วยความสูญเสียมหาสาร นายพลลี ได้นำทหารราว 50,000 นาย ถอยทัพกลับสู่ เวอร์จิเนีย ผ่านสภาพอากาศที่เลวร้าย ในการปะทะสามวัน มีความสูญเสียทั้งสองฝ่าย รวมแล้ว ราว 46,000 นาย ถึง 51,000 นาย ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1863 ประธานาธิบบดี อับราฮัม ลินคอล์น ได้กล่าวสุนทรพจน์ ยกย่องทหารที่เสียชีวิตในยุทธการนี้ ในสุทรพจน์อันโด่งดังของเขา สุนทรพจน์เกตติสเบิรก์แอดเดร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ยูลิสซีส เอส. แกรนต์

ูลิสซีส ซิมป์สัน แกรนต์ (Ulysses Simpson Grant) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 18 ของสหรัฐอเมริกา เขาเกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1822 เดิมแกรนต์มีชื่อว่า ไฮรัม ยูลิสซีส แกรนต์ แกรนต์มียศเป็นจอมพล และผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพฝ่ายสหภาพ ในสงครามกลางเมืองอเมริกา รองจากประธานาธิบดีลินคอล์น และนำกองทัพฝ่ายสหภาพจนมีชัยชนะเหนือฝ่ายสมาพันธรัฐ รวมประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ ใน ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและยูลิสซีส เอส. แกรนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฟลอริดา

รัฐฟลอริดา (Florida, เป็นรัฐที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกา ทิศตะวันตกติดต่อกับอ่าวเม็กซิโก ทิศเหนือติดต่อกับรัฐอะลาบามา และรัฐจอร์เจีย ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้ติดต่อกับช่องแคบฟลอริดา รัฐฟลอริดาเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 และหนาแน่นมากเป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา แจ็กสันวิลล์เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในรัฐฟลอริดา และมีพื้นที่มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ มีเขตเมืองไมแอมี (Miami metropolitan area) เป็นเขตเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และมีแทลลาแฮสซีเป็นเมืองหลวงของรัฐ รัฐฟลอริดาเป็นที่รู้จักกันในนาม ซันไชน์สเตต (Sunshine State) คำว่า "ฟลอริดา" เป็นภาษาสเปนซึ่งหมายถึง "ที่ซึ่งอุดมไปด้วยดอกไม้" ชื่อของแหลมฟลอริดาตั้งชื่อโดยควน ปอนเซ เด เลออง (Juan Ponce de León) ซึ่งมาเทียบที่ชายฝั่งเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) ในช่วงเทศกาล "ปัสกวาโฟลรีดา" (Pascua Florida) หรือช่วงเทศกาลอีสเตอร์ของชาวสเปน วันปัสกวาโฟลรีดาจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี และยังเป็นวันหยุดราชการด้วย ฟลอริดาเป็นหนึ่งในเจ็ดรัฐที่ไม่เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐฟลอริดา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมิสซูรี

รัฐมิสซูรี เป็นรัฐที่อยู่ทางตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ล้อมรอบด้วยรัฐไอโอวา อิลลินอยส์ เคนทักกี เทนเนสซี อาร์คันซอ โอคลาโฮมา แคนซัส และเนแบรสกา มิสซูรีเป็นรัฐที่มีจำนวนประชากรเป็นอันดับที่ 18 ของประเทศ ประกอบด้วย 114 เคาน์ทีและ 1 เมืองอิสระ เมืองหลวงของรัฐคือ เจฟเฟอร์สัน ซิตี้ เมืองขนาดใหญ่ของรัฐเรียงตามลำดับ คือ เซนต์หลุยส์ แคนซัสซิตี สปริงฟิลด์ และโคลัมเบีย ดั้งเดิมนั้น มิสซูรีเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศสจากการซื้อหลุยส์เซียนาและต่อมากลายเป็นดินแดนมิสซูรี ส่วนของดินแดนมิสซูรีได้เข้าร่วมเป็นสหพันธ์ลำดับรัฐที่ 24 ในวันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐมิสซูรี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐลุยเซียนา

ลุยเซียนา (Louisiana, ออกเสียง หรือ) เป็นรัฐทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลักษณะผสมผสานของวัฒนธรรมฝรั่งเศส ซึ่งในรัฐลุยเซียนามีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็นภาษาทางการของรัฐ ถึงแม้ว่าภาษาฝรั่งเศสจะมีใช้เพียงประมาณ 5% เมืองสำคัญของรัฐคือ นิวออร์ลีนส์ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ แบตันรูช ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ นิวออร์ลีนส์เซนต์และนิวออร์ลีนส์ฮอร์เนตส์ ในปี 2550 ลุยเซียนามีประชากร 4,089,963คน ในทุกปี จะมีงานเฉลิมฉลองขนาดใหญ่จัดขึ้นที่นิวออร์ลีนส์ชื่องานว่า มาร์ดีกรา (Mardi Gras) จะมีขบวนพาเหรดและงานรื่นเริงต่างๆ โดยจัดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม ในปี พ.ศ. 2548 พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา ได้ก่อความเสียหายอย่างรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองนิวออร์ลีน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐลุยเซียนา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐจอร์เจีย

รัฐจอร์เจีย (Georgia) เป็นรัฐตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีรหัสไปรษณีย์ว่า GA.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญสหรัฐ

รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ (United States Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา เป็นกรอบการปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย สามมาตราแรกของรัฐธรรมูญตั้งกฎและการแบ่งแยกอำนาจเป็นสามส่วนของรัฐบาลกลาง ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภาแบบสองสภา ฝ่ายบริหารนำโดยประธานาธิบดี และฝ่ายตุลาการนำโดยศาลสูงสุด สี่มาตราสุดท้ายวางกรอบหลักระบอบสหพันธรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1787 ในที่ประชุม ณ ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และรับรองโดยการประชุมในรัฐต่าง ๆ ในนามของประชาชน โดยจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข มาแล้ว 27 ครั้ง โดยสิบครั้งแรกเป็นที่รู้จักในนามของ รัฐบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐจัดเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษณที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากรวมรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเข้าไปด้วย รัฐธรรมนูญของกรุงซานมาริโน จะเก่าแก่กว่า รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐจัดเป็นหัวใจหลักของกฎหมายในสหรัฐอเมริกาและวัฒนธรรมทางการเมือง โดยต้นฉบับดั้งเดิม ที่เขียนโดยนายจาคอป ชาลัส ได้จัดแสดงไว้ที่ องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ (National Archives and Records Administration) ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี อ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐธรรมนูญสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวเม็กซิโก

รัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico,; Nuevo México) เป็นรัฐทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงของรัฐคือ ซานตาเฟ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ อัลบูเคอร์คี ถึงแม้ว่าในสหรัฐอเมริกา ภาษาอังกฤษนิยมใช้กันมากที่สุด แต่ในรัฐนิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีการใช้ภาษาสเปนมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โดยประชากรในรัฐประกอบด้วย ชาวอเมริกา ชาวสเปน และชาวเม็กซิโก ในปี 2550 นิวเม็กซิโกมีประชากร 1,969,915 คน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐนิวเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแอละแบมา

รัฐแอละแบมา (Alabama) เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ทั้งหมด 135,775 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 4,447,100 คน ทางทิศเหนือของรัฐจรดรัฐเทเนสซี ทิศตะวันออกจรดรัฐจอร์เจีย ทิศใต้จรดรัฐฟลอริดาและอ่าวเม็กซิโก และทิศตะวันตกจรดรัฐมิสซิสซิปปี รัฐแอละแบมาเป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 30 และเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 24.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐแอละแบมา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย

รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย (West Virginia) เป็นรัฐในเขตแอปพาเลเชีย ทางภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเวอร์จิเนียทางตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเคนทักกีทางตะวันตกเฉียงใต้ รัฐโอไฮโอทางตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐเพนซิลเวเนียทางเหนือ (ค่อนไปทางตะวันออก) และแมริแลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีชาร์ลสตันเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ รัฐเวสต์เวอร์จิเนียมีสถานะเป็นรัฐภายหลังจากที่ประชุมวีลลิง เมื่อปี ค.ศ. 1861 เมื่อผู้แทนจาก 50 เคาน์ตีทางเหนือของรัฐเวอร์จิเนียตัดสินใจแยกออกมาจากรัฐเวอร์จิเนียในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา รัฐเวสต์เวอร์จิเนียเข้าร่วมสหพันธ์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1861 และกลายเป็นรัฐชายแดนที่สำคัญในช่วงสงครามกลางเมือง ทั้งนี้ รัฐเวสต์เวอร์จิเนียเป็นเพียงรัฐเดียวของสหรัฐอเมริกาที่มีสถานะเป็นรัฐจากการแยกตัวออกมาจากสมาพันธรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสองรัฐที่ตั้งขึ้นมาในระหว่างสงครามกลางเมือง (อีกรัฐหนึ่งคือรัฐเนวาดาที่แยกออกมาจากดินแดนยูทาห์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนียเป็นที่ขึ้นชื่อทางด้านภูเขาและเนินเขา อุตสาหกรรมป่าไม้และเหมืองถ่านหินที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ทางการเมืองและแรงงาน รัฐนี้มีอาณาบริเวณคาสต์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก ทำให้รัฐนี้เป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการท่องถ้ำและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ด้วยภูมิประเทศแบบคาสต์ในบริเวณนี้ ส่งผลให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ปลาเทราท.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเวอร์จิเนีย

รัฐเวอร์จิเนีย (Commonwealth of Virginia) เป็นรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ เมืองหลวงของรัฐคือ ริชมอนด์ และเมืองที่ประชากรมากที่สุดคือ เวอร์จิเนียบีช เวอร์จิเนียเป็นรัฐที่มีภูมิทัศน์สวยงามมากเนื่องจากมีทั้งพื้นที่เป็นภูเขาและติดทะเล มีป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ รัฐเวอร์จิเนียติดต่อกับรัฐแมริแลนด์ วอชิงตัน ดี.ซี. และ มหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออก ติดต่อกับ รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐเทนเนสซี ทางทิศใต้ ติดต่อกับรัฐเคนทักกี และ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ทางทิศตะวันตก เวอร์จิเนียประกอบไปด้วย 95 เคาน์ตี และ 39 เมืองอิสระ จุดสูงสุดในรัฐคือ เมาต์โรเจอส์ และจุดต่ำสุดในรัฐคือมหาสมุทรแอตแลนติก ชื่อของรัฐเวอร์จิเนีย ตั้งตามชื่อของ สมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์ (The Virgin Queen) รัฐเวอร์จิเนียเป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดี 8 คน ซึ่งรวมถึง จอร์จ วอชิงตัน และ โทมัส เจฟเฟอร์สัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐเวอร์จิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเทนเนสซี

รัฐเทนเนสซี (Tennessee) เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกา ชื่อของรัฐเทนเนสซีถูกบันทึกครั้งแรกโดยฮวน ปาร์โด นักสำรวจชาวสเปน ภายใต้ชื่อ "Tanasqui" ในปี พ.ศ. 2110 (ค.ศ. 1567) เมืองสำคัญในรัฐเทนเนสซีได้แก่ แนชวิลล์เมืองหลวงของรัฐเทนเนสซี เมมฟิสบ้านเกิดของเอลวิส เพรสลีย์ และเมืองนอกซ์วิลล์ ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ เมมฟิส กริซลีส์ และ เทนเนสซี ไททันส์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยเทนเนสซี รัฐเทนเนสซี ได้ชื่อว่าเป็นรัฐแห่งเพลงคันทรีโดยจะมีการประกวดแข่งขันเพลงคันทรีทุกปีในเมืองแนชวิลล.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐเทนเนสซี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเท็กซัส

ท็กซัส (Texas) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 695,622 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 22.8 ล้านคน เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองทั้งพื้นที่และประชากร รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 28 ในปี พ.ศ. 2388 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ TX.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐเท็กซัส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเซาท์แคโรไลนา

ซาท์แคโรไลนา (South Carolina) เป็นรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ชื่อของรัฐตั้งตั้งตามชื่อของ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ของอังกฤษ โดยคำว่า กาโรลุส (Carolus) เป็นภาษาละตินของคำว่า ชาลส์ (Charles) ประชากรในรัฐมี 4,198,068 (ข้อมูล พ.ศ. 2547) เมืองหลวงของรัฐ ชื่อ โคลัมเบีย และเมืองสำคัญอื่นคือ ชาร์ลสตัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและรัฐเซาท์แคโรไลนา · ดูเพิ่มเติม »

ราชนาวี

กองทัพเรือสหราชอาณาจักร หรือ ราชนาวี (Royal Navy อักษรย่อ: RN) เป็นเหล่าทัพหลักของกองทัพสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เหล่าทัพนี้เป็นเหล่าทัพที่เก่าแก่ที่สุด โดยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ราชนาวีสหราชอาณาจักรจัดเป็นทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและราชนาวี · ดูเพิ่มเติม »

วินฟีลด์ สก็อตต์ แฮนค็อค

วินฟีลด์ สก็อตต์ แฮนค็อค (Winfield Scott Hancock) (14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1824 – 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1886) เป็นนายทหารสังกัดกองทัพสหรัฐอเมริกา และผู้สมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในนามของพรรคเดโมแครต ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและวินฟีลด์ สก็อตต์ แฮนค็อค · ดูเพิ่มเติม »

ศาลสูงสุดสหรัฐ

ลสูงสุดสหรัฐ (Supreme Court of the United States: SCOTUS) เป็นศาลกลางชั้นสูงสุดในสหรัฐอเมริกา จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ มาตรา 3 ใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและศาลสูงสุดสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สมาพันธรัฐอเมริกา

มาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America; ย่อ: CSA) มักเรียกว่า สมาพันธรัฐ (Confederate States; ย่อ: CS) เป็นรัฐบาลแยกตัวออกซึ่งสถาปนาใน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและสมาพันธรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและสงครามกลางเมือง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโบะชิง

งครามโบะชิง บ้างเรียก การปฏิวัติญี่ปุ่น เป็นสงครามกลางเมืองในประเทศญี่ปุ่น รบพุ่งกันตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและสงครามโบะชิง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเบ็ดเสร็จ

งครามเบ็ดเสร็จ (Total war) คือ ความขัดแย้งอันไร้ขอบเขตซึ่งประเทศคู่สงครามได้ทำการเรียกระดมทรัพยากรทั้งหมดเพื่อใช้ในการทำสงคราม ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรมนุษย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การทหาร ธรรมชาติ เทคโนโลยีหรือปัจจัยอื่น ๆ ในความพยายามที่จะทำลายประเทศคู่สงครามอย่างสิ้นเชิง หรือทำลายความสามารถของอีกฝ่ายหนึ่งที่จะทำการรบต้านทานต่อไปอีก การทำสงครามเบ็ดเสร็จเคยถูกใช้ในการทำสงครามมานานหลายศตวรรษแล้ว ในการทำสงครามเบ็ดเสร็จ ความแตกต่างระหว่างทหารและพลเรือนมีน้อยมากเมื่อเทียบกับสงครามประเภทอื่น ๆ และมนุษย์ทุกคนจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการทำสงครามของคู่สงคราม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและสงครามเบ็ดเสร็จ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเม็กซิโก–อเมริกา

งครามเม็กซิโก–อเมริกา หรือสงครามเม็กซิโก สงครามสหรัฐ–เม็กซิโก การบุกครองเม็กซิโก การแทรกแซงของสหรัฐ หรือสงครามต่อต้านเม็กซิโกของสหรัฐ เป็นการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหรัฐเม็กซิโกตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและสงครามเม็กซิโก–อเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

อับราฮัม ลินคอล์น

อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 16 ของสหรัฐอเมริกา ลินคอล์นเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนมีนาคม..1861 จนกระทั่งถูกลอบสังหารเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและอับราฮัม ลินคอล์น · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจอธิปไตยของปวงชน

อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People or Popular Sovereignty) หมายถึงแนวคิดที่ว่าแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุดของรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยมีที่มาจากพลเมืองทุกๆคนภายในรัฐ จึงทำให้บางครั้งแนวคิดนี้ถูกเรียกว่าอธิปไตยของมหาชน (popular sovereignty) ซึ่งก็มีความหมายในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่เน้นให้เห็นถึงรากฐานของอำนาจอธิปไตยที่มีความโยงใยกับประชาชนจำนวนมากในสังคมในระบอบประชาธิปไตย หรือ ก็คือแนวคิดที่ว่า “อำนาจเป็นของปวงประชามหาชน” (power belongs to the people) (Kurian, 2011: 1580-1581).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและอำนาจอธิปไตยของปวงชน · ดูเพิ่มเติม »

อนุรักษนิยม

อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ยึดถือเอาสิ่งดีงามในอดีตมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยม แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและอนุรักษนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ วอชิงตัน

อร์จ วอชิงตัน (George Washington, 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 Engber, Daniel (2006).. (Both Franklin's and Washington's confusing birth dates are clearly explained.) Retrieved on June 17, 2009.วันเกิดและวันถึงแก่กรรมของจอร์จ วอชิงตันในที่นี้เป็นระบบปฏิทินเกรกอเรียน อย่างไรก็ดี ขณะที่เขาเกิด สหราชอาณาจักรและประเทศอาณานิคมทั้งหมดยังใช้ปฏิทินจูเลียนอยู่ ดังนั้นในบันทึกร่วมสมัยนั้นจึงระบุวันเกิดของเขาเป็นวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 บทบัญญัติว่าด้วยการใช้ปฏิทินรูปแบบใหม่ ค.ศ. 1750 เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1752 ซึ่งเปลี่ยนแปลงวันที่ในระบบของอังกฤษเดิม มาเป็นปฏิทินเกรกอเรียนโดยเริ่มต้นปี ณ วันที่ 1 มกราคม – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799) เป็นผู้นำทางทหารและการเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและจอร์จ วอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น บราวน์

อห์น บราวน์ (John Brown) (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2343 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2402) เป็นนักต่อสู้เพื่อการเลิกทาสชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งได้สนับสนุนและลงมือก่อการกบฏ โดยใช้ความรุนแรงและอาวุธ เป็นหนทางเพื่อหยุดยั้งภาวะทาสที่เกิดขึ้นในสมัยของเขา จอห์น บราวน์ยังเป็นผู้นำการสังหารหมู่ที่ห้วยพอตตาวาโทมี่ (Pottawatomie Massacre) ในปี พ.ศ. 2399 ที่เขตแฟรงคลิน (Franklin County) รัฐแคนซัส อันเป็นหนึ่งในหลายๆ การต่อสู้ระหว่างฝ่ายมีทาสกับฝ่ายเลิกทาสในแคนซัส ที่เรียกรวมกันว่าแคนซัสนองเลือด (Bleeding Kansas) และมีชื่อจากการบุกโจมตีที่ไม่ประสบความสำเร็จ ที่ฮาร์เปอร์ เฟอรรี่ (Harpers Ferry) ในปี พ.ศ. 2402 แม้ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ได้ประณาม จอห์น บราวน์ ว่าเป็น "คนบ้าคลั่งหลงผิด" แต่นายบราวน์ได้รับการขนานนามเป็นหนึ่งใน "คนอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ที่เป็นที่โต้แย้งอย่างมากที่สุด" Frederick J. Blue in American Historical Review (April 2006) v. 111 p 481-2.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและจอห์น บราวน์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น วิลค์ส บูธ

อห์น วิลค์ส บูธ (John Wilkes Booth; 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1838 - 26 เมษายน ค.ศ. 1865) เป็นนักแสดงละครเวทีชาวอเมริกันที่เป็นคนลอบสังหารประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอล์นที่โรงละครฟอร์ดส, กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 14 เมษายน 1865 บูธเป็นสมาชิกจากครอบครัวนักแสดงละครเวทีที่โด่งดังจากรัฐแมริแลนด์ และในทศวรรษที่ 1860 นั้นเอง เขาก็กลายเป็นนักแสดงที่โด่งดังเช่นกัน บูธมีความคิดเห็นโน้มเอียงเข้าข้างฝ่ายสมาพันธ์และประณามการบริหารของลินคอล์นอย่างรุนแรง และคับแค้นเป็นอย่างมากเมื่อฝ่ายใต้แพ้สงครามกลางเมืองอเมริกัน เขาต่อต้านแนวคิดที่จะล้มล้างระบบทาสในสหรัฐฯ และข้อเสนอของลินคอล์นที่จะขยายสิทธิ์เลือกตั้งไปยังทาสที่เป็นไทแล้ว บูธและกลุ่มผู้ก่อการวางแผนที่จะสังหารลินคอล์น, รองประธานาธิบดี แอนดรูว์ จอห์นสันและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วิลเลียม เอช. ซูเวิร์ดเพื่อช่วยเหลือในความพยายามของฝ่ายใต้ แม้ว่ากองทัพเวอร์จิเนียเหนือของนายพลโรเบิร์ต อี. ลีจะยอมแพ้ไปแล้วเมื่อสี่วันก่อนหน้านี้ ตัวบูธเองเชือว่าสงครามยังไม่สิ้นสุดลงเพราะนายพลโจเซฟ อี. จอห์นสตันของฝ่ายสหพันธ์ยังคงสู้รบกับกองทัพของสหรัฐฯ อยู่ ในบรรดาผู้ก่อการทั้งหมด บูธเป็นคนเดียวที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามแผนการได้สำเร็จ เนื่องจากซูเวิร์ดเพียงแค่บาดเจ็บ แต่ก็พักฟื้นจนหายดีในเวลาต่อมา ส่วนลินคอล์นได้ถึงแก่อนิจกรรมในเช้าถัดมาหลังจากถูกบูธใช้ปืนยิงหนึ่งนัดเข้าที่ด้านหลังของศีรษะ หลังจากการลอบสังหาร บูธขี่ม้าหนีไปยังรัฐแมริแลนด์ทางตอนใต้ ก่อนจะเดินทางไปยังไร่ในแถบชนบทในรัฐเวอร์จิเนียทางตอนเหนือในอีก 12 วันต่อมา ก่อนที่เขาจะถูกตามสะกดรอยมาถึงที่ และถูกบอสตัน คอร์เบ็ท ทหารสหรัฐฯ ยิงโดยฝ่าฝืนคำสั่งที่ให้จับเป็น ผู้ก่อการอีก 8 คนที่เหลือถูกจับกุม ไต่สวนและถูกตัดสินว่าผิดจริง โดยที่ในนั้นมี 4 คนที่ถูกแขวนคอ หลายปีต่อมา มีคนเขียนหนังสือที่เสนอทฤษฎีว่าบูธสามารถหลบหนีผู้จับกุมได้ และเสียชีวิตภายใต้ชื่อใหม่ในอีกหลายปีต่อม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและจอห์น วิลค์ส บูธ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เบาว์ริง

ซอร์จอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring; 17 ตุลาคม พ.ศ. 2335 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415) เป็นเจ้าเมืองฮ่องกง (ค.ศ. 1848-1857) พ่อค้า นักการทูต นักเศรษฐศาสตร์การเมือง นักการศาสนา นักแต่งเพลงสวด กวี นักประพันธ์ บรรณาธิการ และนักภาษาศาสตร์ (โดยรู้ถึง 10 ภาษาหลัก ๆ ทั้งหมด ในยุโรป รวมทั้งภาษาจีน) ตลอดจนถึงเป็นราชทูตที่ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ เพื่อเข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเจรจาทำสนธิสัญญากับราชสำนักไทย ในปี พ.ศ. 2398 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่สุดก็มีการลงนามในสนธิสัญญาเบาริง เมื่อวันที่ 18 เมษายนปีเดียวกัน สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลให้สยามต้องเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาลและคนในบังคับอังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในสยาม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ ถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้ากับต่างประเทศโดยกรมพระคลังสินค้าของสยาม สนธิสัญญานี้มีผลใช้บังคับอยู่นานกว่า 70 ปี ท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนและทวีปยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” ก็ว่าได้ มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ”.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและจอห์น เบาว์ริง · ดูเพิ่มเติม »

ทาส

''Le Marché aux esclaves'', ตลาดค้าทาส ฌอง-เลออง เจอโรม ราว ค.ศ. 1884) ทาส หมายถึง บุคคลซึ่งถูกนับสิทธิเสมือนสิ่งของของผู้อื่น ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิต และมีหน้าที่รับใช้ผู้อื่นโดยมิได้รับการตอบแทนจากเจ้าของ (นายทาส) เช่น การรับใช้ทางด้านแรงงาน และหากไม่เชื่อฟังคำสั่ง อาจถูกลงโทษได้ตามแต่นายทาสจะกำหนด ยกเว้นเป็นการกระทำอันทำให้ถึงแก่ความต.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและทาส · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟ

ทางรถไฟในไซตามะ ทางรถไฟ เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร โดยมีรถไฟเป็นยานพาหนะ รางรถไฟนั้นประกอบด้วยรางสองราง ซึ่งปกติทำมาจากเหล็กกล้า วางบนวัตถุที่ตั้งฉากกับตัวราง โดยสร้างจากไม้หรือคอนกรีต วัตถุนี้เป็นตัวกำหนดระยะระหว่างของรางเรียกว่า "เกจ" (gauge).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและทางรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์สหรัฐ

วันเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐมีการถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและประวัติศาสตร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์เจีย

อร์เจีย (Georgia; საქართველო, Sakartvelo) เดิมระหว่างปี พ.ศ. 2534-2538 เรียกว่า สาธารณรัฐจอร์เจีย เป็นประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ ในอดีตเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศรัสเซีย ทางใต้จรดประเทศตุรกี ประเทศอาร์มีเนีย และประเทศอาเซอร์ไบจาน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและประเทศจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

นโปเลียน

นโปเลียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำมิสซิสซิปปี ภาพถ่ายจากสวนสาธารณะในรัฐมินนิโซตา แม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River) อยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นเครือข่ายสาขาแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ(เครือข่ายแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี) มีความยาวทั้งสิ้น 3,334 กม.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและแม่น้ำมิสซิสซิปปี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคัมเบอร์แลนด์

แม่น้ำคัมเบอร์แลนด์ (Cumberland River) เป็นแม่น้ำสายใหญ่ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา มีความยาว 688 ไมล์ (1,107 กม.)U.S. Geological Survey.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและแม่น้ำคัมเบอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโพโทแมก

แม่น้ำโพโทแม็ค หรือ แม่น้ำพะโทแม็ค (Potomac) เป็นแม่น้ำที่อยู่ช่วงกลางชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ และไหลเข้าไปในอ่าวเชสะพีค มีความยาวราว 405 ไมล์U.S. Geological Survey.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและแม่น้ำโพโทแมก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจมส์

แผนที่แม่น้ำเจมส์ แม่น้ำเจมส์ (James River) เป็นแม่น้ำในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา มีความยาว 560 กิโลเมตร (348 ไมล์)U.S. Geological Survey.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและแม่น้ำเจมส์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรูว์ จอห์นสัน

แอนดรูว์ จอห์สัน เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 1808 ที่ราเล่ท์ นอร์ธคาโรไลน่า บิดาของเขาจาค็อบ จอห์นสัน ทำงานเป็นพนักงานยกกระเป๋าในโรงแรมเล็กๆ ของหมู่บ้าน มารดาของเขาคือ พอลลี่ เป็นช่างทอผ้า เขาจึงเป็น ประธานาธิบดีที่เริ่มต้นชีวิตที่ยากจนที.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและแอนดรูว์ จอห์นสัน · ดูเพิ่มเติม »

แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์

แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (Harriet Beecher Stowe; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2354 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2439) เป็นนักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองลิชฟิลด์ รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวที่เคร่งศาสนานิกายพิวริแทน สโตว์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในโรงเรียนของพี่สาวและต่อมาได้เป็นครูในโรงเรียนนี้ ต่อมาได้แต่งงานกับศาสตราจารย์ด้านการศาสนาในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและแฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต อี. ลี

รเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ลี (Robert Edward Lee) (19 มกราคม ค.ศ. 1807 – 12 ตุลาคม ค.ศ. 1870) เป็นนายพลที่มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่งของอเมริกา เขามีบทบาทสำคัญมากในสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน และ สงครามกลางเมืองอเมริกา โดยนายพลลีได้สละหน้าที่การงานของเขาในสหรัฐอเมริกา เพื่อกลับมาร่วมสู้กับบ้านเกิดที่เวอร์จิเนีย ซึ่งอยู่ฝ่ายสมาพันธรัฐอเมริกา เขาสามารถนำชัยชนะมาสู่ฝ่ายใต้ของเขานับไม่ถ้วน ทั้ง ๆ ที่ฝ่ายใต้มีแสนยานุภาพในหลาย ๆ ด้านด้อยกว่าฝ่ายเหนือมากก็ตาม แต่ถึงแม้นายพลลีจะเก่งกาจปานใด เขาก็ต้องฝ่ายแพ้ฝ่ายเหนือในยุทธการเกตตีสเบิร์ก นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายใต้ในที.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและโรเบิร์ต อี. ลี · ดูเพิ่มเติม »

โทรเลข

การส่งโทรเลขสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โทรเลข อดีตเรียก ตะแล็บแก๊บ (Telegraph) คือระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph, wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและโทรเลข · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือกำปั่น

รือกำปั่น เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้าย เรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับ ผูกสายใบ มีเสากระโดง 3 เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ ถ้าเสากระโดง ตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและเรือกำปั่น · ดูเพิ่มเติม »

เรือรบแนวเส้นประจัญบาน

รือรบแนวเส้นประจัญบาน หรือ เรือแนวเส้นประจัญบาน (ship of the line; le bâtiment de ligne) เป็นเรือรบประเภทหนึ่งที่นิยมต่อขึ้นใช้ ระหว่างศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้ในยุทธวิธีทางน้ำที่เรียกกันว่า แนวเส้นประจัญบาน (line of battle) โดยกองเรือของแต่ละฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กัน จะแปรขบวนเรือให้เป็นแถวยาว เพื่อใช้อานุภาพการยิงวอลเลย์จากทางกราบเรืออย่างพร้อมเพรียงกันให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งต่างไปจากการประจัญบานทางน้ำในยุคก่อนๆ ซึ่งจะใช้ยุทธวิธีโจมตีโดยนำเรือเข้าประชิดเรือข้าศึก หรือไม่ก็ใช้เรือพุ่งเข้ากระแทก (ramming) เนื่องจากผลแพ้ชนะในยุทธวิธีนี้มักจะขึ้นอยู่กับว่าใครมีเรือระวางขับน้ำมากกว่า และบรรทุกปืนใหญ่อานุภาพสูงได้มากกว่า ความเป็นมหาอำนาจทางทะเลในสมัยนั้นจึงวัดกันว่าใครมีเรือแนวเส้นประจัญบานมากลำกว่า และใหญ่กว่า แบบดีไซน์ของเรือแนวเส้นประจัญบาน ค่อยๆพัฒนาขึ้นตลอดศตวรรษที่ 17 โดยมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ การใช้เสากระโดงเรือ 3 เสา และมีท้ายเรือที่ลดต่ำลง โครงสร้างยกระดับที่ท้ายเรือ (อย่างเรือในยุคบุกเบิกการเดินทะเล) หายไป ความยาวมาตรฐานของเรือประเภทนี้อยู่ที่ประมาณ 200 ฟุต มีระวางขับน้ำระหว่าง 1,200 ถึง 2,000 ตัน ใช้ลูกเรือประมาณ 600 ถึง 800 คน อาวุธประจำเรือถูกเรียงเป็นสามชั้น ปืนใหญ่ของหน่วยยิง (battery) แถวล่างมีอำนาจการยิงมากที่สุด โดยอาจมีปืนใหญ่ที่ยิงลูกปืนใหญ่ขนาด 32-48 ปอนด์ ถึงสามสิบกระบอก; หน่วยยิงแถวกลางมีปืนจำนวนเท่ากันแต่ยิงกระสุนขนาดเล็กกว่า (ประมาณ 24 ปอนด์); แถวบนสุดมีปืนยิงกระสุนขนาด 12 ปอนด์ 30 กระบอก หรือมากกว่านั้น ราชนาวีอังกฤษจัดเรือแนวเส้นประจัญบานออกเป็น 3 ระดับตามจำนวนปืนที่สามาถบรรทุกได้ เรือ "ชั้นเอก" (first-rate) กับชั้นโท จะมีแถวยิงสามแถวเหมือนกัน แต่เรือชั้นเอกจะมีปืนมากกระบอกกว่า คือ ประมาณ 100 ถึง 110 กระบอก ส่วนเรือชั้นตรีจะมีแถวยิงเพียงสองแถว ทำให้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เรือปืนสองแถว (Two-deckers) เรือธงชั้นเอกของกองเรือ อย่างเช่น เรือหลวง''วิกตอรี'' (HMS Victory) เรือธงของราชนาวีที่ได้รับชัยชนะในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ มีปืนประมาณหนึ่งร้อยกระบอก และอาจใช้ลูกเรือมากถึง 850 นาย นับแต่เครื่องจักรไอน้ำ เข้ามามีบทบาทในการเดินเรือ ยุทธนาวีทางน้ำก็พึ่งพาแรงลมและใบเรือน้อยลง หันมาใช้การขับเคลื่อนด้วยกังหันหรือใบพัดแทน แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเทคโนโลยีคือการเกิดขึ้นของ เรือรบหุ้มเกราะ ไอรอนแคลด ในราวปี 1859 และมีบทบาทสำคัญในการยุทธนาวีในสงครามกลางเมืองอเมริกา และในสงครามโบะชิงของญี่ปุ่น หลังจากนั้นมาเรือแนวเส้นประจัญบานก็เสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว เรือรบหุ้มเกราะวิวัฒนาการต่อจนกลายเป็น เรือประจัญบาน ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นชื่อเรียกเรือรบขนาดใหญ่ที่ลดรูปมาจากคำว่า เรือแนวเส้นประจัญบานนั่นเอง.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและเรือรบแนวเส้นประจัญบาน · ดูเพิ่มเติม »

เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่

หลุมฝังศพทหารปืนกลอเมริกันระหว่างยุทธการแห่งนอร์มังดี สุสานหาดโอมาฮาในแคว้นนอร์มังดี ของฝรั่งเศส เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ (Killed in action หรือ KIA หรือ K. I. A) เป็นการจัดระดับของความสูญเสียระหว่างการรบ หมายความว่า เป็นการตายที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของฝ่ายศัตรู หรือโดย "การยิงพวกเดียวกัน (Friendly fire)" ระหว่างการรบ แต่การตายในการรบไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเสียชีวิตด้วยอาวุธ เพียงแต่เป็นการกระทำของฝ่ายศัตรู การตายในการรบไม่รวมถึงสาเหตุอย่างเช่น อุบัติเหตุการขับรถ หรือการก่อการร้าย เป็นต้น การตายในการรบสามารถใช้ได้กับทั้งทหารบกในแนวหน้า ทหารเรือ ทหารอากาศ รวมไปถึงทหารกองหนุนด้วย นอกจากนั้น การจัดระดับดังกล่าวยังหมายถึง การตายซึ่งเกิดจากความพิการ (DOW) ด้วย อันหมายถึงผู้ที่รอดชีวิตไปจนถึงสถานรักษาพยาบาล แต่ว่านักประวัติศาสตร์และนักการทหารใช้คำย่อแตกต่างกัน.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ · ดูเพิ่มเติม »

เจฟเฟอร์สัน เดวิส

ฟเฟอร์สัน ฟินิส เดวิส (Jefferson Finis Davis, 3 มิถุนายน ค.ศ. 1808 – 6 ธันวาคม ค.ศ. 1889) เป็นนักการเมืองอเมริกัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐมิสซูรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามสหรัฐคนที่ 23 และประธานาธิบดีสมาพันธรัฐอเมริการะหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา เขารับผิดชอบแผนศึกของสมาพันธรัฐ แต่ไม่พบยุทธศาสตร์พิชิตฝ่ายสหภาพซึ่งมีประชากรมากกว่าและเป็นอุตสาหกรรมมากกว่า ความพยายายามทางการทูตของเขาไม่สามารถได้มาซึ่งการรับรองจากต่างประเทศแม้แต่ประเทศเดียว และในประเทศ เศรษฐกิจของสมาพันธรัฐที่กำลังล่มสลายบังคับให้รัฐบาลของเขาพิมพ์เงินกระดาษมากขึ้นทุกทีเพื่อโปะรายจ่ายของสงคราม นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อแบบกู่ไม่กลับและการลดค่าเงินตราดอลลาร์สมาพันธรัฐ เดวิสเกิดในรัฐเคนทักกีในครอบครัวเกษตรกรมั่งมีปานกลาง และเติบโตในไร่ใหญ่ฝ้ายของพี่ชายเขา โจเซฟ ในรัฐมิสซิสซิปปีและรัฐลุยเซียนา โจเซฟ เดวิสยังทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเขาวิทยาลัยทหารสหรัฐที่เวสต์พอยต์ หลังสำเร็จการศึกษา เจฟเฟอร์สัน เดวิสรับราชการเป็นร้อยโทในกองทัพบกสหรัฐหกปี เขาสู้รบในสงครามเม็กซิโก–อเมริกา (ค.ศ. 1846–1848) เป็นพันเอกแห่งกรมอาสาสมัคร เขารับราชการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามสหรัฐตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและเจฟเฟอร์สัน เดวิส · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ บูแคนัน

มส์ บูแคนัน (/bjuːˈkænən/.) เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 15 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาคนที่ 17 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเพนซิลเวเนี.

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและเจมส์ บูแคนัน · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด เฟรากัต

ลเรือเอกเดวิด กลาสโกว์ ฟาร์รากัต พลเรือเอกเดวิด กลาสโกว์ ฟาร์รากัต (David Glassgow Farragut; พ.ศ. 2344-2413) ผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เกิดใกล้เมืองน็อกซ์วิลล์ รัฐเทนเนสซี เข้าเป็นนักเรียนทำการนายเรือในปี..

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและเดวิด เฟรากัต · ดูเพิ่มเติม »

10 กุมภาพันธ์

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 41 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 324 วันในปีนั้น (325 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สงครามกลางเมืองอเมริกาและ10 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

American Civil WarUnited States Civil Warสงครามกลางเมืองสหรัฐฯสงครามกลางเมืองอเมริกันสงครามกลางเมืองของชาวอเมริกันสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »