เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์

ดัชนี สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์

ริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์ (Server-side scripting) เป็นเทคโนโลยีที่สคริปต์ทำงานบนบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งแตกต่างกับสคริปต์ด้านไคลเอนต์ อย่างJavascriptที่ทำงานบนฝั่งไคลเอนต์ และยังใช้สำหรับสร้างเว็บเพจแบบมีการตอบสนอง (dynamic) ซึ่งอยู่ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งมีใช้อยู่แพร่หลายในปัจจุบัน เช่น Web-base อีเมล การทำรายการบัญชีออนไลน์ (online banking) รายงานข่าว หรือ Search Engine.

สารบัญ

  1. 16 ความสัมพันธ์: ภาษาพีเอชพีสคริปต์ด้านไคลเอนต์อีเมลจาวาจาวาสคริปต์ตัวแบบโอเพนซอร์ซซันไมโครซิสเต็มส์โพรโทคอลโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไพทอนไมโครซอฟท์เสิร์ชเอนจินเอเอสพีเจเอสพีเครื่องลูกข่ายเซิร์ฟเวอร์

  2. ภาษาสคริปต์

ภาษาพีเอชพี

ีเอชพี (PHP) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์ส ภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษา ภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีการตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และภาษาพีเอชพี

สคริปต์ด้านไคลเอนต์

ริปต์ด้านไคลเอนต์ (Client-side scripting) เป็นเทคโนโลยีที่สคริปต์ทำงานบนบนฝั่งไคลเอนต์ เช่น จาวาสคริปต์ โดยมากมักจะฝังอยู่ใน HTML และถูกประมวลผลโดยเว็บเบราว์เซอร์เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้อย่างทันที เช่น การแสดงข้อความเตือน การตรวจสอบข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน การปรับเปลี่ยนเนื้อหา รวมถึงการแสดงแอนิเมชัน ปัจจุบันมีการใช้อย่างแพร่หลายในเทคนิค AJAX เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้งานให้กับเว็บไซต.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และสคริปต์ด้านไคลเอนต์

อีเมล

อีเมล (e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ..

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และอีเมล

จาวา

วา (Java) อาจหมายถึง.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และจาวา

จาวาสคริปต์

วาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโปรโตไทพ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลล.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และจาวาสคริปต์

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และตัวแบบโอเพนซอร์ซ

ซันไมโครซิสเต็มส์

ัญลักษณ์ของ Sun Microsystems เป็นตัวอักษร Sun สี่ชุด ที่มองจากมุมไหนก็ได้ ซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems) เป็นบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ สารกึ่งตัวนำและซอฟต์แวร์ ที่ตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์ เมืองแซนตาแคลรา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์เด่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของซัน ได้แก่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชัน ที่ใช้หน่วยประมวลผลสปาร์ค (SPARC), ระบบปฏิบัติการโซลาริส (Solaris), ระบบไฟล์บนเครือข่าย NFS, และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาจาวา และแพลตฟอร์มจาวา นอกจากนี้ ซันยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของ โครงการโอเพ่นออฟฟิศดอทอ็อก (OpenOffice.org) ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานแบบโอเพนซอร.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และซันไมโครซิสเต็มส์

โพรโทคอล

รโทคอล (สืบค้นออนไลน์) (protocol) หรือศัพท์บัญญัติว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และโพรโทคอล

โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดตและดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่ายและติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิก.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ไพทอน

ทอน (python) อาจหมายถึง.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และไพทอน

ไมโครซอฟท์

มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และไมโครซอฟท์

เสิร์ชเอนจิน

ร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละร.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และเสิร์ชเอนจิน

เอเอสพี

อเอสพี (ASP ย่อมาจาก Active Server Page) เป็นเทคโนโลยีประเภท Server-Side Script (โปรแกรมที่ทำงานบนเครื่อง Server) ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย สร้างโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ สำหรับระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ซึ่งใช้ร่วมกับโปรแกรม Internet Infomation Service หรือ IIS.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และเอเอสพี

เจเอสพี

อสพี (JavaServer Pages: JSP) เป็นเทคโนโลยีจาวาที่เปิดช่องทางให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้าง HTML, XML หรือไฟล์เอกสารในประเภทนี้ตามความต้องการของเครื่องลูกข่ายร้องขอ ซึ่งเทคโนโลยีนี้เปิดให้ใช้ภาษาจาวาในการสร้างและกรทำการใด ๆ เพื่อให้หน้าเว็บเพจธรรมดากลายเป็นหน้าเว็บเพจที่สามารถตอบสนองได้ โดยเจเอสพีจะถูกโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สนับสนุนเจเอสพี เช่น อะแพชี ทอมแคต, GlassFish แปลให้เป็นจาวา คลาส ที่เรียกว่าเซิร์ฟเลต ซึ่งพร้อมที่จะประมวลผลด้วยจาวาและแสดงผลออกเป็น HTML.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และเจเอสพี

เครื่องลูกข่าย

เครื่องลูกข่าย หรือ ไคลเอนต์ (client) เป็นระบบหรือแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ได้ คำว่าไคลเอนต์เริ่มมีการใช้เรียกถึงคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในตัวเองได้ แต่สามารถใช้งานโปรแกรมนั้นผ่านทางระบบเครือข่าย หมวดหมู่:เครือข่ายคอมพิวเตอร์.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่าย

เซิร์ฟเวอร์

รื่องเซิร์ฟเวอร์ของ วิกิมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องบริการ หรือ เครื่องแม่ข่าย คือ เครื่องหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำงานให้บริการ ในระบบเครือข่ายแก่ลูกข่าย (ซึ่งให้บริการผู้ใช้อีกทีหนึ่ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์นี้ควรจะมีประสิทธิภาพสูง มีความเสถียร สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก ภายในเซิร์ฟเวอร์ให้บริการได้ด้วยโปรแกรมบริการ ซึ่งทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการอีก.

ดู สคริปต์ด้านเซิร์ฟเวอร์และเซิร์ฟเวอร์

ดูเพิ่มเติม

ภาษาสคริปต์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Server-Side Scriptเซอร์เวอร์-ไซด์ สคริปต์เซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์