โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิลเลียม สไตรอน

ดัชนี วิลเลียม สไตรอน

วิลเลียม สไตรอน (William Styron) (11 มิถุนายน ค.ศ. 1925 - (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006) วิลเลียม สไตรอนเป็นนักเขียนนวนิยาย และ นักเขียนบทความคนสำคัญชาวอเมริกัน ผลงานชิ้นสำคัญของวิลเลียม สไตรอนก็ได้แก.

16 ความสัมพันธ์: ชาวอเมริกันพ.ศ. 2468พ.ศ. 2549มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์รัฐแมสซาชูเซตส์รัฐเวอร์จิเนียรางวัลหนังสือแห่งชาติสหรัฐผู้บรรยายเรื่องทางเลือกของโซฟี (นวนิยาย)ประเภทวรรณคดีนวนิยายนักเขียนโรคซึมเศร้า1 พฤศจิกายน11 มิถุนายน

ชาวอเมริกัน

วอเมริกัน หรือ ประชากรของสหรัฐอเมริกา (People of the United States หรือ U.S. Americans หรือ Americans หรือ American people) คือประชาชนของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ประกอบด้วยกลุ่มชนจากหลายชาติพันธุ์และเชื้อชาติ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันบางคนไม่ถือว่าอเมริกันเป็น "ชาติพันธุ์" (ethnicity) และจะบ่งตนเองโดยเชื้อชาติ (nationality) และชาติพันธุ์ดั้งเดิม (ancestral origin) เช่นชาวฮังการีอเมริกันเป็นต้น นอกไปจากชาวอเมริกันอินเดียนแล้ว ชาวอเมริกันเกือบทั้งหมดหรือบรรพบุรุษก็เป็นผู้ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงระยะเวลาห้าร้อยปีที่ผ่านมา การที่ชาวอเมริกันมาจากหลายชาติพันธุ์ทำให้เป็นชาติที่มีธรรมเนียม และคุณค่าที่แตกต่างกันออกไปเป็นอันมากAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและชาวอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2468

ทธศักราช 2468 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1925 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและพ.ศ. 2468 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University ตัวย่อ JHU) หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮอปกินส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มก่อตั้งโดยประธานาธิบดี เดวิด คอยต์ กิลแมน ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 4,500 คน และในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรี 15,000 คน จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยในเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสัมมนาแทนการสอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่จัดให้มีวิชาเอก (major) แทนหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นจอนส์ ฮอปกินส์จึงเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน 14 สมาชิกก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน หรือ Association of American Universities จากสถิติของกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ของสหรัฐอเมริกา จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยที่ครองอันดับ 1 ในด้านการใช้งบประมาณการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวลา 30 ปีต่อเนื่องกันและเป็นสถาบันที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จอห์น ฮอปกินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์ สาธารณสุข และ การพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นจอนส์ฮอปกินส์ยังมีสถาบันชั้นนำระดับโลกในสาขาอื่น อาทิ สถาบันด้านการดนตรีพีบอดี (Peabody Institute) และด้านการระหว่างประเทศ (The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies หรือ SAIS) จนถึงพ.ศ. 2552 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์จำนวน 33 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแมสซาชูเซตส์

รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) เป็นรัฐหนึ่งในเขตนิวอิงแลนด์ ในสหรัฐอเมริกา มีมหาวิทยาลัยชื่อดังหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยทัฟส์ ประกอบไปด้วย 50 เมืองขนาดใหญ่ และ 301 เมืองขนาดเล็กใน 14 เคาน์ตี เมืองขนาดใหญ่ในรัฐได้แก่ บอสตัน สปริงฟิลด์ วูสเตอร์ โลเวลล์ บล็อกตัน และเคมบร.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและรัฐแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเวอร์จิเนีย

รัฐเวอร์จิเนีย (Commonwealth of Virginia) เป็นรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศ เมืองหลวงของรัฐคือ ริชมอนด์ และเมืองที่ประชากรมากที่สุดคือ เวอร์จิเนียบีช เวอร์จิเนียเป็นรัฐที่มีภูมิทัศน์สวยงามมากเนื่องจากมีทั้งพื้นที่เป็นภูเขาและติดทะเล มีป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ รัฐเวอร์จิเนียติดต่อกับรัฐแมริแลนด์ วอชิงตัน ดี.ซี. และ มหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออก ติดต่อกับ รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐเทนเนสซี ทางทิศใต้ ติดต่อกับรัฐเคนทักกี และ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ทางทิศตะวันตก เวอร์จิเนียประกอบไปด้วย 95 เคาน์ตี และ 39 เมืองอิสระ จุดสูงสุดในรัฐคือ เมาต์โรเจอส์ และจุดต่ำสุดในรัฐคือมหาสมุทรแอตแลนติก ชื่อของรัฐเวอร์จิเนีย ตั้งตามชื่อของ สมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์ (The Virgin Queen) รัฐเวอร์จิเนียเป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดี 8 คน ซึ่งรวมถึง จอร์จ วอชิงตัน และ โทมัส เจฟเฟอร์สัน.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและรัฐเวอร์จิเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลหนังสือแห่งชาติ

นอร์มัน เมลเลอร์ผู้ได้รับ "เหรียญสำหรับผู้มีผลงานทางวรรณกรรมอเมริกันอันดีเด่น" ในปี ค.ศ. 2005 รางวัลหนังสือแห่งชาติ (National Book Award) เป็นรางวัลทางวรรณกรรมที่เด่นที่สุดรางวัลหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและรางวัลหนังสือแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บรรยายเรื่อง

ผู้บรรยายเรื่อง (Narrator) ในงานวรรณกรรม, ภาพยตร์, ละคร, การเล่าเรื่องโดยตรง และอื่นๆ หมายถึงผู้สื่อหรือถ่ายทอดเรื่องราวแก่ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู เมื่อผู้บรรยายเรื่องเป็นทั้งผู้มีบทบาทในเรื่องด้วย ผู้บรรยายก็อาจจะเรียกว่า “viewpoint character” ผู้บรรยายเรื่องคือองค์ประกอบหนึ่งในสามของการบรรยายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนิดใน องค์ประกอบอีกสองอย่างคือนักเขียน และ “ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู” ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าคำว่า “Narrator” แปลว่า “ผู้เล่าเรื่อง” แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า “Narrator” มีความหมายที่แคบกว่าคำว่า “Storyteller” หรือ “ผู้เล่าเรื่อง” ฉะนั้นคำว่า “Narrator” จึงมาแปลว่า “ผู้บรรยายเรื่อง” ทั้งผู้ประพันธ์และผู้อ่านอยู่ในโลกของความเป็นจริง หน้าที่ของผู้ประพันธ์คือการสร้างจักรวาล ตัวละคร และ เหตุการณ์ภายในเรื่อง หน้าที่ของผู้อ่านคือการทำความเข้าใจและการตีความหมายของเรื่อง ผู้บรรยายเรื่องเท่านั้นที่เป็นผู้เดียวที่อยู่ในโลกที่สร้างขึ้นโดยผู้ประพันธ์ผู้มีหน้าที่เสนอเรื่องที่เกิดขึ้นที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ผู้บรรยายเรื่องอาจจะบรรยายเรื่องจากมุมมองของตนเอง หรือจากมุมมองของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในเรื่อง การบรรยายเรื่องหรือกระบวนการของบรรยายเรื่องเรียกว่า “การบรรยายเรื่อง” (narration) การอรรถาธิบาย (exposition), การโต้แย้ง (argumentation), การบรรยาย (description) และการบรรยายเรื่องเป็นวิธีสี่วจนิพนธ์ (Rhetorical modes) ในความหมายที่แคบลงของ “ผู้บรรยายเรื่อง” ในนวนิยายหมายถึงการบรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยผู้บรรยายเรื่องโดยตรงต่อผู้อ่าน ส่วนแนวคิดของ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (unreliable narrator) (ตรงกันข้ามกับผู้ประพันธ์) มามีความสำคัญขึ้นในการเขียนนวนิยายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งเมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 การวิพากษ์วรรณกรรมเกิดขึ้นเฉพาะงานกวีนิพนธ์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มี “ผู้บรรยายเรื่อง” ที่ต่างไปจากผู้ประพันธ์ แต่นวนิยายที่มีโลกที่สร้างขึ้นก่อให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะเมื่อ “ผู้บรรยายเรื่อง” มีความเห็นที่แตกต่างจากผู้ประพันธ์เป็นอันมาก.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและผู้บรรยายเรื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ทางเลือกของโซฟี (นวนิยาย)

ทางเลือกของโซฟี (Sophie's Choice) เป็นนวนิยายที่เขียนโดยนักเขียนชาวอเมริกันวิลเลียม สไตรอน ที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1979 “ทางเลือกของโซฟี” เป็นเรื่องราวของนักเขียนวัยหนุ่มจากตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาผู้ทำความรู้จักกับชาวยิวเนธาน แลนเดา และคนรักสาวสวยชื่อโซฟี ชาวโปแลนด์แต่ไม่ใช่ชาวยิวผู้รอดจากการกักขังในค่ายกักกันของนาซี “ทางเลือกของโซฟี” กลายเป็นหนังสือขายดีติดอันดับ (bestseller) ทันทีที่วางตลาด หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของสไตรอนและเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชิ้นหนึ่ง ความยากในการเลือกของโซฟิระหว่างทางเลือกสองทางทำให้ “ทางเลือกของโซฟี” กลายมาเป็นสำนวนที่หมายถึงการเลือกที่ยากต่อการตัดสินใจ “ทางเลือกของโซฟี” ได้รับรางวัลหนังสือแห่งชาติในสาขานวนิยายในปี ค.ศ. 1980 และได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 1982 ที่นำแสดงโดยเมอรีล สตรีป ในบทของโซฟี “ทางเลือกของโซฟี” เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่โมเดิร์นไลบรารีจัดให้เป็นลำดับที่เก้าสิบหกของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) ในบรรดานวนิยายที่ถือว่าดีเด่นของคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและทางเลือกของโซฟี (นวนิยาย) · ดูเพิ่มเติม »

ประเภทวรรณคดี

ประเภทของงานวรรณกรรม (Literary genre) เช่น นวนิยาย หรือ เรื่องสั้นในสมัยคลาสสิก สมัยก่อน วรรณกรรมถูกแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ คือ.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและประเภทวรรณคดี · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

1 พฤศจิกายน

วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 305 ของปี (วันที่ 306 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 60 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและ1 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

11 มิถุนายน

วันที่ 11 มิถุนายน เป็นวันที่ 162 ของปี (วันที่ 163 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 203 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: วิลเลียม สไตรอนและ11 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

William Styron

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »