โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ผู้บรรยายเรื่อง

ดัชนี ผู้บรรยายเรื่อง

ผู้บรรยายเรื่อง (Narrator) ในงานวรรณกรรม, ภาพยตร์, ละคร, การเล่าเรื่องโดยตรง และอื่นๆ หมายถึงผู้สื่อหรือถ่ายทอดเรื่องราวแก่ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู เมื่อผู้บรรยายเรื่องเป็นทั้งผู้มีบทบาทในเรื่องด้วย ผู้บรรยายก็อาจจะเรียกว่า “viewpoint character” ผู้บรรยายเรื่องคือองค์ประกอบหนึ่งในสามของการบรรยายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องชนิดใน องค์ประกอบอีกสองอย่างคือนักเขียน และ “ผู้อ่าน/ผู้ฟัง/ผู้ดู” ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าคำว่า “Narrator” แปลว่า “ผู้เล่าเรื่อง” แต่ในภาษาอังกฤษคำว่า “Narrator” มีความหมายที่แคบกว่าคำว่า “Storyteller” หรือ “ผู้เล่าเรื่อง” ฉะนั้นคำว่า “Narrator” จึงมาแปลว่า “ผู้บรรยายเรื่อง” ทั้งผู้ประพันธ์และผู้อ่านอยู่ในโลกของความเป็นจริง หน้าที่ของผู้ประพันธ์คือการสร้างจักรวาล ตัวละคร และ เหตุการณ์ภายในเรื่อง หน้าที่ของผู้อ่านคือการทำความเข้าใจและการตีความหมายของเรื่อง ผู้บรรยายเรื่องเท่านั้นที่เป็นผู้เดียวที่อยู่ในโลกที่สร้างขึ้นโดยผู้ประพันธ์ผู้มีหน้าที่เสนอเรื่องที่เกิดขึ้นที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจ ผู้บรรยายเรื่องอาจจะบรรยายเรื่องจากมุมมองของตนเอง หรือจากมุมมองของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งในเรื่อง การบรรยายเรื่องหรือกระบวนการของบรรยายเรื่องเรียกว่า “การบรรยายเรื่อง” (narration) การอรรถาธิบาย (exposition), การโต้แย้ง (argumentation), การบรรยาย (description) และการบรรยายเรื่องเป็นวิธีสี่วจนิพนธ์ (Rhetorical modes) ในความหมายที่แคบลงของ “ผู้บรรยายเรื่อง” ในนวนิยายหมายถึงการบรรยายเรื่องราวที่เกิดขึ้นโดยผู้บรรยายเรื่องโดยตรงต่อผู้อ่าน ส่วนแนวคิดของ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (unreliable narrator) (ตรงกันข้ามกับผู้ประพันธ์) มามีความสำคัญขึ้นในการเขียนนวนิยายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งเมื่อมาถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 การวิพากษ์วรรณกรรมเกิดขึ้นเฉพาะงานกวีนิพนธ์ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มี “ผู้บรรยายเรื่อง” ที่ต่างไปจากผู้ประพันธ์ แต่นวนิยายที่มีโลกที่สร้างขึ้นก่อให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะเมื่อ “ผู้บรรยายเรื่อง” มีความเห็นที่แตกต่างจากผู้ประพันธ์เป็นอันมาก.

4 ความสัมพันธ์: การเล่าเรื่องผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือผู้เล่าเรื่องนักเขียน

การเล่าเรื่อง

การเล่าเรื่อง (storytelling) เป็นวิธีการใช้ดึงความรู้ที่อยู่ในคน (tacit knowledge) ออกมา เพราะเรื่องเล่าถือได้ว่าเป็นวิธีการสื่อที่ผสมผสานทั้งบริบท (context) และเนื้อหา (content) เรื่องเล่าจึงมีทั้งอารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อของผู้เล่าปนลงไปด้วย การเล่าเรื่องมีสภาพที่แตกต่างออกไปตามบริบท หมวดหมู่:การจัดการความรู้.

ใหม่!!: ผู้บรรยายเรื่องและการเล่าเรื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ประกอบโดยกุสตาฟว์ ดอเรของบารอนมึนช์เฮาเซน ผู้บรรยายเรื่องที่เกินเลยจากความจริงที่ถือว่าเป็น “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ (Unreliable narrator) ในนวนิยาย (ที่ใช้ในวรรณกรรม, การละคร, ภาพยนตร์ และอื่น ๆ) “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (คำที่คิดขึ้นโดยเวย์น ซี. บูธในหนังสือ “The Rhetoric of Fiction” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1961) หมายถึงผู้บรรยายเรื่องที่ขาดความน่าเชื่อถือโดยผู้อ่านอย่างเห็นได้ชัด"How to Write a Damn Good Novel, II", by James N. Frey (1994) ISBN 0312104782, หรือเป็นผู้ขาดความเป็นกลางด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การใช้ผู้บรรยายเรื่องประเภทที่เรียกว่า “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” อาจจะมาจากเหตุผลหลายประการของผู้ประพันธ์ แต่โดยทั่วไปก็เพื่อสร้างความเคลือบแคลงของเนื้อหาให้แก่ผู้อ่าน โดยการสร้างภาพพจน์ของผู้บรรยายเรื่องในทางที่เป็นผู้ไม่น่าไว้วางใจ ความไม่น่าเชื่อถืออาจจะมามีสาเหตุจากความเจ็บป่วยทางจิตของผู้บรรยายเรื่อง, ความลำเอียงของผู้บรรยายเรื่อง, ความขาดความรู้ของผู้บรรยายเรื่อง หรืออาจจะมาจากความจงใจของผู้ประพันธ์ที่จะหลอกผู้อ่านหรือผู้ดู “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” มักจะเป็นผู้บรรยายเรื่องบุคคลที่หนึ่ง แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นบุคคลที่สามก็ได้ บางครั้งผู้อ่านก็อาจจะทราบทันทีว่าผู้บรรยายเรื่องเป็นผู้ไม่น่าเชื่อถือ เช่นเมื่อเรื่องเปิดขึ้นโดยคำบรรยายที่ผิดอย่างชัดแจ้ง หรือ การอ้างอันขาดเหตุผล หรือ การยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญหาทางจิต หรือบางครั้งโครงร่างของเรื่องก็อาจจะมีตัวละครตัวหนึ่งในเรื่อง ที่มีนัยยะว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่การใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ที่เป็นนาฏกรรมที่สุดคือการประวิงเวลาในการเปิดเผยว่าผู้บรรยายเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือจนเมื่อเรื่องเกือบจะลงเอย การจบเรื่องที่ผิดจากที่ผู้อ่านคาดทำให้ผู้อ่านต้องกลับไปพิจารณาทัศนคติและประสบการณ์ของตนเองที่มีต่อเนื้อเรื่องที่อ่านมา ในบางกรณีความไม่น่าเชื่อถือของผู้บรรยายเรื่องอาจจะไม่ได้รับการเปิดเผยแต่เพียงบอกเป็นนัยยะ ที่สร้างความพิศวงให้แก่ผู้อ่านว่าจะเชื่อปากคำของผู้บรรยายเรื่องได้มากน้อยเท่าใด หรือ ควรจะตีความหมายของเรื่องอย่างใด นวนิยายอิงประวัติศาสตร์, นวนิยายคาดการณ์ (speculative fiction) และการบรรยายเรื่องฝัน ไม่ถือว่าเป็นการใช้การบรรยายเรื่องโดยผู้ไม่น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นการบรรยายเหตุการณ์ที่มิได้เกิดขึ้น หรือไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของการใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ก็ได้แก่ฮัมเบิร์ต ฮัมเบิร์ตตัวละครเอกในเรื่อง “โลลิตา” โดยวลาดิเมียร์ นาโบคอฟ ผู้หลงรักลูกเลี้ยงสาวอายุ 12 ปี ที่มักจะบรรยายเรื่องที่เป็นการสนับสนุนการกระทำของตนเองว่าไม่เป็นการผิดจริยธรรมในการเป็นโรคใคร่เด็ก (pedophilia) ซึ่งเป็นการบรรยายเรื่องอย่างลำเอียงเข้าข้างตนเอง.

ใหม่!!: ผู้บรรยายเรื่องและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เล่าเรื่อง

ผู้เล่าเรื่อง (Storyteller) อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: ผู้บรรยายเรื่องและผู้เล่าเรื่อง · ดูเพิ่มเติม »

นักเขียน

นักเขียน คือผู้ที่สร้างงานเขียน อย่างไรก็ตามคำนี้มักใช้เฉพาะกับผู้ที่เขียนงานสร้างสรรค์หรือเป็นอาชีพ หรือผู้ที่ได้สร้างงานเขียนในลักษณะอื่น ๆ นักเขียนที่มีความชำนาญจะแสดงความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อที่จะนำเสนอแนวคิดและภาพพจน์ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันเทิงคดีหรือสารคดี นักเขียนอาจสร้างผลงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทกวี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร สารคดี นักเขียนที่ทำงานเฉพาะมักได้รับการเรียกแตกต่างกัน เช่น กวี นักเขียนเรื่องสั้น นักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี นักเขียนอื่น ๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: ผู้บรรยายเรื่องและนักเขียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NarratedNarrator

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »