โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ดัชนี วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ผนังกรุหินอ่อนในพระวิหาร (พระอุโบสถ) และปาสาณเจดีย์ (เบื้องหลัง) อันเป็นสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม "พระพุทธสิหิงคปฏิมากร" พระประธานพระวิหารหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้จำลองมาจากพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี และเพื่อพระอุทิศถวายแก่พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายเพื่อที่พระองค์เองและเจ้านาย ข้าราชการ ที่จะไปทำบุญที่วัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายใกล้พระบรมมหาราชวังได้สะดวก วัดราชประดิษฐฯ จึงเป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดแรกที่สร้างขึ้นเพื่อพระสงฆ์ในนิกายนี้ เพราะวัดอื่น ๆ ของฝ่ายธรรมยุตเป็นวัดที่แปลงมาจากวัดของมหานิกาย วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในที่ดินที่เคยเป็นสวนกาแฟของหลวงโดยก่อสร้างใน..

19 ความสัมพันธ์: พระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส)พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก)พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก)พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ภาษาไทยราชกิจจานุเบกษาวัดบวรนิเวศราชวรวิหารวัดมหาธาตุวัดราชบูรณะ (แก้ความกำกวม)วัดราชประดิษฐานสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม)สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)ธรรมยุติกนิกายนาคหลวงเจ้าเปรียญธรรม 9 ประโยค

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและพระบรมมหาราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส)

ระพรหมมุนี นามเดิม แย้ม ฉายา อุปวิกาโส เป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย พระราชาคณะเจ้าคณะรองหนกลาง อดีตเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและพระพรหมมุนี (แย้ม อุปวิกาโส) · ดูเพิ่มเติม »

พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก)

ระสาสนโสภณ นามเดิม อ่อน ฉายา อหึสโก (อ่านว่า อะหิงสะโก) เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามวรวิหาร เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเจ้าคณะมณฑลกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและพระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก)

ระธรรมไตรโลกาจารย์ นามเดิม พูนศักดิ์ ฉายา วรภทฺทโก นามสกุล มาเจริญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค 1-2-3 และ 12-13 (ธรรมยุต) รองแม่กองธรรมสนามหลวง เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและพระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

ระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เดิมมีนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เดิมสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อทำการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ เป็นต้น หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2330 พระองค์เสด็จไปยังเชียงใหม่ และไดัอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมา พระองค์จึงทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ปัจจุบัน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและราชกิจจานุเบกษา · ดูเพิ่มเติม »

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ทั้งยังเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๖ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และ วัดประจำรัชกาลที่ ๙ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช).

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ เป็นชื่อเรียกของวัดที่ที่มีพระสถูปเจดีย์หรือพระปรางค์ที่บรรจุพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและวัดมหาธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบูรณะ (แก้ความกำกวม)

วัดราชบูรณะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและวัดราชบูรณะ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชประดิษฐาน

วัดราชประดิษฐาน ตั้งอยู่ที่ถนนอู่ทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีกล่าวถึงวัดราชประดิษฐานหลายครั้ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างในรัชสมัยใด ปัจจุบัน เป็นวัดราษฎร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและวัดราชประดิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม)

มเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม ทิม ฉายา อุฑาฒิโม เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)

มเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2436 ถึงปี พ.ศ. 2442 รวม 6 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 87 พรรษา เคยเป็นสามเณรนาคหลวง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นผู้สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค ได้ขณะยังเป็นสามเณร รูปแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น สามเณรอัจฉริยะ แห่งกรุงรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมยุติกนิกาย

ตราคณะธรรมยุต ธรรมยุติกนิกาย หรือ คณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษา และทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไร แล้วพระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก ต่อมาเมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่า ธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ธรรมยุต” อันมีความหมายว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่า ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คือคำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้น เว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (ข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ธรรมยุติกนิกาย ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปและฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ให้มีความถูกต้องและเข้มงวดตามพุทธบัญญัติ ให้พระภิกษุสงฆ์มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดถูกต้องตามพระวินัยปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเข้าใจแจ่มแจ้ง เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในส่วนที่บกพร่องของพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่โบราณ ให้สมบูรณ์ทั้งพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นความพยายามของพระวชิรญาณเถระเพื่อช่วยปฏิรูปการคณะสงฆ์และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอย่างบริบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย การก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย เป็นสาเหตุทำให้พระสงฆ์เถรวาทอื่นซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ได้มีการประชุมและมีมติให้เรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คณะธรรมยุต ว่า "มหานิกาย".

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและธรรมยุติกนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

นาคหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประเคนพัดรอง ในการพระราชทานอุปสมบทนาคหลวง เนื่องในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง นาคหลวง หมายถึง ผู้ที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบท นาคหลวง มี 2 ประเภท คือ.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและนาคหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้า

้า ในพระยศเจ้านายไทย หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือเชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ในระบบบรรดาศักดิ์ยุโรป เจ้า (ทั้งเจ้าชายและเจ้าหญิง) ถือเป็นฐานันดรศักดิ์สืบตระกูลในราชวงศ์สำหรับพระราชโอรสธิดาและพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ เช่น เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ “เจ้า” ยังอาจหมายถึงประมุขของรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่า เจ้าผู้ครองนคร ด้วย เช่น เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในยุโรป เจ้าชาย ยังหมายถึงเจ้าผู้ครองราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตี หากเป็นสตรีก็เรียกว่าเจ้าหญิง เช่น เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก ในปัจจุบันมีราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตีเหลือเพียง 3 แห่งในโลก คือ ราชรัฐอันดอร์รา ราชรัฐโมนาโก และราชรัฐลิกเตนสไตน.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

เปรียญธรรม 9 ประโยค

ัดยศเปรียญธรรม 9 ประโยค เปรียญธรรม 9 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.9) เป็นระดับชั้นสูงสุด ของการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย แต่เดิมภาษาบาลีคือภาษามคธที่คนในแคว้นมคธใช้พูดกันเท่านั้น เพราะภาษาบาลีไม่มีอักษรใช้เขียนเป็นตัวหนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมด้วยภาษามคธเพราะแคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ เหตุที่ภาษาบาลีไม่มีอักษรเขียน จึงต้องอาศัยอักษรจากภาษาอื่นเป็นตัวเขียน เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรไทย อักษรโรมัน เป็นต้น ในปัจจุบันภาษาบาลีถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว เหมือนภาษาละติน ถึงแม้มีคนใช้พูดอยู่ก็น้อยมาก ในพระพุทธศาสนามีเพียงนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี เช่นในพระไตรปิฎก เป็นต้น ความหวังผู้ที่สอบได้ ป..๙ สามารถเทียบเท่าระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ ดร.ทางฝ่ายโลกได้ คือ เป็น ดร.

ใหม่!!: วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารและเปรียญธรรม 9 ประโยค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามวัดราชประดิษฐ์วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรมหาวิหารวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหารวัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »