โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัดบุญวาทย์วิหาร

ดัชนี วัดบุญวาทย์วิหาร

วัดบุญวาทย์วิหาร (110px) เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นวัดหลวงวัดแรกของจังหวัดลำปาง เดิมชื่อวัดกลางเมือง เป็นวัดที่ใช้ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของเจ้านายมาแต่โบราณ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2347 สมัยพระเจ้าคำโสมเจ้าผู้ครองนครลำปางได้รื้อวิหารหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหลวงไชยสัณฐาน ต่อมาเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง เห็นความทรุดโทรมลงมากจึงรื้อแล้วสร้างใหม่ และให้หล่อพระประธานองค์ใหม่คือ พระพุทธรุปพระเจ้าตนหลวง แล้วเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดบุญวาทย์บำรุง ในปี พ.ศ. 2458 วัดบุญวาทย์ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงสามัญชั้นตรี และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดบุญวาทย์วิหาร วิหารหลวง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2455 มีลักษณะเป็นอาคารทึบ หลังคาจั่วฐานสูงกว่าวิหารล้านนา ซึ่งได้รับแบบจากวิหารในกรุงเทพ ฯ ตกแต่งภายในด้วยลายไทยภาคกลาง เหลือร่องรอยศิลปะล้านนาอยู่เพียงบางส่วน เช่น ตุงกระด้าง และค้ำยัน.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2347พ.ศ. 2455พ.ศ. 2458พระยาคำโสมพระอารามหลวงพระเจ้าตนหลวงภาคกลาง (ประเทศไทย)รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปางศิลปะล้านนาจังหวัดลำปางครีบยันตุงเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตเจ้านายฝ่ายเหนือ

พ.ศ. 2347

ทธศักราช 2347 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1804 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและพ.ศ. 2347 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2458

ทธศักราช 2458 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1915 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและพ.ศ. 2458 · ดูเพิ่มเติม »

พระยาคำโสม

ระยาคำโสม (พ.ศ. 2287 - พ.ศ. 2337) หรือ เจ้าคำสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นหนึ่งในเจ้าเจ็ดตน และเป็นราชบุตรองค์ที่ 2 ของเจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ได้ครองนครลำปางสืบต่อจากพระเชษฐา คือพระเจ้ากาวิละ ในระหว่างปี..

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและพระยาคำโสม · ดูเพิ่มเติม »

พระอารามหลวง

ระอารามหลวง หรือ วัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าจำนวนในบัญชีเป็นพระอารามหลวง.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและพระอารามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าตนหลวง

ระเจ้าตนหลวง เป็นพระประธานอยู่ในวิหารวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2034 ตรงกับรัชสมัยของพญายอดเชียงราย กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังราย และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระมหากษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสกุลช่างเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในดินแดนล้านนา พระเจ้าตนหลวงเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เดิมชื่อ พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา เนื่องจากสร้างขึ้นบริเวณริมหนองเอี้ยง ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 กรมประมงได้มีการก่อสร้างประตูกั้นน้ำ ทำให้น้ำแม่อิงและลำห้วยต่าง ๆ เอ่อล้นท่วมหนองเอี้ยงเป็นบริเวณกว้าง จนเกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ ซึ่งภายหลังเรียกว่ากว๊านพะเยา ทำให้พระเจ้าตนหลวงประดิษฐานอยู่ริมกว๊านพะเยามาจนถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและพระเจ้าตนหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง

้าผู้ครองนครลำปาง เป็นตำแหน่งที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรหริภุญชัย โดยกษัตริย์พระองค์แรกของนครลำปางคือพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสของพระนางจามเทวี พระเจ้าอนันตยศทรงสร้างนครลำปางและขึ้นครองเมืองเมื่อ..

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและรายพระนามเจ้าผู้ครองนครลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะล้านนา

ลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาอยู่ที่เมืองเชียงใหม.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและศิลปะล้านนา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลำปาง

ังหวัดลำปาง (40px) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกอย่างหลากหลายตั้งแต่ เขลางค์นคร, เวียงละกอน, นครลำปาง ฯลฯ ในภายหลังเป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า ที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์ของลำปาง.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและจังหวัดลำปาง · ดูเพิ่มเติม »

ครีบยัน

รีบยันในงานก่อสร้าง มหาวิหารเบเวอร์ลีย์ในอังกฤษซึ่งเป็นครีบยันทึกผสมกับครีบยันแบบปีกที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง ครีบยัน (buttress) คือวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทล.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและครีบยัน · ดูเพิ่มเติม »

ตุง

right ตุง คือ ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา พบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทย ทำด้วย ผ้า ไม้ โลหะ ด้าย หรือกระดาษ เป็นรูปแถบยาว ห้อยลง ใช้ประดับ หรือประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพิธีกรรมที่ใช้ตุง.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและตุง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (120px) (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465) เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ครองราชย์ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2465) ตลอดรัชสมัย เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตดำรงความมั่นคงสุจริตและความจงรักภักดีต่อพระบรมราชวงศ์จักรี พระองค์ได้ทรงพัฒนานครลำปางและเมืองบริวารในด้านต่าง ๆ ให้ทันกับการพัฒนาในส่วนกลาง ได้ทรงประทานที่ดินและทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการก่อสร้างสถานศึกษา ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อความผาสุกแก่ประชาชนลำปางอย่างแท้จริง.

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต · ดูเพิ่มเติม »

เจ้านายฝ่ายเหนือ

้านายฝ่ายเหนือ หมายถึง เจ้านายผู้สืบเชื้อสายในราชวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรหัวเมืองเหนือ ซึ่งเข้ามาเป็นประเทศราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อันได้แก่ เจ้าในราชวงศ์ทิพย์จักรที่ปกครองนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน ราชวงศ์น่านที่ปกครองนครน่าน และราชวงศ์เทพวงศ์ที่ปกครองนครแพร่ ในอดีตเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองดินแดนของตน แต่มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการถวายราชสำนักสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามราชสำนักสยามได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักประเทศราชหลายครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราชเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตำแหน่งเจ้าประเทศราชก็ให้สิ้นสุดเมื่อเจ้านครนั้นถึงแก่พิราลัย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือในราชวงศ์ทิพย์จักรยังคงมีการสืบทอดกันจากรุ่นสู่รุ่น และยังมีการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปี..

ใหม่!!: วัดบุญวาทย์วิหารและเจ้านายฝ่ายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »