เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

วัคซีนเอชพีวี

ดัชนี วัคซีนเอชพีวี

วัคซีนเอชพีวี (HPV ย่อมาจาก Human Papilloma Virus) หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอชพีวีบางสายพันธุ์  ขณะนี้วัคซีนที่มีอยู่หลายชนิด สามารถป้องกันการติดเชื้อ ได้ 2 สายพันธุ์, 4 สายพันธุ์ หรือ 9 สายพันธุ์แล้วแต่ชนิดของวัคซีน อย่างไรก็ดีวัคซีนเอชพีวี ทุกชนิดอย่างน้อยจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก  มีการประมาณการว่าวัคซีนต่อไวรัส 2 ชนิดนี้จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70,  ป้องกันมะเร็งทวารหนักได้ร้อยละ 80, ป้องกันมะเร็งช่องคลอดได้ร้อยละ 60, ป้องกันมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของเพศหญิง(Vulva)ได้ร้อยละ 40 และอาจจะช่วยป้องกันมะเร็งช่องปากได้บางส่วน   ส่วนวัคซีนเอชพีวีที่มี 4 หรือ 9 สายพันธุ์นั้นได้มีการเพิ่มการป้องกันต่อไวรัสกลุ่มเอชพีวีสายพันธุ์อื่นๆที่ก่อให้เกิดโรคหูดของอวัยวะสืบพันธุ์ร่วมด้วย องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้วัคซีนเอชพีวีเป็นส่วนหนึ่งของวัคซีนพื้นฐาน สำหรับประเทศที่มีงบประมาณเพียงพอ ควบคู่กับมาตรการป้องกันมะเร็งปากมดลูกวิธีอื่นๆ  จำนวนครั้งของการให้วัคซีนจะมีความแตกต่างกันตามแต่ละช่วงอายุ สำหรับเด็กหญิง แนะนำให้ให้วัคซีนในช่วงอายุ 9-13 ปี จากข้อมูลที่มีตอนนี้วัคซีนสามารถให้การคุ้มกันได้อย่างน้อย 8 ปี ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกยังคงมีความจำเป็นถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนเอชพีวีแล้วก็ตาม นอกจากการที่วัคซีนจะมีประโยชน์ต่อตัวผู้ฉีดเองแล้ว หากประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน จะส่งผลดีกับประชากรอื่นๆผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนด้วย อย่างไรก็ดีวัคซีนไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อแล้ว วัคซีนเอชพีวีมีความปลอดภัยสูง อาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่ได้รับวัคซีน ได้แก่ รู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่ฉีด (ร้อยละ 80) โดยอาจมีอาการแดงบวมหรือมีไข้ร่วมด้วย  ไม่พบความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดกีแลงบาเร่ (Guillain-Barre syndrome) วัคซีนเอชพีวีชนิดแรกเริ่มใช้ในปี..

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: มะเร็งปากมดลูกวัคซีนองค์การอนามัยโลกประเทศกำลังพัฒนาไวรัส

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดที่ปากมดลูก เกิดจากการที่เซลล์มีการเจริญเติบโตผิดปกติและมีความสามารถที่จะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือส่วนอื่นของร่างกาย ในระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อมีอาการแล้วอาการที่พบบ่อยคือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน หรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่บางครั้งก็อาจไม่มีอาการใดๆ จนลุกลามไปมากแล้วก็ได้ การรักษาส่วนใหญ่อาศัยการผ่าตัดในระยะแรกๆ และการใช้เคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษาในระยะที่เป็นมาก การตรวจคัดกรองโดยการใช้การทดสอบแปปสามารถตรวจหาความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งของเซลล์และเนื้อเยื่อปากมดลูกได้.

ดู วัคซีนเอชพีวีและมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ดู วัคซีนเอชพีวีและวัคซีน

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ดู วัคซีนเอชพีวีและองค์การอนามัยโลก

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ดู วัคซีนเอชพีวีและประเทศกำลังพัฒนา

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ.

ดู วัคซีนเอชพีวีและไวรัส

หรือที่รู้จักกันในชื่อ HPV vaccinesHpv vaccineวัคซีน HPVวัคซีน HPV (วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก)วัคซีนฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส