โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์แพนด้าแดง

ดัชนี วงศ์แพนด้าแดง

วงศ์แพนด้าแดง เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailuridae (/ไอ-เลอ-ริ-ดี/) ซึ่งมีเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ คือ แพนด้าแดง ที่พบกระจายพันธุ์ในป่าตามแนวเทือกเขาหิมาลัยของเอเชียตะวันออกจนถึงเอเชียใต้ เดิมทีนักวิทยาศาสตร์ คือ จอร์จส์ คูเวียร์ ได้จัดให้แพนด้าแดงอยู่ในวงศ์เดียวกันกับแรคคูน คือ Procyonidae ในปี..

14 ความสัมพันธ์: ชนิดย่อยการสูญพันธุ์ยุคน้ำแข็งวงศ์แร็กคูนสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหมีดีเอ็นเอซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตแพนด้าแดงแร็กคูน

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคน้ำแข็ง

แผ่นน้ำแข็งที่ขยายระหว่างยุคน้ำแข็ง ภาพนี้เป็นแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย (Ice Age)เป็นช่วงเวลาที่มีการลดลงของอุณหภูมิอย่างยาวนานบนพิ้นผิวและชั้นบรรยากาศโลกและโลกเกือบถึงจุดจบ ทำให้เกิดการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งในผืนทวีป แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และธารน้ำแข็งอัลไพน์ เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคไครโอจีเนีย จะมีหิมะตกลงมาอย่างหนักทั่วผืนผิวโลก ทั้งพื้นดิน และพื้นน้ำ เช่น มหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น เมื่อพื้นผิวมหาสมุทรถูกปกคลุมด้วยหิมะ ทำให้ใต้ท้องมหาสมุทรไม่ได้รับแสงอาทิตย์ หรือได้รับน้อยมาก และหลังจากนั้นได้มีการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ขึ้น และพ่นเถ้าถ่านออกมาจากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก ทำให้โลกเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน(Green House Effect)แล้วน้ำแข็ง และหิมะที่ปกคลุมทั่วโลกนั้นได้ละลายกลายเป็นน้ำ เมื่อน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำ ทำให้น้ำที่ละลายไปนั้นไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่พื้นดินดังเดิม.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและยุคน้ำแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์แร็กคูน

วงศ์แร็กคูน (Procyonid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyonidae (/โพร-ไซ-โอ-นิ-เด/) ลักษณะโดยร่วมของสัตว์ในวงศ์นี้คือ มีลำตัวสั้น มีหางยาว มีลวดลายตามลำตัวหรือใบหน้าหรือไม่มีในบางชนิด หากินได้ทั้งบนพื้นดินและต้นไม้ มักออกหากินในเวลากลางคืน กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก แต่ก็มีบางชนิดที่กินพืชหรือละอองเกสรดอกไม้หรือน้ำผึ้งเป็นอาหารหลัก มีฟันที่สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ทั้งหมดเป็นสัตว์ที่พบได้ในโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยสัตว์ในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ แร็กคูน, คิงคาจู, โคอาที, โอลิงโก เป็นต้น เดิมสัตว์ในวงศ์นี้เคยครอบคลุมถึงแพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงที่พบในทวีปเอเชียด้วย ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายคลึงกันและมีพฤติกรรมการหากินใกล้เคียงกัน แต่ทว่าเมื่อมีการศึกษาลงไปถึงระดับโมเลกุลของสารพันธุกรรม ได้แก่ การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ และการทดสอบเปรียบเทียบตำแหน่งของเบสในสิ่งมีชีวิตเพื่อจำแนกเป็นสายวิวัฒนาการ ทำให้ทราบว่าแพนด้าแดงมีสารพันธุกรรมที่มีความแตกต่างจากแร็กคูน และมีสายวิวัฒนาการแยกออกมาจากสายวิวัฒนาการของแร็กคูนมาเป็นเวลานานกว่า 30-40 ล้านปีแล้ว จึงได้จำแนกแพนด้าแดงออกมาจากวงศ์ Procyonidae และจัดอยู่ในวงศ์เฉพาะของตนเองคือ วงศ์ Ailuridae และในส่วนของแพนด้ายักษ์ก็ถือว่าก้ำกึ่งอยู่ระหว่างแร็กคูน, หมี และแพนด้าแดง แต่เมื่อศึกษาถึงคาริโอไทป์พบว่าแพนด้ายักษ์มีลักษณะคล้ายคลึงกับหมีมากกว่า จึงจัดให้แพนด้านั้นเป็นหมี หรืออยู่ในวงศ์ต่างหาก คือ Ailuropodidae.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและวงศ์แร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หมี

หมี จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์ Ursidae ออกลูกเป็นตัว ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินได้ทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและหมี · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต หรือ ฟอสซิลที่มีชีวิต (Living fossil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์คำนี้ คือ ชาลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ที่ว่าถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของตนเอง ตอนหนึ่งได้พูดถึงตุ่นปากเป็ด และปลาปอดเอาไว้ว่า โดยชนิดของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกค้นพบเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

แพนด้าแดง

แพนด้าแดง (Red panda, Shining cat; 小熊貓; พินอิน: Xiǎo xióngmāo) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดสายพันธุ์อยู่ จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตอยู่ชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Ailurus มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความยาวของลำตัวและหัว 51-64 เซนติเมตร หางยาว 50-63 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 3-4.5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย, ทิเบต, เนปาล, ภูฏาน, จีน, ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500-4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1-9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0-1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1-3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90-145 วัน และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก และมีสีที่ใบหน้าซีดจางกว่า ซึ่งเป็นชนิดย่อยที่แยกออกไป สำหรับในประเทศไทย สวนสัตว์พาต้าเคยนำเข้ามาเลี้ยงในสวนสัตว์ครั้งหนึ่ง โดยให้อยู่ในห้องปรับอากาศ ปัจจุบันมีแสดงที่สวนสัตว์ดุสิต และสวนสัตว์เปิดเขาเขียวเท่านั้น.

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและแพนด้าแดง · ดูเพิ่มเติม »

แร็กคูน

แร็กคูน (raccoon, common raccoon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Procyon lotor อยู่ในวงศ์แร็กคูน (Procyonidae) มีความยาวลำตัวราว 2 ฟุต มีหางเป็นพวงมีแถบสีดำคาดเป็นปล้อง ๆ ยาวราว 10 นิ้ว ขนตามลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ใบหน้าสีขาวมีแถบสีดำคาดจากตาไปเป็นแถบตลอดแก้ม แลดูคล้ายเหมือนโจรสวมหน้ากาก เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ไปทั่วในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลางในหลายพื้นที่ ทั้งในป่า หรือแม้แต่ชุมชนของมนุษย์ เป็นสัตว์ที่สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเนื้อสัตว์และพืช อีกทั้งยังชอบที่จะอยู่ใกล้พื้นที่ชุ่มน้ำด้วยการจับสัตว์น้ำกินเป็นอาหาร เช่น กบ, ปลา, กุ้ง และปู หรือเต่าขนาดเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งนกหรือแมลงปีกแข็งขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ด้วย แต่ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้ จะใช้วิธีการจับในน้ำตื้น ๆ ที่ขาหยั่งถึงแทน ในช่วงฤดูแล้งที่อาหารขนาดแคลนก็จะกินลูกไม้, ผลไม้ และดอกข้าวโพด เป็นอาหาร หรืออาจจะบุกเข้าไปในบ้านเรือนของมนุษย์ ขุดคุ้ยหาขยะหรือเศษอาหาร หรือแม้กระทั่งเปิดตู้เย็นหากิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ใช้เท้าหน้าได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนมือสำหรับหยิบจับอาหาร ซึ่งสามารถกระทำได้ถึงขนาดคลายปมเชือก และยังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมพิเศษ คือ ก่อนจะกินอาหาร มักจะนำไปล้างน้ำเสียก่อน จนมีความเชื่อว่าเป็นสัตว์รักสะอาด แต่ความจริงแล้ว เป็นพฤติกรรมที่จะนวดอาหารให้นิ่มซะก่อน ก่อนที่จะกิน แร็กคูน เป็นสัตว์ที่ปีนต้นไม้เก่ง ทำรังอยู่บนยอดไม้และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ ในเวลากลางวันจะนอนขดอยู่ตามพงไม้ หรือซอกหิน หรือนอนผึ่งแดดอยู่ในรัง ในตอนกลางคืนจะออกหากิน โดยใช้เส้นทางเดิม และมักจะใช้เส้นทางที่เป็นพื้นแข็ง เพื่อไม่ให้เกิดรอยเท้า ตัวเมียออกลูกครั้งละ 4-6 ตัว ในโพรงไม้ ในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกและอาหารขาดแคลน แร็กคูนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการจำศีลตลอดฤดูกาล แร็กคูน เป็นสัตว์ที่มีความน่ารัก จึงมีผู้นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง อีกทั้งขนและหนังมีความหนานุ่มและสีสวย จึงมีการล่าเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ด้วย ปัจจุบันกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยแร็กคูนถูกนำเข้าไปในเยอรมนีครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: วงศ์แพนด้าแดงและแร็กคูน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AiluridaeAilurinae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »