โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง

ดัชนี วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crotalinae, Rattlesnake, Pit viper) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Viperidae ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบกระจายพันธุ์ได้กว้างขวางที่สุด มีลักษณะโดยรวม คือ มีแอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดระหว่างช่องเปิดจมูกกับตา กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นเล็ก กระดูกพรีฟรอนทัลไม่มีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตรจนถึงร่วม 3.7 เมตร กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ของโลก ตั้งแต่ยุโรปจนถึงทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ทะเลทรายที่ร้อนและแห้งแล้ง ไปจนถึงที่ราบสูงหรือที่ราบต่ำในป่าดิบหรือบนภูเขาสูงที่ชุ่มชื้น โดยมากจะอาศัยและหากินบนพื้นดิน แต่บางชนิดก็ดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้หรือใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ หากินในเวลากลางคืน โดยใช้แอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดตรงระหว่างตากับจมูกจับความร้อนที่ออกจากร่างกายของเหยื่อ ซึ่งได้แก่ นกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น สัตว์ฟันแทะชนิดต่าง ๆ ในชนิดที่ดำรงชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำก็จับปลาหรือกบกินเป็นอาหาร แพร่พันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว ยกเว้นสกุล Calloselasma หรือ งูกะปะ, Lachesis และบางชนิดของสกุล Trimeresurus ที่วางไข่ มีทั้งหมด 18 สกุล ประมาณ 155 ชนิด โดยสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูหางกระดิ่งที่อยู่ในสกุล Crotalus และSistrurus ที่มีจุดเด่น คือ ปลายหางเป็นปล้องของสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนของผิวหนังลำตัวที่ยังหลงเหลืออยู่จากการลอกคราบแต่ละครั้ง เมื่อสั่นหางส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม สำหรับในประเทศไทย มีงูในวงศ์ย่อยนี้ 16 ชนิด ได้แก่ งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) ที่พบมากในสวนยางและสวนปาล์มน้ำมันทางภาคใต้, งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis), งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูหางแฮ่มภูเขา (Ovophis monticola) เป็นต้น.

35 ความสัมพันธ์: บริเวณแห้งแล้งพ.ศ. 2354พ.ศ. 2552การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามภาคใต้ (ประเทศไทย)ยางพาราวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งวงศ์งูแมวเซาสกุล (ชีววิทยา)สหรัฐสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับกิ้งก่าและงูอันดับสัตว์ฟันแทะอเมริกากลางทวีปยุโรปทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือทวีปเอเชียงูงูกะปะงูหางกระดิ่ง (สกุล)งูหางกระดิ่งแคระงูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์งูหางแฮ่มกาญจน์งูเขียวหางไหม้งูเขียวหางไหม้ท้องเหลืองประเทศไทยประเทศเม็กซิโกปาล์มน้ำมัน

บริเวณแห้งแล้ง

ทะเลทราย ทะเลทรายอาตากามา บริเวณแห้งแล้ง หรือ ทะเลทราย (desert) เป็นบริเวณแผ่นดินแห้งแล้งซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อยและทำให้สภาพการดำรงชีพไม่เอื้อสำหรับพืชและสัตว์ ประมาณหนึ่งในสามของพื้นผิวดินของโลกแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมเขตขั้วโลกด้วยซึ่งเกิดหยาดน้ำฟ้าน้อย และบ้างเรียก "บริเวณแห้งแล้งเย็น" บริเวณแห้งแล้งสามารถจำแนกได้โดยปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตก อุณหภูมิ สาเหตุของการกลายเป็นบริเวณแห้งแล้ง (desertification) หรือโดยที่ตั้งภูมิศาสตร.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและบริเวณแห้งแล้ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2354

ทธศักราช 2354 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและพ.ศ. 2354 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ยางพารา

งพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและประเทศเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่า ต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี..

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและยางพารา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crotalinae, Rattlesnake, Pit viper) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Viperidae ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบกระจายพันธุ์ได้กว้างขวางที่สุด มีลักษณะโดยรวม คือ มีแอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดระหว่างช่องเปิดจมูกกับตา กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นเล็ก กระดูกพรีฟรอนทัลไม่มีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตรจนถึงร่วม 3.7 เมตร กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ของโลก ตั้งแต่ยุโรปจนถึงทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ทะเลทรายที่ร้อนและแห้งแล้ง ไปจนถึงที่ราบสูงหรือที่ราบต่ำในป่าดิบหรือบนภูเขาสูงที่ชุ่มชื้น โดยมากจะอาศัยและหากินบนพื้นดิน แต่บางชนิดก็ดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้หรือใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ หากินในเวลากลางคืน โดยใช้แอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดตรงระหว่างตากับจมูกจับความร้อนที่ออกจากร่างกายของเหยื่อ ซึ่งได้แก่ นกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น สัตว์ฟันแทะชนิดต่าง ๆ ในชนิดที่ดำรงชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำก็จับปลาหรือกบกินเป็นอาหาร แพร่พันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว ยกเว้นสกุล Calloselasma หรือ งูกะปะ, Lachesis และบางชนิดของสกุล Trimeresurus ที่วางไข่ มีทั้งหมด 18 สกุล ประมาณ 155 ชนิด โดยสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูหางกระดิ่งที่อยู่ในสกุล Crotalus และSistrurus ที่มีจุดเด่น คือ ปลายหางเป็นปล้องของสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนของผิวหนังลำตัวที่ยังหลงเหลืออยู่จากการลอกคราบแต่ละครั้ง เมื่อสั่นหางส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม สำหรับในประเทศไทย มีงูในวงศ์ย่อยนี้ 16 ชนิด ได้แก่ งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) ที่พบมากในสวนยางและสวนปาล์มน้ำมันทางภาคใต้, งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis), งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูหางแฮ่มภูเขา (Ovophis monticola) เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูแมวเซา

วงศ์งูแมวเซา หรือ วงศ์งูหางกระดิ่ง หรือ วงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viperidae, Viper, Rattlesnake) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรงมากวงศ์หนึ่ง ที่ทำอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ให้ตายได้ด้วยน้ำพิษ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวป้อมและมีหัวค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนคอมาก เกล็ดบนหัวมีขนาดเล็กยกเว้นสกุล Causus ที่เป็นแผ่นใหญ่ มีแอ่งรับรู้สึกคลื่นความร้อนอินฟราเรดอยู่ระหว่างช่องเปิดจมูกกับตาหรืออยู่ทางด้านล่างของเกล็ดที่ปกคลุมหัว กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาหมุนได้ และมีเขี้ยวพิษขนาดใหญ่เพียงซี่เดียวที่เป็นท่อกลวง เขี้ยวเคลื่อนไหวได้จากการปรับปรุงให้รอยต่อระหว่างกระดูกแมคซิลลากับกระดูกพรีฟรอนทัลขยับได้ ฟันเขี้ยวจะยกตั้งขึ้นเมื่ออ้าปากและเอนราบไปกับพื้นล่างของปากเมื่อหุบปาก ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัลหรือกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์ ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกประมาณ 221 ชนิด ประมาณ 32 สกุล และแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 4 วงศ์ แพร่กระจายไปทุกมุมโลก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลีย, บางส่วนในทวีปเอเชีย และทวีปแอนตาร์กติกา โดยสมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักดี คือ งูหางกระดิ่ง คือ งูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae ที่พบได้ในทะเลทรายในทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลาง สำหรับในทวีปเอเชีย ชนิด Azemiops feae พบได้ในพม่า, จีนตอนกลาง และเวียดนาม จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae สำหรับในประเทศไทยจัดว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง ได้แก่ งูกะปะ หรือ งูปะบุก (Calloselasma rhodostoma) ที่จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae และงูแมวเซา (Daboia russellii) ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Viperinae เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและวงศ์งูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกากลาง

แผนที่อเมริกากลาง อเมริกากลาง (Central America) เป็นภูมิภาคย่อยที่หมายถึงกลุ่มประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งตามความหมายส่วนใหญ่แล้วจะนับจาก ทางใต้ของ อ่าวเม็กซิโก ไปถึงพรมแดนระหว่างปานามากับโคลัมเบีย (หรือประเทศต่าง ๆ ระหว่างเม็กซิโกกับโคลัมเบีย) ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและอเมริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงู · ดูเพิ่มเติม »

งูกะปะ

งูกะปะ เป็นงูพิษที่มีพิษรุนแรงมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calloselasma rhodostoma จัดเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Calloselasma โดยไม่มีชนิดย่อ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงูกะปะ · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่ง (สกุล)

งูหางกระดิ่ง (Rattlesnakes; Crótalo) เป็นสกุลของงูพิษที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) ใช้ชื่อสกุลว่า Crotalus (/โคร-ทา-ลัส/) โดยคำว่า Crotalus นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า krotalon หมายถึง "สั่น" หรือ "Castanet" มีลักษณะเด่น คือ เมื่อลอกคาบแล้ว เกล็ดบางส่วนที่ปลายหางจะไม่ลอกหลุดหมดไป เกล็ดเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ เป็นสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนซึ่งเมื่อสั่นเกล็ดส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ นอกจากนี้แล้วยังมีหัวมีลักษณะแบน ดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม รูม่านตาคล้ายรูม่านตาของแมว คือ เป็นรูปวงรีวางตัวในแนวตั้ง และจะมีความกว้างของหัวเป็นสองเท่าของลำคอ สามารถเห็นแอ่งรับรู้ความร้อนอินฟาเรดระหว่างตา และรูจมูกของแต่ละข้างของหัว ซึ่งเป็นบริเวณที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม ทำให้งูสามารถรู้ตำแหน่งของเหยื่อได้แม้ในความมืด เนื่องจากเป็นงูที่หากินในเวลากลางคืน โดยกินเหยื่อเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู, กระต่าย หรือแพรรีด็อก เป็นต้น และหากินตามพื้นดินมากกว่าขึ้นต้นไม้ เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่จะฟักในตัวแม่งู ลูกงูจะออกมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ครั้งละ 5-12 ตัว ลูกงูที่ออกมามีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว (15-20 เซนติเมตร) ลูกงูจะมีปล้องเกล็ดที่หาง 1 ปล้อง สามารถผลิตพิษได้แต่จำนวนน้อย และพิษยังไม่รุนแรงมาก และจะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 3 ปี สีของลำตัวต่างกันไปตามชนิด และระยะของการลอกคราบ โดยมีสีสันที่หลากหลายได้แก่ สีน้ำตาล, สีเหลือง, สีเทา, สีดำ, สีคล้ายกับฝุ่นชอล์ก และสีเขียวมะกอก เป็นต้น Kardong, K. V. and Bels, V. L. (1998).

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงูหางกระดิ่ง (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่งแคระ

งูหางกระดิ่งแคระ หรือ งูหางกระดิ่งเล็ก (Pigmy rattlesnakes, MassasaugasWright AH, Wright AA. 1957. Handbook of Snakes. Comstock Publishing Associates. (7th printing, 1985). 1105 pp. ISBN 0-8014-0463-0.) เป็นสกุลของงูพิษในสกุล Sistrurus ในวงศ์งูหางกระดิ่ง (Viperidae) จัดเป็นงูหางกระดิ่งจำพวกหนึ่ง ที่ไม่ใช่สกุล Crotalus ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยคำว่า Sistrurus แปลว่า "หางกระดิ่ง" (Σείστρουρος, Seistrouros) ซึ่งเป็นภาษากรีกที่มีที่มาจากเครื่องดนตรีของอียิปต์โบราณที่ชื่อซิสทรัม งูหางกระดิ่งแคระ มีลักษณะคล้ายกับงูหางกระดิ่งทั่วไป คือ ส่วนของปลายหางเป็นปล้องของสารประกอบเคอราตินที่เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนของคราบผิวหนังลำตัวที่ยังเหลืออยู่จากการลอกคราบแต่ละครั้ง เมื่อสั่นหางจะเกิดเสียงดังจากการกระทบกันของปล้องของคราบผิวหนังเพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยแก่สัตว์อื่น แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีการเรียงตัวของเกล็ดต่างกัน เกล็ดแผ่นใหญ่ที่ส่วนหัวมี 9 แผ่น (เหมือนกับสกุล Agkistrodon) ขณะที่งูหางกระดิ่งทั่วไป (รวมถึงงูสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันเกือบทั้งหมด) หัวจะปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก พบกระจายพันธุ์ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของแคนาดา, ภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงตอนเหนือและภาคกลางของเม็กซิโก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงูหางกระดิ่งแคระ · ดูเพิ่มเติม »

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์

งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ หรือ งูไซด์ไวน์เดอร์ (Sidewinder, Sidewinder rattlesnake, Horned rattlesnakeCarr A. 1963. The Reptiles. Life Nature Library. Time-Life Books, New York. LCCCN 63-12781.) เป็นงูพิษขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่แถบทะเลทราย จัดเป็นงูจำพวกงูหางกระดิ่ง อยู่ในวงศ์งูแมวเซา (Viperidae) และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (Crotalinae) จัดเป็นงูหางกระดิ่งชนิดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.5-2.5 ฟุต แต่ตัวที่มีความยาวกว่า 30 นิ้ว มักไม่ค่อยพบ มีลักษณะเด่น คือ มีติ่งเล็ก ๆ เหนือตาคล้ายกับเขา ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้ในการปกป้องดวงตา มีเกล็ดตามลำตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้ม สำหรับการปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นทราย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ มีการเคลื่อนที่ด้วยการเหวี่ยงตัวไปข้าง ๆ ด้วยการควบคุมตัวให้ตกลงสู่พื้นในแนวดิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นไถล เพื่อทำให้เกิดแรงผลักและทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าขณะเดียวกันลำตัวถูกยกขึ้นสูงจากพื้นวัสดุแล้วตกลงในแนวดิ่ง จึงสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้ แต่ทิศทางการเลื้อยอาจดูเฉียงไปด้านข้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะรูปแบบการเคลื่อนที่แบบนี้เหมาะมากสำหรับการเคลื่อนที่ของสัตว์ที่ไม่มีขาบนพื้นทราย ที่อ่อนนุ่มแบบนี้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญที่ใช้เรียกด้วย งูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ เป็นงูที่ออกหากินในเวลากลางคืน ด้วยการตรวจจับคลื่นอินฟาเรดจากความร้อนของตัวเหยื่อ ซึ่งเหยื่อ โดยมากจะได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู หรือสัตว์ฟันแทะและกิ้งก่าชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา เช่น รัฐเท็กซัส, ยูทาห์, เนวาดา, อริโซนา, แคลิฟอร์เนีย และตอนเหนือของเม็กซิโก แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย ตามแต่ละถิ่นที่อยู่อาศัย (ดูในตาราง) รอยบนพื้นทราย ที่เป็นงูเหวี่ยงตัวผ่าน เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวได้มากกว่าครั้งละ 18 ตัว.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงูหางกระดิ่งไซด์ไวน์เดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

งูหางแฮ่มกาญจน์

งูหางแฮ่มกาญจน์ (Kanburi pitviperGumprecht A, Tillack F, Orlov NL, Captain A, Ryabov S. 2004.) เป็นงูที่มีพิษที่มีขนาดใหญ่อยู่ในสกุลเดียวกันกับงูเขียวหางไหม้ วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง อาศัยในบริเวณที่ชุ่มชื้นและป่าชายเลน พบในในประเทศไทย บริเวณเขตจังหวัดกาญจนบุรี เลย และระนอง ศูนย์รวบรวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไท.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงูหางแฮ่มกาญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวหางไหม้

ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียว งูเขียวหางไหม้ (Green pit vipers, Asian pit vipers Mehrtens JM.) เป็นงูที่อยู่ในสกุล Trimeresurus ในวงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (Viperidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวยาวมนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดง ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นงูพิษอ่อน ผิดไปจากงูสกุลหรือชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยผู้ที่ถูกกัดจะไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากเสียแต่ว่ามีโรคหรืออาการอื่นแทรกแซง โดยผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงทันทีที่ถูกกัด แล้วค่อย ๆหายใน 5-6 ชั่วโมง บริเวณที่ถูกกัดจะบวมอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 วันแรก จากนั้นจะค่อย ๆ ยุบบวมในเวลา 5-7 วัน อาจจะมีเลือดออกจากรอยเขี้ยว แต่ไม่มาก หากมีอาการมากกว่านี้ถือว่าเป็นอาการหนัก เป็นงูที่เลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุและฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา, กองไม้, กระถางต้นไม้, กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ โดยกิน นก, จิ้งจก, ตุ๊กแก, สัตว์ฟันแทะ รวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ โดยปกติ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีบางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก พบประมาณ 35 ชนิด ในประเทศไทย พบชุกชุมในภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (T. purpureomaculatus), งูหางแฮ่มกาญจน์ (T. kanburiensis), งูปาล์ม (T. puniceus) เป็นต้น โดยมีชนิดที่ค้นพบใหม่ คือ งูเขียวหางไหม้ภูเก็ต (T. phuketensis) ที่พบในป่าดิบชื้น ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงูเขียวหางไหม้ · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Green pit viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ลำตัวสีเขียวอมเหลืองสด บนตัวสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงชัดเจน ท้องเหลืองหรือขาว งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง ปกติเลื้อยช้าๆไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุ สามารถจะฉกศัตรูเมื่อศัตรูเข้าใกล้ได้อย่างรวดเร็ว ชอบนอนขดอยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆ กอหญ้า กระถางต้นไม้ขณะเกาะนอนบนไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งตามพื้นดินที่มีหญ้ารกๆ และบนต้นไม้ ชอบกินหนู กบ เขียด เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 7-15 ตัว พบงูหางเขียวไหม้ท้องเหลืองชุกชุมในจังหวัดภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบในอินเดีย จีน พม่า และ ศรีลังก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเม็กซิโก

ม็กซิโก (Mexico; México) หรือชื่อทางการคือ สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican States; Estados Unidos Mexicanos) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนทางทิศเหนือจรดสหรัฐอเมริกา ทิศใต้และทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกเฉียงใต้จรดกัวเตมาลา เบลีซ และทะเลแคริบเบียน ส่วนทิศตะวันออกจรดอ่าวเม็กซิโก เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ถึงเกือบ 2 ล้านตารางกิโลเมตร เม็กซิโกจึงเป็นประเทศที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของทวีปอเมริกา และเป็นอันดับที่ 15 ของโลก นอกจากนี้ยังมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดยมีการประมาณไว้ว่า เมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ประเทศนี้มีจำนวนประชากร 128,632,000 ล้านคน.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและประเทศเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชตระกูลปาล์มลักษณะลำต้นเดี่ยว ขนาดลำต้นประมาณ 12 -20 นิ้ว เมื่ออายุประมาณ 1-3 ปี ลำต้นจะถูกหุ้มด้วยโคนกาบใบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นโคนกาบใบจะหลุดร่วงเห็นลำต้นชัดเจน ผิวของลำต้นคล้ายๆ ต้นตาล ลักษณะใบเป็นรูปก้างปลา โคนกาบใบจะมีลักษณะเป็นซี่ คล้ายหนามแต่ไม่คมมาก เมื่อไปถึงกลางใบหนามดังกล่าวจะพัฒนาเป็นใบ การออกดอกเป็นพืชที่แยกเพศ คือต้นที่เป็นเพศผู้ก็จะให้เกสรตัวผู้อย่างเดียว ต้นที่ให้เกสรตัวเมียจึงจะติดผล ลักษณะผลเป็นทะลายผลจะเกาะติดกันแน่นจนไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปที่ก้านผลได้ เวลาเก็บผลปาล์มจึงต้องใช้มีดงอเกี่ยวที่โคนทะลายแล้วดึงให้ขาด ก่อนที่จะตัดทะลายปาล์มต้องตัดทางปาล์มก่อนเพราะผลปาล์มจะตั้งอยู่บนทางปาล์ม กระบวนการตัดทาง(ใบ)ปาล์มและตัดเอาทะลายปาล์มลง เรียกรวมๆ ว่า แทงปาล์ม ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นพืชที่ให้ผลผลิต น้ำมันต่อหน่วยพื้นที่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ไบโอดีเซลรวมถึงเป็นส่วนผสมในเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่างๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก ในประเทศไทยมีการปลูกทั้งทางภาคใต้และภาคตะวันออก พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก เป็นปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา โดยเฉพาะที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงปี 2547 - 2550 มีการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่นาร้าง โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีการขุดร่องให้ฟรี ให้พันธุ์และปุ๋ย โดยให้เหตุผลในการส่งเสริมการปลูกเนื่องจากเป็นปาล์มที่ให้นำมันใช้ได้ทั้งการบริโภคและใช้เป็นไบโอดีเซลได้โดยประเทศที่ปลูกปาล์มนำมันได้แก่ อินโดนีเซีย 50ล้านไร่ มาเลเซีย 35ล้านไร่ ส่วนไทย 5.5ล้านไร่ปัจจุบันภาครัฐของไทยมีเป้าหมายจะปลูกปาล์มให้ได้ทั้งสิ้น 10ล้านไร่ภายในปี 2572 จากพื้นที่มีศักยภาพ ทั้งสิ้น 20ล้านไร่ ปัจจุบัน ประเทศที่ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลกคือประเทศมาเลเซีย ผลิตเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 47 ของการผลิดของโลก ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นจะกำหนดปริมาณการให้ช่อดอกตัวผู้ และช่อดอกตัวเมีย ล่วงหน้า 33 เดือน โดยขึ้น กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันนั้น ๆ ได้รับ เช่น หากต้นปาล์มได้รับน้ำ ในปริมาณที่เหมาะสมในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวเมียมากกว่าช่อดอกตัวผู้ ในทางกลับกัน หากต้นปาล์มนั้น ๆได้รับน้ำ ในปริมาณที่ไม่เพียงพอในวันนี้ต้นปาล์มก็จะกำหนดให้ลำต้นออกช่อดอกตัวผู้มากกว่าช่อดอกตัวเมีย ซึ่งช่อดอกทั้ง ตัวผู้และตัวเมียที่ถูกกำหนดล่วงหน้านี้จะไปผลิออกเป็นช่อดอกในอีก 33 เดือนข้างหน้า ดังนั้น ปาล์มที่ปลูกโดยอาศัยน้ำ ฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว จะให้ผลผลิตตามปริมาณน้ำ ฝนที่ได้รับ ยิ่งถ้าพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีช่วงฝนแล้ง หรือขาดน้ำ หลายเดือน ปาล์มนั้น ๆ ก็จะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมาก หรือแทบไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย ต้นปาล์มจะมีลักษณะสูงเร็ว เพราะไม่ต้องสูญเสียธาตุอาหารในการออกลูกออกผลปาล์มน้ำมันที่ขาดน้ำ เป็นระยะเวลาหลายเดือน จะให้แต่ช่อดอกตัวผู้ หรือแทบจะไม่ให้ช่อดอกตัวเมียเลย แม้ว่าเราจะให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา ก็ไม่สามารถแก้ไขให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ได้ เพราะปริมาณการออกช่อดอกตัวเมียได้ถูกกำหนดไว้แล้วเมื่อ 33 เดือนที่แล้วตามปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวได้รับ แต่การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเต็มที่กับต้นปาล์มในเวลาต่อมา จะไปมีผลให้ต้นปาล์มออกช่อดอกตัวเมียมากขึ้น ในอีก 33 เดือนข้างหน้าอย่างไรก็ตามหากช่อดอกตัวเมียที่ออกมา กระทบกับช่วงฤดูแล้ง หรือภาวะต้นปาล์มขาดน้ำ ช่อดอกตัวเมียดังกล่าวก็อาจจะฝ่อไม่ให้ผล เพื่อลดการสูญเสียน้ำ อายุปลูกลงดิน 1 ½ - 3 ½ ปี: ต้นปาล์มจะเริ่มออกดอก ให้ผลผลิต มีผลปาล์มออกดกรอบต้น เนื่องจากต้นปาล์มได้น้ำ จากแปลงเพาะต้นกล้า ในช่วงอายุปลูกประมาณ 2 ½ ขึ้น ไป การกำหนดปริมาณช่อดอกตัวผู้-ตัวเมีย จะขึ้น อยู่กับปริมาณน้ำ ที่ต้นปาล์มได้รับบนแปลงปลูกนั้น ๆ(น้ำ จากฝน และการรดน้ำ) อายุปลูกลงดินประมาณ 3 ½ ปี เป็นช่วงปาล์มขาดคอ ต้นปาล์มจะให้ช่อดอกตัวผู้ในปริมาณมากเป็นระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือน ขึ้น อยู่กับสภาพภูมิอากาศและการได้รับน้ำ ในแปลงปลูกนั้น ๆ อายุปลูกลงดิน 4 – 7 ปี ปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น ๆเรื่อย ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง รวมทั้ง ถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปีที่รับประกันเอาไว้โดยผู้ผลิตแต่ละแหล่ง สามารถที่ จะรับประกันได้ที่อายุต้นปาล์ม 8 ปี อายุปลูก8 ปีขึ้น ไป ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสม่ำเสมอ ถ้าเกษตรกรมีการให้ทั้ง ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอกอย่างถูกต้อง และถ้ามีการให้น้ำ ได้ตลอดทั้ง ปี ปริมาณน้ำ หนักทะลายปาล์มเป็นตันต่อไร่ต่อปี ต้องได้ตามปริมาณที่แต่ละแหล่งผลิตรับประกันด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากวิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มที่ต้นสูงมาก ไม่สามารถใช้เสียมแทงปาล์มได้ต้องใช้เคียวตัดทางใบล่างออกก่อนแล้วจึงจะสามารถใช้เคียวตัดทะลายปาล์มลงมาได้ด้วยวิธีดังกล่าว จะทำให้ต้นปาล์มมีทางใบน้อยลง เสมือนมีขนาดโรงครัวปรุงอาหารเล็กลง ทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตน้อยลงตามไปด้วย การให้นํ้ากับต้นปาล์มนํ้ามันในปริมาณที่เหมาะสม จากการศึกษาทางวิชาการ เสนอไว้ว่า ปาล์มน้ำมันแต่ละต้นต้องการน้ำ วันละ200 ลิตรซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรกรที่จะต้องจัดหาน้ำ ปริมาณดังกล่าว เพื่อใช้รดให้กับต้นปาล์มน้ำมันอูติพันธุ์พืชเสนอให้ใช้วิธีสังเกตยอดต้นปาล์มที่มียอดแหลม ไม่คลี่ออก คล้ายหอก หากปรากฏว่าปาล์มน้ำมันต้นใดมียอดแหลม ไม่คลี่ คล้ายหอก สูงในระดับใกล้เคียงกัน มากกว่า 2 ยอดหอกแสดงว่าปาล์มน้ำมันต้นดังกล่าวขาดน้ำ แล้ว ต้องให้น้ำ แก่ต้นปาล์มนั้น ๆมากขึ้นลักษณะการให้น้ำ ด้วยท่อพีอี พันรอบลำต้นปาล์มและใส่หัวฉีดขนาดเล็กจำนวน 3 หัว พ่นน้ำ หันออกจากลำต้นทำให้ไม่เกะกะและเสียหายจากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมันลักษณะของยอดปาล์มที่แหลม ไม่คลี่ใบออก คล้ายหอกหากมียอดหอกดังกล่าว ที่มีความสูงระดับใกล้เคียงกันมากกว่า 2 ยอด แสดงว่าปาล์มอยู่ในภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำ ไม่เพียงพอ ต้องเพิ่มการให้น้ำ.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งและปาล์มน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CrotalinaePit viper

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »