โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

งูเขียวหางไหม้

ดัชนี งูเขียวหางไหม้

ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียว งูเขียวหางไหม้ (Green pit vipers, Asian pit vipers Mehrtens JM.) เป็นงูที่อยู่ในสกุล Trimeresurus ในวงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (Viperidae) มีรูปร่างโดยรวม คือ มีหัวยาวมนใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก ตัวอ้วนสั้น ปลายหางมีสีแดง ลำตัวมีสีเขียวอมเหลืองสด บางตัวมีสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงสด บางตัวมีหางสีแดงคล้ำเกือบเป็นสีน้ำตาล อันเป็นที่มาของชื่อ จัดเป็นงูพิษอ่อน ผิดไปจากงูสกุลหรือชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยผู้ที่ถูกกัดจะไม่ถึงกับเสียชีวิต นอกจากเสียแต่ว่ามีโรคหรืออาการอื่นแทรกแซง โดยผู้ที่ถูกกัดจะมีอาการปวดอย่างรุนแรงทันทีที่ถูกกัด แล้วค่อย ๆหายใน 5-6 ชั่วโมง บริเวณที่ถูกกัดจะบวมอย่างรวดเร็วในระยะ 3-4 วันแรก จากนั้นจะค่อย ๆ ยุบบวมในเวลา 5-7 วัน อาจจะมีเลือดออกจากรอยเขี้ยว แต่ไม่มาก หากมีอาการมากกว่านี้ถือว่าเป็นอาการหนัก เป็นงูที่เลื้อยช้า ๆ ไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุและฉกกัดเมื่อเข้าใกล้ ชอบอาศัยตามซอกชายคา, กองไม้, กระถางต้นไม้, กอหญ้า ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งบนต้นไม้ และตามพื้นดินที่มีหญ้ารก ๆ โดยกิน นก, จิ้งจก, ตุ๊กแก, สัตว์ฟันแทะ รวมถึงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร ขณะเกาะนอนบนกิ่งไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ โดยปกติ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 8-12 ตัว แต่ก็มีบางชนิดเหมือนกันที่ออกลูกเป็นไข่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก พบประมาณ 35 ชนิด ในประเทศไทย พบชุกชุมในภาคกลางและภาคตะวันออก เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูเขียวหางไหม้ลายเสือ (T. purpureomaculatus), งูหางแฮ่มกาญจน์ (T. kanburiensis), งูปาล์ม (T. puniceus) เป็นต้น โดยมีชนิดที่ค้นพบใหม่ คือ งูเขียวหางไหม้ภูเก็ต (T. phuketensis) ที่พบในป่าดิบชื้น ในจังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนตุลาคม..

23 ความสัมพันธ์: ภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)รูปสามเหลี่ยมวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่งวงศ์ย่อยงูเขียววงศ์งูแมวเซาสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์หมู่เกาะแปซิฟิกอันดับกิ้งก่าและงูจังหวัดภูเก็ตความตายงูงูหางแฮ่มกาญจน์งูปาล์มงูเขียวหางไหม้ลายเสืองูเขียวหางไหม้ท้องเหลืองป่าดิบชื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียใต้

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคตะวันออก (ประเทศไทย)

ตะวันออก เป็นภูมิภาคย่อยทางตะวันออกของประเทศไทย เดิมถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลาง อยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก นับเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม ผลไม้ และอัญมณีของประเท.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และภาคตะวันออก (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

รูปสามเหลี่ยม

รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี หรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย ในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ).

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และรูปสามเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง

วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crotalinae, Rattlesnake, Pit viper) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Viperidae ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบกระจายพันธุ์ได้กว้างขวางที่สุด มีลักษณะโดยรวม คือ มีแอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดระหว่างช่องเปิดจมูกกับตา กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นเล็ก กระดูกพรีฟรอนทัลไม่มีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีขนาดความยาวตั้งแต่ 30 เซนติเมตรจนถึงร่วม 3.7 เมตร กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในหลายพื้นที่ของโลก ตั้งแต่ยุโรปจนถึงทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ทะเลทรายที่ร้อนและแห้งแล้ง ไปจนถึงที่ราบสูงหรือที่ราบต่ำในป่าดิบหรือบนภูเขาสูงที่ชุ่มชื้น โดยมากจะอาศัยและหากินบนพื้นดิน แต่บางชนิดก็ดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้หรือใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ หากินในเวลากลางคืน โดยใช้แอ่งรับรู้คลื่นอินฟราเรดตรงระหว่างตากับจมูกจับความร้อนที่ออกจากร่างกายของเหยื่อ ซึ่งได้แก่ นกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น สัตว์ฟันแทะชนิดต่าง ๆ ในชนิดที่ดำรงชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำก็จับปลาหรือกบกินเป็นอาหาร แพร่พันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัว ยกเว้นสกุล Calloselasma หรือ งูกะปะ, Lachesis และบางชนิดของสกุล Trimeresurus ที่วางไข่ มีทั้งหมด 18 สกุล ประมาณ 155 ชนิด โดยสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูหางกระดิ่งที่อยู่ในสกุล Crotalus และSistrurus ที่มีจุดเด่น คือ ปลายหางเป็นปล้องของสารประกอบเคอราติน เรียงตัวต่อเนื่องกันซึ่งเป็นส่วนของผิวหนังลำตัวที่ยังหลงเหลืออยู่จากการลอกคราบแต่ละครั้ง เมื่อสั่นหางส่วนนี้แล้วจะทำให้เกิดเสียงจากการปล้องแต่ละปล้องนั้นเสียดสีกระทบกัน เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนและข่มขู่สัตว์ที่ใหญ่กว่าที่คุกคาม สำหรับในประเทศไทย มีงูในวงศ์ย่อยนี้ 16 ชนิด ได้แก่ งูกะปะ (Calloselasma rhodostoma) ที่พบมากในสวนยางและสวนปาล์มน้ำมันทางภาคใต้, งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis), งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T. trigonocephalus), งูหางแฮ่มภูเขา (Ovophis monticola) เป็นต้น.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และวงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยงูเขียว

ำหรับงูเขียวจำพวกอื่น ดูที่: งูเขียวหางไหม้ วงศ์ย่อยงูเขียว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Colubrinae) เป็นวงศ์ย่อยของงูในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) ซึ่งนับเป็นวงศ์ใหญ่ที่มีจำนวนของงูในโลกนี้ประมาณร้อยละ 70 โดยในวงศ์ย่อยงูเขียวนี้ ก็ถือเป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลังอีกเช่นกัน มีความหลากหลายและความต้องการทางนิเวศวิทยาและพฤติกรรมหลากหลายที่สุด อีกทั้งไม่มีลักษณะจำเฉพาะที่จะใช้ระบุได้ โดยมีสกุลประมาณ 100 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 650 ชนิด แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะบางเกาะในมหาสมุทรเท่านั้นที่ไม่มีงูในวงศ์ย่อยนี้ โดยชนิดที่ตัวเล็กที่สุด คือ Tantilla reticta ที่มีความยาวลำตัวประมาณ 16-19 เซนติเมตร และใหญ่ที่สุดคือ Ptyas carinatus ที่มีความยาว 3.7 เมตร ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีน้อยมากที่ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเนื่องจากมีสีสันที่สวยงามและอุปนิสัยไม่ดุร้าย รวมทั้งมีพิษอ่อนหรือไม่มีพิษเลย อาทิ งูคิงเสน็ก (Lampropeltis spp.) หรืองูคอนสเน็ก (Pantherophis guttatus) ที่พบในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทย งูในวงศ์ย่อยนี้ โดยมากจะถูกเรียกชื่อสามัญว่างูเขียว (ยกเว้น งูเขียวหางไหม้ ซึ่งอยู่ในวงศ์ Viperidae) มีอยู่ประมาณ 74 ชนิด อาทิ งูเขียวปากแหนบ (Ahaetulla nasuta), งูเขียวปากจิ้งจก (A. prasina), งูเขียวปากจิ้งจกมลายู (A. mycterizans), งูเขียวดอกหมาก (Chrysopelea ornata), งูแม่ตะงาว (Boiga multimaculata), งูปล้องทอง (B. dendrophila), งูพงอ้อท้องเหลือง (Calamaria pavimentata) เป็นต้น.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และวงศ์ย่อยงูเขียว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์งูแมวเซา

วงศ์งูแมวเซา หรือ วงศ์งูหางกระดิ่ง หรือ วงศ์งูพิษเขี้ยวพับ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Viperidae, Viper, Rattlesnake) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรงมากวงศ์หนึ่ง ที่ทำอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ให้ตายได้ด้วยน้ำพิษ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวป้อมและมีหัวค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนคอมาก เกล็ดบนหัวมีขนาดเล็กยกเว้นสกุล Causus ที่เป็นแผ่นใหญ่ มีแอ่งรับรู้สึกคลื่นความร้อนอินฟราเรดอยู่ระหว่างช่องเปิดจมูกกับตาหรืออยู่ทางด้านล่างของเกล็ดที่ปกคลุมหัว กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาหมุนได้ และมีเขี้ยวพิษขนาดใหญ่เพียงซี่เดียวที่เป็นท่อกลวง เขี้ยวเคลื่อนไหวได้จากการปรับปรุงให้รอยต่อระหว่างกระดูกแมคซิลลากับกระดูกพรีฟรอนทัลขยับได้ ฟันเขี้ยวจะยกตั้งขึ้นเมื่ออ้าปากและเอนราบไปกับพื้นล่างของปากเมื่อหุบปาก ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัลหรือกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์ ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนสมาชิกประมาณ 221 ชนิด ประมาณ 32 สกุล และแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีก 4 วงศ์ แพร่กระจายไปทุกมุมโลก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลีย, บางส่วนในทวีปเอเชีย และทวีปแอนตาร์กติกา โดยสมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักดี คือ งูหางกระดิ่ง คือ งูที่อยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae ที่พบได้ในทะเลทรายในทวีปอเมริกาเหนือจนถึงอเมริกากลาง สำหรับในทวีปเอเชีย ชนิด Azemiops feae พบได้ในพม่า, จีนตอนกลาง และเวียดนาม จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae สำหรับในประเทศไทยจัดว่าเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง ได้แก่ งูกะปะ หรือ งูปะบุก (Calloselasma rhodostoma) ที่จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Crotalinae และงูแมวเซา (Daboia russellii) ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Viperinae เป็นต้น.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และวงศ์งูแมวเซา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะแปซิฟิก

3 กลุ่ม ของหมู่เกาะแปซิฟิก หมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands) ประกอบด้วยเกาะเล็กเกาะใหญ่ราว 20,000 ถึง 30,000 เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ในบางครั้งอาจเรียกว่าโอเชียเนีย ถึงแม้ว่าโอเชียเนีย อาจหมายถึงออสตราเลเซียและกลุ่มเกาะมลายู หมู่เกาะแปซิฟิกประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ คือ ไมโครนีเซีย เมลานีเซีย และพอลินีเซี.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และหมู่เกาะแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดภูเก็ต

ูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และจังหวัดภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และความตาย · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และงู · ดูเพิ่มเติม »

งูหางแฮ่มกาญจน์

งูหางแฮ่มกาญจน์ (Kanburi pitviperGumprecht A, Tillack F, Orlov NL, Captain A, Ryabov S. 2004.) เป็นงูที่มีพิษที่มีขนาดใหญ่อยู่ในสกุลเดียวกันกับงูเขียวหางไหม้ วงศ์ย่อยงูหางกระดิ่ง อาศัยในบริเวณที่ชุ่มชื้นและป่าชายเลน พบในในประเทศไทย บริเวณเขตจังหวัดกาญจนบุรี เลย และระนอง ศูนย์รวบรวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไท.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และงูหางแฮ่มกาญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

งูปาล์ม

งูปาล์ม หรือ งูเขียวปาล์ม หรือ งูปาล์มแดง (Palm pit viper, Javanese pit viper, Flat-nosed pit viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ในจำพวกงูเขียวหางไหม้ งูปาล์ม เป็นงูเขียวหางไหม้ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร มีสีและลวดลายปะปนกันหลายสี มีสีพื้นสีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำตาลอมแดง มีจุดประสีขาว ส่วนท้องสีน้ำตาลม่วง มีสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น คือ มีเกล็ดจมูกเชิดงอนขึ้น เกล็ดบนตาแหลมสูงทำให้แลดูเด่นชัด ไม่เหมือนงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งในครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสีลวดลายหรือเป็นความแตกต่างระหว่างเพศของตัวผู้และตัวเมียของงูที่พบในเขตประเทศมาเลเซียและไม่พบในประเทศไทย แต่เมื่อนำมาเลี้ยงดูและศึกษาแล้วพบว่ามีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย งูปาล์ม เดิมเคยเชื่อว่าเป็นงูถิ่นเดียวที่พบได้เฉพาะในภาคใต้ของไทย พบครั้งแรกโดยเกาะพาดอยู่กลางป่าหวาย ที่อำเภอท่าฉางเขตติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้ชื่อว่า "งูปาล์ม" และได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trimeresurus wiroti เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย แต่แท้จริงแล้ว งูปาล์มพบได้ทั่วไปตั้งแต่ภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียตะวันออกและอินโดนีเซีย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่เกาะชวา โดยที่ไม่มีชนิดย่อ.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และงูปาล์ม · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ

งูเขียวหางไหม้ลายเสือ หรือ งูพังกา (Shore pit viperBrown JH.U.S. Navy. 1991. Poisonous Snakes of the World. US Govt. New York: Dover Publications Inc. 203 pp. ISBN 0-486-26629-X.) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง มีพิษอ่อน เมื่อเข้าใกล้จะสั่นหางขู่และฉกกัดอย่างรวดเร็ว ออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยบนต้นไม้เป็นพุ่มเตี้ยๆ ตามป่าชายเลน หรือตามริมฝั่งคลองที่ติดกับทะเล พบในประเทศอินเดีย (รัฐอัสสัม, หมู่เกาะอันดามัน), ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศพม่า, ประเทศไทย, มาเลเซียตะวันตก, ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศอินโดนีเซีย (เกาะสุมาตรา).

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และงูเขียวหางไหม้ลายเสือ · ดูเพิ่มเติม »

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Green pit viper) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ลำตัวสีเขียวอมเหลืองสด บนตัวสีเขียวอมน้ำเงิน หางสีแดงชัดเจน ท้องเหลืองหรือขาว งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง ปกติเลื้อยช้าๆไม่รวดเร็ว มีนิสัยดุ สามารถจะฉกศัตรูเมื่อศัตรูเข้าใกล้ได้อย่างรวดเร็ว ชอบนอนขดอยู่ตามพุ่มไม้เตี้ยๆ กอหญ้า กระถางต้นไม้ขณะเกาะนอนบนไม้ จะใช้ลำตัวและหางรัดพันยึดกับกิ่งไม้ไว้ ออกหากินในเวลากลางคืนทั้งตามพื้นดินที่มีหญ้ารกๆ และบนต้นไม้ ชอบกินหนู กบ เขียด เป็นอาหาร ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 7-15 ตัว พบงูหางเขียวไหม้ท้องเหลืองชุกชุมในจังหวัดภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี อ่างทอง นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบในอินเดีย จีน พม่า และ ศรีลังก.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และงูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตร.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: งูเขียวหางไหม้และเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Trimeresurusสกุลงูเขียวหางไหม้

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »