สารบัญ
21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2383พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์รายชื่อนกที่พบในประเทศไทยวงศ์นกคุ่มอืดวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทาสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสัปดาห์จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์จิตรกรรมทวีปออสเตรเลียทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียประเทศไทยนกกระทาแผนที่ไม้ต้นเพศชาย
พ.ศ. 2383
ทธศักราช 2383 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1840.
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
รายชื่อนกที่พบในประเทศไทย
นกกระจอกบ้านนกประจำถิ่นที่พบเห็นได้ง่ายมาก มีนกทั้งสิ้น 982 ชนิดที่มีบันทึกว่าพบในธรรมชาติของประเทศไทย มี 3 ชนิดเป็นนกถิ่นเดียว หนึ่งชนิดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาโดยมนุษย์ และ 45 ชนิดพบเห็นได้ยาก 7 ชนิดในรายชื่อทั้งหมดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้วในประเทศไทยซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในบทความนี้ และ 49 ชนิดที่ถูกคุกคามทั่วโลก เรียงลำดับวงศ์และชนิดตาม เคลเมนต์ (2000) และเพิ่มชนิดตาม ร็อบสัน (2004) และหมอบุญส่ง ชื่อในภาษาไทยอ้างอิงตามหนังสือคู่มือดูนกของหมอบุญส่ง เลขะกุล ในปี..
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและรายชื่อนกที่พบในประเทศไทย
วงศ์นกคุ่มอืด
วงศ์นกคุ่มอืด หรือ วงศ์นกคุ่ม (วงศ์: Turnicidae) เป็นวงศ์นกในอันดับนกนางนวล (Charadriiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Turnicidae จัดเป็นนกขนาดย่อม มีลักษณะคล้ายกับนกกระทาที่อยู่ในวงศ์ Phasianidae หรือวงศ์ไก่ แต่ทว่าแตกต่างกันที่ นกคุ่มอืดนั้นจะมีนิ้วเท้า 3 นิ้ว และไม่มีเดือยที่ข้อเท้า มีลักษณะโดยรวม คือ มีขนาดย่อม ปีกมีขนาดเล็ก ไม่สามารถบินได้ นอกจากในระยะใกล้ ๆ เช่น บินขึ้นไปบนต้นไม้ จึงหากินบนพื้นดินเช่นเดียวกันเป็นหลัก สีขนตามลำตัวมีลายประสีต่าง ๆ เพื่อแฝงตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ตัวเมียมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้ มีสีสดใสกว่า และเป็นฝ่ายเกี้ยวพาราสี ขณะที่ตัวผู้จะทำหน้าที่กกไข่และเลี้ยงดูลูก ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 12-13 วัน ลูกอ่อนใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถอกนอกรังได้ มี 16 ชนิดทั่วโลก พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และออสเตรเลีย แบ่งออกเป็น 2 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ นกคุ่มอืดเล็ก (Turnix sylvatica), นกคุ่มอืดใหญ่ (T.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและวงศ์นกคุ่มอืด
วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา
วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (วงศ์: Phasianidae) เป็นวงศ์ของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์ปีก อันดับไก่ (Galliformes) โดยใช้ชื่อวงศ์ว่า Phasianidae ลักษณะโดยรวมของนกในวงศ์นี้ มีจะงอยปากสั้นหนาแข็งแรง ปลายแหลม มีหงอน มีเหนียง 2 เหนียง ขนหางมี 8-32 เส้น ขาแข็งแรง แต่ละข้างมีตีนนิ้วยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้ว ข้างหลัง 1 นิ้ว นิ้วที่ยื่นไปข้างหลังอยู่สูงกว่านิ้วอื่นเล็กน้อย ตัวผู้มีเดือยข้างละเดือย กินเมล็ดพืชและสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยเฉพาะแมลงและหนอนบนพื้นดินเป็นอาหาร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง ปีกมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับนกในวงศ์อื่น จึงทำให้ไม่สามารถบินได้ แต่จะบินได้ในระยะใกล้ ๆ เช่น บินขึ้นต้นไม้ มักอาศัยอยู่ในป่าไผ่และป่าละเมาะ มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจน ตัวผู้จะมีขนาดและสีสันรวมทั้งลักษณะสวยงามกว่าตัวเมีย ไข่มีสีเปลือกทั้งขาว, สีนวล และลายประแต้มสีต่าง ๆ มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาวเป็นเมตร จนเพียง 20 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์ในหลายทวีปทั่วโลก ได้แก่ เอเชีย, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และแอฟริกา แบ่งออกได้เป็น 4 วงศ์ย่อย (ดูได้ในตาราง) พบราว 156 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งสิ้น 26 ชนิด อาทิ ไก่นวล (Rhizothera longirostris), นกคุ่มญี่ปุ่น (Coturnix japonica), ไก่จุก (Rollulus rouloul), ไก่ป่า (Gullus gullus) เป็นต้น นกในวงศ์นี้ มีความผูกพันกับมนุษย์มาอย่างช้านาน ด้วยการใช้เนื้อและไข่บริโภคเป็นอาหาร อาทิ ไก่ที่เลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็มีต้นทางมาจากไก่ป่า หรือไข่นกกระทา ก็นำมาจากไข่ของนกคุ่มญี่ปุ่น หรือบางชนิดที่มีความสวยงามหรือโดดเด่น ก็ถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม เช่น ไก่ฟ้าสีทอง (Chrysolophus pictus), นกยูง (Pavo spp.) เป็นต้น.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา
สกุล (ชีววิทยา)
ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและสกุล (ชีววิทยา)
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์มีแกนสันหลัง
ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและสัตว์มีแกนสันหลัง
สัตว์ปีก
ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.
สัปดาห์
ัปดาห์ เป็นหน่วยวัดเวลาเท่ากับเจ็ดวัน เป็นหน่วยเล็กกว่าเดือน อย่างไรก็ดี บางครั้งคำว่า "สัปดาห์" นี้ยังหมายถึงหน่วยวัดเวลาอื่นซึ่งน้อยหรือมากกว่าเจ็ด โดยในประวัติศาสตร์ สัปดาห์หนึ่งยาวสี่ถึงสิบวันในที่ต่าง ๆ กัน หลักฐานการนับว่าสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันอย่างต่อเนื่องมานั้นปรากฏในหมู่ชาวยิวระหว่างการคุมขังที่บาบิโลน (Babylonian Captivity) ในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ทั้งศาสนายูดาย (ตามบรรยายการสรรค์สร้างในโทราห์/ไบเบิล) และบาบิโลนโบราณใช้สัปดาห์เจ็ดวัน วัฒนธรรมอื่นได้รับเอาสัปดาห์เจ็ดวันไปในเวลาแตกต่างกัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึง 3 จักรวรรดิโรมันค่อย ๆ แทนที่ปฏิทินโรมันซึ่งสัปดาห์หนึ่งมีแปดวันด้วยสัปดาห์เจ็ดวัน ชาวฮินดูอาจรับสัปดาห์เจ็ดวันก่อนศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานว่าชาวจีนบางกลุ่มได้ใช้สัปดาห์เจ็ดวันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4.
จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์
อร์จ โรเบิร์ต เกรย์ (George Robert Gray, FRS) (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1808 - (6 พฤษภาคม ค.ศ. 1872) จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์เป็นนักสัตววิทยาและนักเขียนชาวอังกฤษ และเป็นประธานแผนกปักษาวิทยาของพิพิธภัณฑ์บริติชในกรุงลอนดอนเป็นเวลาสี่สิบเอ็ดปี จอร์จเป็นน้องของจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ ผู้เป็นนักสัตววิทยาเช่นกัน และเป็นลูกชายของนักพฤษศาสตร์ซามูเอล เฟรเดอริค เกรย์ งานที่ได้รับการตีพิมพ์ชิ้นสำคัญของเกรย์คือ “Genera of Birds” (ค.ศ.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและจอร์จ โรเบิร์ต เกรย์
จิตรกรรม
มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.
ทวีปออสเตรเลีย
ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเซี.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและทวีปออสเตรเลีย
ทวีปแอฟริกา
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.
ดู วงศ์นกคุ่มอืดและทวีปแอฟริกา
ทวีปเอเชีย
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.
ประเทศไทย
ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.
นกกระทา
นกกระทาดงแข้งเขียว (''Arborophila chloropus'') เป็นหนึ่งในนกกระทาที่พบได้ในประเทศไทย (ตัวในรูปพบที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน) นกกระทา หรือ นกคุ่ม เป็นชื่อสามัญของนกในอันดับไก่ (Galliformes) หลายชนิด นกกระทา โดยมากจะเป็นไก่ขนาดเล็ก ตัวป้อมสั้นอ้วน สีสันไม่สวยงาม ตามลำตัวมักมีลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น ทำให้บินได้เฉพาะระยะใกล้ ๆ เหมือนไก่ จึงมักหากินเมล็ดพืชและแมลงอยู่ตามพื้นดิน นกกระทา กระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั้งโลกเก่า (ยุโรป, เอเชีย, แอฟริกา) และโลกใหม่ (อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, ออสเตรเลีย) เป็นนกที่มนุษย์นิยมเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่เป็นอาหาร มีบางส่วนที่เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน เช่น นกกระทาญี่ปุ่น (Coturnix japonica) ที่แต่เดิมเลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องคล้ายนกเขา แต่ต่อมาได้มีการพัฒนามาเลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อและไข่ ซึ่งนกกระทาที่นิยมบริโภคกันในประเทศไทยก็เป็นนกกระทาชนิดนี้ ส่วนวิธี การเลี้ยงนกกระทาไข่ เป็นสัตว์เศรฐกิจตัวหนึ่งในปัจจุบัน.
แผนที่
231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.
ไม้ต้น
ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.
เพศชาย
ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.
หรือที่รู้จักกันในชื่อ TurnicidaeTurnixวงศ์นกคุ่มนกคุ่มอืด