โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์นกยาง

ดัชนี วงศ์นกยาง

นกยาง หรือ นกกระยาง (Heron, Bittern, Egret) เป็นนกวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกกระสา (Ciconiiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ardeidae มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นนกน้ำที่มีทั้งขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่มีคอและขายาว มักพบเดินท่องน้ำหากินหรือยืนนิ่งบนกอหญ้าหรือพืชน้ำ คอยใช้ปากแหลมยาวจับสัตว์น้ำเล็ก ๆ หรือแมลงบนพื้นเป็นอาหาร ขณะบินจะพับหัวและคอแนบลำตัว เหยียดขาไปข้างหลัง ทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนต้นไม้ ใช้กิ่งไม้สานกันอย่างหยาบ ๆ พบทั้งหมด 61 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 20 ชนิด หากินในเวลากลางวัน.

24 ความสัมพันธ์: ชาวญี่ปุ่นฟ้าวันใหม่พิธีศพกลุ่มปฐมชาติการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์วัฒนธรรมดงเซินสมัยไพลโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับนกกระสาข่าวสดความตายนกกระสานวลนกกระสาแดงนกกระสาใหญ่นกกระเรียนนกกระเรียนมงกุฎแดงนกยางดำนกยางควายนกยางแดงใหญ่นกยางโทนใหญ่นกแขวกเกาะสุมาตรา

ชาวญี่ปุ่น

วญี่ปุ่น มีประมาณ 140-150 ล้านคนทั่วโลก เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนเกาะญี่ปุ่น"人類学的にはモンゴロイドの一。皮膚は黄色、虹彩は黒褐色、毛髪は黒色で直毛。言語は日本語。" และที่ต่างๆทั่วโลก เช่น ฮาวาย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ภาษาที่ใช้คือภาษาญี่ปุ่น ศาสนาที่สำคัญคือศาสนาพุทธ และลัทธิชินโต กลุ่มชาวญี่ปุ่นในปัจจุบัน ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มบุคคลในอดีตได้แก่ชาวยามาโตะและชาวรีวกีว.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและชาวญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ฟ้าวันใหม่

ฟ้าวันใหม่ เดิมชื่อ บลูสกายแชนแนล เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในประเทศไท.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและฟ้าวันใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

พิธีศพ

ีศพ หรือ งานศพ เป็นพิธีที่จัดขึ้นในโอกาสการเสียชีวิตของบุคคล ประเพณีเกี่ยวกับงานศพนั้นแตกต่างไปตามวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ในสังคมไทย การได้รับพระราชทานเพลิงศพ ถือเป็นเกียรติยศต่อผู้เสียชีวิตและวงศ์ตระกูล มักพระราชทานให้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม โดยการพระราชทานเพลิงศพ จะมีรูปแบบดังนี้.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและพิธีศพ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มปฐมชาติ

กลุ่มปฐมชาติ (First Nations) กลุ่มปฐมชาติเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่หมายถึงชนพื้นเมืองในแคนาดา (Aboriginal peoples in Canada) ผู้ที่ไม่ใช่อินนูอิทหรือเมทิส ในปัจจุบันกลุ่มปฐมชาติประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดกว่า 600 กลุ่ม และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นรัฐบาลแห่งกลุ่มปฐมชาติที่ตั้งอยู่โดยทั่วไปในแคนาดา โดยมีจำนวนราวครึ่งหนึ่งอยู่ในรัฐออนแทรีโอ และ บริติชโคลัมเบีย กลุ่มปฐมชาติประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความเท่าเทียมทางแรงงานของแคนาดากลุ่มปฐมชาติถือว่าเป็นกลุ่มที่มีฐานะเดียวกับสตรี, ชนกลุ่มน้อยที่เห็นได้ (visible minority) และผู้มีความพิการ แต่ไม่ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่เห็นได้ตามพระราชบัญญัติและคำนิยามของกรมสถิติแห่งแคนาดา ในภาษาอังกฤษคำว่า "First Nations" ที่มักจะใช้ในรูปพหูพจน์กลายมาเป็นคำที่ใช้สำหรับชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคนาดา ยกเว้นแต่ในบริเวณอาร์กติกที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของอินนูอิท และกลุ่มชาติพันธุ์ผสมที่เรียกว่าเมทิส แนวโน้มในปัจจุบันในการกล่าวถึงตนเองของผู้ที่อยู่ในกลุ่มกลุ่มปฐมชาติคือการใช้ชื่อเผ่าหรือเชื้อชาติเท่านั้น เช่น "ผมคือไฮดา" หรือ "เราคือควันท์เลน" โดยไม่ใช้คำว่า "กลุ่มปฐมชาติ" กำกับเพื่อเป็นการแสดงความแตกต่างของชาติพันธุ์ของแต่ละกลุ่ม.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและกลุ่มปฐมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมดงเซิน

กลองมโหระทึก เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมดงเซิน วัฒนธรรมดงเซิน หรือ วัฒนธรรมดองซอน เป็นวัฒนธรรมในยุคสำริด มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม วัฒนธรรมดงเซินเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในคาบสมุทรและในหมู่เกาะต่าง ๆ ผู้คนในวัฒนธรรมดงเซินมีความสามารถในการปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ การประมง และการล่องเรือ วัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมนี้คือกลองมโหระทึก ซึ่งเป็นกลองที่ใช้ในพิธีกรรมและพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรมดงเซินมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของผู้คนที่พูดตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า วัฒนธรรมของชาวไทในยูนนาน วัฒธรรมของผู้คนที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร และวัฒนธรรมในบริเวณทุ่งไหหินในประเทศลาว มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ใกล้เคียงกับวัตถุของวัฒนธรรมดงเซินในประเทศกัมพูชาบริเวณริมแม่น้ำโขง ซึ่งมีอายุในช่วงประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมดงเซินสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิเช่น กลองโมโกในประเทศอินโดนีเซีย ไปจนถึงลวดลายของกริช ทางใต้ของสถานที่ที่พบวัฒนธรรมดงเซิน ยังพบวัฒนธรรม Sa Huỳnh ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแรกเริ่มของชาวจาม.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและวัฒนธรรมดงเซิน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกกระสา

อันดับนกกระสา (Bittern, Ibis, Heron, Spoonbill, Stork) เป็นอันดับของนกจำพวกนกน้ำอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Ciconiiformes ประกอบด้วยนกน้ำตั้งแต่ขนาดเล็กถึงกลาง และขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ ขายาว ปากใหญ่ ได้แก่ นกกระสา, นกยาง, นกปากห่าง มีวิวัฒนาการเพื่อการดำรงชีวิตตามพื้นหาดทรายชายเลนและท้องทุ่งชายน้ำ พบกำเนิดในตอนปลายสมัยอีโอซีนถึงปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ 5 วงศ์ (ดูในตาราง) ในประเทศไทยพบ 3 วงศ์ 36 ชนิด เดิมเคยมีวงศ์ในอันดับนี้มากกว่านี้ อาทิ นกปากซ่อม แต่ปัจจุบันแบ่งออกมาต่างหาก.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและอันดับนกกระสา · ดูเพิ่มเติม »

ข่าวสด

วสด เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย เสนอข่าวทั่วไป ออกจำหน่ายเป็นยุคแรก ด้วยขนาดแท็บลอยด์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2524 ซึ่งดำเนินงานโดยเผด็จ ภูรีปติภาน (นามปากกา: พญาไม้) แต่ผู้อ่านไม่ค่อยนิยมเท่าที่ควร ต่อมาเครือมติชน โดยขรรค์ชัย บุนปาน เข้าช่วยเหลือกิจการ จึงเริ่มทดลองออกจำหน่าย โดยนำชื่อหัวหนังสือกีฬาเดิมของเครือมติชน รวมเข้าด้วยกันเป็น "ข่าวสด-สปอร์ตนิวส์" พร้อมทั้งปรับขนาดหน้ากระดาษเป็นบรอดชีต โดยเริ่มนับเป็นปีที่ 1 ฉบับที่ 1 และตรงกับปีที่ 10 ฉบับที่ 2798 ของข่าวสดยุคแรก ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 จนถึงวันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2534 เป็นจำนวน 129 ฉบับ ก่อนที่จะเริ่มใช้เพียงชื่อเดียวคือ "ข่าวสด" ตั้งแต่ฉบับที่ 130 ประจำวันอังคารที่ 9 เมษายน..

ใหม่!!: วงศ์นกยางและข่าวสด · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสานวล

กะโหลกศีรษะ นกกระสานวล (Grey heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นในยุโรป เอเชีย และบางพื้นที่ในแอฟริกา ในฤดูหนาวมักอพยพจากพื้นที่ที่หนาวเย็นไปยังพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นกว่า นกกระสานวลเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ มีความสูง 90-100 เซนติเมตร ช่วงปีกสองข้างกว้าง 175-195 เซนติเมตร และหนัก 1-2 กิโลกรัม ขนด้านบนเป็นสีเทา แต่ด้านล่างเป็นสีขาว ในตัวเต็มวัยจะมีขนที่ส่วนหัวเป็นสีขาวจะมีแถบขนสีดำรอบหัว จะงอยปากสีชมพูอมเหลือง ซึ่งจะมีสีสว่างขึ้นเวลาผสมพันธุ์ หมวดหมู่:วงศ์นกยาง หมวดหมู่:นกที่พบในประเทศไทย หมวดหมู่:นกในประเทศปากีสถาน หมวดหมู่:นกในประเทศอินเดีย.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกกระสานวล · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาแดง

นกกระสาแดง (Purple heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นผสมพันธุ์อยู่ในแอฟริกา ยุโรปตอนกลางและตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก กลุ่มที่อาศัยอยู่ในยุโรปจะอพยพลงสู่เขตร้อนในแอฟริกาในฤดูหนาว ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเอเชียก็จะมีการอพยพลงใต้ภายในทวีปเช่นกัน จัดว่าเป็นนกที่หายาก แต่เวลาที่อพยพจะพบเห็นได้บ่อยในภูมิภาคทางตอนเหนือของถิ่นผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จัดเป็นนกขนาดใหญ่ โดยมีความสูง 80-90 เซนติเมตร ความกว้างของปีกสองข้าง 120-150 เซนติเมตร แต่มีลำตัวผอมบาง มีน้ำหนักเพียง 500-1,300 กรัมเท่านั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับนกกระสานวล แต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีสีขนที่แตกต่างกัน โดยนกกระสาแดงจะมีขนสีน้ำตาลแดงเข้ม และเมื่อโตเต็มวัย ขนที่หลังจะเป็นสีเทาเข้มขึ้น จะงอยปากมีสีเหลืองและแคบบาง ซึ่งในตัวเต็มวัยจะมีสีสว่างขึ้น.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกกระสาแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาใหญ่

นกกระสาใหญ่ (Great-billed Heron) เป็นนกลุยน้ำในวงศ์นกยาง เป็นนกประจำถิ่นจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงประเทศปาปัวนิวกินีและประเทศออสเตรเลีย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล เช่น เกาะ แนวปะการัง ป่าชายเลน แม่น้ำขนาดใหญ่ แต่บางครั้งก็สามารถพบได้ภายในแผ่นดินตามบ่อน้ำ.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกกระสาใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียน

นกกระเรียน เป็นนกขนาดใหญ่ คอและขายาว อยู่ในอันดับ Gruiformes และวงศ์นกกระเรียน (Gruidae) มี 15 ชนิด คล้ายนกกระสาแต่เวลาบินนกกระเรียนจะเหยียดคอตรง ไม่งอพับมาด้านหลังเหมือนนกกระสา นกกระเรียนอาศัยอยู่ทั่วโลกยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกาและทวีปอเมริกาใต้ นกส่วนมากไม่ถูกคุกคามมากนัก ยกเว้นบางชนิดที่ถูกคุกคามจนวิกฤติ เช่น นกกระเรียนกู.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกกระเรียน · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนมงกุฎแดง

วนหัวของนกกระเรียนมงกุฎแดง นกกระเรียนมงกุฎแดง หรือ นกกระเรียนญี่ปุ่น หรือ นกกระเรียนแมนจูเรีย (Red-crowned crane).

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกกระเรียนมงกุฎแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกยางดำ

นกยางดำ (Black Bittern) เป็นนกลุยน้ำโลกเก่าในวงศ์นกยาง แพร่พันธุ์ในเขตร้อนของทวีปเอเชียจากประเทศปากีสถาน, ประเทศอินเดีย และ ประเทศศรีลังกา ไปทางตะวันออกถึงประเทศจีน, ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศออสเตรเลีย ปกติเป็นนกประจำถิ่น แต่ในตอนเหนือบางแห่งเป็นนกอพยพระยะสั้น กินแมลง, ปลา และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นอาหาร.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกยางดำ · ดูเพิ่มเติม »

นกยางควาย

นกยางควาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bubulcus ibis; Cattle egret) เป็นนกยางสีขาว ในวงศ์ Ardeidae พบในเขตร้อนและอบอุ่น นกกระยางควายมีจุดกำเนิดในทวีปเอเชีย แอฟริกาและยุโรป แต่นกยางมีการขยายพันธุ์และกระจายตัวไปทั่วโลก และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จัดเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Bubulcus.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกยางควาย · ดูเพิ่มเติม »

นกยางแดงใหญ่

นกยางแดงใหญ่ (Eurasian Bittern หรือ Great Bittern) เป็นนกลุยน้ำในวงศ์นกยาง.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกยางแดงใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกยางโทนใหญ่

นกยางโทนใหญ่ (Great egret) เป็นนกลุยน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์นกยาง (Ardeidae) มีขนสีขาวตลอดตัว คอยาว มีลักษณะคล้ายนกยางโทนน้อย แต่ปากจะยาวกว่า หัวไม่กลมเหมือนนกยางโทนน้อ.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกยางโทนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นกแขวก

นกแขวก (Black-crowned night heron, Night heron) เป็นนกชนิดหนึ่ง จำพวกนกยาง จัดเป็นนกยางหรือนกกระยางชนิดที่ปรับตัวให้หากินในเวลากลางคืนได้ ซึ่งต่างจากนกยางทั่วไปที่หากินในเวลากลางวัน โดยได้ชื่อมาจากเสียงร้องที่ดัง "แคว้ก" ที่มักจะร้องดังขณะบินผ่านยามค่ำคืน ในขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Nycticorax หมายถึง "นกเรเวนกลางคืน" มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า νυκτός (nuktos) หมายถึง "กลางคืน" และ κόραξ (korax) หมายถึง "นกเรเวน" อันหมายถึง พฤติกรรมที่หากินในเวลากลางคืนรวมถึงการส่งเสียงร้องที่เหมือนนกกาหรือนกเรเวน เป็นนกที่มีแหล่งอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงที่มีไม้ยืนต้นขึ้นรก ๆ หรือแม้แต่ตามสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ มักเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือตอไม้นิ่ง ๆ เพื่อรอจับเหยื่อ ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำรวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเล็ก ๆ แม้จะหากินในเวลากลางคืนเป็นหลักและไม่ค่อยบินไกลในเวลากลางวัน แต่พฤติกรรมการหากินในเวลากลางวันก็เป็นเรื่องปกติ พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก พบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย นกแขวกทางตอนใต้ของทวีปอเมริกามีกระหม่อมและหลังสีเทาอ่อนกว่าที่อื่น นอกจากนี้บริเวณส่วนหัวและอกก็เป็นสีน้ำตาลอมเทา ประชากรทางตอนเหนือจะอพยพบินสู่ทางใต้ในช่วงฤดูหนาว ทำรังวางไข่บนต้นไม้ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นอาณานิคมปะปนกับนกน้ำประเภทอื่น ๆ โดยเฉลี่ยในตัวเมียจะมีเส้นขนยาวคล้ายเปียที่ท้ายทอยสั้นกว่าตัวผู้ และมีขนาดตัวเล็กกว่า ม่านตาจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงก่ำเมื่ออายุได้ 3 ปีขึ้นไป ในวัยที่ยังไม่โตเต็มที่มีลำตัวเต็มไปด้วยลวดลายสีน้ำตาลกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม มีแต้มสีขาวตามขนปีก ซึ่งลวดลายเหล่านี้จะหายไปและแทนที่ด้วยกระหม่อมและหลังสีเทาเข้ม ตัดกับลำตัวสีเทาอ่อนจนเกือบขาวเมื่อมีอายุมากขึ้น.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและนกแขวก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: วงศ์นกยางและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ArdeidaeHeronวงศ์นกกระยางนกกระยางนกยาง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »