โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)

ดัชนี ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)

ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ว่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์กำชัย ทองหล่อ.

8 ความสัมพันธ์: กลบทกลอนกวีนิพนธ์กาพย์ร่ายลิลิตฉันท์โคลง

กลบท

กลบท คือการประดิษฐ์คิดแต่งคำประพันธ์ให้มีลักษณะแปลกไปจากเดิม โดยที่ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ชนิดนั้นยังอยู่ครบถ้วน คำประพันธ์ที่แต่งเป็นกลได้มีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่ายอุทัย สินธุสาร.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกลบท · ดูเพิ่มเติม »

กลอน

กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัสกรมศิลปากร.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกลอน · ดูเพิ่มเติม »

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กาพย์

กาพย์ เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่บังคับจำนวนคำและสัมผัส จัดวรรคต่างจากกลอนและไม่บังคับเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค ไม่มีบังคับเอก-โทเหมือนโคลง และไม่มีบังคับครุและลหุเหมือนฉันท.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และกาพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ร่าย

ร่ายเป็นร้อยกรองแบบหนึ่ง มีสี่ประเภทได้แก่ ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น และร่ายโบราณ.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และร่าย · ดูเพิ่มเติม »

ลิลิต

ลิลิต หมายถึง หนังสือที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท โคลง และร่าย สลับกันเป็นช่วงๆ ตามธรรมเนียมแล้ว มักจะใช้โคลงและร่ายในแบบเดียวกัน กล่าวคือ โคลงดั้น สลับกับร่ายดั้น, โคลงสุภาพ สลับกับร่ายสุภาพ อย่างนี้เป็นต้น โคลงและร่ายที่สลับกันนั้น มักจะร้อยสัมผัสด้วยกัน เรียกว่า "เข้าลิลิต" วรรณคดีที่แต่งตามแบบแผนลิลิต มักจะใช้ร่ายและโคลงสลับกันเป็นช่วงๆ ตามจังหวะ ลีลา และท่วงทำนอง และความเหมาะสมของเนื้อหาในช่วงนั้นๆ ลิลิตที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดของโคลงลิลิต คือ ลิลิตพระลอ.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และลิลิต · ดูเพิ่มเติม »

ฉันท์

ฉันท์ เป็นลักษณ์หนึ่งของการประพันธ์ประเภทร้อยกรองในวรรณคดีไทยที่บังคับเสียงหนัก - เบาของพยางค์ ที่เรียกว่า ครุ - ลหุ ฉันท์ในภาษาไทยรับแบบมาจากประเทศอินเดีย ตำราฉันท์ที่เก่าแก่ที่สุดของอินเดียเป็นภาษาสันสกฤต คือ ปิงคลฉันทศาสตร์ แต่งโดยปิงคลาจารย์ ส่วนตำราฉันท์ภาษาบาลีเล่มสำคัญที่สุดได้แก่ คัมภีร์วุตโตทัยปกรณ์ ผู้แต่งคือ พระสังฆรักขิตมหาสามี เถระชาวลังกา แต่งเมื่อ พ.ศ. 1703 เป็นที่มาของ คัมภีร์วุตโตทัย ซึ่งเป็นต้นตำหรับการแต่งฉันท์ของไทยกวีนิพนธ์ไทย ๑ - ๒, สุภาพร มากแจ้ง, กรุงเทพฯ, โอเดียนสโตร์, 2539.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

โคลง

ลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง.

ใหม่!!: ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)และโคลง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลหุครุครุ และ ลหุครุลหุครุและลหุคำตายคำเป็นคำเป็น และ คำตายคำเป็นและคำตาย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »