โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลอน

ดัชนี กลอน

กลอน เป็นลักษณะคำประพันธ์ไทยที่ฉันทลักษณ์ประกอบด้วยลักษณะบังคับ 3 ประการคือ คณะ จำนวนคำ และสัมผัสกรมศิลปากร.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2401พ.ศ. 2470พ.ศ. 2471พ.ศ. 2514พระสุนทรโวหาร (ภู่)กลบทกลอนสักวากลอนสังขลิกกลอนสุภาพกลอนหัวเดียวลำตัดวรรณกรรมฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)นิราศเพลงอีแซวเพลงเรือ

พ.ศ. 2401

ทธศักราช 2401 ตรงกับคริสต์ศักราช 1858 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: กลอนและพ.ศ. 2401 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2470

ทธศักราช 2470 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1927 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กลอนและพ.ศ. 2470 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2471

ทธศักราช 2471 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1928 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กลอนและพ.ศ. 2471 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กลอนและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พระสุนทรโวหาร (ภู่)

ระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง ปี..

ใหม่!!: กลอนและพระสุนทรโวหาร (ภู่) · ดูเพิ่มเติม »

กลบท

กลบท คือการประดิษฐ์คิดแต่งคำประพันธ์ให้มีลักษณะแปลกไปจากเดิม โดยที่ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ชนิดนั้นยังอยู่ครบถ้วน คำประพันธ์ที่แต่งเป็นกลได้มีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่ายอุทัย สินธุสาร.

ใหม่!!: กลอนและกลบท · ดูเพิ่มเติม »

กลอนสักวา

กลอนสักวา (อ่านว่า สัก-กะ-วา โบราณเขียนว่า สักกรวา) เป็นชื่อของร้อยกรองประเภทกลอนลำนำ ชนิดหนึ่ง 1 บทมี 4 คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ 'สักวา' และลงท้ายด้วยคำ 'เอย' กลอนสักวาถูกนำมาใช้ทั้งแบบที่เป็นบทประพันธ์ธรรมดา ของผู้ที่มีความสามารถทางด้านการประพันธ์ และนำมาใช้เป็นการละเล่นโต้ตอบกันระหว่างผู้เล่นหลายคน ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางด้านร้อยกรอง และยังต้องอาศัยไหวพริบปฏิภาณของผู้เล่นที่จะสามารถโต้ตอบกันได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที การเล่นสักวานี้เป็นที่นิยมกันมากในสมัยโบราณ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความสามารถทางก้านกวีนิพนธ์ที่โดดเด่นและสนุกสนานทั้งผู้เล่นและผู้ฟัง.

ใหม่!!: กลอนและกลอนสักวา · ดูเพิ่มเติม »

กลอนสังขลิก

กลอนสังขลิก จัดเป็นกลอนชาวบ้านประเภทเพลงเด็ก โดยส่วนใหญ่เป็นบทร้องเล่น ลักษณะเด่นอยู่ที่การส่งสัมผัสไม่เหมือนกับกลอนสุภาพ สุภาพร มากแจ้ง.

ใหม่!!: กลอนและกลอนสังขลิก · ดูเพิ่มเติม »

กลอนสุภาพ

กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น คำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า "สุภาพ" นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง "รูปวรรณยุกต์" ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้น คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ 2 ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ 6 ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน.

ใหม่!!: กลอนและกลอนสุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

กลอนหัวเดียว

กลอนหัวเดียว เป็นกลอนชาวบ้านเช่นเดียวกับกลอนสังขลิก ลักณะเด่นอยู่ที่การส่งสัมผัสท้ายบาทเป็นเสียงเดียวกันทุกบาท จึงได้ชื่อว่า กลอนหัวเดียว มักพบในบทเพลงกล่อมเด็กและบทเพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงเรือ ลำตัด เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เป็นต้น.

ใหม่!!: กลอนและกลอนหัวเดียว · ดูเพิ่มเติม »

ลำตัด

ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลูกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความว่า เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย สามรถพบเห็นได้ในแถบภาคกลางโดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรี เพลงลำตัดเป็นเพลงพื้นบ้านภาคกลางชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง(สุพรรณบุรี) ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า “ ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า “ ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลง และทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับโดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้น ลำตัดเป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียบง่าย มีความหมายรู้ ได้ดีมาก กล่าวคือ ตามความหมายเดิม “ลำ” แปลว่า เพลง เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ตัด” หมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิดมา ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่น ตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัยและเพลงอีแซวเป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่าลำตัด หมวดหมู่:ศิลปะการแสดงไทย.

ใหม่!!: กลอนและลำตัด · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: กลอนและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)

ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ว่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์กำชัย ทองหล่อ.

ใหม่!!: กลอนและฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย) · ดูเพิ่มเติม »

นิราศ

นิราศ หมายถึง งานประพันธ์ประเภทหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้น ได้แก่ โคลงหริภุญชัย ซึ่งแต่งในสมัยอยุธยา นิราศนั้น มักมีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลัก มักจะเล่าถึงเส้นทาง การเดินทาง และบอกเล่าถึงสิ่งที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง ขณะเดียวกัน มักจะสอดแทรกความคิด ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางนั้น โดยมักจะเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นกับความรู้สึกภายใน ผู้แต่งนิราศ มักจะใช้คำประพันธ์แบบร้อยกรองเป็นหลัก แต่นิราศที่แต่งด้วยร้อยแก้วก็มีอยู่บ้างเช่นกัน อนึ่ง คำว่า นิราศ มีความหมายตามตัวอักษรว่า จาก พราก ไปจาก ฯลฯ แต่นิราศอาจหมายถึงงานประพันธ์ที่พรรณนาถึงเหตุการณ์ตามลำดับ พร้อมทั้งแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์นั้นๆ โดยมิได้มีการเดินทาง หรือการพลัดพรากก็ได้ วรรณกรรมประเภทนิราศมักจะมีความยาวไม่มาก พรรณนาถึงสิ่งสวยงาม และความรู้สึกผูกพันที่มีต่อบุคคลที่ตนรัก และเนื่องจากกวีส่วนใหญ่เป็นชาย เนื้อหาในนิราศจึงมักจะพรรณนาถึงหญิงที่ตนรัก กระทั่งกลายเป็นขนบของการแต่งนิราศมาจวบจนปัจจุบัน ที่ผู้แต่งนิราศ มักจะผูกเรื่องราวของการคร่ำครวญถึงหญิงที่รัก ขณะที่เล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นระหว่างการเดินทางด้ว.

ใหม่!!: กลอนและนิราศ · ดูเพิ่มเติม »

เพลงอีแซว

ลงอีแซว เป็นเพลงประจำถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุกว่า 100 ปี แต่เดิมนิยมเล่นในลักษณะเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง โดยใช้ภาษาเรียบง่าย ต่อมาจึงพัฒนามาเป็นเพลงปฏิพากย์ ร้องโต้ตอบกัน และมีความยาวมากขึ้น มีลักษณะสนุกสนานตรงไหน สามารถเล่นได้ในทุกโอก.

ใหม่!!: กลอนและเพลงอีแซว · ดูเพิ่มเติม »

เพลงเรือ

ลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันในฤดูน้ำหลาก เป็นเพลงปฏิพากย์ชนิดเดียวที่ร้องเล่นกลางลำน้ำโดยพ่อเพลงและแม่เพลงอยู่คนละลำ จังหวัดที่เล่นเพลงเรือ ได้แก่ จังหวัดที่อยู่ริมแม่น้ำในภาคกลาง เช่น อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และพิษณุโลก เพลงเรือส่วนใหญ่จะถนัดร้องบทชิงชู้ ฉันทลักษณ์เหมือนเพลงปรบไก.

ใหม่!!: กลอนและเพลงเรือ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

บทกลอนคำกลอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »