โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รูห์น

ดัชนี รูห์น

อิสเตอร์ลิงจาก ภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กองทัพอิสเตอร์ลิงจาก ภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รูห์น (Rhûn) คือชื่อดินแดนมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า Rhûn ในภาษาซินดารินแปลว่า ตะวันออก รูห์น (Rhûn) เป็นดินแดนที่ห่างไกลออกไป ทางตะวันออกของมิดเดิลเอิร์ธ มีเพียงทางตะวันตกของดินแดนรูห์นเท่านั้น ที่ปรากฏในแผนที่ เป็นดินแดนของมนุษย์ที่เรียกตนเองว่า อีสเตอร์ลิง (Easterlings) ชาวอิสเตอร์ลิงอยู่ภายใต้อาณัติของมอร์กอธจนกระทั่งถึงเซารอนมาโดยตลอด และพวกเขาก็เป็นศัตรูของมนุษย์ทางตะวันตกมาทุกยุคทุกสมัย สภาพและความเป็นไปในดินแดนรูห์นมีข้อมูลน้อยมาก ทางตะวันตกติดกับมอร์ดอร์ และดินแดนตะวันตก (Wilderland) ซึ่งหมายถึงดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขามิสตี้นั่นเอง และมี ทะเลสาบรูห์น (Sea of Rhun) เป็นพรมแดนกั้นอยู่ ทิศใต้ติดกับดินแดนคานด์ (Khand) และไกลออกไปคือ ดินแดนฮารัด (Harad) ในยุคที่สอง เมื่อครั้งเซารอนมอบแหวนทั้งเก้าให้แด่พวกมนุษย์นั้น เขาได้มอบให้กับกษัตริย์แห่งอีสเตอร์ลิง ซึ่งรู้จักกันในนาม คามูล (Khamul the Easterling) และคามูลผู้นี้ ในภายหลังได้กลายเป็นภูติแหวนหนึ่งในเก้า เป็นคนที่สองต่อจาก วิชคิง แห่งอังก์มาร์ และในช่วงที่เซารอนพ่ายแพ้ใน สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย วิญญาณของเขาก็มุ่งสู่ดินแดนรูห์น เพื่อฟื้นอำนาจก่อนจะย้ายไป โดลกุลดัวร์ พวกอิสเตอร์ลิงนั้นเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายเซารอนมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าจะเข้าสู่ยุคที่สี่ก็ตาม ชาวอิสเตอร์ลิงบางส่วน ก็ยังคงเป็นปรปักษ์กับมนุษย์ตะวันตกอยู.

17 ความสัมพันธ์: ภาษาซินดารินมอร์กอธมอร์ดอร์มิดเดิลเอิร์ธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สี่แห่งอาร์ดาวิชคิงสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้ายอังก์มาร์ฮารัดนาซกูลแหวนแห่งอำนาจเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เซารอนUnfinished Tales

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ใหม่!!: รูห์นและภาษาซินดาริน · ดูเพิ่มเติม »

มอร์กอธ

'''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.

ใหม่!!: รูห์นและมอร์กอธ · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ดอร์

มอร์ดอร์ จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ มอร์ดอร์ (Mordor) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันชั่วร้ายของ เซารอน คำว่า มอร์ดอร์ เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า 'แผ่นดินแห่งความมืด' มอร์ดอร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมิดเดิลเอิร์ธ ในกำบังของเทือกเขาเอเฟลดูอัธ และเอเร็ดลิธุย ข้างตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน จึงตั้งประชิดอยู่ทางตะวันออกของอาณาจักรกอนดอร์ ภายในมอร์ดอร์เป็นที่ตั้งของ บารัดดูร์ หอคอยทมิฬ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซารอน นอกจากนี้ยังมีเมาท์ดูม หรือ โอโรดรูอิน หรือภูมรณะ ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่เปิดสู่แหล่งลาวาใต้พิภพ เป็นที่ที่มีอัคคีความร้อนสูงที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถหลอมสร้างแหวนเอกธำมรงค์ และเป็นที่เดียวที่ทำลายมันลงได้ เมาท์ดูมคือจุดหมายในการเดินทางของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และ แซมไวส์ แกมจี ในภารกิจทำลายแหวนเอกในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ การเข้าสู่มอร์ดอร์ สามารถเข้าได้จากทางทิศเหนือ ผ่านประตูดำแห่งมอร์ดอร์ ชื่อว่า 'โมรันนอน' ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่องแคบเชิงเขาระหว่างเอเฟลดูอัธกับเอเร็ดลิธุย อีกทางหนึ่งคือผ่านช่องเขาบนเอเร็ดลิธุย ซึ่งมีเมืองปราการแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ชื่อ มินัสมอร์กูล เมืองนี้แต่เดิมเป็นเมืองของชาวกอนดอร์ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับคอยเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของเซารอน ต่อภายหลังถูกพวกภูตแหวนยึดไปได้ และกลายเป็นที่อยู่ของวิชคิง หรือราชันขมังเวท ด้านหน้าประตูดำเป็นทุ่งราบกว้างใหญ่ ชื่อทุ่งดาร์กอลัด หรือ ทุ่งสมรภูมิ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงปลายยุคที่สอง คือ สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย เป็นที่สิ้นพระชนม์ของกิล-กาลัด และ เอเลนดิล ในยุคที่สามทุ่งกว้างใหญ่แห่งนี้กลายเป็นบึงน้ำเฉอะแฉะ เรียกกันว่า 'บึงมรณะ' ข้างใต้บึงเป็นหลุมศพของเอลฟ์และมนุษย์ที่เสียชีวิตในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้.

ใหม่!!: รูห์นและมอร์ดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ใหม่!!: รูห์นและมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: รูห์นและมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สองแห่งอาร์ดา

ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.

ใหม่!!: รูห์นและยุคที่สองแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สี่แห่งอาร์ดา

ที่สี่แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ยุคที่สี่ เริ่มนับความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย และเหล่าพรายเดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ ลักษณะสำคัญคือการฟื้นฟูของอาณาจักรนูเมนอร์ (กอนดอร์และอาร์นอร์) ความเสื่อมถอยของพราย และการเจริญรุ่งเรืองของเผ่าพันธุ์มนุษย์ โทลคีนไม่ได้เขียนถึงเหตุการณ์ในยุคที่สี่ไว้มากนัก (ยกเว้นเหตุการณ์ในช่วงต้นๆ) เขาเคยพูดไว้ว่าตามจินตนาการของเขานั้น ระยะห่างระหว่างสิ้นยุคที่สาม ถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2000) ประมาณ 6000 ปี ถ้านับยุคหนึ่งใช้เวลาใกล้เคียงกัน ปัจจุบันจะอยู่ในช่วงปลายยุคที่ห้า แต่เขายังบอกว่ายุคหลังๆ น่าจะมีช่วงเวลาที่สั้นลง อาจประมาณได้ว่าการล่มสลายของนาซีเยอรมัน ปี ค.ศ. 1945 คือจุดสิ้นสุดยุคที่หก และปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เจ็.

ใหม่!!: รูห์นและยุคที่สี่แห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

วิชคิง

วิชคิงแห่งอังก์มาร์ (Witch King of Angmar) หรือ ราชาภูติ หรือ พญาโหงแห่งอังก์มาร์ เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นหัวหน้าของเหล่านาซกูล หรือภูตแหวน ที่ทำหน้าที่รับใช้จอมมารเซารอน เนื่องจากตกอยู่ใต้อำนาจของเซารอนหลังจากยอมรับแหวนแห่งอำนาจของมนุษย์ทั้งเก้าวงมาไว้ในครอบครองด้วยความโลภ ในปกรณัมของโทลคีนไม่ได้เอ่ยถึงชื่อจริงของเขา รวมถึงเหล่านาซกูลอื่น ๆ ด้วย แต่จากข้อมูลบางส่วนในงานเขียนที่ยังไม่เสร็จของเขา บ่งชี้ว่ามีแม่ทัพนูเมนอร์อย่างน้อย 3 คนที่ได้รับแหวนแห่งอำนาจ และหนึ่งในสามคนนี้น่าจะได้เป็นวิชคิงในเวลาต่อมา เขาได้ชื่อว่าเป็น วิชคิง "แห่งอังก์มาร์" เนื่องจากสามารถโจมตีอาณาจักรอาร์นอร์ ยึดดินแดนมาส่วนหนึ่งก่อตั้งเป็นอาณาจักรอังก์มาร์ได้ จากนั้นก็โจมตีดินแดนส่วนอื่นของอาร์นอร์จนอาณาจักรล่มสลายลงในที่สุด แม้ภายหลังเหล่านาซกูลจะย้ายมายังมินัสมอร์กูลแล้ว ก็ยังคงเรียกชื่อราชันขมังเวทว่า "วิชคิงแห่งอังก์มาร์" อยู่ ในช่วงศึกที่ฟอร์นอสต์ครั้งอังมาร์แตก กลอร์ฟินเดลได้ทำนายชะตาของวิชคิงไว้ว่า "อวสานของเขาจะไม่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของบุรุษใด" ซึ่งผลลัพธ์ก็เป็นดังที่ว่า เมื่อเอโอวีน (นางเป็นสตรี) พร้อมด้วยฮอบบิท เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก ได้สังหารเขาในศึกที่ทุ่งเพลานอร์ หน้ามินาสทิริธ ครั้งสงครามแหวน.

ใหม่!!: รูห์นและวิชคิง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย

ันธมิตรครั้งสุดท้ายของเอลฟ์และมนุษย์ (The Last Alliance of Elves and Men) เป็นชื่อเหตุการณ์สำคัญตอนหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกิดขึ้นในปีที่ 3430 ปลายยุคที่สองของโลกอาร์ดา โดยความร่วมมือระหว่างทัพเอลฟ์, ทัพมนุษย์ ทั้งชาวดูเนไดน์และชาวแผ่นดินอื่น รวมถึงทัพคนแคระ เพื่อต่อต้านจอมมารเซารอน ลอร์ดมืดผู้คุกคามโลก สงครามครั้งนั้นจึงเรียกชื่อว่า สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย (War of the Last Alliance) ซึ่งประกอบด้วย สมรภูมิทุ่งดาร์กอลัด และ การปิดล้อมหอคอยบารัด-ดูร.

ใหม่!!: รูห์นและสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

อังก์มาร์

ร์นดูม เมืองหลวงของอังก์มาร์ อังก์มาร์ (Angmar) คือชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปในอาณาจักรอาร์นอร์ของชาวมนุษย์ดูเนไดน์ ภายหลังตกไปอยู่ใต้อำนาจของเหล่านาซกูล อังก์มาร์ตั้งอยู่ในแคว้นรูห์เดาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามแคว้นใหญ่ของอาณาจักรอาร์นอร์ ช่วงกลางยุคที่สาม ประมาณปีที่ 1300 อาณาจักรอาร์นอร์อ่อนแอ นาซกูลจึงมาตียึดเอาดินแดนบางส่วนในรูห์เดาร์ไปได้ และก่อตั้งอาณาจักรอังก์มาร์ขึ้น มีเมืองหลวงชื่อ "คาร์นดูม" (Carn Dûm) จากนั้นใช้ที่แห่งนี้เป็นที่มั่นในการบุกโจมตีดินแดนส่วนอื่นๆ ของอาร์นอร์ต่อไปอีกจนกระทั่งอาณาจักรล่มสลายลงในที่สุด ต่อมาเมื่อเหล่านาซกูลยกลงมาโจมตีอาณาจักรกอนดอร์ และยึดเอามินัสอิธิลไปได้ จึงทิ้งให้อังก์มาร์กลายเป็นเมืองร้าง แล้วย้ายมายังมินัสอิธิลซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล แทน.

ใหม่!!: รูห์นและอังก์มาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮารัด

รัด (Harad) คือชื่อดินแดนมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฮารัดเป็นดินแดนกว้างใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมอร์ดอร์และกอนดอร์ใต้ มีลักษณะอากาศที่อบอุ่นและร้อนกว่าดินแดนทางเหนือ ดินแดนนี้ไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันทั้งผืน แต่มีกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเองไม่ขึ้นแก่กัน ชื่อ ฮารัด เป็นคำภาษาซินดาริน แปลว่า ใต้ ชาวฮารัดมักถูกเรียกว่าชาว ฮาราดริม (Haradrim) หมายถึงมนุษย์แห่งดินแดนใต้ พวกนี้เป็นคนป่า มีผิวสีเข้ม ผมและตาดำ ใช้ภาษาที่เป็นของตนเอง และจัดว่าเป็นศัตรูกับชาวกอนดอร์ มาตั้งแต่อดีต ในขณะเดียวกัน พวกฮาราดริมก็เป็นมิตรกับเซารอน นอกจากนี้ชาวฮาราดริม ยังมีพาหนะเป็นสัตว์ร้ายของกองทัพฮารัดอีกด้วย ซึ่งก็คือ มูมาคิล (Mumakil) หรือที่พวกฮอบบิทเรียกว่า โอลิฟอนต์ (Oliphaunt) มีลักษณะคล้ายช้าง แต่สูงเท่ากับตึกแปดชั้น มีงายาวสี่งา บนหลังของมูมาคิลสามารถบรรทุกพลรบได้ถึง 50 นาย ในช่วงสงครามแหวน พวกฮาราดริมได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเซารอน.

ใหม่!!: รูห์นและฮารัด · ดูเพิ่มเติม »

นาซกูล

นาซกูล หรือภูตม้าดำ นาซกูล (Nazgûl) เป็นชื่อของตัวละครกลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า 'นาซกูล' เป็นคำภาษาแบล็กสปีช มาจากคำว่า 'นาซ' (nazg) หมายถึง "แหวน" และคำว่า 'กูล' (gûl) หมายถึง "ดวงวิญญาณ หรือภูต" บางครั้งเรียกนาซกูลว่า ภูตแหวน หรือ ภูตม้าดำ คำในภาษาเควนยาของนาซกูล คือ อูไลริ (Úlairi) ส่วนคำในภาษาซินดาริน คือ อูไลอาร์ (Ulaer) นาซกูลมีทั้งหมดเก้าตน หัวหน้าของพวกนาซกูลคือ ราชันขมังเวทย์ หรือ วิชคิง แต่เดิมพวกเขาเป็นกษัตริย์หรือผู้นำของพวกมนุษย์บนมิดเดิลเอิร์ธที่หลงในอำนาจยศศักดิ์ซึ่งเซารอนสัญญาว่าจะยกให้ จึงยินยอมรับ แหวนแห่งกษัตริย์ หรือแหวนแห่งอำนาจเก้าวง เมื่อเวลาผ่านไปดวงจิตของพวกเขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจของแหวนจนไม่สามารถถอนตัวคืนได้ และต้องกลายเป็นทาสรับใช้ของเซารอนและแหวนเอก นาซกูลออกรุกรานอาณาจักรของมนุษย์ครั้งแรก ในการบุกโจมตีอาณาจักรอาร์นอร์ และสามารถยึดอังก์มาร์ไปได้ ตั้งอาณาจักรแห่งอังก์มาร์ขึ้นเป็นอาณาจักรของตน (บางครั้งจึงเรียกหัวหน้าของพวกมันว่า 'วิชคิงแห่งอังก์มาร์') ต่อมาพวกนาซกูลเข้าโจมตีอาณาจักรกอนดอร์ และยึดเอาหอคอยมินัสอิธิลได้ เปลี่ยนหอคอยแห่งนั้นเป็น มินัสมอร์กูล เป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของพวกตน การเข้ายึดมินัสอิธิลครั้งนั้นทำให้เซารอนได้ครอบครอง พาลันเทียร์ แห่งมินัสอิธิล ไปด้วย และได้ใช้พาลันเทียร์ดวงนี้ในการติดต่อกับซารูมาน และล่อลวงเดเนธอร์จนเสียสติ นาซกูลทั้งหมดถูกทำลายไปพร้อมกับการสิ้นสลายของแหวนเอก หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ de:Figuren in Tolkiens Welt#Nazgûl (Ringgeister) simple:Middle-earth characters#Nazgûl.

ใหม่!!: รูห์นและนาซกูล · ดูเพิ่มเติม »

แหวนแห่งอำนาจ

333px แหวนแห่งอำนาจ เป็นแหวนในจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริง.

ใหม่!!: รูห์นและแหวนแห่งอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: รูห์นและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: รูห์นและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซารอน

ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.

ใหม่!!: รูห์นและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

Unfinished Tales

ปก The Unfinished Tales วาดโดย Ted Nasmith Unfinished Tales เป็นหนังสือที่รวบรวมงานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกี่ยวกับจักรวาลอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ ที่เขาเขียนไว้ยังไม่จบและยังไม่ได้ตีพิมพ์ เรียบเรียงขึ้นโดยบุตรชายคนที่สามของโทลคีน คือ คริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นวนิยาย ที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวตลอดเล่ม เนื่องจากเป็นการรวบรวมงานเขียนชิ้นต่างๆ ของโทลคีนที่เขียนเอาไว้ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อหาหลายส่วนยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเนื่องจากยังไม่ได้แก้ไขเป็นบทสรุปสุดท้าย คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมส่วนที่เกี่ยวข้องกันมาไว้ด้วยกัน และแสดงหมายเหตุ หรือข้อสังเกตส่วนตัวเกี่ยวกับงานเขียนเหล่านั้น โดยพยายามเรียบเรียงให้ได้เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับข้อสรุปสุดท้ายของโทลคีนให้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ คือรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อตัวละคร หรือชื่อสถานที่ต่างๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งโทลคีนใส่ใจพิถีพิถันเป็นพิเศษ ทั้งในแง่ของความหมาย และความเป็นมา ถึงแก่ลงมือประพันธ์ประวัติศาสตร์ของชื่อสถานที่บางแห่ง ทำให้มีความสมจริงสมจังเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลในหนังสือ Unfinished Tales สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมแก่ตัวละคร เหตุการณ์ หรือสถานที่บางแห่งที่ถูกกล่าวถึงเพียงย่อๆ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึงความเป็นมาของแกนดัล์ฟ และเหล่าพ่อมด (อิสตาริ) และเรื่องราวโดยละเอียดในการที่แหวนเอกสูญหายไปจากการรับรู้ของผู้คนบนมิดเดิลเอิร์ธในตอนต้นของยุคที่สาม นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเหตุการณ์ในยุคที่สอง โดยเฉพาะเรื่องราวของเกาะนูเมนอร์ ซึ่งไม่ใคร่ถูกกล่าวถึงมากนักทั้งใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะตีพิมพ์ออกมาหลังจากโทลคีนถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี แต่ก็ยังได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างดียิ่ง ทำให้คริสโตเฟอร์ โทลคีน มีกำลังใจที่จะเรียบเรียงงานชิ้นอื่นๆ ของบิดาออกมาอีก เกิดเป็นหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ จำนวน 12 เล่ม.

ใหม่!!: รูห์นและUnfinished Tales · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »