โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รีวอิชิ ซะกะโมะโตะ

ดัชนี รีวอิชิ ซะกะโมะโตะ

รีวอิชิ ซะกะโมะโตะ เป็นนักดนตรี, นักกิจกรรม, นักประพันธ์เพลง, นักเขียน, นักแสดง และนักเปียโนชาวญี่ปุ่น เขามีแหล่งพำนักหลักอยู่ในโตเกียว และ นิวยอร์ก เขาเริ่มเข้าสู่เส้นทางอาชีพด้านดนตรีเมื่อปี 1978 ด้วยแนวเพลงอิเล็กทรอนิกส์ ในฐานะสมาชิกของวง เยลโล แมจิก ออร์เคสตรา (YMO) ซึ่งซะกะโมะโตะรับหน้าที่คีย์บอร์ดและบางครั้งเป็นผู้ร้อง ในที่สุด วง YMO ก็ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติและระดับโลก ภาพยนตร์เรื่อง Merry Christmas Mr. Lawrence ในปี 1983 เป็นหนึ่งในผลงานแจ้งเกิดของเขาในฐานะผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบและนักแสดง ภาพยนตร์ได้รับรางวัลแบฟตา และเพลงธีมหลักของเพลงก็ถูกนำไปดัดแปลงเป็นเพลงป๊อปที่ชื่อว่า "Forbidden Colours" ซึ่งโด่งดังในระดับโลก ในฐานะนักประพันธ์เพลง ซะกะโมะโตะได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลลูกโลกทองคำ, รางวัลแกรมมี และ รางวัลออสการ์ จากภาพยนตร์เรื่อง จักรพรรดิโลกไม่ลืม ในปี 2009 เขาได้รับมอบเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ศิลปะและวรรณกรรม จากรัฐบาลฝรั่งเศส นอกเหนือไปจากนี้ ซะกะโมะโตะ ยังเป็นผู้ประพันธ์เพลงของ อะนิเมะ และ วีดีโอเกม หลายเรื่อง.

21 ความสัมพันธ์: ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์รางวัลลูกโลกทองคำรางวัลออสการ์รางวัลแบฟตารางวัลแกรมมีวอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ปวิดีโอเกมอะนิเมะจักรพรรดิโลกไม่ลืมดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ดนตรีทดลองดนตรีแอมเบียนต์คีย์บอร์ดประเทศญี่ปุ่นนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)นิวเวฟแจ๊สโตเกียวเยลโลแมจิกออร์เคสตราเวิลด์มิวสิกเปียโน

ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์

"ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์" (Forbidden Colours) เป็นเพลงที่ประพันธ์โดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น รีวอิชิ ซะกะโมะโตะ และเนื้อร้องโดยโดยนักดนตรี นักแต่งเพลงและนักร้องชาวอังกฤษ เดวิด ซิลเวียน เพลงนี้เป็นเพลงร้อง ธีมเพลงประกอบภาพยนตร์ของ นางิสะ โอชิมาเรื่อง Merry Christmas, Mr. Lawrence (ในบางที่ใช้ชื่อว่า Furyo) ออกครั้งแรกในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ต่อมาเพลง "ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์" ได้ถูกนำมาร้องใหม่ในเพลงดูเอ็ต ของค่ายเวอร์จิ้นในปี 1983 เป็นซิงเกิลที่ 2 ของซิลเวียนและซะกะโมะโตะ ตามหลังซิงเกิลที่ชื่อ "Bamboo Houses" ในปี 1982 ชื่อเพลงมาจากนิยายของนักเขียนชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ มิชิมะ ยุกิโอะ ในปี 1953 ในชื่อเดียวกัน ถึงแม้ว่าไม่เกี่ยวกับภาพยนตร์โดยตรง แต่งานทั้ง 2 นี้ยังเกี่ยวกับรักร่วมเพศ ในปี..

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและฟอร์บิดเดนคัลเลอส์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลลูกโลกทองคำ

รางวัลลูกโลกทองคำ รางวัลลูกโลกทองคำ (Golden Globe Award) เป็นรายการแจกรางวัลประจำปีที่มอบให้กับภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เริ่มมาต้งแต่ปี 1944 จัดโดย Hollywood Foreign Press Association (HFPA) รางวัลลูกโลกทองคำถูกจัดอันดับว่ามีผู้ชมมากที่สุดอันดับ 3 สำหรับรายการแจกรางวัล ตามหลังรางวัลออสการ์และรางวัลแกรมมี่ การจัดจะจัดช่วงต้นปี โดยยึดผลจากการโหวดจากนักข่าวและสื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกา ผู้มีสิทธิเข้าชิงจะคัดเลือกในช่วงหลังวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งแตกต่างจากรางวัลออสการ์ที่ใช้เกณฑ์วันที่ 1 มกราคม และที่แตกต่างคือ เป็นรางวัลที่ไม่มีพิธีกรหลักแต่จะมีผู้เสนอรางวัล และผู้แนะนำรางวัลต่าง.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและรางวัลลูกโลกทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์

รางวัลออสการ์ อะแคเดมีอะวอร์ด ("รางวัลสถาบัน") หรืิอ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (หรือ) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและรางวัลออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแบฟตา

รางวัลแบฟตา รางวัลสถาบันศิลปะภาพยนตร์และโทรทัศน์บริติช (British Academy of Film and Television Arts) หรือ แบฟตา (BAFTA) เป็นรางวัลการแจกรางวัลประจำปีของสหราชอาณาจักร ที่มอบรางวัลให้กับภาพยนตร์ โทรทัศน์ รายการสำหรับเด็ก และสื่อเชิงโต้ตอบ การแจกรางวัลเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947 ในฐานะเดอะบริติชฟิล์มอะแคเดมี โดย เดวิด ลีน, อเล็กซานเดอร์ คอร์ดา, คาโรล รีด, ชาลส์ ลอตัน, โรเจอร์ แมนเวลล์ และคนอื่น ๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1958 สถาบันได้รวมกับ The Guild of Television Producers and Directors และก่อตั้งเป็น The Society of Film and Television ซึ่งต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็น The British Academy of Film and Television Arts (BAFTA) ในปี 1976 สัญลักษณ์รางวัลที่มองเป็นรูปหน้ากากออกแบบโดย Mitzi Cunliffe ประติมากรชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและรางวัลแบฟตา · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแกรมมี

รางวัลแกรมมี รางวัลแกรมมี (Grammy Award) มีชื่อเต็มว่า Gramophone Awards เป็นรางวัลทางดนตรี และศิลปิน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะวิทยาการการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Academy of Recording Arts and Sciences:NARAS) เป็นรายการแจกรางวัลให้ผู้มีผลงานโดดเด่นในอุตสาหกรรมการดนตรี จัดขึ้นเป็นประจำปีในสหรัฐอเมริกา โดยมากจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ มีสาขารางวัลถึง 108 สาขา ใน 30 แนวเพลง เป็นการโหวดโดยคณะกรรมการใน NARAS(คณะกรรมการที่เคยโหวดเช่น จอน บอน โจวี, ปริ้นซ์, Anand Bhatt, พอล ไซม่อน, เป็นต้น) รางวัลแกรมมีเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 โดยเริ่มถ่ายทอดสดในปี 1971.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและรางวัลแกรมมี · ดูเพิ่มเติม »

วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป

วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป (Warner Music Group) หรือ ดับเบิลยูเอ็มจี (WMG) เป็นกลุ่มธุรกิจและกลุ่มค่ายเพลงที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมการบันทึกเสียง เป็นหนึ่งในสี่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า บิ๊กโฟร์ (Big Four) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1929 ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อ วอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป (WMG) ใน ค.ศ. 2003.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและวอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ป · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและวิดีโอเกม · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโลกไม่ลืม

ักรพรรดิโลกไม่ลืม (The Last Emperor) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของจักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายของจีน ออกฉายในวันที่18 พฤศจิกายน 1987กำกับการแสดงโดยโดย เบอร์นาโด แบร์โตลุชชี ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอิตาลี เนื้อหาหลักของภาพยนตร์จะเกี่ยวข้องกับจักรพรรดิผู๋อี้โดยตรงตั้งแต่สิ้นสมัยการปกครองของซูสีไทเฮาช่วงผู๋อี้ขึ้นครองราชย์ ช่วงชีวิตวัยเด็กที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตพระราชวังต้องห้าม ช่วงที่ปกครองแมนจูกัวจวบจนบั้นปลายชีวิตของจักรพรรดิผู๋อี๋ที่อาศัยอยู่เยี่ยงสามัญชน เนื้อหาทั้งหมดของของภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากเรื่องจริงเพราะฉะนั้นจึงไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องความถูกต้องทางประวัติศาสตร์เหมือนภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่องอื่นๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารางวัลออสการ์ถึง 9สาขาและได้รับรางวัลในทุกสาขาที่เข้าชิง ตั้งแต่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม ถ่ายภาพยอดเยี่ยม ลำดับภาพยอดเยี่ยม ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม บันทึกเสียงยอดเยี่ยม กำกับศิลป์ยอดเยี่ยมและดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ขาดก็แต่แต่เพียงการแสดงเท่านั้น และยังเป็นหนังเรื่องแรกที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนให้เข้าไปถ่ายถึง พระราชวังต้องห้าม และใช้ตัวประกอบกว่า 19,000 คน.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและจักรพรรดิโลกไม่ลืม · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์

นตรีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic music) เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า"The stuff of electronic music is electrically produced or modified sounds.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีทดลอง

Moodswinger, Yuri Landman ดนตรีทดลอง (Experimental music) ในงานเขียนภาษาอังกฤษ มีความหมายถึงรูปแบบการจัดวางดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในกลางศตวรรษที่ 20 โดยมากในอเมริกาเหนือที่หมายถึง การประพันธ์ดนตรีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ได้ผลมาแบบไม่สามารถคาดเดาได้ มีชื่อเสียงอย่างมากและมีผู้สนับสนุนอันมีอิทธิพลอย่าง จอห์น เคจ ส่วนในความหมายหลวม ๆ แล้ว คำว่า "ทดลอง" (experimental) ใช้เป็นตัวเชื่อมกับชื่อแนวเพลงที่อธิบายถึงดนตรีในทางเฉพาะที่ดันขอบเขตหรือนิยามหรืออย่างอื่นซึ่งเป็นสไตล์ลูกผสมที่แตกต่างอย่างมาก หรือแนวรวมแบบนอกคอก หรือส่วนผสมที่โดดเด่นแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ความโดดเด่นของดนตรีทดลองเด่นชัดขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ที่อธิบายถึงการประพันธ์โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในบางครั้งก็จะใช้เรียกว่า ดนตรีอีเลกโทรนิก และ musique concrète คำว่าดนตรีทดลองนั้น ได้ใช้โดยสื่อมวลชน ที่คำทั่วไปที่หมายถึง การขัดคอกันของดนตรีที่แยกมาจากดนตรีปกติดั้งเดิม.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและดนตรีทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีแอมเบียนต์

นตรีแอมเบียนต์ เป็นแนวเพลงที่เน้นเรื่องของเสียงมากกว่าตัวโน้ต เน้นบรรยากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม ในธรรมชาติ แอมเบียนต์เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นการนำสไตล์เพลงหลาย ๆ อย่างมารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นแนวแจ๊ซ, อิเล็กทรอนิกส์, นิวเอจ, ร็อค แอนด์ โรล,ดนตรีคลาสสิก, เร็กเก้, เวิลด์มิวสิก หรือแม้กระทั่งเสียงทั่ว ๆ ไป (Noise) ไบรอัน อีโน่ (สมาชิกวง Roxy Music และโปรดิวเซอร์ของ U2 กับ เดวิด โบวี่) ให้คำนิยามดนตรีแอมเบียนต์ โดยเขียนนิยามดนตรีในอัลบั้มของเขาอัลบั้มชื่อ Ambient 1: Music for Airports ในปี 1978 ดนตรีแอมเบียนต์ เป็นดนตรีที่ไม่ได้เรียกร้องความสนใจ มันเหมือนเสียงบรรยากาศในสกอร์ประกอบหนังที่ไม่มีใครสังเกต เหมือนเสียงเพลงเบาๆ ในลิฟต์ที่ไม่มีใครใส่ใจ หรือเสียงซาวด์เอ็ฟเฟกต์ตามคลื่นวิทยุ ได้ซ่อนตัวเป็นเหมือนชั้นบรรยาก.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและดนตรีแอมเบียนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด

ีย์บอร์ด (keyboard) เป็นของหมักดอง มีรสและกลิ่นเปรี้ยว เนื่องจากถูกหมักบ่ม และ เก็บมานานภายใต้สภาพอากาศปิด ยิ่งนานยิ่งมีกลิ่นที่เปรี้ยวรุนแรง อาจรวมถึง Mouse ด้วย เช่นกัน; ในการพิม.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและคีย์บอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

นิวเวฟ

บลอนดี (Blondie) ในปี ค.ศ. 1976 จากซ้ายไปขวา: แกรี วาเลนไทน์, เคล็ม เบิร์ก, เดโบราห์ แฮร์รี, คริส สไตน์ และ จิมมี เดสทรี นิวเวฟ เป็นแนวเพลงป็อปร็อกที่เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่ผูกพันกับพังก์ร็อก โดยทั่วไปคำนี้มีความหมายเดียวกับพังก์ร็อก ก่อนที่จะรวมกับอิเล็กทรอนิกส์ ดนตรีทดลอง ม็อด ดิสโก้ และป็อป ต่อมานิวเวฟได้มีแนวเพลงย่อยได้แก่ นิวโรแมนติกและกอทิกร็อก ในฐานะที่เป็นแนวเพลงที่ได้รวมเอามากจากเสียงของพังก์ร็อกที่เป็นต้นฉบับ และอุปนิสัยของชนกลุ่มน้อย เช่นเน้นเพลงในเวลาสั้นและเราะรานReynolds, Simon "Rip It Up and Start Again PostPunk 1978–1984" p160แต่มันเป็นลักษณะซับซ้อนมากขึ้นในเพลงและเนื้อเพลงทั้ง ลักษณะทั่วไปของดนตรีนิวเวฟ นอกเหนือจากอิทธิพลของพังก์รวมถึงการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง และการผลิตแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจัดแต่งทรงผมและศิลปะหลากหลายขึ้น ในฐานะที่คำว่านิวเวฟมักจะใช้เพื่ออธิบายเพลงซึ่งเป็นที่เล่นโวหารและพิสดาร ลวงและปรากฏที่หัวใจ ผสมผสานในการติดท่อนแบบไพเราะชัดเจน ในลักษณะรูปแบบของแนวเพลงนี้แตกต่างกันอย่างมากตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและนิวเวฟ · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เยลโลแมจิกออร์เคสตรา

ลโลแมจิกออร์เคสตรา (Yellow Magic Orchestra, YMO) เป็นวงดนตรีอีเล็กโทรนิกส์จากญี่ปุ่น ก่อตั้งในปี 1978 โดย รีวอิชิ ซะกะโมะโตะ (คีย์บอร์ด) ฮะรุโอะมิ โฮะโซะโนะ (กีตาร์เบส) และ ยูกิฮิโระ ทะกะฮะชิ (มือกลอง และ ร้องนำ).

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและเยลโลแมจิกออร์เคสตรา · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์มิวสิก

วิลด์มิวสิค (World music) มีความหมายถึงเพลงพื้นเมืองหรือเพลงโฟล์กในวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สร้างสรรค์และเล่นโดยนักดนตรีท้องถิ่น ในทางตะวันตก คำว่า "เวิลด์มิวสิค" จะหมายถึงดนตรีที่ไม่ใช่ดนตรีจากทวีปอเมริกาเหนือและดนตรีอังกฤษ หรือเป็นดนตรีโฟล์กท้องถิ่น หรือดนตรีที่รวมเพลงท้องถิ่นหลายอย่าง ตัวอย่างของแนวเพลงเช่น ดนตรีเร้กเก้ในประเทศจาเมกาหรือละติน เป็นต้น ที่เติบโตจนแยกเป็นแนวเพลงเฉพาะ ดนตรีจีนหรือดนตรีแอฟริกา ก็ถูกจำแนกว่าเป็นเวิลด์มิวสิกเช่นกัน.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและเวิลด์มิวสิก · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ใหม่!!: รีวอิชิ ซะกะโมะโตะและเปียโน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »