โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐสภาสหราชอาณาจักร

ดัชนี รัฐสภาสหราชอาณาจักร

รัฐสภาสหราชอาณาจักร หรือ รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Parliament of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland หรือ Parliament of the United Kingdom) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร โดยมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษเป็นระบบสองสภา (Bicameralism) ซึ่งประกอบไปด้วย “สภาสูง” หรือ สภาขุนนาง (House of Lords) และ “สภาล่าง” หรือ สภาสามัญชน (House of Commons) พระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบที่สามของรัฐสภา สภาทั้งสองสภาประชุมแยกกันในห้องประชุมรัฐสภาภายในพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ตึกรัฐสภา” ที่นครเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน ตามปกติแล้วรัฐมนตรีของรัฐบาลทั้งหมดรวมทั้งนายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาสามัญชน แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่เป็นสมาชิกของสภาขุนนาง ที่ประชุมรัฐสภา ณ พระราชวังเวสมินเตอร์ รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ..

52 ความสัมพันธ์: ชาวแองโกล-แซกซันพรรคอนุรักษนิยมพรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800พระราชวังเวสต์มินสเตอร์พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์มหากฎบัตรระบบสองสภาระบบเจ้าขุนมูลนายรัฐสภารัฐสภาอังกฤษราชอาณาจักรสกอตแลนด์ราชอาณาจักรอังกฤษราชอาณาจักรไอร์แลนด์ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักรรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษริชาร์ด ครอมเวลล์ลอนดอนสภาวิททันสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักรสภาขุนนางสภานิติบัญญัติสมัยกลางสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักรสงครามกลางเมืองอังกฤษอธิการอารามดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนคริสตจักรแห่งอังกฤษคณะองคมนตรีต้นสมัยกลางซีมง เดอ มงฟอร์ เอิร์ลที่ 6 แห่งเลสเตอร์ประชาธิปไตยประเทศเวลส์นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรนครเวสต์มินสเตอร์โรมันคาทอลิก...โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เครือจักรภพแห่งอังกฤษ ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

พรรคอนุรักษนิยม

รรคอนุรักษนิยม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพรรคอนุรักษนิยม · ดูเพิ่มเติม »

พรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร)

รรคแรงงาน (Labour Party) เป็น พรรคการเมืองกลาง-ซ้ายในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในสามพรรคการเมืองใหญ่ของประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยเข้าควบรวมพรรคเสรีนิยมในช่วงต้นยุคปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707

งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ค.ศ. 1707-1800) พระราชบัญญัติสห..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800

งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระราชบัญญัติสห..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเวสต์มินสเตอร์

ระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือ ตึกรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Palace of Westminster หรือ Houses of Parliament หรือ Westminster Palace) เป็นสถานที่ที่สภาสองสภาของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (สภาขุนนาง และสภาสามัญชน) ประชุม พระราชวังตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเทมส์ในนครเวสต์มินสเตอร์ของลอนดอนบะระห์ไม่ไกลจากพระราชวังไวท์ฮอลล์ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ สร้างในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England) หรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (William II of Normandy) หรือบ้างเรียก พระเจ้าวิลเลียมลูกนอกสมรส (William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 (พ.ศ. 1630) ทรงเป็นลูกนอกสมรสของโรเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์ม็องดีและเฮอร์เลวา เดิมทรงมีฐานะเป็นดยุกแห่งนอร์ม็องดีในฝรั่งเศส เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) หลังจากที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีสิ้นพระชนม์เมื่อ..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ

ลายเซ็นของพระองค์ พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (William III of England; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650 — 8 มีนาคม ค.ศ. 1702) ทรงเป็นที่รู้จักกันในนามว่า วิลเลียมที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ และ วิลเลมที่ 3 แห่งออเรนจ์ ทรงเป็นขุนนางดัทช์ชั้นสูง และทรงเป็นศาสนิกชนนิกายโปรแตสแตนต์ เป็นพระราชโอรสของเจ้าชายวิลเลมแห่งออเรนจ์และเจ้าหญิงแมรี สจวตประสูติที่ The Hague ภายหลัง 8 วันจากที่พระองค์ประสูติ พระบิดาของพระองค์ก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษ ดังนั้นจึงทำให้พระเจ้าวิลเลียมทรงกลายเป็นเจ้าชายผู้ทรงอำนาจสูงสุดนับตั้งแต่ถือกำเนิดเลยทีเดียวก็ว่าได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2203 เมื่อพระเจ้าวิลเลียมมีพระชนมายุได้ราวสิบกว่าพรรษา พระราชมารดาก็สวรรคตด้วยไข้ทรพิษในระหว่างที่ทรงเยี่ยมพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเชษฐาของพระองค์ โดยก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ลงได้ทรงตัดสินใจให้พระเจ้าชาลส์เป็นผู้ปกครอง โดยพระเจ้าชาลส์นั้นได้ทรงมอบหน้าที่ให้เป็นของเจ้าหญิงอมาเลีย เนื่องจากทรงเข้าใจในพระราชประสงค์ของพระเจ้าชาลส์เป็นอย่างดี และพระองค์ก็มิได้ทรงละเลยในการเขียนจดหมายติดต่อถึงหลานชายแต่อย่างใด ในปี พ.ศ. 2217 พระองค์ได้มีความพยายามในการที่จะสมรสกับแมรีหลานสาวของพระองค์เอง ซึ่งแมรี่เป็นธิดาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ การสมรสนี้แม้นว่าเป็นไปอย่างยาก ลำบากมากก็ตาม แต่ในที่สุดก็ทรงได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2220 พระองค์ได้ทรงเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามที่ต่อต้านอำนาจพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน เหล่าสมาชิกนิกายโปรแตสแตนต์ถึงกับได้มอบเหรียญตราและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เนื่องจากเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ของพระองค์ทำให้พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลอื่น ในการประสบความสำเร็จของพระองค์จะเป็นในด้านการทหาร หรือกองเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็ตาม พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2245 ด้วยโรคปอดอักเสบ อันเนื่องจากการที่พระองค์ทรงตกจากม้าของพระองค์เอง และเป็นที่เชื่อกันว่าม้าของพระองค์ นั้นได้ก้าวเท้าพลาดไปสะดุดกับรังของตัวตุ่นเข้า และนี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งของที่มา ในการดื่มอวยพร Make a toasted ซึ่งมักจะมีการนิยมกล่าวกันในระหว่างที่ดื่มอวยพรว่า "the little gentleman in the black velvet waistcoat." และในปีถัดมา ท่านเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ก็ได้เพิ่มเติมลงไปอีกว่า "opened the trapdoor to a host of lurking foes".

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ

ระเจ้าจอห์น หรือที่รู้จักในพระนาม “จอห์นผู้เสียแผ่นดิน” (John หรือ John Lackland ค.ศ. 1166-1216) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ ครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Edward I of England) (17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307) หรือพระนามเดิมคือ เอ็ดเวิร์ด ลองแชงก์ส (Edward Longshanks) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 รู้จักกันในนามว่า “Longshanks” เพราะพระวรกายที่สูงราว 6 ฟุต 2 นิ้ว หรือ “ผู้พระราชทานกฎหมาย” (the Lawgiver) เพราะทรงเป็นผู้ปฏิรูปกฎหมายของอังกฤษ และ “ผู้ปราบชาวสกอต” (Hammer of the Scots) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ ได้อภิเษกสมรสกับเอลินอร์แห่งคาสตีล และต่อมากับพระนางมาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307 ที่บรัฟบายแซนด์ส คัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ได้รับชัยชนะต่อเวลส์และทรงพยายามปราบปรามสกอตแลนด์แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 จะเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่ 4 ที่มีพระนามว่า “เอ็ดเวิร์ด” หลังจาก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี แต่การลำดับนามเดียวกันด้วยตัวเลขเป็นประเพณีของชาวนอร์มัน ฉะนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสามพระองค์ที่ทรงปกครองอังกฤษก่อนหน้าการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันจึงมิได้รับการเรียงลำดับแต่ทรงใช้พระสมัญญานามเพื่อบ่งความแตกต่างของแต่ละพระองค์แทน เอ็ดเวิร์ด ลองแชงค์จึงกลายเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ (Henry III of England) (1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 – 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเฮนรีที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1207 ที่ปราสาทวินเชสเตอร์ แฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสองค์โตในพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ หรือจอห์น แลกแลนด์ และอิซาเบลลาแห่งอ็องกูแลม อภิเษกสมรสกับพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1216 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน อังกฤษ พระบรมศพอยู่ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงขึ้นครองราชสมบัติตั้งแต่ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ แม้ว่าจะทรงราชย์เป็นระยะเวลานานแต่ไม่ทรงมีความสำเร็จอะไรมากนักและมิได้ทรงเป็นนักการทหารหรือนักการปกครองผู้สามารถแต่อย่างใด แต่อังกฤษมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในรัชสมัยของพระองค์ ทรงใช้เมืองวินเชสเตอร์เป็นที่ว่าราชการ พระองค์ทรงขยายแอบบีและทรงสร้างอนุสรณ์แก่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี ระหว่างที่ยังทรงพระเยาว์พระเจ้าเฮนรีทรงมีวิลเลียม มาร์แชลเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อังกฤษที่พระองค์ได้รับมาผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมัยของพระราชบิดา ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในรัชสมัยต่อสู้กับขุนนางเรื่องมหากฎบัตร (Magna Carta) และสิทธิในการเป็นพระมหากษัตริย์ ในที่สุดก็ทรงถูกบังคับให้เรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ (19 มิถุนายน พ.ศ. 2109 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2168) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษหรือพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ พระเจ้าเจมส์ที่ 2แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2228 – พ.ศ. 2232) หรือ พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์ เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ และพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2228 ถึง 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์สุดท้ายที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษทรงครองราชย์ในเวลาเดียวกันกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเจมส์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ประสูติที่พระราชวังเซนต์เจมส์ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน

ผ้าปักบายู (Bayeux Tapestry) แสดงศึกเฮสติงส์และเหตุการณ์ที่นำมาสู่เหตุการณ์ที่ว่า ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ หรือ การรุกรานของชาวนอร์มัน (ภาษาอังกฤษ: Norman conquest of England) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1066 โดยการรุกรานราชอาณาจักรอังกฤษที่นำโดยดยุคแห่งนอร์มังดี และชัยชนะที่ได้รับที่ศึกเฮสติงส์ (Battle of Hastings) ผลของสงครามคือการปกครองของชาวนอร์มันในอังกฤษ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ หลายอย่างในประวัติศาสตร์อังกฤษ ชัยชนะของชาวนอร์มันทำให้อังกฤษเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างอังกฤษและผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรปโดยการนำเจ้านายนอร์มันเข้ามาปกครองบริหารอังกฤษซึ่งทำให้ลดอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียลง ชัยชนะทำให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดราชวงศ์หนึ่งในยุโรปรวมทั้งการก่อตั้งระบบการปกครองที่มีระเบียบแบบแผน และชัยชนะเปลี่ยนแปลงภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษและเป็นพื้นฐานของความเป็นคู่แข่งระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ต่อเนื่องกันมาเป็นพักๆ ร่วมพันปี.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) ยังรู้จักกันในชื่อ การปฏิวัติปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ · ดูเพิ่มเติม »

มหากฎบัตร

มหากฎบัตร (Magna Carta) ฉบับที่พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ประกาศเมื่อ พ.ศ. 1768 มหากฎบัตร (Magna Carta, แปลว่า "กฎบัตรใหญ่") บางครั้งก็เรียกว่า "กฎบัตรใหญ่แห่งอิสรภาพ" (Magna Carta Libertatum) เป็นกฎบัตรของอังกฤษที่ตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) โดยถือกันว่ามหากฎบัตรนี้คืออิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่มีต่อประวัติศาสตร์ศาสตร์อันยาวนานของกระบวนการที่นำมาสู่กฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน การที่ มหากฎบัตรเกิดขึ้นมาได้นั้น เนื่องมาจากข้อขัดแย้งระหว่างพระสันตปาปา พระเจ้าจอห์นและคณะขุนนางอังกฤษของพระองค์เกี่ยวกับสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ มหากฎบัตรบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงสละสิทธิ์บางอย่าง และยอมรับกระบวนการทางกฎหมายบางอย่าง และยังให้รับว่าพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย มีความเข้าใจผิดที่แพร่หลายหลายประการเกี่ยวกับมหากฎบัตรนี้ เช่นว่าเป็นเอกสารชิ้นแรกสุดที่จำกัดสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์โดยกฎหมายบ้าง (ความจริงไม่ใช่กฎบัตรแรกที่จำกัดสิทธิ์กษัตริย์และมหากฎบัตรนี้ส่วนหนึ่งมาจากสืบเนื่องกฎบัตรแห่งอิสรภาพ) และในแง่ปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดสิทธิ์บ้าง เป็นเอกสารที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง มหากฎบัตรได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดยุคมืด และแก้ไขต่อในสมัยราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์สจวต และต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 (พ.ศ. 2144-2343) ล่วงมาถึงช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาตราต่าง ๆ ที่มีเดิมในกฎหมายอังกฤษถูกยกเลิกหรือได้รับการปรับปรุงไปเกือบหมด อิทธิพลของมหากฎบัตรนอกประเทศอังกฤษ อาจเห็นได้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและในกฎหมายว่าด้วยสิทธิ์ นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ที่ใช้กฎหมายจารีตแต่มีรัฐธรรมนูญจะมีอิทธิพลของมหากฎบัตรอยู่ ทำให้มหากฎบัตรกลายเป็นเอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งประชาธิปไตย เนื้อหาหลักในมหากฎบัตร กล่าวถึง สิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของเสรีชน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในชนชั้นหรือวรรณะใดก็ตาม และพระเจ้าแผ่นดินจะต้องมอบสิทธินี้ให้กับขุนนางหรือผู้ครอบครองที่ดิน (Vassal) และขุนนางนั้นจะต้องมอบสิทธิให้กับพลเมืองหรือไพร่ในสังกัด โดยพลเมืองทุกคนจะไม่ถูกกดขี่ พ่อค้าและชาวนาไม่จำเป็นต้องมอบสินค้าบางส่วนหรือผลิตผลทางเกษตรให้กับขุนนางหรือพระเจ้าแผ่น เพื่อเป็นค่าคุ้มครอง ดังเนื้อความในส่วนหนึ่งของมหากฎบัตร ที่กล่าวว่า "จะไม่มีบุคคลที่ถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว โดยปราศจากอิสรภาพ หรือถูกยึด ขู่กรรโชก ทรัพย์สินโดยปราศจากคำตัดสินของศาล" นอกจากนี้มีในมหากฎบัตรยังได้กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษีของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะทรงเรียกเก็บภาษีตามพระราชหฤทัย โดยไม่ผ่านการเห็นชอบจากสภาบริหารราชการแผ่นดิน (The Great Council of the Nation) มิได้.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและมหากฎบัตร · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสองสภา

ระบบสองสภา (อังกฤษ: bicameralism -bi + Latin camera หรือ chamber) เป็นระบบการปกครองที่มีองค์นิติบัญญัติสององค์หรือมีรัฐสภาสองสภา ดังนั้น ระบบสองสภา หรือ สององค์นิติบัญญัติจึงประกอบด้วย 2 องค์ประชุมคือสภาสูงและสภาล่าง ระบบสองสภานับเป็นหัวใจสำคัญของรูปแบบคลาสสิกของรัฐบาลผสม องค์นิติบัญญัติแบบสองสภาจึงจำเป็นต้องมีเสียงข้างมากในการผ่านกฎหม.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและระบบสองสภา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภา

ผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย รัฐสภา เป็นสภานิติบัญญัติชนิดหนึ่ง รัฐสภาจะทำหน้าที่ออกกฎหมาย อภิปราย หารือกันระหว่างสมาชิกรัฐสภา ถกเถียงประเด็นทางการเมืองหรือกิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ โดยรัฐสภาจะมีเฉพาะประเทศที่ใช้ใช้ระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในโลกที่มีระบบรัฐสภาและเป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตยในสมัยปัจจุบันด้วย เช่น ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาอังกฤษ

รัฐสภาอังกฤษและพระมหากษัตริย์ ราว ค.ศ. 1300 รัฐสภาอังกฤษ (Parliament of England) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในราชอาณาจักรอังกฤษ รัฐสภาอังกฤษวิวัฒนาการมาจากสภาของต้นยุคกลางซึ่งมีหน้าที่ให้คำปรึกษาต่อพระมหากษัตริย์อังกฤษ การวิวัฒนาการทำให้อำนาจของรัฐสภาเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อำนาจของพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง เมื่อรัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ลงนามในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 ซึ่งรวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์เข้าด้วยกัน รัฐสภาอังกฤษและรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ก็ถูกยุบ รัฐสภาใหม่กลายเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ และในที่สุดก็เป็นรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรากฐานของระบบรัฐสภาของอังกฤษในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ระบบรัฐสภาของสหราชอาณาจักรเป็นระบบรัฐสภาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนได้รับสมญานามว่า “แม่แห่งรัฐสภา” ซึ่งเป็นระบบประชาธิปไตยที่เป็นรากฐานของมาตรฐานในการก่อตั้งระบบรัฐสภาทั่วโลก.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและรัฐสภาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์

ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ (Rìoghachd na h-Alba; Kinrick o Scotland; Kingdom of Scotland) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรประหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์

ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ (ภาษาเกลลิค: Ríocht na hÉireann; ภาษาอังกฤษ: Kingdom of Ireland) เป็นชื่อที่เรียกรัฐไอร์แลนด์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและราชอาณาจักรไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักร

ระบอบราชาธิปไตยของสหราชอาณาจักร เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรผู้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและราชาธิปไตยแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ครอมเวลล์

ริชาร์ด ครอมเวลล์ (Richard Cromwell) เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1626 ที่ เคมบริดจ์เชอร์ เป็นบุตรชายของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เจ้าผู้พิทักษ์ แห่ง รัฐผู้พิทักษ์ ต่อมาเมื่อบิดาถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658 เขาจึง ขึ้นมาเป็น เจ้าผู้พิทักษ์ แทนบิดาแต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนเหมือนสมัยของบิดาเพราะขาดความสามารถและมิได้สานต่อนโยบายของบิดา จนในที่สุดก็ถูกนายทหารกลุ่มหนึ่งปลดจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1659 ริชาร์ด ครอมเวลล์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1712 ขณะอายุได้ 85 ปี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2169 หมวดหมู่:ขุนนางอังกฤษ.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและริชาร์ด ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สภาวิททัน

ระเจ้าแผ่นดินแองโกล-แซ็กซอนและสภาขุนนาง (คริสต์ศตวรรษที่ 11) สภาวิททัน (ภาษาอังกฤษ: Witan หรือ Witenagemot) เป็นสถาบันทางการเมืองของแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษซึ่งมีบทบาทระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 11 คำว่า “witenagemot” มาจากภาษาอังกฤษเก่าจากคำว่า “การพบปะของผู้อาวุโส” (“wita” คือ ผู้มีปัญญา หรือ ที่ปรึกษา (พหูพจน์ “witan”); “gemot” คือ การประชุม) ที่มาของสภาวิททันมาจากการประชุมของประเพณีของการปกครองของชนเผ่าในสมัยโบราณ ซึ่งต่อมามามีอำนาจและที่ดินมากขึ้น สมาชิกสภานอกจากจะเป็นผู้มีอำนาจและก็ยังรวมนักบวชอาวุโสและข้าราชสำนักของพระมหากษัตริย์ด้ว.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสภาวิททัน · ดูเพิ่มเติม »

สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร

มัญชน (House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชน หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันมาจากการเลือกตั้งทุกห้าปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 650 ที่นั่ง จากการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2558 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี การประชุมสภาร่วมฯ จัดขึ้นที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ปัจจุบันสภาสามัญชนมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับสภาขุนนาง (House of Lords) อันเป็นสภาสูง ซึ่งมีบทบาทน้อยลงเมื่อเทียบกับอดีต โดยบทบาทของสภาสามัญชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างครั้งแรกเมื่อปี 1911 จากการตรา "พระราชบัญญัติรั..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สภาขุนนาง

นนาง (House of Lords) เป็น สภาสูงในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยขุนนางมีบรรดาศักดิ์จำนวนเจ็ดถึงแปดร้อยคน ทุกคนมาจากการแต่งตั้งและสืบตระกูล ทำหน้าที่ร่วมกับกับสภาสามัญชนซึ่งเป็นสภาล่างซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจากการเลือกตั้ง สภาขุนนางจะแยกเป็นอิสระจากสภาสามัญชน โดยมีอำนาจถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา โดยเฉพาะการพิจารณาเพื่อผ่านร่างกฎหมาย โดยสภาขุนนางมีอำนาจที่จะระงับการบังคับใช้กฎหมายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาล สภาสามัญชน และประชาชนร่วมกันพิจารณาถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนั้นๆอย่างรอบคอบ สภาขุนนางยังมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และป้องกันมิให้มีกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอื่นๆ จะมีศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน สภาชิกสภาขุนนางแบ่งเป็นสี่ประเภท คือ.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสภาขุนนาง · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (Mary II of England) (30 เมษายน ค.ศ. 1662 – 28 ธันวาคม ค.ศ. 1694) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชวงศ์สจวตของราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์ระหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อธิการอาราม

อธิการอาราม (abbot) เป็นสมณศักดิ์สำหรับนักพรตที่เป็นอธิการของอาราม พบในหลายศาสนารวมทั้งศาสนาคริสต์ ถ้าเป็นนักพรตหญิงเรียกว่าอธิการิณีอาราม ส่วนอธิการอารามในศาสนาพุทธเรียกว่า "เจ้าอาวาส" หรือ "สมภาร" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า abbot ซึ่งมาจากภาษาแอราเมอิก ܐܒܐ/אבא (อับบา) แปลว่า คุณพ่อ.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและอธิการอาราม · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน

ที่ตั้งของดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร (British Overseas Territories) คือดินแดน 14 ดินแดนที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของสหราชอาณาจักร แต่ไม่ได้นับเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู) คริสตจักรแห่งอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5 (Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ ของอังกฤษ และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและคริสตจักรแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

คณะองคมนตรี

ณะองคมนตรี (privy council) คือ กลุ่มบุคคลที่ให้คำปรึกษาแก่ประมุขแห่งรัฐ โดยทั่วไปในประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตย ในภาษาอังกฤษ คำว่า "privy" หมายถึง "ส่วนตัว" หรือ "ลับ" ดังนั้นแรกเริ่มเดิมที privy council คือคณะที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดที่สุดของกษัตริย์ที่ให้คำปรึกษาที่รักษาเป็นความลับในเรื่องกิจการรัฐ ประเทศที่มีสภาองคมนตรีหรือองค์กรเทียบเท่าในปัจจุบัน เช่น สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ, ประเทศแคนาดา, ราชอาณาจักรเดนมาร์ก, ราชอาณาจักรตองกา และ ราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและคณะองคมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ซีมง เดอ มงฟอร์ เอิร์ลที่ 6 แห่งเลสเตอร์

ซีมง เดอ มงฟอร์ เอิร์ลที่ 6 แห่งเลสเตอร์ (Simon de Montfort, 6th Earl of Leicester) (23 พฤษภาคม ค.ศ. 1208 - 4 สิงหาคม ค.ศ. 1265) เป็นขุนนางชาวอังกฤษเชื้อสายฝรั่งเศสที่มีบทบาทสำคัญในสงครามขุนนางครั้งที่ 2 ในการเป็นปฏิปักษ์ต่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 หลังจากการปฏิวัติระหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและซีมง เดอ มงฟอร์ เอิร์ลที่ 6 แห่งเลสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Prime Minister of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแห่งสหราชอาณาจักร การกำหนดนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินต่างๆถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อพระมหากษัตริย์, รัฐสภา, พรรคการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นหนึ่งในสี่อำมาตย์นายก ซึ่งหมายถึงผู้บริหารสูงสุดทั้งสี่ของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็น คนที่ 54 คือ เทเรซา เมย์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

นครเวสต์มินสเตอร์

นครเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: City of Westminster) เป็นนครของลอนดอนที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของนครลอนดอนและเหนือฝั่งแม่น้ำเทมส์ และเป็นส่วนหนึ่งของใจกลางลอนดอน อาณาบริเวณของนครเวสต์มินสเตอร์รวมทั้งบริเวณเวสต์เอ็นด์เกือบทั้งหมดและเป็นที่ตั้งของรัฐบาลของสหราชอาณาจักร, พระราชวังเวสต์มินสเตอร์, พระราชวังบัคคิงแฮม, พระราชวังไวท์ฮอลล์ และ Royal Courts of Justice ในปี..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและนครเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งอังกฤษ

รือจักรภพแห่งอังกฤษ (Commonwealth of England) คือรัฐบาลสาธารณรัฐที่ปกครองอังกฤษ รวมทั้งเวลส์ ไอร์แลนด์ และสกอตแลนด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึง ค.ศ. 1660 หลังจากการสำเร็จโทษของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 เครือจักรภพอังกฤษกำเนิดขึ้นจากพระราชบัญญัติประกาศอังกฤษเป็นเครือจักรภพโดยรัฐสภารัมพ์ (Rump Parliament) เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม..

ใหม่!!: รัฐสภาสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

British ParliamentParliament of the United Kingdomรัฐสภาของสหราชอาณาจักรรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »