โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์

ดัชนี อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์

ทลเลอร์–อูลาม (Teller–Ulam configuration)อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermonuclear weapon) หรือ ระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb)เรียกภาษาปากว่า เอชบอมบ์ เป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่ใช้พลังงานฟิวชั่นเป็นหลักซึ่งต้องใช้ความร้อนถึงร้อยล้านองศาจึงเป็นที่มาของชื่อเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันในขั้นตอนแรก เพื่อจุดระเบิด ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นในขั้นตอนที่สอง ผลลัพธ์ทำให้อำนาจระเบิดเพิ่มขึ้นมหาศาลเมื่อเทียบกับอาวุธฟิชชันแบบเก่าที่ใช้แค่ขั้นตอนเดียวอย่างระเบิดปรมาณู(atomic bomb) เนื่องจากการ ฟิวชั่น คือการใช้การรวมตัวของธาตุเบาไปเป็นธาตุที่หนักขึ้น ในที่นี้ระเบิดจะใช้ไฮโดรเจน(ดิวเทอเรียมหลอมรวมกับทริเทียม)เป็นปฏิกิริยาแบบเดียวกับที่เกิดในแกนกลางดวงอาทิตย์ซึ่งต้องใช้ความกดดันสูงมากกับอุณหภูมินับสิบล้านองศาเพื่อให้เกิดปฏิกิริยานี้แต่เนื่องจากบนโลกมีความหนาแน่นน้อยกว่าแกนดวงอาทิตย์มากจึงทำให้ต้องใช้อุณหภูมิมากกว่าแกนกลางของดวงอาทิตย์โดยใช้ถึงหลักร้อยล้านองศาเพื่อให้อะตอมไฮโดรเจนรวมตัวกัน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ระเบิดนิวเคลียร์แบบฟิชชัน(Atomic bomb)ในอาวุธนี้ก่อนเพื่อกระตุ้นให้อุณหภูมิถึงขั้นที่จะเกิดการฟิวชั่นได้ ซึ่งเกิดในอาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่มีอาวุธชนิดนี้ โดยทำการทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ลูกแรกของโลกในปี..

24 ความสัมพันธ์: ฟิวชันพลังงานฟิวชั่นพลูโทเนียมการหลอมนิวเคลียสการแบ่งแยกนิวเคลียสฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ยูเรเนียมยูเรเนียม-238รังสีเอกซ์ลิเทียมสำนวนภาษาปากสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์อาวุธนิวเคลียร์ฮีเลียมจอห์น ฟอน นอยมันน์ทริเทียมดวงอาทิตย์ดิวเทอเรียมครึ่งชีวิตซาร์บอมบานิวตรอนแคสเซิลบราโวไฮโดรเจนเอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์

ฟิวชัน

ฟิวชัน (fusion) ในภาษาอังกฤษหมายถึง การรวม การหลอมเข้าด้วยกัน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และฟิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานฟิวชั่น

ลังงานฟิวชั่น (Fusion power) คือพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ปฏิกิริยาชนิดนี้เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอมธาตุเบาหลอมตัวเข้าด้วยกัน และได้นิวเคลียสที่หนักกว่าเดิมและมีเสถียรภาพมากขึ้น มวลของธาตุเบาที่รวมกันจะหายไปเล็กน้อยซึ่งส่วนที่หายไปนั้นเองได้เปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานตามสมการ ''E''.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และพลังงานฟิวชั่น · ดูเพิ่มเติม »

พลูโทเนียม

ลูโทเนียม (Plutonium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 94 และสัญลักษณ์ คือ Pu เป็นธาตุโลหะกัมมันตรังสี เป็นโลหะแอกทิไนด์สีขาวเงิน และจะมัวลงเมื่อสัมผัสอากาศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกับออกซิเจน โดยปกติ พลูโทเนียมมี 6 ไอโซโทป และ 4 สถานะออกซิเดชัน สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับคาร์บอน ฮาโลเจน ไนโตรเจน และซิลิกอน เมื่อสัมผัสอากาศชื้นจะสร้างสารประกอบออกไซด์และไฮไดรด์มากกว่า 70 % ของปริมาตรซึ่งจะแตกออกเป็นผงแป้งที่สามารถติดไฟได้เอง พลูโทเนียมมีพิษที่เกิดจากการแผ่รังสีที่จะสะสมที่ไขกระดูก นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ทำให้การจัดการพลูโทเนียมเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ไอโซโทปที่สำคัญของพลูโทเนียม คือ พลูโทเนียม-239 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 24,100 ปี พลูโทเนียม-239 และ 241 เป็นวัสดุฟิสไซล์ ซึ่งหมายความว่านิวเคลียสของอะตอมสามารถแตกตัว โดยการชนของนิวตรอนความร้อนเคลื่อนที่ช้า ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงาน รังสีแกมมา และนิวตรอนจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้ นำไปสู่การประยุกต์สร้างอาวุธนิวเคลียร์และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุด คือ พลูโทเนียม-244 ซึ่งมีครึ่งชีวิตประมาณ 80 ล้านปี นานพอที่จะสามารถพบได้ในธรรมชาติ พลูโทเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 88 ปี และปลดปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา มันเป็นแหล่งความร้อนของเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี ซึ่งใช้ในการให้พลังงานในยานอวกาศ พลูโทเนียม-240 มีอัตราของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมด้วยตัวเองสูง เป็นการเพิ่มอัตรานิวตรอนพื้นฐานของตัวอย่างที่มีไอโซโทปนี้ประกอบอยู่ด้วย การมีอยู่ของ Pu-240 เป็นข้อจำกัดสมรรถภาพของพลูโทเนียมที่ใช้ในอาวุธหรือแหล่งพลังงานและเป็นตัวกำหนดเกรดของพลูโทเนียม: อาวุธ (19%) ธาตุลำดับที่ 94 สังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และพลูโทเนียม · ดูเพิ่มเติม »

การหลอมนิวเคลียส

้นโค้งพลังงานยึดเหนี่ยวนิวเคลียส, นิวคลีออน (หมายถึงองค์ประกอบของนิวเคลียส หมายถึงโปรตอนหรือนิวตรอน) ที่มีมวลสูงถึง Iron-56 โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนพวกที่หนักกว่านั้นโดยทั่วไปจะดูดซับพลังงาน ดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานออกมาโดยการหลอมนิวเคลียสของไฮโดรเจนจนกลายเป็นฮีเลียม ในแกนกลางของมัน ดวงอาทิตย์จะหลอมไฮโดรเจน 620 ล้านเมตริกตันทุกวินาที การหลอมนิวเคลียส (nuclear fusion) ในทางฟิสิกส์นิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอมหนึ่งตัวหรือมากกว่าเข้ามาอยู่ใกล้กัน แล้วชนกันที่ความเร็วสูง รวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสของอะตอมใหม่ที่หนักขึ้น ในระหว่างกระบวนการนี้ มวลของมันจะไม่เท่าเดิมเพราะมวลบางส่วนของนิวเคลียสที่รวมต้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานโปรตอน การหลอมนิวเคลียสสองนิวเคลียสที่มีมวลต่ำกว่าเหล็ก-56 (ที่ พร้อมกับนิกเกิล-62 มีพลังงานยึดเหนี่ยวต่อนิวคลีออนที่ใหญ่ที่สุด) โดยทั่วไปจะปลดปล่อยพลังงานออกมา ในขณะที่การหลอมนิวเคลียสที่หนักกว่าเหล็กจะ "ดูดซับ" พลังงาน การทำงานที่ตรงกันข้ามเรียกว่า "การแบ่งแยกนิวเคลียส" ซึ่งหมายความว่าโดยทั่วไปองค์ประกอบที่เบากว่าเท่านั้นที่สามารถหลอม เช่นไฮโดรเจนและฮีเลียม และในทำนองเดียวกันโดยทั่วไปองค์ประกอบที่หนักกว่าเท่านั้นที่สามารถแบ่งแยกได้ เช่นยูเรเนียมและพลูโทเนียม มีเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์แบบสุดขั้วอย่างมากที่สามารถนำไปสู่​​ช่วงเวลาสั้น ๆ ของการหลอมด้วยนิวเคลียสที่หนักกว่า นี้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิด nucleosynthesis ที่เป็นการสร้างธาตุหนักในช่วงเหตุการณ์ที่เรียกว่ามหานวดารา หลังการค้นพบ "อุโมงค์ควอนตัม" โดยนักฟิสิกส์ นายฟรีดริช ฮุนท์ ในปี 1929 นายโรเบิร์ต แอตกินสันและนายฟริตซ์ Houtermans ใช้มวลขององค์ประกอบเบาที่วัดได้ในการคาดการณ์ว่าจำนวนมากของพลังงานสามารถที่จะถูกปลดปล่อยจากการทำหลอมนิวเคลียสขนาดเล็ก การหลอมในห้องปฏิบัติการของไอโซโทปของไฮโดรเจน เมื่อสร้างขึ้นระหว่างการทดลองการแปรนิวเคลียสโดยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ที่ได้ดำเนินการมาหลายปีก่อนหน้านี้ ก็ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกโดยนายมาร์ค Oliphant ในปี 1932 ในช่วงที่เหลือของทศวรรษนั้น ขั้นตอนของวงจรหลักของการหลอมนิวเคลียสในดวงดาวได้รับการทำงานโดยนายฮันส์ Bethe การวิจัยในหลอมเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1940 เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนแฮตตัน การหลอมก็ประสบความสำเร็จในปี 1951 ด้วยการทดสอบนิวเคลียร์แบบ "รายการเรือนกระจก" การหลอมนิวเคลียสในขนาดที่ใหญ่ในการระเบิดครั้งหนึ่งได้มีการดำเนินการครั้งแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1952 ในการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนรหัสไอวีไมก์ (Ivy Mike) การวิจัยเพื่อการพัฒนา thermonuclear fusion ที่ควบคุมได้สำหรับวัตถุประสงค์ทางพลเรือนก็ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี 1950 เช่นกัน และยังคงเป็นไปจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และการหลอมนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งแยกนิวเคลียส

prompt gamma rays) ออกมาด่วย (ไม่ได้แสดงในภาพ) การแบ่งแยกนิวเคลียส หรือ นิวเคลียร์ฟิชชัน (nuclear fission) ในสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์และเคมีนิวเคลียร์ เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์หรือกระบวนการการสลายกัมมันตรังสีอย่างหนึ่งที่นิวเคลียสของอะตอม แตกออกเป็นชิ้นขนาดเล็ก (นิวเคลียสที่เบากว่า) กระบวนการฟิชชันมักจะผลิตนิวตรอนและโปรตอนอิสระ (ในรูปของรังสีแกมมา) พร้อมทั้งปลดปล่อยพลังงานออกมาจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นการปลดปล่อยจากการสลายกัมมันตรังสีก็ตาม นิวเคลียร์ฟิชชันของธาตุหนักถูกค้นพบเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1938 โดยชาวเยอรมัน นายอ็อตโต ฮาห์นและผู้ช่วยของเขา นายฟริตซ์ Strassmann และได้รับการอธิบายในทางทฤษฎีในเดือนมกราคมปี 1939 โดยนาง Lise Meitner และหลานชายของเธอ นายอ็อตโต โรเบิร์ต Frisch.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และการแบ่งแยกนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

ฝุ่นรังสีนิวเคลียร์

ฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ (nuclear fallout) คือสิ่งที่เป็นอันตรายทางกัมมันตภาพรังสีที่เหลืออยู่จากการระเบิดทางนิวเคลียร์ ที่ใช้ชื่อนี้ เนื่องจากมัน "ตกลงมา" (falls out) จากบรรยากาศทำให้มีการกระจายออกไปในขณะที่เกิดการระเบิด โดยปกติจะหมายถึงฝุ่นกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ ฝุ่นกัมมันตรังสีเหล่านี้ประกอบด้วยอนุภาคร้อน (hot particle) ซึ่งทำให้เกิดการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในห่วงโซ่อาหาร.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรเนียม

ูเรเนียม (Uranium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 92 และสัญลักษณ์คือ U เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี ตามธรรมชาติมีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอโซโทป U-235 ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ ตามธรรมชาติพบยูเรเนียมในปริมาณเล็กน้อยในหิน ดิน น้ำ พืช และสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ด้วย ครึ่งชีวิตของธาตุยูเรเนียมคือ 4,500 ล้านปี (U-238).

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และยูเรเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรเนียม-238

ูเรเนียม-238 (238U หรือ U-238) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของยูเรเนียม ไอโซโทปนี้สามารถพบได้ในธรรมชาติ ยูเรเนียม-238 ใช้เป็นวัสดุตั้งต้นให้แก่พลูโทเนียม-239 สามารถสลายด้วยวิธีการสลายตัวแอลฟา และ การสลายตัวเบต้าสองครั้ง ไอโซโทป 99.248 % ของยูเรเนียม-238 มีครึ่งชีวิต 1.41 วินาที (4.468 ปี, หรือ 4.468 พันล้านปี).

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และยูเรเนียม-238 · ดูเพิ่มเติม »

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ. 1895 ทฤษฎีอิเล็กตรอนสมัยปัจจุบัน อธิบายถึงการเกิดรังสีเอกซ์ว่า ธาตุประกอบด้วยอะตอมจำนวนมากในอะตอมแต่ละตัวมีนิวเคลียสเป็นใจกลาง และมีอิเล็กตรอนวิ่งวนเป็นชั้น ๆ ธาตุเบาจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่น้อยชั้น และธาตุหนักจะมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่หลายชั้น เมื่ออะตอมธาตุหนักถูกยิงด้วยกระแสอิเล็กตรอน จะทำให้อิเล็กตรอนที่อยู่ชั้นในถูกชนกระเด็นออกมาวิ่งวนอยู่รอบนอกซึ่งมีภาวะไม่เสถียรและจะหลุดตกไปวิ่งวนอยู่ชั้นในอีก พร้อมกับปล่อยพลังงานออกในรูปรังสี ถ้าอิเล็กตรอนที่ยิงเข้าไปมีพลังงานมาก ก็จะเข้าไปชนอิเล็กตรอนในชั้นลึก ๆ ทำให้ได้รังสีที่มีพลังงานมาก เรียกว่า ฮาร์ดเอกซเรย์ (hard x-ray) ถ้าอิเล็กตรอนที่ใช้ยิงมีพลังงานน้อยเข้าไปได้ไม่ลึกนัก จะให้รังสีที่เรียกว่า ซอฟต์เอกซเรย์ (soft x-ray) กระบวนการเกิดหรือการผลิตรังสีเอกซ์ทั้งโดยฝีมือมนุษย์และในธรรมชาติ มีอยู่ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และรังสีเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิเทียม

ลิเทียม (Lithium) เป็นธาตุมีสัญลักษณ์ Li และเลขอะตอม 3 ในตารางธาตุ ตั้งอยู่ในกลุ่ม 1 ในกลุ่มโลหะอัลคาไล ลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่อนนุ่ม และมีสีขาวเงิน ซึ่งถูกออกซิไดส์เร็วในอากาศและน้ำ ลิเทียมเป็นธาตุของแข็ง ที่เบาที่สุด และใช้มากในโลหะผสมสำหรับการนำความร้อน ในถ่านไฟฉายและเป็นส่วนผสมในยาบางชนิดที่เรียกว่า "mood stabilizer".

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และลิเทียม · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนภาษาปาก

ำนวนภาษาปาก (colloquialism) คือ ภาษาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า ทั้งนี้ ภาษาประเภทนี้อาจปรากฏได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในพจนานุกรมไทยจะย่อชื่อภาษานี้ว่า "(ปาก)" เช่น "ทาน (ปาก) ก. กิน, กร่อนมาจาก รับประทาน" การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษามาตรฐานของภาษาหลักนั้น ๆ เมื่อใช้นานไป อาจกลายเป็นมาตรฐานย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้นกระทั่งไม่เรียกว่าภาษาปากอีกต่อไปก็ได้หากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับและใช้โดยทั่วไป ภาษาปากนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และสำนวนภาษาปาก · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

นธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons หรือเรียกทั่วไปว่า Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกระจายของอาวุธนิวเคลียร์และเทคโนโลยีอาวุธ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ และเพื่อผลักดันเป้าหมายการบรรลุการลดอาวุธนิวเคลียร์และการลดกำลังรบโดยทั่วไปและสมบูรณ์ สนธิสัญญาฯ เปิดให้ลงนามในปี 2511 มีผลใช้บังคับในปี 2513 วันที่ 11 พฤษภาคม 2538 มีการขยายสนธิสัญญาฯ ขยายเวลาไปอย่างไม่มีกำหนด มีประเทศที่ปฏิบัติตาม NPT มากกว่าความตกลงจำกัดอาวุธและลดกำลังรบอื่นใด อันเป็นหลักฐานความสำคัญของสนธิสัญญาฯ มี 191 รัฐเข้าร่วมสนธิสัญญาฯ แม้ว่าเกาหลีเหนือ ซึ่งเห็นชอบ NPT ในปี 2528 แต่ไม่เคยปฏิบัติตาม โดยประกาศถอนตัวในปี 2546 มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติสี่รัฐไม่เคยเข้าร่วม NPT ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล ปากีสถานและเซาท์ซูดาน สนธิสัญญาดังกล่าวรับรองรัฐอาวุธนิวเคลียร์ห้ารัฐ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเป็นสมาชิกถาวรห้าประเทศแห่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติด้วย) สี่รัฐอื่นที่ทราบหรือเชื่อว่าครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถานและเกาหลีเหนือทดสอบอย่างเปิดเผยและประกาศว่าตนครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ ฝ่ายอิสราเอลมีนโยบายปกปิดโครงการอาวุธนิวเคลียร์ของตน NPT ประกอบด้วยคำปรารภและ 11 ข้อ แม้ไม่มีการแสดงมโนทัศน์ "เสา" อยู่ที่ใดใน NPT กระนั้น บางครั้งมีการตีความสนธิสัญญาว่าเป็นระบบสามเสา ซึ่งส่อความความสมดุลระหว่างเสา ดังนี้.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาวุธนิวเคลียร์

ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2488 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง อาวุธนิวเคลียร์ เป็นวัตถุระเบิดซึ่งมีอำนาจทำลายล้างมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาฟิชชัน(atomic bomb)อย่างเดียว หรือ ฟิชชันและฟิวชัน(hydrogen bomb)รวมกัน ปฏิกิริยาทั้งสองปลดปล่อยพลังงานปริมาณมหาศาลจากสสารปริมาณค่อนข้างน้อย การทดสอบระเบิดฟิชชัน ("อะตอม") ลูกแรกปลดปล่อยพลังงานออกมาเทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 20,000 ตัน การทดสอบระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์ ("ระเบิดไฮโดรเจน") ลูกแรก ปลดปล่อยพลังงานออกมาเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 10,000,000 ตัน อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์สมัยใหม่ที่หนักกว่า 1,100 กิโลกรัมเล็กน้อย สามารถก่อให้เกิดแรงระเบิดเทียบเท่ากับการจุดจามทีเอ็นทีมากกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น กระทั่งวัตถุนิวเคลียร์ลูกเล็กๆ ที่ขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าระเบิดธรรมดา สามารถทำลายล้างนครทั้งนครได้ ด้วยแรงระเบิด ไฟและกัมมันตรังสี อาวุธนิวเคลียร์ถูกพิจารณาว่าเป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง และการใช้และควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นจุดสนใจสำคัญของนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนับแต่ถือกำเนิดขึ้น มีอาวุธนิวเคลียร์เพียงสองชิ้นเท่านั้นที่เคยใช้ตลอดห้วงการสงคราม ทั้งสองครั้งโดยสหรัฐอเมริกายามสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติ วันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮีเลียม

ีเลียม (Helium) เป็นธาตุเคมีที่มีสัญลักษณ์ว่า He และมีเลขอะตอมเท่ากับ 2 ฮีเลียมเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ เฉื่อย มีอะตอมเดี่ยวซึ่งถูกจัดให้อยู่ในหมู่แก๊สมีตระกูลบนตารางธาตุ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวของฮีเลียม มีค่าต่ำสุดกว่าบรรดาธาตุทั้งหมดในตารางธาตุ และมันจะปรากฏในอยู่รูปของแก๊สเท่านั้น ยกเว้นในสภาวะที่เย็นยิ่งยว.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และฮีเลียม · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ฟอน นอยมันน์

อห์น ฟอน นอยมันน์ ในช่วงปี ค.ศ. 1940 จอห์น ฟอน นอยมันน์ (John von Neumann, Neumann János, 28 ธ.ค. ค.ศ. 1903 - 8 ก.พ. ค.ศ. 1957) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ จะว่าไปแล้วก็ทุกๆ สาขาในวิชาคณิตศาสตร์ เลยก็ว่าได้.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และจอห์น ฟอน นอยมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทริเทียม

ทริเทียม (tritium) เป็นไอโซโทปหนึ่งในสามชนิดของอะตอมไฮโดรเจนซึ่งได้แก่ ไฮโดรเจนธรรมดาหรือโปรเทียม ดิวเทอเรียม และทริเทียม (มีสัญลักษณ์ T หรือ 3H) องค์ประกอบของทริเทียมมีนิวเคลียสเกาะกันอยู่ด้วยอนุภาคมูลฐาน 2 ชนิดคือ โปรตอน 1 อนุภาคกับนิวตรอน 2 อนุภาค และมีอนุภาคมูลฐานอีกชนิดหนึ่งคืออิเล็กตรอนอีก 1 อนุภาคโคจรอยู่รอบนิวเคลียส ทริเทียมเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีโดยเกิดการสลายกัมมันตรังสีแบบการสลายให้รังสีบีตา (b-) หรือก็คืออนุภาคอิเล็กตรอน ด้วยครึ่งชีวิต 12.32 ปี โดยแปรเป็นธาตุฮีเลียม-3 หมวดหมู่:วัสดุนิวเคลียร์ หมวดหมู่:ไอโซโทป.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และทริเทียม · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิวเทอเรียม

วเทอเรียม (Deuterium) สัญญลักษณ์ 2H ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไฮโดรเจนหนัก เป็นหนึ่งในสองของไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เสถียร โดยที่นิวเคลียสของอะตอมมีโปรตอน 1 ตัวและนิวตรอน 1 ตัว ในขณะที่ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่รู้จักกันทั่วไปมากกว่าที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรเทียม (protium) มีเพียงโปรตอนเดียวเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน ดิวเทอเรียมมี'ความอุดมในธรรมชาติ' โดยพบในมหาสมุทรทั่วไปประมาณหนึ่งอะตอมใน 6420 อะตอมของไฮโดรเจน ทำให้ดิวเทอเรียมมีสัดส่วนที่ประมาณ 0.0156% (หรือ 0.0312% ถ้าคิดตามมวล) ของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งหมดในมหาสมุทร ในขณะที่โปรเทียมมีสัดส่วนมากกว่า 99.98% ความอุดมของดิวเทอเรียมเปลี่ยนแปงเล็กน้อยตามชนิดของน้ำตามธรรมชาติ (ดู ค่าเฉลี่ยของน้ำในมหาสมุทรตามมาตรฐานเวียนนา) นิวเคลียสของดิวเทอเรียมเรียกว่าดิวเทอรอน เราใช้สัญลักษณ์ 2H แทนดิวเทอเรียม อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่เราใช้ D แทนดิวเทอเรียม เช่นเมื่อเราต้องการจะเขียนสัญลักษณ์แทนโมเลกุลก๊าซดิวเทอเรียม จะสามารถเขียนแทนได้ว่า 2H2 หรือ D2 ก็ได้ หากแทนที่ดิวเทอเรียมในโมเลกุลของน้ำ จะทำให้เกิดสารดิวเทอเรียมออกไซด์หรือที่เรียกว่าน้ำมวลหนักขึ้น ถึงแม้น้ำชนิดหนักจะไม่เป็นสารพิษที่ร้ายแรงมากนัก แต่ก็ไม่เคยถูกนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค การมีอยู่ของดิวเทอเรียมในดาวฤกษ์เป็นข้อมูลสำคัญในวิชาจักรวาลวิทยา โดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในดาวฤกษ์จะทำลายดิวเทอเรียม ยังไม่พบกระบวนการในธรรมชาติใดๆที่ทำให้เกิดดิวเทอเรียมนอกจากปรากฏการณ์บิ๊กแบง ดิวเทอเรียมไม่มีอะไรต่างจากไฮโดรเจนมากนักในเชิงเคมีฟิสิกส์ นอกเสียจากว่ามีมวลที่หนักกว่า ซึ่งมวลที่หนักกว่านี้เองที่ทำให้ดิวเทอเรียมเปรียบเสมือนกับไฮโดรเจนที่เชื่องช้า เนื่องจากการที่มีมวลมากกว่า จะทำให้มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และดิวเทอเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และครึ่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ซาร์บอมบา

แผนที่แสดงจุดทดสอบ (แสดงด้วยสีแดง) แผนภาพเปรียบเทียบขนาดของลูกไฟของซาร์ บอมบา (สีแดง), ลิตเติลบอย (สีชมพู) และมินิตแมน (สีเขียว) ซาร์ บอมบา (Царь-бомба; Tsar Bomba) เป็นชื่อเล่นที่ใช้เรียกระเบิดไฮโดรเจน AN602 ของสหภาพโซเวียต เป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพลังทำลายล้างรุนแรงที่สุด เท่าที่เคยมีการใช้งานมา จัดว่าเป็น "อาวุธที่มีพลังทำลายล้างที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ" ชื่อนี้เป็นชื่อที่สื่อในโลกตะวันตกตั้งให้ แต่ต่อมาในรัสเซียก็ยอมรับชื่อนี้มาใช้ ระเบิดนี้พัฒนาขึ้นโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น ตามแบบแผนที่ออกแบบไว้เดิมจะมีขนาดเทียบเท่ากับการระเบิดของทีเอ็นที (TNT) 100 เมกะตัน เทียบเท่ากับ 420 PJ (เพตะจูล) แต่ได้ลดลงเหลือ 50 เมกะตัน เพื่อลดขนาดของระเบิดลงให้สามารถบรรทุกด้วยเครื่องบินตูโปเลฟ ตู-95 ที่ได้รับการดัดแปลงเป็นพิเศษ พลังทำลายล้างของซาร์ บอมบา คิดเป็น 1,400 เท่าของระเบิดลิตเติลบอย (13-18 กิโลตัน) รวมกับแฟตแมน (21 กิโลตัน) ซาร์ บอมบามีความยาว 8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.1 เมตร น้ำหนัก 27,000 กิโลกรัม (60,000 ปอนด์) ถูกสร้างขึ้นจำนวน 1 ลูก และลูกตัวอย่างอีก 1 ลูกที่สร้างขึ้นเฉพาะโครงสร้างภายนอก ลูกระเบิดถูกนำไปทดสอบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1961 บริเวณเกาะ โนวายาเซมลยา ทางตอนเหนือของขั้วโลกเหนือ ระเบิดถูกทิ้งลงจากเครื่องตูโปเลฟ ตู-95 ที่ระดับความสูง 10.5 กิโลเมตร เมื่อเวลา 11.32 นาฬิกา ตามเวลาท้องถิ่น ระเบิดได้รับการออกแบบให้จุดระเบิดด้วยเซ็นเซอร์บารอมิเตอร์ ที่ความสูง 4 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน (4.2 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล) ระเบิดต้องหน่วงเวลาเพื่อให้เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินสังเกตการณ์บินห่างออกไปเป็นระยะทาง 47 กิโลเมตร เพื่อไม่ได้รับผลกระทบจากแรงระเบิด การทดสอบนี้ออกแบบให้เกิดลูกไฟกลางอากาศและให้สลายตัวไปก่อนลูกไฟจะตกลงกระทบพื้นผิวโลก ซาร์ บอมบาเป็นอาวุธนิวเคลียร์แบบความร้อน มีการทำงานเป็น 3 ขั้นตอนแบบ Teller–Ulam คือ ขั้นแรกเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิซชันทำให้เกิดแรงอัด จากนั้นจึงเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ให้ความร้อน และใช้พลังงานจากการระเบิดนำพาความร้อนให้มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างมากขึ้น จากการทดสอบ ซาร์ บอมบาทำให้เกิดลูกไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 กิโลเมตรในอากาศ สามารถมองเห็นและรู้สึกถึงคลื่นความร้อนได้ที่ระยะ 1,000 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลางการระเบิด มีรัศมีการทำลายในระยะ 100 กิโลเมตรจากศูนย์กลาง โดยทุกอย่างในรัศมี 40 กิโลเมตรได้ระเหยกลายเป็นไอทั้งหมด เมื่อก๊าซที่เกิดขึ้นปะทะกับเมฆ ทำให้เกิดเมฆรูปเห็ดมีความสูงประมาณ 64 กิโลเมตร ความกว้างของฐานเมฆประมาณ 40 กิโลเมตร พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาระหว่างการระเบิด 2.1 x 1017 จูล หรือ 1% พลังงานเฉลี่ยที่ดวงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก การระเบิดยังได้ส่งแรงอัดมหาศาลสู่ห้วงอวกาศ ทำให้การสื่อสารเป็นอัมพาตไป 1 ชั่วโมง.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และซาร์บอมบา · ดูเพิ่มเติม »

นิวตรอน

นิวตรอน (neutron) เป็น อนุภาคย่อยของอะตอม ตัวหนึ่ง มีสัญญลักษณ์ n หรือ n0 ที่ไม่มี ประจุไฟฟ้า และมีมวลใหญ่กว่ามวลของ โปรตอน เล็กน้อย โปรตอนและนิวตรอนแต่ละตัวมีมวลประมาณหนึ่งหน่วย มวลอะตอม โปรตอนและนิวตรอนประกอบกันขึ้นเป็น นิวเคลียส ของหนึ่งอะตอม และทั้งสองตัวนี้รวมกันเรียกว่า นิวคลีออน คุณสมบัติของพวกมันถูกอธิบายอยู่ใน ฟิสิกส์นิวเคลียร์ นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนจำนวน Z ตัว โดยที่ Z จะเรียกว่า เลขอะตอม และนิวตรอนจำนวน N ตัว โดยที่ N คือ เลขนิวตรอน เลขอะตอมใช้กำหนดคุณสมบัติทางเคมีของอะตอม และเลขนิวตรอนใช้กำหนด ไอโซโทป หรือ นิวไคลด์ คำว่าไอโซโทปและนิวไคลด์มักจะถูกใช้เป็นคำพ้อง แต่พวกมันหมายถึงคุณสมบัติทางเคมีและทางนิวเคลียร์ตามลำดับ เลขมวล ของอะตอมใช้สัญลักษณ์ A จะเท่ากับ Z+N ยกตัวอย่างเช่น คาร์บอนมีเลขอะตอมเท่ากับ 6 และคาร์บอน-12 ที่เป็นไอโซโทปที่พบอย่างมากมายของมันมี 6 นิวตรอนขณะคาร์บอน-13 ที่เป็นไอโซโทปที่หายากของมันมี 7 นิวตรอน องค์ประกอบบางอย่างจะเกิดขึ้นเองในธรรมชาติโดยมีไอโซโทปที่เสถียรเพียงหนึ่งตัว เช่นฟลูออรีน (ดู นิวไคลด์ที่เสถียร) องค์ประกอบอื่น ๆ จะเกิดขึ้นโดยมีไอโซโทปที่เสถียรเป็นจำนวนมาก เช่นดีบุกที่มีสิบไอโซโทปที่เสถียร แม้ว่านิวตรอนจะไม่ได้เป็นองค์ประกอบทางเคมี มันจะรวมอยู่ใน ตารางของนิวไคลด์ ภายในนิวเคลียส โปรตอนและนิวตรอนจะยึดเหนี่ยวอยู่ด้วยกันด้วย แรงนิวเคลียร์ และนิวตรอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงของนิวเคลียส นิวตรอนถูกผลิตขึ้นแบบทำสำเนาในปฏิกิริยา นิวเคลียร์ฟิวชั่น และ นิวเคลียร์ฟิชชัน พวกมันเป็นผู้สนับสนุนหลักใน การสังเคราะห์นิวเคลียส ขององค์ประกอบทางเคมีภายในดวงดาวผ่านกระบวนการฟิวชัน, ฟิชชั่นและ การจับยึดนิวตรอน นิวตรอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ ในทศวรรษหลังจากที่นิวตรอนที่ถูกค้นพบในปี 1932 นิวตรอนถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดการกลายพันธ์ของนิวเคลียส (nuclear transmutation) ในหลายประเภท ด้วยการค้นพบของ นิวเคลียร์ฟิชชัน ในปี 1938 ทุกคนก็ตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่า ถ้าการฟิชชันสามารถผลิตนิวตรอนขึ้นมาได้ นิวตรอนแต่ละตัวเหล่านี้อาจก่อให้เกิดฟิชชันต่อไปได้อีกในกระบวนการต่อเนื่องที่เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ เหตุการณ์และการค้นพบเหล่านี้นำไปสู่​​เครื่องปฏิกรณ์ที่ยั่งยืนด้วยตนเองเป็นครั้งแรก (Chicago Pile-1, 1942) และอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรก (ทรินิตี้ 1945) นิวตรอนอิสระหรือนิวตรอนอิสระใด ๆ ของนิวเคลียสเป็นรูปแบบหนึ่งของ การแผ่รังสีจากการแตกตัวเป็นไอออน ดังนั้นมันจึงเป็นอันตรายต่อชีวภาพโดยขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับ สนาม "พื้นหลังนิวตรอน" ขนาดเล็กในธรรมชาติของนิวตรอนอิสระจะมีอยู่บนโลก ซึ่งเกิดจากมิวออนรังสีคอสมิก และจากกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติขององค์ประกอบที่ทำฟิชชันได้ตามธรรมชาติในเปลือกโลก แหล่งที่ผลิตนิวตรอนโดยเฉพาะเช่นเครื่องกำเนิดนิวตรอน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการวิจัยและแหล่งผลิตนิวตรอนแบบสปอลเลชัน (Spallation Source) ที่ผลิตนิวตรอนอิสระสำหรับการใช้งานในการฉายรังสีและในการทดลองการกระเจิงนิวตรอน คำว่า "นิวตรอน" มาจากภาษากรีก neutral ที่แปลว่า เป็นกลาง เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด เป็นผู้ตั้งทฤษฎีการมีอยู่ของนิวตรอนเมื่อปี ค.ศ. 1920 โดยเขาพบว่าอะตอมของธาตุทุกชนิด เลขมวลจะมีค่าใกล้เคียงกับ 2 เท่าของเลขอะตอมเสมอ จึงสันนิษฐานได้ว่ามีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งที่ยังไม่ถูกค้น.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และนิวตรอน · ดูเพิ่มเติม »

แคสเซิลบราโว

แคสเซิลบราโว (Castle Bravo) เป็นสมญานามของระเบิดเทอร์โมนิวเคลียร์หรือระเบิดไฮโดรเจนแบบเชื้อเพลิงแห้งลูกแรกของสหรัฐอเมริกา ระเบิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1954 ณ บิกีนีอะทอลล์, หมู่เกาะมาร์แชลล์ เป็นการทดลองการระเบิดครั้งแรกในปฏิบัติการแคสเซิล แคสเซิลบราโว ยังเป็นระเบิดนิวเคลียร์ที่ทรงอานุภาพที่สุดเท่าที่สหรัฐอเมริกาเคยใช้งาน โดยมีแรงระเบิดเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 15 เมกะตัน (มีขนาดเพียงหนึ่งในสามของระเบิดนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการระเบิดมา) เกินจากที่คาดไว้ที่ 4 ถึง 6 เมกะตันอย่างมาก ทำให้เกิดการปนเปื้อนจากกัมมันตภาพตรังสีรุนแรงที่สุดเท่าที่สหรัฐอเมริกาเคยก่อ แคสเซิลบราโว (Castle Bravo) เป็นชื่อรหัสที่กำหนดให้สำหรับการทดสอบระเบิดไฮโดรเจนเทอร์โมนิวเคลียร์นิวเคลียร์ ที่ใช้เชื้อเพลิงแห้งเป็นครั้งแรก การทดสอบได้ดำเนินการในวันที่ 1 มีนาคม 1954 ที่เกาะปะการังบิกินี หมู่เกาะมาร์แชลล์ เมื่ออาวุธถูกจุดระเบิดและการระเบิดเกิดขึ้น ทำให้เกิดเป็นปากปล่องภูเขาไฟ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6,500 ฟุต (2,000 เมตร) ลึก 250 ฟุต (75 เมตร) แคสเซิลบราโวเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด กว่าที่เคยถูกจุดระเบิดมาโดยสหรัฐอเมริกา โดยมีพลังงานได้ออกมาถึง 15 เมกะตัน ซึ่งมากเกินกว่าระดับพลังงานที่คาดหวังไว้คือ 4-6 เมกะตัน ในส่วนนี้เป็นผลมาจากการคำนวณที่ผิดพลาด อันนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุอันรุนแรงทางด้านการปนเปื้อนทางรังสี ยิ่งกว่าครั้งใดที่สหรัฐอเมริกาเคยทำให้เกิดขึ้น โดยถ้าคิดในแง่ของความเทียบเท่ากับลูกระเบิดทีเอ็นทีเป็นตันแล้ว แคสเซิลบราโวมีพลังงานที่มากกว่าประมาณ 1,200 เท่าของลูกระเบิดอะตอมที่ทิ้งในฮิโรชิมาและนางาซากิ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยิ่งไปกว่านั้น เมฆของรังสีทำให้เกิดการปนเปื้อนปกคลุมพื้นที่มากกว่า 7พันตารางไมล์รอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งหมู่เกาะเล็ก ๆ เช่น Rongerik และ Rongelap และ Utirik ผู้คนบนเกาะต้องถูกอพยพออก แต่ในลูกหลานในรุ่นต่อมาได้รับผลกระทบ ชาวบ้านท้องถิ่นได้รับความทรมานจากความไม่สมบูรณ์ทางร่างกายตั้งแต่เกิด เรือประมงของญี่ปุ่นชื่อ Daigo Fukuryu Maru ได้รับการสัมผัสปนเปื้อนฝุ่นกัมมันตรังสี เป็นสาเหตุให้ลูกเรือทั้งหมดเกิดการเจ็บป่วยมีผู้เสียชีวิตไปหนึ่งราย ปลา น้ำ พื้นดิน เกิดการปนเปื้อนทางกัมมันตรังสีอย่างรุนแรง ทำให้แคสเซิลบราโวเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และแคสเซิลบราโว · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์

อ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller, 15 มกราคม ค.ศ. 1908 - 9 กันยายน ค.ศ. 2003) เป็นบิดาของระเบิดไฮโดรเจนที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแทนปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันในระเบิดนิวเคลียร์แบบดั้งเดิม.

ใหม่!!: อาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์และเอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ระเบิดไฮโดรเจน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »