โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ

ดัชนี ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ

การนำไฟฟ้าหัวใจที่ปกติทำให้พลังผลักดัน (impulse) ที่สร้างจากปุ่มไซนัสหัวใจห้องบน (Sinaoatrial node) หรือเอสเอโนด (SA node) ของหัวใจแผ่ไปยัง (และกระตุ้น) กล้ามเนื้อหัวใจ ผลของการกระตุ้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัว การกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจอย่างเป็นระเบียบนี้ทำให้หัวใจหดตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างก.

14 ความสัมพันธ์: ช่วง STช่องไอออนกลุ่มคลื่น QRSกล้ามเนื้อหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจการลดขั้วระยะ QTร่างแหเอนโดพลาซึมศักยะงานคลื่น Pตัวคุมจังหวะหัวใจปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีแกบจังก์ชัน

ช่วง ST

วง ST (ST segment) เป็นส่วนหนึ่งของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อยู่ระหว่างกลุ่มคลื่น QRS กับคลื่น T ปกติกินระยะเวลาประมาณ 0.08 - 0.12 วินาที (80 - 120 มิลลิวินาที) เป็นช่วงที่หัวใจห้องล่างกำลังคลายความเป็นขั้ว ปกติมีความสูงอยู่ในระดับไอโซอิเลกทริก หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและช่วง ST · ดูเพิ่มเติม »

ช่องไอออน

ไอออนแชนเนล (Ion channel) เป็นโปรตีนผิวเซลล์อย่างหนึ่งซึ่งประกอบตัวเป็นท่อที่สามารถนำสารผ่านเข้าออก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านและควบคุมการไหลเข้าออกเซลล์ของสารประจุความต่างศักย์บนผิวเซลล์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุ หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้า หมวดหมู่:ไอออนแชนเนล.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและช่องไอออน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มคลื่น QRS

Schematic representation of normal ECG Diagram showing how the polarity of the QRS complex in leads I, II, and III can be used to estimate the heart's electrical axis in the frontal plane. กลุ่มคลื่น QRS (QRS complex) เป็นกลุ่มของคลื่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ส่วนใหญ่จะเห็นอยู่ตรงกลางของชุดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และเห็นได้เด่นชัดที่สุด กลุ่มคลื่นนี้สอดคล้องกับจังหวะ depolarization ของห้องหัวใจซ้ายล่างและขวาล่าง ปกติกินเวลาประมาณ 0.06 - 0.10 วินาที แต่อาจสั้นกว่านี้ได้ในเด็กหรือขณะออกแรง คลื่นไฟฟ้าหัวใจโดยปกติมีคลื่นที่เห็นได้อยู่ 5 ตัว ได้แก่คลื่น P, คลื่น T และกลุ่มคลื่น Q, R และ S ซึ่งกลุ่มคลื่น QRS นี้ แสดงถึงเหตุการณ์เดียวกันที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นสิ่งเดียวกัน คลื่น Q คือคลื่นทิศเป็นลบ (หัวลง) ที่เกิดตามหลังคลื่น P คลื่น R คือคลื่นทิศเป็นบวกที่เกิดตามหลังมา และ คลื่น S คือคลื่นทิศเป็นลบที่ตามหลังคลื่น R จากนั้นเป็นคลื่น T ตามหลังคลื่น S และบางครั้งอาจมีคลื่น U ตามหลังได้อีก หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและกลุ่มคลื่น QRS · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary) พบที่หัวใจ ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปยังระบบไหลเวียนโลหิตโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การลดขั้ว

ในชีววิทยา การลดขั้ว (depolarization) เป็นความเปลี่ยนแปลงของศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ โดยความเป็นขั้วบวกมากขึ้น หรือเป็นขั้วลบน้อยลง ในเซลล์ประสาทหรือเซลล์อย่างอื่นบางอย่าง และถ้าการลดขั้วมีระดับที่สูงพอ ก็จะทำให้เกิดศักยะงานในเซลล์ได้ การเพิ่มขั้ว (Hyperpolarization) เป็นขบวนการตรงข้ามกับการลดขั้ว เป็นการยับยั้งหรือห้ามการเกิดขึ้นของศักยะงาน.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและการลดขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

ระยะ QT

ระยะ QT คือความยาวระหว่างจุดเริ่มต้นของคลื่น Q ไปจนถึงจุดสิ้นสุดของคลื่น T ในช่วงจังหวะไฟฟ้าของหัวใจซึ่งเห็นได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยทั่วไปแล้วระยะ QT แสดงถึงช่วงการคลายความเป็นขั้ว (depolarization) และการคืนความเป็นขั้ว (repolarization) ของหัวใจห้องล่างทั้งสองห้อง การมีระยะ QT ที่ยาวกว่าปกติเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพว่าอาจจะเกิดมีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติเช่น torsades de pointes และเป็นป้จจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและระยะ QT · ดูเพิ่มเติม »

ร่างแหเอนโดพลาซึม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและร่างแหเอนโดพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

ศักยะงาน

การเกิดกระแสประสาท ในวิชาสรีรวิทยา ศักยะงาน (action potential) เป็นเหตุการณ์ที่กินเวลาสั้น ๆ ซึ่งศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) ไฟฟ้าของเซลล์เพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว ตามด้วยแนววิถีต่อเนื่อง ศักยะงานเกิดขึ้นในเซลล์สัตว์หลายชนิด เรียกว่า เซลล์ที่เร้าได้ (excitable cell) ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ไร้ท่อ (endocrine cell) เช่นเดียวกับเซลล์พืชบางเซลล์ ในเซลล์ประสาท ศักยะงานมีบทบาทศูนย์กลางในการสื่อสารเซลล์ต่อเซลล์ ส่วนในเซลล์ประเภทอื่น หน้าที่หลักของศักยะงาน คือ กระตุ้นกระบวนการภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น ในเซลล์กล้ามเนื้อ ศักยะงานเป็นขั้นแรกในชุดเหตุการณ์ที่นำไปสู่การหดตัว ในเซลล์บีตาของตับอ่อน ศักยะงานทำให้เกิดการหลั่งอินซูลิน ศักยะงานในเซลล์ประสาทยังรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "กระแสประสาท" หรือ "พลังประสาท" (nerve impulse) หรือ spike ศักยะงานสร้างโดยช่องไอออนที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated ion channel) ชนิดพิเศษที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ช่องเหล่านี้ถูกปิดเมื่อศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ใกล้กับศักยะพัก (resting potential) แต่จะเริ่มเปิดอย่างรวดเร็วหากศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มขึ้นถึงค่าระดับกั้น (threshold) ที่นิยามไว้อย่างแม่นยำ เมื่อช่องเปิด จะทำให้ไอออนโซเดียมไหลเข้ามาในเซลล์ประสาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า (electrochemical gradient) การเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งเพิ่มศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปอีก ทำให้ช่องเปิดมากขึ้น และเกิดกระแสไฟฟ้าแรงขึ้นตามลำดับ กระบวนการดังกล่าวดำเนินไปกระทั่งช่องไอออนที่มีอยู่เปิดออกทั้งหมด ทำให้ศักย์เยื่อหุ้มเซลล์แกว่งขึ้นอย่างมาก การไหล่เข้าอย่างรวดเร็วของไอออนโซเดียมทำให้สภาพขั้วของเยื่อหุ้มเซลล์กลายเป็นตรงข้าม และช่องไอออนจะหยุดทำงาน (inactivate) อย่างรวดเร็ว เมื่อช่องโซเดียมปิด ไอออนโซเดียมจะไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ประสาทได้อีกต่อไป และจะถูกลำเลียงแบบใช้พลังงานออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ จากนั้น ช่องโปแทสเซียมจะทำงาน และมีกระแสไหลออกของไอออนโปแทสเซียม ซึ่งคืนประจุไฟฟ้ากลับสู่สถานะพัก หลังเกิดศักยะงานแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ระยะดื้อ (refractory period) เนื่องจากกระแสโปแทสเซียมเพิ่มเติม กลไกนี้ป้องกันมิให้ศักยะงานเดินทางย้อนกลับ ในเซลล์สัตว์ มีศักยะงานอยู่สองประเภทหลัก ประเภทหนึ่งสร้างโดย ช่องโซเดียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า อีกประเภทหนึ่งโดยช่องแคลเซียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า ศักยะงานที่เกิดจากโซเดียมมักคงอยู่น้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที ขณะที่ศักยะงานที่เกิดจากแคลเซียมอาจอยู่ได้นานถึง 100 มิลลิวินาทีหรือกว่านั้น.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและศักยะงาน · ดูเพิ่มเติม »

คลื่น P

Schematic representation of normal ECG คลื่น P คือส่วนหนึ่งของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แสดงถึงช่วงที่หัวใจห้องบนกำลังคลายความเป็นขั้ว (atrial depolarization) ทิศเวกเตอร์ของคลื่นไฟฟ้านี้มีทิศทางจากโนด SA มายังโนด AV และจากหัวใจห้องบนขวามาถึงหัวใจห้องบนซ้าย คลื่น P มีทิศเป็นบวก (ขึ้นข้างบน) ในขั้วคลื่นหัวใจ II, III และ aVF (เนื่องจากคลื่นมีทิศเข้ามาขั้วเหล่านี้) และเป็นลบ (ลงข้างล่าง) ในขั้ว aVR (เนื่องจากคลื่นมีทิศออกจากขั้วนี้) การที่จะถือว่าคลื่นหัวใจเป็นจังหวะเต้นไซนัสปกติ ต้องตรวจพบว่าคลื่น P มีทิศเป็นบวกในขั้ว II และ aVF และมีทิศเป็นลบในขั้ว aVR หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและคลื่น P · ดูเพิ่มเติม »

ตัวคุมจังหวะหัวใจ

ซลล์เพซเมกเกอร์ (pacemaker cells, cardiac pacemaker) เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ พบได้ที่เนื้อเยื่อหัวใจ (heart tissue) โดยสามารถเกิด depolarization หรือสร้างกระแสประสาท (action potential) ได้เอง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ sinoatrial node (SA node) และ atrioventricular node (AV junction) เซลล์เพซเมกเกอร.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและตัวคุมจังหวะหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที

ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที (Cardiac output) คือปริมาตรของเลือดที่ถูกสูบฉีดออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายหรือห้องล่างขวาในระยะเวลาหนึ่งนาที อาจวัดผลได้หลายหน่วย เช่น ลูกบาศก์เดซิเมตรต่อนาที นอกจากนี้ยังคำนวณได้จากสูตร Cardiac output.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที · ดูเพิ่มเติม »

แกบจังก์ชัน

แกบ จังก์ชัน (Gap junction) หรือ เนกซัส (nexus) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สัตว์ โครงสร้างเป็นโปรตีนที่แทรกตัวผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของทั้งสองเซลล์ เกิดเป็นช่องที่โมเลกุลขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าออกได้อยู่ภายในโปรตีนที่แทรกผ่าน เซลล์สามารถติดต่อสื่อสารหรือส่งสารเคมีระหว่างกันได้โดยผ่านแกบ จังก์ชันนี้.

ใหม่!!: ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจและแกบจังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Electrical conduction system of the heartระบบนำไฟฟ้าของหัวใจ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »