โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ดัชนี การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

9 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการชักสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอดหมดสติชั่วคราวหัวใจหัวใจเต้นผิดจังหวะอิเล็กโทรดดิช็อกซินเสียงฟู่ของหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การชัก

ัก (seizure) มีนิยามทางการแพทย์หมายถึงภาวะซึ่งมีภาวะกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองอย่างมากผิดปกติ (abnormal excessive or synchronous neuronal activity in the brain) ซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นการชักเกร็งกระตุกอย่างรุนแรง ไปจนถึงเพียงเหม่อลอยชั่วขณ.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการชัก · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด

สิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด (pulmonary embolism, PE) คือภาวะซึ่งมีการอุดกั้นของหลอดเลือดแดงหลักของปอด หรือหลอดเลือดย่อยที่แตกออกมา โดยสารซึ่งหลุดมาจากตำแหน่งอื่นของร่างกายผ่านทางหลอดเลือด (สิ่งหลุดอุดหลอดเลือด) ส่วนใหญ่เกิดจากการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่ลิ่มเลือดนี้หลุดออกมาและลอยมายังปอด เรียกว่าลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism, VTE) ส่วนน้อยอาจเกิดจากการมีอากาศ ไขมัน ผงแป้ง (ในผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ) หรือน้ำคร่ำ หลุดมาอุดหลอดเลือดปอด การที่เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังปอดหรือบางส่วนของปอดได้ ร่วมกับการมีความดันในหัวใจห้องล่างขวาสูงขึ้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของ PE คนบางคนมีความเสี่ยงของการเกิด PE สูงกว่าคนทั่วไป เช่น เป็นมะเร็ง หรือนอนติดเตียงนานๆ เป็นต้น หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคหัวใจเกี่ยวเนื่องกับปอดและโรคการไหลเวียนโลหิตของปอด.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดของปอด · ดูเพิ่มเติม »

หมดสติชั่วคราว

หมดสติชั่วคราว (syncope, "ซิงคะพี") คือการที่ผู้ป่วยมีทั้งอาการหมดสติและเสียการทรงตัว (postural tone) พร้อมกัน มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นเร็ว เป็นไม่นาน และหายได้เอง ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงจากสาเหตุต่างๆ ที่พบบ่อยคือภาวะความดันเลือดต่ำ.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและหมดสติชั่วคราว · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโทรด

อิเล็กโทรด/ลวดเชื่อมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมอาร์ค อิเล็กโทรด หรือ ขั้วเชื่อม หรือ ลวดเชื่อม หรือ ขั้วไฟฟ้า (Electrode) เป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อใช้แนบกับส่วนที่ไม่ใช่โลหะของวงจรไฟฟ้า (เช่น สารกึ่งตัวนำ อิเล็กโทรไลต์ สุญญากาศ หรืออากาศ) อิเล็กโทรดเป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ วิลเลียม ฮิวเอ็ลล์ ตามคำของไมเคิล ฟาราเดย์ ซึ่งมาจากคำภาษากรีกว่า elektron ซึ่งจริง ๆ แปลว่า อำพัน แต่นำมาอนุพัทธ์ใช้หมายถึงไฟฟ้า บวกกับคำว่า hodos ซึ่งแปลว่าทาง.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและอิเล็กโทรด · ดูเพิ่มเติม »

ดิช็อกซิน

็อกซิน (Digoxin) หรือชื่อทางการค้าคือ ลาน็อกซิน (Lanoxin) เป็นยาในกลุ่มคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ ใช้สำหรับโรคระบบหัวใจหลอดเลือด อาทิ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ, หัวใจสั่นระรัว และภาวะหัวใจวาย สามารถรับยานี้ได้โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การใช้ยาเกินขนาดจะส่งผลให้เกิดอาการเต้านมโต และอาจมีอาหารอื่นร่วมด้วยอาทิ ไม่อยากอาหาร, คลื่นไส้, มองไม่ชัด, จิตสับสน และหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่ไตมีปัญหาและผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายานี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่ ดิช็อกซินถูกคิดค้นขึ้นในปี..

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและดิช็อกซิน · ดูเพิ่มเติม »

เสียงฟู่ของหัวใจ

ียงฟู่ของหัวใจ (heart murmur) คือเสียงหัวใจอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากการที่เลือดที่ไหลผ่านหัวใจมีการไหลปั่นป่วนมากพอที่จะเกิดเป็นเสียงให้ได้ยิน ส่วนใหญ่จะได้ยินได้ด้วยการฟังผ่านหูฟังเท่านั้น เสียงฟู่ของหัวใจชนิดปกติ (functional murmur, physiologic murmur) คือเสียงฟู่ของหัวใจที่เกิดจากภาวะอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นผลจากความผิดปกติของโครงสร้างของหัวใจโดยตรง เสียงฟู่ของหัวใจชนิดปกตินี้ไม่บ่งบอกถึงอันตรายแต่อย่างใด (innocent murmur) เสียงฟู่ของหัวใจอาจบ่งบอกความผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น ภาวะลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว หรือมีการไหลของเลือดผ่านช่องทางที่ปกติแล้วไม่ควรมี (เช่น ผนังกั้นหัวใจมีช่องว่าง) เสียงฟู่เหล่านี้เรียกว่าเสียงฟู่ของหัวใจชนิดมีพยาธิสภาพ (pathologic murmur) ซึ่งควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมโดยผู้เชี่ยวชาญ เสียงฟู่ของหัวใจมักแบ่งออกตามระยะเวลาที่เกิดเสียงขึ้น ได้แก่ เสียงฟู่หัวใจช่วงหัวใจบีบตัว (systolic heart murmur) และเสียงฟู่หัวใจช่วงหัวใจคลาย (diastolic heart murmur) อย่างไรก็ตามก็มีเสียงฟู่หัวใจชนิดต่อเนื่อง (continuous murmurs) ซึ่งเป็นเสียงฟู่ที่ดังตลอดทั้งช่วงหัวใจบีบตัวและหัวใจคลาย และไม่สามารถจำแนกลงไปในสองกลุ่มนี้ได้.

ใหม่!!: การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจและเสียงฟู่ของหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ECGEKGElectrocardiogramElectrocardiographyการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »