โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า

ดัชนี พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า

ังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า (plantar fasciitis) หรือโรครองช้ำ เป็นโรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดที่ส้นเท้าและฝ่าเท้า ส่วนใหญ่จะเจ็บมากที่สุดในการลงน้ำหนักที่เท้าครั้งแรกของวันหลังตื่นนอนหรือหลังจากการได้พักเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาการเจ็บอาจถูกกระตุ้นได้โดยการกระดกเท้าขึ้น และอาจเจ็บมากขึ้นกรณีที่ผู้ป่วยมีเอ็นร้อยหวายที่แข็งตึง อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะค่อยๆ เป็น ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะเป็นที่เท้าทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้มีไข้และไม่ทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืน สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน --> แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเช่นการยืนนานๆ การออกกำลังกายมาก และความอ้วน นอกจากนี้ยังพบว่าสัมพันธ์กับการมีเท้าบิดเข้าใน และพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย แม้จะมีการพบปุ่มงอกกระดูกส้นเท้าร่วมกับภาวะนี้บ่อยครั้งแต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าปุ่มงอกนี้มีบทบาทในการทำให้เกิดภาวะนี้หรือไม่ --> ภาวะพังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้านี้ถือเป็นโรคของจุดเกาะเส้นเอ็นที่มีการฉีกขาดขนาดเล็ก คอลลาเจนเสื่อมสภาพ และเกิดแผลเป็น ดังนั้นการอักเสบจึงมีบทบาทน้อยในการเกิดภาวะนี้ จึงมีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อภาวะนี้จาก plantar fasciitis เป็น plantar fasciosis ("โรคของพังผืดที่ฝ่าเท้า") การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย บางครั้งอาจทำอัลตราซาวนด์ช่วยในการวินิจฉัย ภาวะอื่นๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันได้เช่น โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด กลุ่มอาการแผ่นไขมันฝ่าเท้า โรคข้อแบบปฏิกิริยา เป็นต้น ภาวะนี้ส่วนใหญ่หายได้โดยใช้เวลาและการรักษาแบบอนุรักษ์ ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้เท้า เปลี่ยนกิจกรรม ใช้ยาแก้ปวดเมื่อจำเป็น และยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น หากยังบรรเทาอาการไม่ได้อาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น กายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ การดาม หรือการฉีดสเตียรอยด์ เป็นต้น หากยังไม่ได้ผลอีก อาจจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก.

11 ความสัมพันธ์: กายภาพบำบัดกายอุปกรณ์การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์การออกกำลังกายการอักเสบยาระงับปวดศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ข้อเสื่อมโรคอ้วนเฝือก

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด (physical therapy หรือ physiotherapy) เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายกายภาพบำบัด (Physical therapist หรือ Physiotherapist หรือย่อว่า PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดบางอย่างโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์, แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก และโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆอีกด้วย นักกายภาพบำบัด จะใช้ประวัติทางการรักษา และข้อมูลจากการตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการให้การบำบัด ถ้าหากว่าจำเป็น นักกายภาพบำบัดอาจจะใช้ผลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และการศึกษาภาพถ่ายทางรังสี ประกอบการบำบัดรักษาด้วย เป็นต้น นักกายภาพบำบัด ปฏิบัติงานในหลายลักษณะงาน เช่น ในส่วนของผู้ป่วยนอก คลินิค หรือสำนักงาน, แผนกผู้ป่วยใน เกี่ยวกับเวชกรรมฟื้นฟู, ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน, วงการการศึกษา หรือศูนย์วิจัย, โรงเรียน, สถานพักฟื้น,โรงงานอุตสาหกรรม,ศูนย์ฟิตเนส และ สถานการฝึกสอนนักกีฬา แพทย์อย่างเช่น ฮิปโปกราเตส และ เฮกเตอร์ เป็นผู้ที่ซึ่งเชื่อว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ริเริ่มการรักษาทางกายภาพบำบัดในสมัยโบราณ ได้นำการรักษาโดยการนวดและการทำธาราบำบัด มาใช้รักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ 460 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานในสมัยแรกสุดที่ถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดจัดว่า กายภาพบำบัด คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปในปี 1894 เมื่อพยาบาลสี่คนในอังกฤษ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ประเทศอื่นๆ ก็ได้ดำเนินการเช่นกันและเริ่มมีการทำหลักสูตรการสอนที่เป็นระบบ เช่นเมื่อปี 1913 ได้มีโรงเรียนกายภาพบำบัด ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์, และในสหรัฐอเมริกา ในปี 1914 ที่ Reed College ในพอร์ทแลนด์ รัฐ ออริกอน งานวิจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบำบัด งานวิจัยทางกายภาพบำบัดฉบับแรก ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ เดือนมีนาคม ปี 1921 ใน The PT Review ในปีเดียวกันนั้น แมรี่ แมคมิลลาน ได้ก่อตั้ง สมาคมกายภาพบำบัด (ปัจจุบันคือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ APTA) ในปี 1924 มูลนิธิ Georgia Warm Spring ได้สนับสนุนองค์กรนี้ โดยกล่าวว่า กายภาพบำบัดคือการรักษาสำหรับโรคโปลิโอ การรักษา ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มีหลักที่ประกอบไปด้วย การออกกำลัง การนวด และการดึง ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1950 วิธีการใช้มือกดหรือทำการเคลื่อนไหวโดยตรง (Manipulation) ลงบนกระดูกสันหลัง และข้อต่อของกระดูกระยางค์ ได้ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น นักกายภาพบำบัด ได้เริ่มมีบทบาทในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยนอก ในส่วนของคลินิคผู้ป่วยทางออโธปิดิกส์, โรงเรียนรัฐบาล, วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย, การดูแลผู้สูงวัย, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, โรงพยาบาล, และศูนย์การแพทย์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 ปัจจุบันในประเทศไทย นักกายภาพบำบัดสามารถใช้คำนำหน้านามว่า ก. นำหน้าชื่อสกุลได้.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและกายภาพบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

กายอุปกรณ์

กายอุปกรณ์ หมายถึง อุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆที่ใช้กับร่างกาย ในความหมายที่ใช้ในปัจจุบัน มักจะหมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้กับร่างกายเพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหว เช่น แขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ประคองหรือดามหลัง อุปกรณ์ดามมือ เป็นต้น แต่โดยทั่วไป ขอบเขตที่แท้จริงของกายอุปกรณ์ ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้กับร่างกายด้วย เช่น ลูกตาเทียม ข้อเข่าเทียมที่ใช้สำหรับผ่าตัดทดแทนเข่าเดิมในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น และอุปกรณ์ช่วยเหลือการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น รถล้อเข็น (Wheelchair) ไม้เท้า เป็นต้น ส่วน งานกายอุปกรณ์ หมายถึงการตรวจวัดขนาด ออกแบบ ประดิษฐ์ ผลิต ดัดแปลง แก้ไข ซ่อมแซม อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้กับร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อช่วยเหลือการเคลื่อนไหวเท่านั้น งานกายอุปกรณ์ต้องอาศัยทักษะฝีมือและความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะบุคคลค่อนข้างสูง (ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัสดุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และเรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านกายวิภาคประยุกต์ ด้านชีวกลศาสตร์และการเคลื่อนไหวประยุกต์พอสมควร) และ งานกายอุปกรณ์ จัดเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู อีกด้วย ในภาษาอังกฤษคำว่า กายอุปกรณ์ ใช้ใน US ว่า Orthosis and Prosthesis (ตัวย่อว่า O&P) ส่วนในประเทศไทยนิยมเรียกว่า Prosthesis and Orthosis (ตัวย่อ PO) อนึ่งคำว่า Prosthesis อาจเขียนว่า Prostheses ก็ได้เมื่อมีความหมายเป็นพหูพจน์ และคำว่า Orthosis สามารถเขียนให้อยู่ในรูปพหูพจน์ได้ว่า Orthoses ส่วนคำว่า งานกายอุปกรณ์ ใช้ว่า Prosthetics and Orthotics (ตัวย่อ P&O) หรือ Orthotics and Prosthetics (ตัวย่อ O&P) ก็ได้เช่นกัน.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและกายอุปกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตราซาวด์ (ultrasonography) หมายถึง คลื่นเสียงความถี่สูงที่มากกว่า 20,000 Hz ในทางการแพทย์หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasounographyคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นม.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การออกกำลังกาย

การแข่งขันไตรกีฬาจัดเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งการออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมของร่างกายที่ช่วยสร้างเสริมและคงไว้ซึ่งสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต รวมทั้งสร้างเสริมทักษะทางกีฬา การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันและช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่นโรคหัวใจ, โรคระบบไหลเวียนโลหิต, เบาหวาน, และโรคอ้วน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยสร้างเสริมสุขภาพจิตและลดความเครียดได้.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและการออกกำลังกาย · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับปวด

ระงับปวด ยาบรรเทาปวด หรือ ยาแก้ปวด (analgesic หรือ painkiller) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวด มีผลหลายทางทั้งระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ประกอบด้ว.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและยาระงับปวด · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

ต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ ''Orthopaedia'' ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ หรือ ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อเสื่อม

้อเสื่อม (Arthrosis, Osteoarthritis; OA) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมจากการใช้งานของข้อต่อ ได้แก่ กระดูกอ่อนผิวข้อและมีการเจริญงอกเกินของกระดูก ซึ่งมักจะมีอาการปวดข้อ ข้อยึดติดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังไม่ได้ทำกิจกรรม เคลื่อนไหวข้อได้ลดลง อาจมีเสียงกรอบแกรบที่ข้อ อาจพบข้อบวมหรือข้ออักเสบได้ ข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด การรักษาโรคข้อเสื่อมทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ ลดน้ำหนัก ออกกำลังให้พอเหมาะไม่ใช้ข้อมากเกินไป เช่น การว่ายน้ำ การเดิน พักผ่อนให้เพียงพอ กายภาพบำบัดเพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้และให้กล้ามเนื้อมีกำลัง ส่วนการใช้ยาสามารถใช้พาราเซตามอลเพื่อระงับอาการปวด ซึ่งนับเป็นยาหลักที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ในแนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม อาจใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ระงับอาการปวดและการอักเสบ ส่วนการใช้สเตอรอยด์ชนิดรับประทานไม่แนะนำเพราะมีผลข้างเคียงสูง แต่การฉีดสเตอรอยด์เข้าข้อช่วยระงับปวดในระยะสั้นเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน การฉีดกรดไฮยาลูโรนิกเข้าข้อจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมในปี..

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและข้อเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

โรคอ้วน

รคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่งWHO 2000 p.6 การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก ใน..

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและโรคอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

เฝือก

เฝือกเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ตรึงอวัยวะไม่ใหเคลื่อนไหว มีที่ใช้หลายอย่าง รวมถึงการตรึงอวัยวะไม่ให้เคลื่อนไหวในระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้กระดูกที่หักหรือข้อที่บาดเจ็บได้รักษาตัวเอง เป็นต้น หมวดหมู่:อุปกรณ์ในเวชศาสตร์ฉุกเฉิน.

ใหม่!!: พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้าและเฝือก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Plantar fasciitisรองช้ำโรครองช้ำเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »