โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่โอกินาวะ

ดัชนี ยุทธการที่โอกินาวะ

ทธการโอกินาวะ หรือชื่อรหัส ปฏิบัติการภูเขาน้ำแข็ง (Operation Iceberg) เป็นการสู้รบบนหมู่เกาะรีวกีวของโอกินาวะและเป็นสงครามสะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ที่สุดในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบกินเวลาถึง 82 วันจากต้นเดือนเมษายนถึงกลางเดือนมิถุนายน..

22 ความสัมพันธ์: พยาบาลพลเรือตรีกองพลกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นการทัพการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิการเกณฑ์ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองภูมิศาสตร์ไต้หวันมัธยมศึกษายุทธนาวีที่อ่าวเลย์เตสงครามแปซิฟิกสงครามโลกครั้งที่สองหมู่เกาะรีวกีวจักรวรรดิญี่ปุ่นคะมิกะเซะปฏิบัติการดาวน์ฟอลประเทศญี่ปุ่นเกาะโอกินาวะเรือบรรทุกอากาศยานเครือจักรภพแห่งประชาชาติเครื่องบินขับไล่

พยาบาล

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นางพยาบาลที่มีชื่อเสียงของโลก พยาบาล (อาจเรียกว่า นางพยาบาล หรือ บุรุษพยาบาล) เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย พยาบาลพบได้ทั่วไปทำงานตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ก่อนจะปฏิบัติงานจะต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนความรู้จากสภาการพยาบาลก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยาบาลสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่ได้เรียนมา เป็นเวลา 4 ปีสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลมีมากมายในประเทศไทยทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน พยาบาลในปัจจุบันมักจะสวมชุดพยาบาลที่เป็นสีขาว หรือมีสีขาว และสวมหมวกที่มีลักษณะเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม พยาบาลในบางประเทศ หรือในบางวัฒนธรรมอาจใช้ชุดพยาบาลสีอื่น.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

พลเรือตรี

พลเรือตรี (Rear admiral) เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรยศเรือมีอำนาจเหนือกว่าผู้บังคับการเรือและกัปตัน และรองจากพลเรือโท เป็นยศต่ำสุดของ "พลเรือ" ซึ่งนอกจากนี้ยังมีบางครั้งเรียกว่า "ธงทหาร" หรือ "ยศธง" ในหลายๆ กองทัพเรือจะเรียกว่า "ยศสองดาว" หมวดหมู่:ยศทหาร หมวดหมู่:พลเรือตรี.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและพลเรือตรี · ดูเพิ่มเติม »

กองพล

กองพล (division) คือ หน่วยหรือรูปขบวนทหารขนาดใหญ่ ปกติประกอบด้วยทหารระหว่าง 10,000 ถึง 20,000 นาย ในกองทัพส่วนใหญ่ กองพลประกอบด้วยหลายกรมหรือกองพลน้อย และตรงแบบ หลายกองพลประกอบขึ้นเป็นกองทัพน้อย (corps) ในการสงครามสมัยใหม่ส่วนใหญ่ กองพลมักเป็นหน่วยผสมเหล่าเล็กที่สุดซึ่งสามารถปฏิบัติการได้อย่างอิสระ อันเนื่องจากบทบาทสนับสนุนตนเองเป็นหน่วยด้วยหน่วยรบและหน่วยสนับสนุนการรบที่เหมาะสมหลากหลาย ซึ่งแบ่งได้เป็นการผสมหน่วยขึ้นตรงมากมาย หมวดหมู่:การจัดขบวนรบ.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและกองพล · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) (คีวจิไต: 大日本帝國海軍 ชินจิไต: 大日本帝国海軍 หรือ 日本海軍 นิปปง ไคงุง) เป็นกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

การทัพ

การทัพ (Military campaign) ในทางวิทยาการทหาร หมายถึงการสงครามต่อเนื่องขนาดใหญ่หรือกระบวนการต่อสู้ทางทหารที่มีการตั้งจุดประสงค์หลัก การวางแผนโครงการการดำเนินการและการใช้ยุทธศาสตร์ทางทหารที่ใช้เวลานาน ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางทหาร และสงครามหรือยุทธการที่ต่อเนื่องและมีส่วนเกี่ยวพันกันทางจุดประสงค์โดยทั่วไปที่เรียกรวม ๆ กันว่าสงคราม เช่นการการรณรงค์ทางทหารในการขยายดินแดนเข้าไปยังทวีปเอเชียของสุลต่านสุลัยมานมหาราช คำว่า “Campaign” มาจากที่ราบ “Campania” ซึ่งเป็นสถานที่ที่กองทัพของสาธารณรัฐโรมันมาประกอบกิจการต่างๆ ทางทหารเป็นประจำทุกปี หมวดหมู่:สงคราม.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและการทัพ · ดูเพิ่มเติม »

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ

การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ เป็นการโจมตีจักรวรรดิญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคำสั่งของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แฮร์รี เอส. ทรูแมน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม และวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2488 หลังจากการโจมตีทิ้งระเบิดเพลิงตามเมืองต่าง ๆ 67 เมืองของญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วงเป็นเวลาติดต่อกันถึง 6 เดือน สหรัฐอเมริกาจึงได้ทิ้ง "ระเบิดปรมาณู" หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อเล่นเรียกว่า "เด็กน้อย" หรือ "ลิตเติลบอย" ใส่เมืองฮิโรชิมะในวันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

การเกณฑ์ทหาร

ม่มีข้อมูล การเกณฑ์ (conscription) เป็นการรับสมัครบุคคลโดยบังคับในราชการบางอย่างของชาติ ซึ่งเป็นราชการทหารมากที่สุด การเกณฑ์มีมาแต่โบราณ และปัจจุบันยังคงอยู่ในบางประเทศโดยมีชื่อหลากหลาย ระบบการเกณฑ์ชายหนุ่มแทบทุกคน (near-universal) ทั่วประเทศสมัยใหม่มีมาแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งการเกณฑ์ทหารได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกองทัพขนาดใหญ่และทรงพลัง ภายหลังชาติยุโรปส่วนมากลอกระบบดังกล่าวในยามสงบ ฉะนั้นชายที่มีอายุตามกำหนดต้องรับราชการ 1–8 ปีในกองประจำการ แล้วจึงโอนไปกองเกิน การเกณฑ์ทหารเป็นที่ถกเถียงกันด้วยหลายเหตุผล รวมทั้งการคัดค้านการสู้รบโดยอ้างมโนธรรมบนเหตุผลด้านศาสนาหรือปรัชญา การคัดค้านทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การรับราชการรัฐบาลหรือสงครามซึ่งไม่เป็นที่นิยม และการคัดค้านทางอุดมการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่รับรู้ บางครั้งผู้ถูกเกณฑ์ทหารอาจหลบเลี่ยงราชการโดยการออกนอกประเทศ ระบบการคัดเลือกบางระบบปรับให้เข้ากับทัศนคติเหล่านี้โดยการจัดราชการทางเลือกที่ไม่ใช่บทบาทปฏิบัติการรบหรือไม่ใช่ทหารอย่างสิ้นเชิง เช่น ซีวิลดีนสท์ (ราชการพลเรือน) ในประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตส่วนมากเกณฑ์ทหารไม่เพียงเข้ากองทัพเท่านั้น แต่รวมถึงองค์การกึ่งทหารซึ่งมีหน้าที่ในราชการเฉพาะในประเทศคล้ายตำรวจ (หน่วยทหารภายใน) หรือหน้าที่กู้ภัย (หน่วยป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ถือว่าเป็นทางเลือกของการเกณฑ์ทหาร ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลายประเทศไม่เกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำลังพล อย่างไรก็ดี หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้วยังสงวนอำนาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและการเกณฑ์ทหาร · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ไต้หวัน

กาะไต้หวัน เกาะไต้หวัน (ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân) เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาธารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไต้หวันก็ตาม แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและภูมิศาสตร์ไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

มัธยมศึกษา

มัธยมศึกษา (ย่อว่า ม; secondary education) เป็นลำดับการศึกษา ขั้นที่ 3 รองจากระดับ ประถมศึกษา โดยการศึกษาในขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพให้เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้ใช้เวลาเรียนสามปี โดยผู้เรียนจะมีอายุระหว่าง 12 - 17 โดยผู้เรียนจบในระดับมัธยมศึกษานี้สามารถไปประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนเลือกเรียนกลุ่มวิชาการหรือวิชาชีพตามความถนัดของตนเอง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผุ้เรียนสามารถเรียนกลุ่มวิชาที่ผู้เรียนชื่นชอบเพื่อยึดเป็นอาชีพได้.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและมัธยมศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต

ทธนาวีอ่าวเลย์เต หรือในอดีตรู้จักกันในชื่อ ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินครั้งที่สอง เป็นยุทธนาวีครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สองและใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ สมรภูมิอยู่ในทะเลบริเวณใกล้กับเกาะเลย์เต ซามาร์ และลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 23-26 ตุลาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปซิฟิก

งครามแปซิฟิก (Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia War; 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและสงครามแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะรีวกีว

หมู่เกาะรีวกีว (ルーチュー รูชู) หรือ หมู่เกาะนันเซ เป็นหมู่เกาะยาวรูปโซ่ในแปซิฟิกตะวันตก อยู่สุดขอบทางตะวันออกของทะเลจีนตะวันออก และอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชูในประเทศญี่ปุ่น จากประมาณปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและหมู่เกาะรีวกีว · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

คะมิกะเซะ

รื่องบิน 52c Zeroes ถูกส่งจากเกาหลีสู่เกาะคีวชู (ต้นปี พ.ศ. 2488) คะมิกะเซะ หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า กองกำลังจู่โจมพิเศษ (特別攻撃隊 โทะกุเบะสึโคเกะกิไต) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าลมสวรรค์ หรือลมแห่งเทวะ คะมิกะเซะในภาษาญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้เรียกลมสลาตัน และนำมาใช้เป็นชื่อฝูงบินและนักบินคะมิกะเซะเท่านั้น ต่างไปจากในภาษาอังกฤษที่ชาวตะวันตกนำคำๆ นี้มาใช้เรียกการโจมตีแบบพลีชีพ (suicide attacks) คำ ๆ นี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกอากาศยานพลีชีพของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งบรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึงนักบินผู้บังคับอากาศยานประเภทนี้ด้วย ญี่ปุ่นใช้ยุทธวิธีพลีชีพด้วยฝูงบินคะมิกะเซะนี้เป็นอย่างมาก ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นบุกฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) และเพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร และที่เมืองโอะกินะว.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและคะมิกะเซะ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการดาวน์ฟอล

ปฏิบัติการดาวน์ฟอล เป็นแผนการโดยรวมของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อบุกญี่ปุ่นในช่วงใกล้จะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการถูกยกเลิกเมื่อญี่ปุ่นได้ยอมจำนนหลังจากโดนทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่เมืองฮิโระชิมะและนะงะซะกิ และสหภาพโซเวียตประกาศร่วมสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ปฏิบัติการดาวน์ฟอลแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ: ปฏิบัติการโอลิมปิก (Operation Olympic) และ ปฏิบัติการโคโรเนต (Operation Coronet) ปฏิบัติการจะเริ่มต้นในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและปฏิบัติการดาวน์ฟอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เกาะโอกินาวะ

เกาะโอกินาวะ (ウチナー อุชินา;; คุนิงะมิ: ฟุชินา) ทางตอนใต้ของเกาะคีวชู อยู่ในกลุ่มหมู่เกาะรีวกีวซึ่งประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่อยู่กระจัดกระจายในบริเวณกว้าง มีหาดทรายขาวสวย น้ำทะเลสีคราม และปะการังที่ยังสมบูรณ์ ทำให้โอกินาวะเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักร้อนในฝันของชาวญี่ปุ่น โอกินาวะ.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและเกาะโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

เรือบรรทุกอากาศยาน

รือหลวงจักรีนฤเบศร 6, showing size differences of late 20th century carriers 6 เรือบรรทุกอากาศยาน หรือ เรือบรรทุกเครื่องบิน (aircraft carrier) คือ เรือรบที่ออกแบบมาสำหรับใช้เป็นฐานทัพอากาศเคลื่อนที่ให้กับอากาศยาน เรือบรรทุกเครื่องบินนั้นทำให้กองทัพเรือสามารถส่งกำลังทางอากาศออกไปได้ไกลยิ่งขึ้นโดยขึ้นอยู่กับที่มั่นของเรือบรรทุกเครื่องบิน พวกมันพัฒนามาจากเรือที่สร้างจากไม้ที่ถูกใช้เพื่อปล่อยบัลลูนมาเป็นเรือรบพลังนิวเคลียร์ซึ่งสามารถบรรทุกอากาศยานปีกนิ่งและปีกหมุนได้หลายสิบลำ โดยปกติเรือบรรทุกอากาศยานจะเป็นเรือหลักของกองเรือและเป็นเรือที่มีราคาแพงอย่างมาก มี 10 ประเทศที่ครอบครองเรือบรรทุกอากาศยานโดยแปดประเทศมีเรือบรรทุกอากาศยานเพียงลำเดียวเท่านั้น ทั่วโลกมีเรือบรรทุกอากาศยานที่กำลังทำหน้าที่ 20 ลำโดยเป็นของกองทัพเรือสหรัฐ 10 ลำ บางประเทศในจำนวนนี้ไม่มีเครื่องบินที่สามารถใช้กับเรือบรรทุกอากาศยานและบางประเทศได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ของเรือไป.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและเรือบรรทุกอากาศยาน · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพแห่งประชาชาติ

รือจักรภพแห่งประชาชาติ (Commonwealth of Nations) ชื่อเดิมคือ เครือจักรภพบริเตน (British Commonwealth) หรือเรียกอย่างง่ายว่า เครือจักรภพ เป็นองค์กรระหว่างประเทศในระดับรัฐบาล ประกอบด้วย 52 ชาติสมาชิกซึ่งส่วนมากเป็นอดีตอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตน เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของชาติสมาชิกจากที่ประชุม เครือจักรภพมีการดำเนินงานโดยสำนักเลขาธิการเครือจักรภพและองค์กรอิสระ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาณานิคมต่างๆของสหราชอาณาจักรเริ่มได้รับเอกราชเป็นของตนเอง เครือจักรภพแห่งประชาชาติกำเนิดขึ้นเมื่อมีปฏิญญาลอนดอนใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและเครือจักรภพแห่งประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องบินขับไล่

รื่องบินจู่โจมหนึ่งลำ (เอ-10) เครื่องบินขับไล่ เป็นอากาศยานทางทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อการต่อสู้ทางอากาศกับอากาศยานลำอื่นเป็นหลัก มันตรงกันข้ามกับเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อโจมตีภาคพื้นดินโดยการทิ้งระเบิดเป็นหลัก เครื่องบินขับไล่นั้นมีขนาดเล็ก รวดเร็ว และคล่องแคล่ว เครื่องบินขับไล่มากมายจะมีความสามารถรองในการโจมตีภาคพื้นดิน และบ้างก็มีสองบทบาทโดยเรียกว่าเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด บางครั้งคำว่าเครื่องบินขับไล่ก็ถูกใช้ร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน เครื่องบินขับไล่โดยหลักแล้วจะหมายถึงเครื่องบินติดอาวุธที่แย่งครองความเป็นจ้าวทางอากาศเหนือข้าศึกในสมรภูมิ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ความสำเร็จและความเหนือกว่าทางอากาศได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของสงคราม โดยเฉพาะสงครามทั่วไประหว่างกองทัพปกติ (ไม่เหมือนกับสงครามกองโจร) การซื้อขาย การฝึก และการดูแลรักษากองบินเครื่องบินขับไล่จะแสดงถึงทุนที่มากมายของกองทัพนั้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่โอกินาวะและเครื่องบินขับไล่ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธการที่โอกินาวายุทธการที่โอะกินะวะยุทธการโอกินาวายุทธการโอะกินะวะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »