เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ดัชนี ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ (Battle of Ludford Bridge) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1459 ที่ลัดฟอร์ดบริดจ์ในมณฑลชร็อพเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์ค ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ หลังจากที่ได้รับชัยชนะในยุทธการบลอร์ฮีธระหว่าเขตแดนชร็อพเชอร์และสตาฟฟอร์ดเชอร์แล้วฝ่ายยอร์คก็เดินทัพไปยังวูสเตอร์ แต่ก็ต้องถอยกลับมาตั้งหลักที่ลัดฟอร์ดบริดจ์ในชร็อพเชอร์หลังจากที่พบกองทัพที่มีกำลังเหนือกว่ามากของฝ่ายแลงคาสเตอร์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2002พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษยุทธการบลอร์ฮีธราชวงศ์ยอร์กราชวงศ์แลงคัสเตอร์ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริกริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรีวุร์สเตอร์สงครามกลางเมืองสงครามดอกกุหลาบสแตฟฟอร์ดเชอร์ประเทศอังกฤษประเทศไอร์แลนด์12 ตุลาคม

พ.ศ. 2002

ทธศักราช 2002 ใกล้เคียงกั.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และพ.ศ. 2002

พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ (Henry VI of England) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1421 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1471) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษและฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม..

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ

ยุทธการบลอร์ฮีธ

ทธการบลอร์ฮีธ (Battle of Blore Heath) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1459 ที่บลอร์ฮีธในมณฑลสตาฟฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยเจมส์ ทูเชท์ บารอนแห่งออดลีย์ที่ 5 และจอห์น ซัททัน บารอนแห่งดัดลีย์ที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์คเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิตราว 2,000 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์คมีผู้เสียชีวิตราว 1,000 คน.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และยุทธการบลอร์ฮีธ

ราชวงศ์ยอร์ก

อกกุหลาบขาว สัญลักษณ์ราชวงศ์ยอร์คWarsoftheroses.com, Wars of the Roses - http://www.warsoftheroses.com/york.cfmhttp://www.warsoftheroses.com/york.cfm ราชวงศ์ยอร์ค (House of York) เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงยุติการแย่งราชบัลลังก์ใน สงครามดอกกุหลาบ ระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสกับ เอลิซาเบธ แห่งยอร์ค พระราชธิดาของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และตั้งราชวงศ์ใหม่ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ทิวดอร์” กษัตริย์ราชวงศ์ยอร์ค ของอังกฤษ.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และราชวงศ์ยอร์ก

ราชวงศ์แลงคัสเตอร์

'''ราชวงศ์แลงคัสเตอร์'''Warsoftheroses.com, Wars of the Roses - House of Lancasterhttp://www.warsoftheroses.com/lancaster.cfm ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (House of Lancaster) เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์ ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament) ราชวงศ์แลงคัสเตอร์มาสิ้นสุดลงในศึกทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ในปี..

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และราชวงศ์แลงคัสเตอร์

ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก

ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 (Richard Plantagenet, 3rd Duke of York) (21 กันยายน ค.ศ. 1411 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทเป็นสมาชิกในราชวงศ์ยอร์คผู้มีตำแหน่งหน้าที่ระดับสูงในฝรั่งเศสในปลายสงครามร้อยปีและในอังกฤษในระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ความขัดแย้งของดยุคแห่งยอร์คกับพระเจ้าเฮนรีเป็นสาเหตุที่ทำความปั่นป่วนทางการเมืองในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ แม้ว่าริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทจะมิได้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็เป็นบิดาของพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4และพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทปกครองอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์แห่งอังกฤษระหว่างปี ค.ศ.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และ เอิร์ลแห่งซอลสบรี (Richard Neville, 16th Earl of Warwick) (22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1428 - 14 เมษายน ค.ศ. 1471) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนาง, นักการบริหาร และนักการทหารชาวอังกฤษ ริชาร์ด เนวิลล์เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี (Richard Neville, 5th Earl of Salisbury) (ค.ศ. 1400 - 31 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนางชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ทัพฝ่ายราชวงศ์ยอร์คในตอนต้นของสงครามดอกกุหลาบ ริชาร์ด เนวิลล์เกิดเมื่อปี ค.ศ.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี

วุร์สเตอร์

วุร์สเตอร์ (Worcester) เป็นนครและเมืองเทศมณฑลวุร์สเตอร์เชอร์ในภาคเวสต์มิดแลนส์ของอังกฤษ เมืองวุร์สเตอร์ตั้งอยู่ราว 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเบอร์มิงแฮม, 29 ไมล์ (47 กิโลเมตร) เหนือเมืองกลอสเตอร์ และมีประชากรประมาณ 94,300 คน วุร์สเตอร์มีแม่น้ำเซเวิร์นไหลผ่ากลางเมือง และเป็นเมืองที่ตั้งของมหาวิหารวุร์สเตอร์ที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 วุร์สเตอร์เป็นสนามรบของยุทธการที่วุร์สเตอร์ซึ่งเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามกลางเมืองอังกฤษ วุร์สเตอร์เป็นเมืองที่กองทัพตัวแบบใหม่ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ได้รับชัยชนะต่อกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมของพระเจ้าชาลส์ที่ 1ซึ่งเป็นผลให้อังกฤษเข้าสู่ยุคสมัยไร้กษัตริย์ที่อังกฤษและเวลส์เปลี่ยนระบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ นอกจากนั้นก็ยังศูนย์กลางของโรงงานทำเครื่องพอร์ซีเลนรอยัลวุร์สเตอร์และเป็นบ้านเกิดของคีตกวีเซอร์เอ็ดเวิร์ด เอลการ์ (Edward Elgar).

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และวุร์สเตอร์

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และสงครามกลางเมือง

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และสงครามดอกกุหลาบ

สแตฟฟอร์ดเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ สแตฟฟอร์ดเชอร์ หรือ สแตฟฟอร์ดเชียร์ (Staffordshire, สแตเฟิร์ดเชอร์ หรือ สแตเฟิร์ดเชียร์,, ย่อ Staffs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในภาคมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษ โดยมีสแตฟฟอร์ดเป็นเมืองหลวง สแตฟฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับเชชเชอร์, ดาร์บีเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, วอริคเชอร์, เวสต์มิดแลนด์, วูสเตอร์เชอร์ และชร็อพเชอร.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และสแตฟฟอร์ดเชอร์

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และประเทศอังกฤษ

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และประเทศไอร์แลนด์

12 ตุลาคม

วันที่ 12 ตุลาคม เป็นวันที่ 285 ของ.

ดู ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และ12 ตุลาคม

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Battle of Ludford Bridge