เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธการบลอร์ฮีธและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุทธการบลอร์ฮีธและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ยุทธการบลอร์ฮีธ vs. ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ทธการบลอร์ฮีธ (Battle of Blore Heath) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1459 ที่บลอร์ฮีธในมณฑลสตาฟฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยเจมส์ ทูเชท์ บารอนแห่งออดลีย์ที่ 5 และจอห์น ซัททัน บารอนแห่งดัดลีย์ที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์คเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิตราว 2,000 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์คมีผู้เสียชีวิตราว 1,000 คน. ทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ (Battle of Ludford Bridge) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1459 ที่ลัดฟอร์ดบริดจ์ในมณฑลชร็อพเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์ค ผลของยุทธการครั้งนี้แลงคาสเตอร์เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ หลังจากที่ได้รับชัยชนะในยุทธการบลอร์ฮีธระหว่าเขตแดนชร็อพเชอร์และสตาฟฟอร์ดเชอร์แล้วฝ่ายยอร์คก็เดินทัพไปยังวูสเตอร์ แต่ก็ต้องถอยกลับมาตั้งหลักที่ลัดฟอร์ดบริดจ์ในชร็อพเชอร์หลังจากที่พบกองทัพที่มีกำลังเหนือกว่ามากของฝ่ายแลงคาสเตอร์ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1459 เซอร์แอนดรูว์ ทรอลล็อพผู้บังคับกองทหารจากคาเลส์ก็หันไปเข้าข้างแลงคาสเตอร์เมื่อพระเจ้าเฮนรีพระราชทานอภัยโทษ ที่ทำให้ทรงทราบถึงข้อมูลและแผนการโจมตีของฝ่ายยอร์ค แลงคาสเตอร์มีกองกำลังมากกว่าฝ่ายยอร์คถึงสามต่อหนึ่ง ค่ำวันนั้นเมื่อรู้ว่าไม่มีทางชนะดยุคแห่งยอร์คและลูกสองคน พร้อมกับเอิร์ลแห่งวอริค และ เอิร์ลแห่งซอลสบรี ก็หนีไปคาเลส์และไอร์แลนด์จากสนามรบ กองทหารที่ตื่นขึ้นมาทราบว่าไม่มีผู้นำต่างก็กระจัดกระจายหนีกันไปตามๆ กันทิ้งให้ฝ่ายยอร์คเข้าปล้นเมืองลัดโลว์ผู้สนับสนุนฝ่ายยอร์ค ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสะพานเท่าใดนัก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุทธการบลอร์ฮีธและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ยุทธการบลอร์ฮีธและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2002ราชวงศ์ยอร์กราชวงศ์แลงคัสเตอร์ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรีสงครามดอกกุหลาบสแตฟฟอร์ดเชอร์ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2002

ทธศักราช 2002 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2002และยุทธการบลอร์ฮีธ · พ.ศ. 2002และยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ยอร์ก

อกกุหลาบขาว สัญลักษณ์ราชวงศ์ยอร์คWarsoftheroses.com, Wars of the Roses - http://www.warsoftheroses.com/york.cfmhttp://www.warsoftheroses.com/york.cfm ราชวงศ์ยอร์ค (House of York) เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงยุติการแย่งราชบัลลังก์ใน สงครามดอกกุหลาบ ระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสกับ เอลิซาเบธ แห่งยอร์ค พระราชธิดาของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และตั้งราชวงศ์ใหม่ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ทิวดอร์” กษัตริย์ราชวงศ์ยอร์ค ของอังกฤษ.

ยุทธการบลอร์ฮีธและราชวงศ์ยอร์ก · ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และราชวงศ์ยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แลงคัสเตอร์

'''ราชวงศ์แลงคัสเตอร์'''Warsoftheroses.com, Wars of the Roses - House of Lancasterhttp://www.warsoftheroses.com/lancaster.cfm ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (House of Lancaster) เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์ ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament) ราชวงศ์แลงคัสเตอร์มาสิ้นสุดลงในศึกทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ในปี..

ยุทธการบลอร์ฮีธและราชวงศ์แลงคัสเตอร์ · ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และราชวงศ์แลงคัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี (Richard Neville, 5th Earl of Salisbury) (ค.ศ. 1400 - 31 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนางชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ทัพฝ่ายราชวงศ์ยอร์คในตอนต้นของสงครามดอกกุหลาบ ริชาร์ด เนวิลล์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1400 ในมณฑลเดอแรม แม้ว่าจะเป็นบุตรคนที่สามของราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเวสต์มอร์แลนด์ที่ 1 (Ralph Neville, 1st Earl of Westmorland) แต่เป็นบุตรคนแรกที่เกิดกับกับภรรยาคนที่สองโจน โบฟอร์ท ผู้เป็นพี่น้องกับริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี และซิซิลิ เนวิลล์ผู้เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ดินแดนของตระกูลเนวิลล์ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลเดอแรมและมณฑลยอร์คเชอร์ แต่ทั้งสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 และสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 พบว่าตระกูลเนวิลล์เป็นผู้ที่สร้างความสมดุลทางอำนาจต่อตระกูลเพอร์ซีย์ในบริเวณเขตแดนสกอตแลนด์ ฉะนั้นเอิร์ลราล์ฟจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในปี..

ยุทธการบลอร์ฮีธและริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี · ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ยุทธการบลอร์ฮีธและสงครามดอกกุหลาบ · ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

สแตฟฟอร์ดเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลสแตฟฟอร์ดเชอร์ สแตฟฟอร์ดเชอร์ หรือ สแตฟฟอร์ดเชียร์ (Staffordshire, สแตเฟิร์ดเชอร์ หรือ สแตเฟิร์ดเชียร์,, ย่อ Staffs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในภาคมิดแลนด์สตะวันตกของอังกฤษ โดยมีสแตฟฟอร์ดเป็นเมืองหลวง สแตฟฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับเชชเชอร์, ดาร์บีเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, วอริคเชอร์, เวสต์มิดแลนด์, วูสเตอร์เชอร์ และชร็อพเชอร.

ยุทธการบลอร์ฮีธและสแตฟฟอร์ดเชอร์ · ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์และสแตฟฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ประเทศอังกฤษและยุทธการบลอร์ฮีธ · ประเทศอังกฤษและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุทธการบลอร์ฮีธและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์

ยุทธการบลอร์ฮีธ มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 30.43% = 7 / (8 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธการบลอร์ฮีธและยุทธการลัดฟอร์ดบริดจ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: