โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่เกนส์บะระ

ดัชนี ยุทธการที่เกนส์บะระ

ทธการที่เกนส์บะระ (Battle of Gainsborough) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 - 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 ที่เมืองเกนส์บะระ ลิงคอล์นเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่นำโดยเอิร์ลแห่งคิงส์ตันและวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 และฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัม, จอห์น เมลดรัมและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายของทั้งสองฝ่ายไม่เป็นที่ทราบ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 ฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัม เข้ายึดเมืองเกนส์บะระในลิงคอล์นเชอร์ให้แก่ฝ่ายรัฐสภาจากเอิร์ลแห่งคิงสตันในการจู่โจมกลางคืน เอิร์ลแห่งคิงสตันมาเสียชีวิตขณะที่ถูกจับเป็นนักโทษโดยปืนใหญ่จากฝ่ายเดียวกัน เกนส์บะระเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับการติดต่อกับทางใต้ฉะนั้นวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 จึงส่งเซอร์ชาร์ลส์ คาเว็นดิช ไปพยายามยึดคืน ทางฝ่ายรัฐสภาจึงส่งเซอร์จอห์น เมลดรัม (John Meldrum) ขึ้นไปช่วยเสริมกำลังของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ฝ่ายนิยมกษัตริย์พยายามยึดเมืองคืนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1643จากทางตะวันออกเฉียงใต้และยึดฟอกซ์บีฮิลล์เป็นที่มั่น แต่แม้ว่าจะเป็นเนินที่ชันและเป็นทรายกองทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ก็ถูกต้อนลงไปในบริเวณที่ราบและเป็นหนองของแม่น้ำเทรนต์โดยกองทหารม้า "Ironsides" ของครอมเวลล์ คาเว็นดิชถูกสังหารพร้อมกับทหารอีกราว 300 คน แม้ว่าฝ่ายรัฐสภาจะได้รับชัยชนะในช่วงแรก แต่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1643 กองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์จากนิวคาสเซิลก็มาถึงแกรนทัมและได้รับชัยชนะและยึดเมืองคืนจากฝ่ายรัฐสภา ฝ่ายรัฐสภาจึงถูกขับออกจากลิงคอล์นเชอร.

14 ความสัมพันธ์: ฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัมพ.ศ. 2186พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษลิงคอล์นเชอร์วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1สงครามกลางเมืองอังกฤษสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1หัวเกรียนประเทศอังกฤษแควาเลียร์โอลิเวอร์ ครอมเวลล์20 กรกฎาคม28 กรกฎาคม30 กรกฎาคม

ฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัม

ฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัม (Francis Willoughby, 5th Baron Willoughby of Parham; ราว ค.ศ. 1605 - 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1666) เป็นนายทัพฝ่ายรัฐสภาผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการที่เกนส์บะระในสงครามกลางเมืองอังกฤษ วิลละบีสนับสนุนฝ่ายรัฐสภาในระยะแรกของสงครามแต่ต่อมาเปลี่ยนข้างไปเป็นฝ่ายกษัตริย์นิยม และต่อมาก็เข้ารับราชการเป็นข้าหลวงของอาณานิคมอังกฤษสองครั้งในแคริบเบียน ฟรานซิส วิลละบีเกิดที่แพรัมในเทศมณฑลซัฟฟอล์ก ราว ค.ศ. 1605 เป็นบุตรของวิลเลียม วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 3 แห่งแพรัม และฟรานซ์ แมนเนอส์ บุตรสาวของจอห์น แมนเนอส์ เอิร์ลที่ 4 แห่งรัตแลนด์แห่งนอตติงแฮม บิดาของฟรานซิสเสียชืวิตเมื่อ..

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและฟรานซิส วิลละบี บารอนวิลละบีที่ 5 แห่งแพรัม · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2186

ทธศักราช 2186 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและพ.ศ. 2186 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคอล์นเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ลิงคอล์นเชอร์ หรือ ลิงคอล์นเชียร์ (Lincolnshire, or,; ย่อ Lincs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษโดยมีลิงคอล์นเป็นเมืองหลวง ลิงคอล์นเชอร์มีเขตแดนติดกับนอร์โฟล์ค, เคมบริดจ์เชอร์, รัทแลนด์, เลสเตอร์เชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, and the อีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ และมีเขตแดนติดกับนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ราว 19 เมตรซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างมณฑลที่สั้นที่สุดในอังกฤษ.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและลิงคอล์นเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1

วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 (William Cavendish, 1st Duke of Newcastle-upon-Tyne) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1592 - 25 ธันวาคม ค.ศ. 1676) วิลเลียม คาเว็นดิชเป็นนายทหารฝ่ายนิยมกษัตริย์และนักการเมืองชาวอังกฤษ ผู้มีความสามารถหลายด้านที่รวมทั้งการเป็นนักประพันธ์, นักขี่ม้า, นักเขียนบทละคร, นักดาบ, สถาปนิก และนักการทูต วิลเลียม คาเว็นดิชเกิดที่แฮนสเวิร์ธ, ยอร์คเชอร์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1592 ในครอบครัวของผู้มาฐานะดีของตระกูลคาเว็นดิช วิลเลียมเป็นบุตรของเซอร์ชาร์ลส์ คาเว็นดิชและแคทเธอริน โอเกิล บารอนเนสโอเกิล ตระกูลคาเว็นดิชมีความสัมพันธ์อันดีกับราชวงศ์สจวตและเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นอัศวินแห่งบาธ (Knight of the Bath) และต่อมาก็ได้รับอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินจากบิดาทางตอนเหนือของอังกฤษ วิลเลียมเริ่มเข้ารับราชการในราชสำนักของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และต่อมาก็ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย ต่อมาวิลเลียมก็ได้รับแต่งตั้งเป็นมาร์ควิสแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์ของพระราชโอรสของพระเจ้าชาร์ลส์ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 วิลเลียมเป็นฝ่ายสนับสนุนฝ่ายนิยมกษัตริย์อย่างเต็มตัวและช่วยในด้านการเงินในสงครามบาทหลวง ในสงครามกลางเมืองอังกฤษวิลเลียมก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายพลในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาทางตอนเหนือของอังกฤษ หลังจากที่ได้รับความพ่ายแพ้ในยุทธการมาร์สตันมัวร์แล้ววิลเลียมก็ตัดสินใจลี้ภัยตัวเองแต่ก็กลับมาอีกในสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและวิลเลียม คาเว็นดิช ดยุคแห่งนิวคาสเซิล-อัพพอน-ไทน์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 (First English Civil War) (ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646) เป็นสงครามกลางเมืองสงครามแรกในสามสงครามกลางเมืองอังกฤษ สงครามกลางเมืองอังกฤษเป็นสงครามต่อเนื่องฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยมที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651 สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

หัวเกรียน

“ฝ่ายรัฐสภา” โดยจอห์น เพ็ตติ (John Pettie) กลุ่มหัวเกรียน หรือ ฝ่ายรัฐสภา (ภาษาอังกฤษ: Parliamentarians หรือ Roundhead) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มพิวริตันผู้สนับสนุนรัฐสภาแห่งอังกฤษระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ และเป็นผู้สนับสนุนโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ครอมเวลล์ได้รับความก้าวหน้าทางการเมือง, เป็นสมาชิกของสภาสามัญชนผู้มีบทบาทสำคัญ และเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ และในที่สุดก็แต่งตั้งตนเองเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ ในปี ค.ศ. 1653 ฐานะทางการเมืองและทางการศาสนาของ “ฝ่ายรัฐสภา” รวมทั้งกลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterians), กลุ่มรีพับลิกันคลาสสิก (Classical republicanism), กลุ่มเลเวลเลอร์ (Levellers) และ กลุ่มอิสระทางศาสนา (Independents) ศัตรูของ “ฝ่ายรัฐสภา” คือ “ฝ่ายกษัตริย์นิยม” ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลส์หรือที่เรียกเล่นๆ ว่า “กลุ่มคาวาเลียร์” (Cavalier).

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและหัวเกรียน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แควาเลียร์

แควาเลียร์ (Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

20 กรกฎาคม

วันที่ 20 กรกฎาคม เป็นวันที่ 201 ของปี (วันที่ 202 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 164 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและ20 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

28 กรกฎาคม

วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นวันที่ 209 ของปี (วันที่ 210 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 156 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและ28 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 กรกฎาคม

วันที่ 31 กรกฎาคม เป็นวันที่ 211 ของปี (วันที่ 212 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 154 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยุทธการที่เกนส์บะระและ30 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Battle of Gainsboroughยุทธการเกนสบะระห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »