โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่ปลาศี

ดัชนี ยุทธการที่ปลาศี

ทธการที่ปลาศี (Battle of Plassey) เป็นการต่อสู้ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษกับแคว้นเบงกอลของจักรวรรดิโมกุลที่มีฝรั่งเศสหนุนหลัง การต่อสู้เกิดขึ้นในภาคเบงกอลซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอินเดียในวันที่ 23 มิถุนายน..

10 ความสัมพันธ์: บริษัทอินเดียตะวันออกชีราช อุดดอลามีร์ จาฟาร์รอเบิร์ต ไคลฟ์สหราชอาณาจักรสงครามเจ็ดปีอนุทวีปอินเดียจักรวรรดิโมกุลโกลกาตาเจนไน

บริษัทอินเดียตะวันออก

ริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติ (Honourable East India Company) หรือในเวลาต่อมาคือ บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน เป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษในช่วงแรก ซึ่งเดิมถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก แต่ในภายหลังได้ดำเนินการค้าส่วนใหญ่กับอนุทวีปอินเดียและจีน และยังมีหน้าที่ปกครองอาณานิคมในอนุทวีปอินเดีย บริษัทอินเดียตะวันออกถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอินเดียตะวันออกของชาติทวีปยุโรปอื่น ๆ เมื่อแรกก่อตั้ง บริษัทได้รับพระราชทานตราตั้งโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1ให้เป็น "ข้าหลวงแลบริษัทพาณิชย์แห่งลอนดอนซึ่งจักทำการค้าไปยังอินเดียตะวันออก" เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและบริษัทอินเดียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ชีราช อุดดอลา

มีร์จา มุฮัมหมัด ชีราช อุดดอลา (মির্জা মুহম্মদ সিরাজউদ্দৌলা) เป็นเจ้าประเทศราชแห่งเบงกอลองค์สุดท้ายภายใต้จักรวรรดิโมกุล ก่อนที่เบงกอลจะถูกบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตนเข้าปกครองและแผ่ขยายดินแดนไปทั่งอนุทวีปอินเดีย เขาขึ้นครองบัลลังก์แห่งเบงกอลต่อจาก อาลีวาร์ดี คาน ผู้เป็นตาในปี 1756 ขณะมีอายุได้ 23 ปี เขาใช้นโยบายแข็งกร้าวต่ออังกฤษและส่งทหารเข้ายึดเมืองกัลกัตตาซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ในศึกกับอังกฤษนั้น เขาถูกทรยศโดยมีร์ จาฟาร์ แม่ทัพในยุทธการที่ปลาศี ส่งผลให้กองทหารอังกฤษของพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ เข้ายึดและปกครองแคว้นเบงกอลทั้งหมด ในขณะที่ยุทธการที่ปลาศีกำลังดำเนินอยู่ ฝ่ายเบงกอลก็สูญเสียมีร์ มาดาม แม่ทัพคนสำคัญและคนสนิทของชีราช ชีราชเสียใจกับความสูญเสียนี้ และขอคำปรึกษาจากมีร์ จาฟาร์ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำว่าควรถอนทัพในวันนั้น แล้วชีราชได้ทำสิ่งผิดพลาดที่สุดโดยการสั่งให้ยุติการรบ ซึ่งโดยคำสั่งนั้น ทหารแต่ละกรมกองต้องกลับค่ายของตน เป็นการเปิดโอกาสให้พันเอกไคลฟ์ นำกำลังอังกฤษเข้าโจมตีทหารเบงกอลที่กำลังกลับเข้าค่าย การโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัวทำให้กองทหารเบงกอลสูญเสียระบบ เมื่อคิดได้ว่าไม่มีทางสู้แล้ว ชีราชก็รีบหนีลงเรือเล็ก แต่เมื่อไปถึงปัฏนาเขาก็ถูกจับกุมโดยทหารของมีร์ จาฟาร์ เขาถูกนำตัวไปประหารชีวิตในวันที่ 2 กรกฎาคม 1757 โดยคำสั่งของมีร์ มีรุน บุตรชายของมีร์ จาฟาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อตกลงระหว่างมีร์ จาฟาร์ กับบริษัทฯ.

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและชีราช อุดดอลา · ดูเพิ่มเติม »

มีร์ จาฟาร์

มีร์ จาฟาร์ อาลี คาน บาฮาดูร์ (Mir Jafar Ali Khan Bahadur) เป็นเจ้าประเทศราชแห่งเบงกอลคนแรกภายใต้การสนับสนุนของบริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน เดิมทีเขาเป็นผู้บัญชาการทหารของแคว้นเบงกอล เขาได้แสร้งทำเป็นจงรักภักดีต่อ นาวับชีราช อุดดอลา ว่าจะนำทัพ 50,000 นายออกรบกับอังกฤษ แต่ลับหลังเขากลับแอบติดต่อกับพันเอกรอเบิร์ต ไคลฟ์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก โดยพันเอกไคลฟ์รับปากว่า ถ้าเขานำทัพเข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษในยุทธการที่ปลาศีแล้ว อังกฤษจะตั้งเขาเป็นนาวับแห่งเบงกอลคนใหม่ ท้ายที่สุด อังกฤษก็ได้รับชัยชนะในยุทธการที่ปลาศี และแต่งตั้งมีร์ จาฟาร์ เป็นนาวับคนใหม่ เมื่อจาฟาร์ได้ขึ้นเป็นนาวับคนใหม่ เขาก็เอื้อประโยชน์ให้แก่อังกฤษมากมาย ทั้งยอมจ่ายเงินจำนวน 17.7 ล้านรูปีแก่อังกฤษเป็นค่าปฏิกรรมการโจมตีป้อมกัลกัตตา และยังให้สินบนตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ช่วยให้เขาได้เป็นนาวับ โดยพันเอกไคลฟ์ได้รับเงินกว่าสองล้านรูปี, วิลเลียม วัตต์ หัวหน้าโรงงานบริษัทฯ ได้รับกว่าหนึ่งล้าน การกระทำของจาฟาร์นี้สร้างความขุ่นเคืองให้แก่จักรพรรดิแห่งโมกุลอย่างมาก โดยมองว่าจาฟาร์เป็นคนขายชาติ เมื่อเวลาผ่านไปซักระยะหนึ่ง จาฟาร์ก็ตระหนักว่าบริษัทฯไม่มีวัดเลิกตอดเล็กตอดน้อยเอาผลประโยชน์จากเขาแน่ และเขาก็ไม่อยากเป็นเบี้ยล่างของอังกฤษอีกต่อไป จาฟาร์พยายามดึงพวกบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์เข้ามาในเกมการเมืองนี้ อย่างไรก็ตาม แผนของจาฟาร์เป็นอันล่มไปเมื่ออังกฤษมีชัยเหนือเนเธอร์แลนด์ในยุทธการที่จินสุราเมื่อพฤศจิกายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและมีร์ จาฟาร์ · ดูเพิ่มเติม »

รอเบิร์ต ไคลฟ์

ลตรี รอเบิร์ต ไคลฟ์ บารอนไคลฟ์ที่ 1 (Robert Clive, 1st Baron Clive) หรือเป็นที่รู้จักในนาม ไคลฟ์แห่งอินเดีย (Clive of India) เป็นหนึ่งในนักการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ เขาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของบริติชอินเดีย เขาสามารถมีชัยในยุทธการที่ปลาศีในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและรอเบิร์ต ไคลฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเจ็ดปี

ำหรับสงครามเจ็ดปีในความหมายอื่น อ่าน สงครามเจ็ดปี (แก้ความกำกวม) สงครามเจ็ดปี (Seven Years' War) หรือ สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3 (Third Silesian War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและสงครามเจ็ดปี · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและอนุทวีปอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโมกุล

ักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์ตีมูร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและจักรวรรดิโมกุล · ดูเพิ่มเติม »

โกลกาตา

นนสายหนึ่งในเมืองโกลกาตา หอสมุดแห่งชาติในเมืองโกลกาตา โกลกาตา (Kolkata; কলকাতা) หรือชื่อเดิม กัลกัตตา (Calcutta) เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮูคลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองนี้มีจำนวนประชากร 4,580,544 คน (พ.ศ. 2544) ซึ่งหากนับรวมในเขตเมืองรอบนอกด้วยก็จะมีจำนวนมากกว่า 14 ล้านคน ทำให้เมืองนี้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ โกลกาตาเคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยการปกครองของอังกฤษ จึงทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง (จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการย้ายเมืองหลวงไปนิวเดลี) โดยถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีระบบระบายน้ำเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยมีอายุกว่า 150 ปี อย่างไรก็ตาม โกลกาตาประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปีหลังจากอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2490 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การฟื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้นำไปสู่ความเจริญเติบโตของเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็เช่นเดียวกับเมืองใหญ่แห่งอื่น ๆ ในอินเดีย โกลกาตาต้องเผชิญกับปัญหาเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหามลภาวะ ปัญหาการจราจรติดขัด เป็นต้น นอกจากนี้ โกลกาตายังมีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ตั้งแต่การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ไปจนถึงขบวนการฝ่ายซ้ายและสหภาพการค้าต่าง ๆ อีกด้วย เป็นไปได้ว่าชื่อโกลกาตาและ "กัลกัตตา" นั้นอาจจะมาจาก กาลิกาตา ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านสามแห่ง (กาลิกาตา สุตนุติ และโคพินทปุระ) ในพื้นที่แถบนี้ก่อนการเข้ามาของอังกฤษ ซึ่งสันนิษฐานว่า "กาลิกาตา" นั้นเป็นรูปในภาษาอังกฤษของคำว่า กาลีเกษตร ("ดินแดนของพระแม่กาลี") หรือมาจากคำในภาษาเบงกาลีว่า กิกิลา ("ที่ราบ") หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำพื้นเมืองที่ใช้เรียกชื่อคลองธรรมชาติสายหนึ่ง คือ คาล ตามด้วย กัตตา แม้ว่าในภาษาเบงกาลีซึ่งเป็นภาษาของท้องถิ่นจะเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "โกลกาตา" มาตลอด แต่ชื่อภาษาอังกฤษของเมืองก็เพิ่งถูกเปลี่ยนจาก "กัลกัตตา" เป็น "โกลกาตา" ตามการออกเสียงในภาษาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2544 นี้เอง บางคนมองว่านี่เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อลบล้างสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดจากการปกครองของอังกฤษ.

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและโกลกาตา · ดูเพิ่มเติม »

เจนไน

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองเจนไน (เมืองในเขตสีแดงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของรัฐ) สถานีรถไฟกลางเจนไน เจนไน (Chennai; சென்னை) หรือชื่อเดิม มัทราส (Madras) เป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมชายฝั่งโคโรมันเดล (โจฬมณฑล) ของอ่าวเบงกอล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ มีพื้นที่ 181.06 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (พ.ศ. 2550) จึงทำให้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ เจนไนตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยชาวอังกฤษซึ่งได้พัฒนาเมืองนี้ให้เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในฐานะเมืองหลวงของเขตมัทราส (Madras Presidency) เศรษฐกิจของเมืองเจนไน ได้แก่ การผลิตรถยนต์ เทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผู้ส่งออกซอฟต์แวร์และบริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศรองจากบังคาลอร์และไฮเดอราบาด มีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่ง และท่าเรือหลักอีก 2 แห่ง เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศด้วยทางหลวงแผ่นดินสายหลัก 5 สาย และสถานีขนส่งทางรถไฟอีก 2 แห่ง เจนไนเป็นที่จัดงานฤดูกาลดนตรีมัทราส (Madras Music Season) กิจกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีซึ่งมีการแสดงจากศิลปินหลายร้อยคน เป็นศูนย์กลางสำคัญของนาฏฺศิลป์ชั้นสูงประเภทหนึ่งของอินเดีย คือ ภารตนาฏยัม อุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาทมิฬซึ่งเรียกว่า คอลลีวูด (Kollywood) มีฐานการผลิตอยู่ในเมืองนี้ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเจนไนโอเพนของสมาคมเทนนิสอาชีพ (ATP) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมืองนี้ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ การจราจรติดขัด และมลพิษทางอาก.

ใหม่!!: ยุทธการที่ปลาศีและเจนไน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธการที่ปาลาศี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »