เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธการตอกลิ่ม

ดัชนี ยุทธการตอกลิ่ม

German movements ยุทธการตอกลิ่ม (Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีด ความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 22 ความสัมพันธ์: ฟือเรอร์การรุกวิสตูลา–โอเดอร์ฝ่ายอักษะรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสลุฟท์วัฟเฟอวัลเทอร์ โมเดิลสงครามโลกครั้งที่สองอดอล์ฟ ฮิตเลอร์จอร์จ เอส. แพตตันดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ประเทศฝรั่งเศสประเทศลักเซมเบิร์กประเทศเบลเยียมนาซีเยอรมนีแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์แอนต์เวิร์ปแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)แนวซีกฟรีดโอมาร์ แบรดลีย์เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรีเขตวัลลูน

ฟือเรอร์

ฟือเรอร์ (Führer) ในภาษาเยอรมัน หมายถึง "ผู้นำ" โดยคำว่า "ฟือเรอร์" มักจะหมายถึง ฉายาของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเป็นตำแหน่งสำคัญในคณะรัฐบาลสมัยนาซีเยอรมนี และองค์กรกึ่งทหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยเอ็สเอ็ส) โดยคำดังกล่าวเป็นการเอาอย่างจากคำว่า อิลดูเช ในภาษาอิตาลี ซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกัน.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและฟือเรอร์

การรุกวิสตูลา–โอเดอร์

การรุกวิสตูลา-โอเดอร์ เป็นการรุกที่ประสบความสำเร็จของ กองทัพแดง ใน แนวรบด้านตะวันออก และสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปในเดือนมกราคมปี 1945 โดยปลดปล่อยเมือง กรากุฟ, วอร์ซอ และ พอซนาน.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและการรุกวิสตูลา–โอเดอร์

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ดู ยุทธการตอกลิ่มและฝ่ายอักษะ

รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Gouvernement provisoire de la République française) เป็นรัฐบาลชั่วคราวที่บริหารประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและรัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

ลุฟท์วัฟเฟอ

ลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เป็นเหล่าทัพการสงครามทางอากาศของกองทัพเยอรมันเวร์มัคท์ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพอากาศเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ลุฟท์ชไตรท์แครฟเทอ (Luftstreitkräfte) แห่งกองทัพจักรวรรดิเยอรมัน และหน่วยนักบินทหารเรือ มารีเนอ-ฟีเกอร์อับไทลุงของไคแซร์ลีเชอ มารีเนอ (Kaiserliche Marine), ได้ถูกยุบในเดือนพฤษภาคม..

ดู ยุทธการตอกลิ่มและลุฟท์วัฟเฟอ

วัลเทอร์ โมเดิล

อ็อทโท โมริทซ์ วัลเทอร์ โมเดิล (Otto Moritz Walter Model; 24 มกราคม 1891 – 21 เมษายน 1945) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงในการรบป้องกันในช่วงครึ่งหลังของสงคราม ส่วนใหญ่ในแนวรบตะวันออกแต่อยู่ในด้านตะตะวันตก เขาได้ถูกเรียกว่า ผู้บัญชาการยุทธวิธีป้องกันที่ดีที่สุดของจักรวรรด์ไรซ์ที่สาม ในช่วงปลายสงคราม โมเดิลได้ล้มเหลวในป้องกันการบุกเข้าสู่เยอรมนีของกองทัพสัมพันธมิตรในด้านตะวันตกและกองทัพของเขาถูกล้อมอย่างสิ้นเชิงในรูร์ เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับนำตัวไปพิจารณาคดีในข้อหาอาชญากรสงครามเมื่อ 21 เมษายน..

ดู ยุทธการตอกลิ่มและวัลเทอร์ โมเดิล

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและสงครามโลกครั้งที่สอง

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ดู ยุทธการตอกลิ่มและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

จอร์จ เอส. แพตตัน

อร์จ สมิธ แพตตัน,จูเนียร์ (George Smith Patton, Jr.; 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 1945) เป็นนายทหารระดับอาวุโสของกองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สั่งกองทัพสหรัฐที่7ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปของสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เป็นที่รู้จักกันดีในการนำกองทัพสหรัฐที่3ในฝรั่งเศสและเยอรมนีหลังปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดมิถุนายน 1944 ในวัยเด็กแพตตัน มีภูมิหลังโดยคนในครอบครัวได้เป็นทหารในกองพลทหารม้า ทำให้ครอบครัวได้ส่งเขาเข้าเรียนทหาร ต่อมา แพตตันเข้าร่วมสถาบันการทหารเวอร์จิเนียและต่อมาที่สถาบันการทหารที่เวสต์พอย สหรัฐฯ เขาเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1912 ในการวิ่งกรีฑาสมัยใหม่ซึ่งเขาได้ที่ห้า แพ็ตตันยังเป็นผู้ออกแบบดาบ M1913 ทหารม้าดาบที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ดาบของแพ็ตตัน“Patton Sword.”."ในช่วงสงครามชายแดนในส่วนหนึ่งของการปฏิวัติเม็กซิกัน เขาได้คิดวิธีในการปราบกองโจรม้าเม็กซิกัน โดยนำปืนกลหนักติดกับรถเปิดทุน ผลเป็นที่น่าพอใจมาก ทำให้ได้มีการนำปืนกลหนักติดกับรถจิป สิ่งนั้นได้แพร่หลายไปทั่วโลกและยังมีการทำอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้บัญชาการกองพลยานเกราะในการยุทธฝรั่งเศส แต่ได้รับบาดเจ็บก่อนที่จะได้เห็นชัยชนะของพลของ.หลังสงครามเขาเป็นหนึ่งในคนที่พัฒนาการรบด้วยรถถังชึ่งเป็นของใหม่ในช่วงเวลานั้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองแพ็ตตันนำทัพสหรัฐฯเข้าในรุกรานของคาซาบลังกาในระหว่างปฏิบัติการคบเพลิงปี 1942 หลังปฏิบัติเขาเป็นที่ยอมรับเป็นผู้บัญชาการที่มีประสิทธิภาพ จากนั้นได้นำกองกำลังบุกเกาะซิชิลี แต่ก็เกิดเรื่องขึ้นเมื่อเขาได้ตบหน้าทหารหนุ่มสองนายหลังไม่ยอมไปรบทั้งที่ทั้งสองมีอาการโรคshell shock (อาการหวาดกลัวสงคราม) ทำให้แพ็ตตันถูกสอบสวน ผลให้เขาถูกพักงานและออกจากผู้บัญชาการการยุทธอิตาลี แต่เนื่องจากความเก่งของเขา ทำให้จอมพลไอเซนฮาวร์ ได้นำเขากลับมาสู่การบัญชาการกองทัพสหรัฐที่3 ในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด เขาได้แก้ตัวโดยในคุมกองพลยานเกราะอย่างรวดเร็วเขาตีข้ามประเทศฝรั่งเศส ได้ชนะการต้านของเยรมนีในยุทธการตอกลิ่ม จนจบสงคราม หลังจากที่สงครามแพตตันนำกองกำลังประจำการในบาวาเรีย แต่แล้วในวันที่ 9 ธันวาคม 1945 รถจิปประจำตำแหน่งเกิดประสบอุบัติเหตุเข้าชนรถบรรทุกของกองทัพสหรัฐฯ เขาทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสียชีวิตในไฮเดลเบิร์กเยอรมนีวันที่ 21 ธันวาคม 1945 การบุกเกาะซิชิลี,1943 หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:นักยุทธศาสตร์ทหาร หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายไอริช หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายสกอต-ไอริช หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายเวลส์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน หมวดหมู่:บุคคลจากวิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:บุคคลในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและจอร์จ เอส. แพตตัน

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์

วต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ (Dwight David "Ike" Eisenhower; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1890 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1969) เป็นทหารและนักการเมืองชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและประเทศฝรั่งเศส

ประเทศลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg; Luxembourg; Luxemburg) หรือชื่อทางการคือ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (Grand Duchy of Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Groussherzogtum Lëtzebuerg; Grand-Duché de Luxembourg; Großherzogtum Luxemburg) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี ด้านใต้ติดกับฝรั่งเศส และด้านตะวันตกติดกับเบลเยียม.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและประเทศลักเซมเบิร์ก

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและประเทศเบลเยียม

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและนาซีเยอรมนี

แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์

ร์ล รูดอล์ฟ แกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์ (Karl Rudolf Gerd von Rundstedt; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1875 - 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ได้รับสมญานามว่า "อัศวินดำ" (Black Knight).

ดู ยุทธการตอกลิ่มและแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและแอนต์เวิร์ป

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ดู ยุทธการตอกลิ่มและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและแนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวซีกฟรีด

แผนที่แนวซีกฟรีด แนวซีกฟรีด (Siegfriedstellung) เดิมเป็นแนวค่ายทหารถาวรป้องกันและการป้องกันรถถังที่เยอรมนีสร้างขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของแนวฮินเดนบูร์ก..

ดู ยุทธการตอกลิ่มและแนวซีกฟรีด

โอมาร์ แบรดลีย์

อมาร์ เนลสัน แบรดลี่ย์ (Omar Nelson Bradley12 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1893 – 8 เมษายน ค.ศ.1981), ชื่อเล่น แบรด เป็นเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของ กองทัพสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงมาจากการรบในการทัพตูนิเซียและแนวรบด้านตะวันตก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ามารับตำแหน่งนายพลตั้งแต่การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีไปจนถึงตราสารยอมจำนนของเยอรมนี แบรดลี่ย์สามารถคุมกองทัพอเมริกาได้ทั้งหมดในการบุกครองเยอรมนีโดยฝายสัมพันธมิตรเขาคุมกองทัพอเมริกาทั้งหมด 43 กองพลและกำลังทหาร 1.3 ล้านคน แนวของกองทัพสหรัฐอเมริกาถูกสั่งการโดยจอมพลคนนี้คนเดียว ช่วงหลังสงคราม แบรดลี่ย์ได้ดูแล กองทหารผ่านศึกและมารับตำแหน่งเสนาธิการกองทัพสหรัฐอเมริกาใน..

ดู ยุทธการตอกลิ่มและโอมาร์ แบรดลีย์

เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี

อมพล เบอร์นาร์ด ลอว์ มอนต์โกเมอรี ไวเคานต์มอนต์โกเมอรีแห่งอลามีน (Bernard Law Montgomery, 1st Viscount Montgomery of Alamein; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1887 – 24 มีนาคม ค.ศ.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี

เขตวัลลูน

ตวัลลูน (Région wallonne; Wallonische Region; Wallonië) เรียกอีกอย่างว่า "วาโลเนีย" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วาโลเนียนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเขตภูมิภาควัลลูน ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 วัลลูนถือเป็นครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้เขตฟลามส์นั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าเขตวัลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันเขตวัลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าเขตฟลามส์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองหลวงของวาโลเนียตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่างๆในวาโลเนียนั้นตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซอมบร์ และแม่น้ำเมิส อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของเขต อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับเขตฟลามส์ อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์เดนน์ ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของเขตวัลลูนทางด้านเหนือนั้นติดกับเขตฟลามส์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกจรดกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนทิศตะวันออกนั้นติดกับประเทศเยอรมนี และประเทศลักเซมเบิร์ก.

ดู ยุทธการตอกลิ่มและเขตวัลลูน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Battle of the Bulge