โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอด

ดัชนี ม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอด

ในมณฑปคลุมม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอด ม่อนพระพุทธบาทสี่รอย ตั้งอยู่ที่ยอดม่อนภูเขาสูงกลางป่าชุมชนบ้านนาตารอด หมู่ที่ 9 ตำบลหาดงิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีบรรยากาศโดยรอบเงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอด เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ และเป็นพระพุทธบาทที่มีความสำคัญหนึ่งใน 6 แห่ง ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พระพุทธบาทบ้านนาตารอด เป็นรูปรอยพระพุทธบาทซ้อน 4 ชั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ในภัทรกัลป์นี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอดสร้างขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าเดิมมีแผ่นหินพระพุทธบาทสลักอยู่ ปัจจุบันได้มีการเทคอนกรีตทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้เพื่อป้องกันการสูญหาย และมีการสร้างอาคารขึ้นคลุมพระพุทธบาทไว้ โดยรอบอาคารพระพุทธบาท มีที่พักสงฆ์และศาลาขนาดเล็กที่สร้างมาตั้งแต่สมัยก่อน พ.ศ. 2500 โดยพระครูนิกรธรรมรักษ์ (ไซร้) เจ้าอาวาสวัดช่องลม เกจิอาจารย์ใหญ่แห่งเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น รวมทั้งพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตัก 5 เมตร นามว่าหลวงพ่อมงคลนิมิตร ที่สร้างขึ้นโดย พระครูนิกรธรรมรักษ์ด้่วย ปัจจุบันม่อนพระพุทธบาทสี่รอย มีพระสงฆ์เวียนเข้ามาปักกรดปฏิบัติธรรมบ้าง ยังไม่ได้ตั้งเป็นสำนักสงฆ์แต่อย่างใ.

3 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2500พระพุทธบาทจังหวัดอุตรดิตถ์

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอดและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธบาท

ระพุทธบาท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอดและพระพุทธบาท · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: ม่อนพระพุทธบาทสี่รอยบ้านนาตารอดและจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »