โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มิวสิกฟอร์รีลีฟ

ดัชนี มิวสิกฟอร์รีลีฟ

มิวสิกฟอร์รีลีฟ ก่อตั้งขึ้นโดยวงดนตรีร็อกอเมริกัน ลิงคินพาร์ก เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 โดยการจัดคอนเสิร์ตเพื่อการกุศลจากศิลปินชั้นนำหลากหลายท่าน และจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการประกาศบริจาคเงินออนไลน์ เพื่อให้กับคนที่ขาดแคลนที่อยู่อาศัย อาหาร และของจำเป็นอื่น ๆ นอกจากนี้ มิวสิกฟอร์รีลีฟยังได้ปลูกต้นไม้เพื่อลดภาวะโลกร้อนจำนวนมากกว่า 1 ล้านต้น มิวสิกฟอร์รีลีฟเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้ความร่วมมือจากนักดนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมเพลง รวมถึงแฟนคลับของนักดนตรี เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และส่งเสริมการต่อต้านภาวะโลกร้อน นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี..

15 ความสัมพันธ์: พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกลิงคินพาร์กสหรัฐองค์การไม่แสวงหาผลกำไรทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554ประเทศบราซิลประเทศบังกลาเทศประเทศญี่ปุ่นประเทศอิสราเอลประเทศแคนาดาประเทศเฮติปรากฏการณ์โลกร้อนแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547

พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

ต้ฝุ่นไห่เยี่ยน (ชื่อสากล: 1330, ชื่อของ JTWC: 31W, ชื่อของ PAGASA โยลันดา; Yolanda) ในฟิลิปปินส์รู้จักกันในชื่อ ไต้ฝุ่นโยลันดา เป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสองจากบันทึกของพายุไต้ฝุ่นที่พัดเข้าโจมตีฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3,976 คน เป็นพายุลูกที่ 30 ของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ที่ได้รับการตั้งชื่อ.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา

อร์ริเคนแคทรีนา (Hurricane Katrina) คือพายุเฮอร์ริเคนที่รุนแรง และสร้างความเสียหายที่สุด ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ถูกจัดความรุนแรงตาม มาตราเฮอร์ริเคนในประเภทที่ 5 (ตามมาตราของ Saffir-Simpson Hurricane Scale) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด และมีพายุเฮอร์ริเคนที่อยู่ในประเภทนี้มาก่อนเพียง 3 ลูกเท่านั้น ได้แก่เฮอร์ริเคนเลเบอร์เดย์ (Hurricane Labor Day, 1935) ในปี พ.ศ. 2478, เฮอร์ริเคนคามิลล์ (Hurricane Camille, 1969) ในปี พ.ศ. 2512 และเฮอร์ริเคนแอนดรูว์ (Hurricane Andrew) ในปี พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะถูกลดระดับความรุนแรงให้อยู่ในประเภทที่ 4 เฮอร์ริเคนดังกล่าวสร้างความเสียหายมหาศาลให้แก่ชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตอนใต้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมืองนิวออร์ลีนส์ในรัฐลุยเซียนา ซึ่งตามแถลงการณ์ของทางการสหรัฐฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 พายุดังกล่าวกินเนื้อที่ความเสียหายประมาณ 90,000 ตารางไมล์ (233,000 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งกว้างเกือบเท่าเกาะบริเตนใหญ่ทั้งเกาะ พายุดังกล่าวทำให้คนประมาณห้าล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งกว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และแผนบรรเทาภัยพิบัติหลายแผนได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่ที่ประสบภั.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา · ดูเพิ่มเติม »

การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก

การระบาดกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ของโรคไวรัสอีโบลา เริ่มในประเทศกินีในเดือนธันวาคม 2556 และยังมีการเสียชีวิตอย่างสำคัญเรื่อยมาเป็นเวลาสองปี จนกำลังมีการประกาศว่ายุติในเดือนมกราคม 2559 โรคระบาดกระจุกอยู่ในหลายประเทศแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ ประเทศไลบีเรีย กินีและเซียร์ราลีโอน โดยมีการระบาดขนาดเล็กที่อื่น โรคมีอัตราตายสำคัญ โดยอัตราป่วยตายที่รายงานถึง 70% และโดยเฉพาะ 57–59% ของผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล มีการอธิบายโรคไวรัสอีโบลาครั้งแรกในปี 2519 ในการระบาดพร้อมกันสองครั้งในเซาท์ซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แต่ครั้งนี้เป็นการระบาดของอีโบลาครั้งแรกในอนุทวีปแอฟริกาตะวันตก การระบาดเริ่มในกินีในเดือนธันวาคม 2556 แล้วลามไปไลบีเรียและเซียร์ราลีโอน เกิดการระบาดเล็กในประเทศไนจีเรียและมาลี และมีผู้ป่วยเดี่ยวในประเทศเซเนกัล สหราชอาณาจักรและซาร์ดีเนีย ผู้ป่วยจากนอกประเทศในสหรัฐอเมริกาและสเปนนำสู่การติดเชื้อทุติยภูมิของบุคลากรทางการแพทย์ แต่มิได้แพร่ไปอีก วันที่ 14 มกราคม 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) และรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรายงานผู้ป่วยต้องสงสัยรวม 28,638 คน และเสียชีวิต 11,315 คน แม้ WHO เชื่อว่าตัวเลขนี้ประเมินขนาดของการระบาดครั้งนี้ต่ำกว่าจริงมากพอควร WHO ยังเตือนว่าอาจเกิดการระบาดเล็กอีกในอนาคต และควรระมัดระวังต่อไป ครั้งนี้เป็นการระบาดของอีโบลาครั้งแรกที่แตะสัดส่วนโรคระบาด การระบาดครั้งก่อน ๆ สามารถควบคุมได้ในไม่กี่สัปดาห์ ความยากจนสุดขั้ว ระบบสาธารณสุขที่ทำหน้าที่บกพร่อง ข้าราชการที่ไม่ไว้วางใจหลังการขัดกันด้วยอาวุธนานหลายปี และความล่าช้าในการสนองตอบการระบาดเป็นเวลาหลายเดือนทั้งหมดล้วนส่งเสริมให้การควบคุมโรคระบาดล้มเหลว ปัจจัยอื่นมีขนบธรรมเนียมฝังศพของท้องถิ่นที่ชำระศพหลังเสียชีวิตและการแพร่ไปนครที่มีประชากรอยู่หนาแน่น เมื่อโรคระบาดแพร่กระจาย หลายโรงพยาบาลซึ่งขาดแคลนเจ้าหน้าที่และเวชภัณฑ์ ไม่สามารถแบกรับภาระไหวและปิด ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขบางคนแถลงว่า ความไร้สามารถรักษาความต้องการทางการแพทย์อื่นอาจทำให้ "ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็นไปได้ว่าอาจสูงกว่าโรคระบาดเอง" เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลซึ่งทำงานใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งที่ติดต่อทางสัมผัสของผู้เป็นโรค เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงเป็นพิเศษต่อการรับเชื้อ ในเดือนสิงหาคม 2557 WHO รายงานว่า ร้อยละ 10 ของผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเดือนกันยายน 2557 มีการประมาณว่า ขีดความสามารถของประเทศสำหรับการรักษาผู้ป่วยอีโบลานั้นขาดเทียบเท่า 2,122 เตียง ในเดือนธันวาคม มีจำนวนเตียงเพียงพอรักษาและแยกผู้ป่วยอีโบลาที่มีรายงานทั้งหมด แม้การกระจายของผู้ป่วยที่ไม่สม่ำเสมอส่งผลให้มีการขาดแคลนอย่างรุนแรงในบางพื้นที่ วันที่ 28 มกราคม 2558 WHO รายงานว่า เป็นครั้งแรกนับแต่สัปดาห์ที่ 29 มิถุนายน 2557 ซึ่งมีรายงานผู้ป่วยยืนยันใหม่น้อยกว่า 100 คนในสามประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากนั้นการสนองตอบโรคระบาดเคลื่อนไประยะที่สอง เมื่อความสนใจเปลี่ยนจากการชะลอการแพร่เชื้อเป็นการหยุดโรคระบาด วันที่ 8 เมษายน 2558 WHO รายงานว่ามีผู้ป่วยยืนยันรวมเพียง 30 คน และการปรับรายสัปดาห์ของวันที่ 29 กรกฎาคมรายงานผู้ป่วยเพียง 7 คน วันที่ 7 ตุลาคม 2558 ประเทศที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุดทั้งสามประเทศบันทึกว่าไม่มีผู้ป่วยใหม่ในสัปดาห์นั้นเป็นครั้งแรก ทว่า เมื่อปลายปี 2558 แม้การระบาดขนาดใหญ่จะยุติลงแล้ว แต่ยังมีผู้ป่วยใหม่เกิดห่าง ๆ เกิดอยู่ ซึ่งขัดขวางความหวังที่จะสามารถประกาศว่าโรคระบาดสิ้นสุดลงแล้ว วันที่ 8 สิงหาคม 2557 องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่เป็นปัญหาระหว่างประเทศ WHO ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าลงมือปฏิบัติล่าช้าเพื่อจัดการกับโรคระบาดนี้ เดือนกันยายน 2557 แพทย์ไร้พรมแดน องค์การนอกภาครัฐซึ่งมีเจ้าหน้าที่มากที่สุดที่ทำงานในประเทศที่ได้รับผลกระทบ วิจารณ์การสนองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน ประธานแพทย์ไร้พรมแดนกล่าวถึงการขาดความช่วยเหลือจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ว่า "หกเดือนกับโรคระบาดอีโบลาที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ โลกกำลังพ่ายการต่อสู้เพื่อจำกัดมัน" ในถ้อยแถลงเมื่อวันที่ 26 กันยายน องค์การอนามัยโลกแถลงว่า "โรคระบาดอีโบลาซึ่งกำลังผลาญแอฟริกาตะวันตกบางส่วนเป็นภาวะฉุกเฉินสาธารณสุขเฉียบพลันที่รุนแรงที่สุดที่พบในสมัยใหม่" และผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก มาร์กาเรต ชาน เรียกโรคระบาดนี้ว่า "ใหญ่สุด ซับซ้อนที่สุด และรุนแรงที่สุดเท่าที่เราเคยเห็น" ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มพัฒนาสหประชาชาติรายงานว่า เนื่องจากการลดการค้า การปิดพรมแดน การยกเลิกเที่ยวบินและการลงทุนต่างชาติและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เกิดจากความเสื่อมเสีย โรคระบาดนี้ได้ส่งผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจใหญ่หลวงทั้งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในแอฟริกาตะวันตกและแม้แต่ในชาติแอฟริกาอื่นที่ไม่มีผู้ป่วยอีโบลา วันที่ 31 กรกฎาคม 2558 WHO ประกาศ "การพัฒนาที่มีความหวังอย่างยิ่ง" ในการแสวงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรคอีโบลา ขณะที่วัคซีนนี้แสดงประสิทธิพลัง 100% ในปัจเจกบุคคล แต่จำเป็นต้องมีหลักฐานที่สรุปได้มากกว่านี้ถึงขีดความสามารถในการป้องกันประชากรผ่านภูมิคุ้มกันหมู่ก่อน ในเดือนสิงหาคม 2558 หลังมีความคืบหน้าพอควรในการลดขนาดของโรคระบาด WHO จัดการประชุมเพื่อดำเนิน "แผนการดูแลครอบคลุมสำหรับผู้รอดชีวิตอีโบลา" และระบุการวิจัยที่ต้องการทำให้การดูแลเชิงคลินิกและความเป็นอยู่ดีทางสังคมให้เหมาะที่สุด ปัญหาพิเศษ คือ การวิจัยล่าสุดที่แสดงว่าผู้รอดชีวิตจากอีโบลาบางคนประสบสิ่งที่เรียก กลุ่มอาการหลังอีโบลา ซึ่งมีอาการรุนแรงจนผู้นั้นอาจต้องดูแลรรักษาทางการแพทย์เป็นเวลาหลายเดือนถึงหลายปี เมื่อโรคระบาดใกล้สิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2558 สหประชาชาติประกาศว่า มีเด็กกำพร้า 22,000 คนจากการเสียบิดาหรือมารดาหรือทั้งสองเนื่องจากอีโบล.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคินพาร์ก

ลิงคินพาร์ก เป็นวงดนตรีร็อกชาวอเมริกันจากอะกูราฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและลิงคินพาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การไม่แสวงหาผลกำไร

องค์การไม่แสวงหาผลกำไร (nonprofit organisation หรือย่อว่า NPO) เป็นชื่อเรียกองค์การที่มีจุดมุ่งหมายสนับสนุนกลุ่มที่มีความคิดเห็นพ้องกัน โดยเนื้อหาจะแตกต่างตั้งแต่ ศิลปะ การกุศล การศึกษา การเมือง ศาสนา งานวิจัย และจุดมุ่งหมายในด้านอื่น ๆ โดยการทำงานทั้งหมดไม่มีจุดประสงค์ในเชิงพาณิชย์ ไม่หาผลประโยชน์เข้าสู่องค์การ แต่มีรายได้จากค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงจากสมาชิก หรือเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้มาจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา หมวดหมู่:อภิธานศัพท์โทรทัศน์.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและองค์การไม่แสวงหาผลกำไร · ดูเพิ่มเติม »

ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554

ทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริก..

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและทุพภิกขภัยในจะงอยแอฟริกา พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเฮติ

ติ (Haiti; Haïti; ครีโอลเฮติ: Ajiti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเฮติ (Republic of Haiti; République d'Haïti; ครีโอลเฮติ: Repiblik Ayiti) เป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศแคริบเบียน ซึ่งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะฮิสปันโยลาในทะเลแคริบเบียน โดยมีเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียงด้วย คือ ลากอนาฟว์, ลาตอร์ตูว์, เลแกมิต, อีลาวัช, ลากร็องด์แก และนาวัส (ซึ่งมีข้อพิพาทกับสหรัฐอเมริกา) โดยประเทศเฮติมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐโดมินิกัน มีพื้นที่ 27,750 ตารางกิโลเมตร (10,714 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงคือปอร์โตแปรงซ์ อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งนี้ประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2347 ใช้ชื่อประเทศว่าเฮติ ซึ่งมาจากชื่อเกาะในคำอาราวักเก่าว่า อายีตี (Ayiti) โดยถือว่าเป็นประเทศเอกราชแห่งที่ 2 ในทวีปอเมริกา (รองจากสหรัฐอเมริกา) และเป็นสาธารณรัฐเอกราชของคนผิวดำแห่งแรกของโลกอีกด้วย แต่ทั้ง ๆ ที่เก่าแก่และมีอายุยาวนาน เฮติกลับเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก.

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและประเทศเฮติ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547

แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดี..

ใหม่!!: มิวสิกฟอร์รีลีฟและแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »