โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

ดัชนี มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (Friedmann–Lemaître–Robertson–Walker; FLRW) คือผลลัพธ์จากการคำนวณสมการสนามในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ซึ่งอธิบายถึงการเชื่อมโยงแบบเรียบง่าย ความกลมกลืน และความสมมาตรในทุกทิศทางของเอกภพที่กำลังขยายตัวหรือกำลังหดตัว ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์สี่คนคือ อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน, จอร์จ เลอแมตร์, โฮวาร์ด เพอร์ซี โรเบิร์ตสัน และ อาเทอร์ เจฟฟรีย์ วอล์กเกอร์ ในบางครั้งก็มีการเรียกชื่อแบบสับเซ็ตต่างๆ เช่น ฟรีดแมน-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (FRW) หรือ โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (RW) หรือ ฟรีดแมน-เลอแมตร์ (FL) แบบจำลองนี้ในบางครั้งเรียกกันว่า แบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) ในการศึกษาจักรวาลวิทยาสมัยใหม.

6 ความสัมพันธ์: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมนฌอร์ฌ เลอแม็ทร์จักรวาลวิทยาทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเอกภพ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน

อเล็กซานเดอร์ อเล็กซานโดรวิช ฟรีดมาน (Alexander Alexandrovich Friedman; Александр Александрович Фридман) (16 มิถุนายน ค.ศ. 1888, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย – 16 กันยายน ค.ศ. 1925, เลนินกราด, สหภาพโซเวียตรัสเซีย) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักจักรวาลวิทยาชาวรัสเซียและสหภาพโซเวียต ผู้ค้นพบคำตอบของการขยายตัวของเอกภพจากสมการสนามของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปในปี ค.ศ. 1922 สอดคล้องกับการสังเกตการณ์ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1929 บทความวิชาการของฟรีดมานใน..

ใหม่!!: มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์และอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์

มงแซเญอร์ฌอร์ฌ อ็องรี โฌแซ็ฟ เอดัวร์ เลอแม็ทร์ (Monseigneur Georges Henri Joseph Édouard Lemaître; 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1894 - 20 มิถุนายน ค.ศ. 1966) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวเบลเยียม มีสมณศักดิ์เป็นเพรเลต และเป็นศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน บางครั้งเรียกโดยย่อด้วยชื่อตำแหน่งว่า "คุณพ่อ" (Abbé) หรือ "พระคุณเจ้า" (Monseigneur) เลอแม็ทร์ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของจักรวาล ซึ่งต่อมากลายมาเป็นทฤษฎีบิกแบง เขาเรียกทฤษฎีของเขาว่า "สมมุติฐานว่าด้วยอะตอมแรกเริ่ม".

ใหม่!!: มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์และฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์และจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

การทดสอบสัมพัทธภาพทั่วไปความเที่ยงสูงโดยยานอวกาศแคสซินี สัญญาณวิทยุที่ส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกหน่วงโดยการบิดของปริภูมิ-เวลา (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ สัมพัทธภาพทั่วไปหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity หรือ general theory of relativity) เป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบเรขาคณิตซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จัดพิมพ์ใน..

ใหม่!!: มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพ

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ที่ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน เอกภพ หรือ จักรวาล โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นผลรวมของการดำรงอยู่ รวมทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร สิ่งที่บรรจุอยู่ในอวกาศระหว่างดาราจักร และสสารและพลังงานทั้งหมด การสังเกตเอกภพทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9,999 ล้านปีแสง นำไปสู่อนุมานขั้นแรกเริ่มของเอกภพ การสังเกตเหล่านี้แนะว่า เอกภพถูกควบคุมด้วยกฎทางฟิสิกส์และค่าคงที่เดียวกันตลอดขนาดและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ทฤษฎีบิกแบงเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยาทั่วไปซึ่งอธิบายพัฒนาการแรกเริ่มของเอกภพ ซึ่งในจักรวาลวิทยากายภาพเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 13,700 ล้านปีก่อน มีนักฟิสิกส์มากมายเชื่อสมมุติฐานเกี่ยวกับพหุภพ ซึ่งกล่าวไว้ว่าเอกภพอาจเป็นหนึ่งในภพจำนวนมากที่มีอยู่เช่นกัน ระยะทางไกลสุดที่เป็นไปได้ทางทฤษฎีแก่มนุษย์ที่จะมองเห็นอธิบายว่าเป็น เอกภพที่สังเกตได้ การสังเกตได้แสดงว่า เอกภพดูจะขยายตัวในอัตราเร่ง และมีหลายแบบจำลองเกิดขึ้นเพื่อพยากรณ์ชะตาสุดท้ายของเอกภพ แผนภาพตำแหน่งของโลกในสถามที่ต่างๆของเอก.

ใหม่!!: มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์และเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มาตรวัด FLRW

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »