เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน

ดัชนี มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's lymphoma) หรือ โรคฮอดจ์กิน (Hodgkin's disease) เป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดหนึ่งที่ได้รับการอธิบายโดย Thomas Hodgkin ในปี พ.ศ.

สารบัญ

  1. 15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2375พยาธิวิทยาการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองม้ามรังสีเอกซ์คันตับต่อมน้ำเหลืองแอลกอฮอล์โรคติดเชื้อไข้เอดส์เซลล์ทีเฮลเปอร์B symptoms

พ.ศ. 2375

ทธศักราช 2375 ตรงกับคริสต์ศักราช 1832 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและพ.ศ. 2375

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและพยาธิวิทยา

การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์

รื่องตรวจ CT Scan แบบ 2 ชั้น ภาพจากการตรวจด้วยเครื่อง CT Scan การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ (X-ray computed tomography) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ภาพรังสีเอกซ์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อสร้างภาพตัดขวาง (เหมือนกับว่า'ถูกหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ') เฉพาะจุดของวัตถุที่ทำการสแกน, ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นภายในโดยไม่ต้องผ่าตั.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกติคือป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและโรคบางชนิด ทำให้ลิมโฟซัยต์ทำหน้าที่ผิดปกติไป ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติอาจแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติหรืออาจมีอายุยืนกว่าปกติ ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติเหล่านี้อาจอยู่เป็นก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก ในเลือด หรือในอวัยวะอื่นได้.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ม้าม

ำลองภายในม้าม (Gray's Anatomy) ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตั.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและม้าม

รังสีเอกซ์

รังสีเอกซ์มือของอัลแบร์ต ฟอน คืลลิเคอร์ ถ่ายโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง 10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์) ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์สำหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค และงานผลึกศาสตร์ (crystallography) รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสีแบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและรังสีเอกซ์

คัน

ัน อาจหมายถึง.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและคัน

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและตับ

ต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลือง หรือ ปุ่มน้ำเหลือง.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและต่อมน้ำเหลือง

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและแอลกอฮอล์

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและโรคติดเชื้อ

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและไข้

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและเอดส์

เซลล์ทีเฮลเปอร์

Antigen กระตุ้นให้ T cell เปลี่ยนเป็น "cytotoxic" CD8+ cell หรือ "helper" CD4+ cell เซลล์ทีเฮลเปอร์ เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์เหล่านี้มักไม่มีบทบาทในการทำลายเซลล์อื่นหรือจับกินสิ่งแปลกปลอม ไม่สามารถฆ่าเซลล์เจ้าบ้านที่ติดเชื้อหรือฆ่าจุลชีพก่อโรคได้ และถ้าไม่มีเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เซลล์ชนิดนี้อาจถูกมองว่าไม่มีประโยชน์ได้ เซลล์ทีเฮลเปอร์มีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ และถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนจำเป็นในการระบุการเปลี่ยนคลาสแอนติบอดีของเซลล์บี มีบทบาทในการกระตุ้นและการเจริญของเซลล์ทีไซโตท็อกซิก และมีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำลายแบคทีเรียของฟาโกไซต์อย่างแมโครฟาจได้ บทบาทต่อเซลล์อื่นๆ เหล่านี้เองที่ทำให้เซลล์ชนิดนี้ถูกเรียกว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ เชื่อกันว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ที่เจริญเต็มที่จะมีโปรตีนผิวหน้า CD4 แสดงออกอยู่เสมอ เซลล์ทีที่แสดงออกถึง CD4 จะถูกเรียกว่า เซลล์ที CD4+ มักถือกันว่าเซลล์ที CD4+ เป็นเซลล์ก่อนหน้าที่จะถูกกำหนดบทบาทเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ ถึงแม้จะมีข้อยกเว้นที่พบไม่บ่อยบางอย่างก็ตาม ตัวอย่างเช่น ยังมีชนิดย่อยอื่นๆ ของเซลล์ทีเรกูลาทอรี เซลล์ทีเอ็นเค และเซลล์ทีไซโตท็อกซิก ที่ปรากฏการแสดงออกของ CD4 ด้วยเช่นกัน เซลล์ที่กล่าวภายหลังเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ และจะไม่ถูกกล่าวถึงอีกในบทความนี้ ความสำคัญของเซลล์ทีเฮลเปอร์เห็นได้จากการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสนี้จะติดเชื้อเซลล์ที่แสดงออกถึง CD4 รวมถึงเซลล์ทีเฮลเปอร์ด้วย ในช่วงท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี จำนวนของเซลล์ที CD4+ จะลดต่ำลง นำไปสู่ระยะแสดงอาการของการติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อเอดส์ นอกจากนี้ยังมีโรคที่พบไม่บ่อยอีกบางชนิดที่ทำให้เซลล์ที CD4+ หายไปหรือทำงานไม่เป็นปกติ โรคเหล่านี้ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกัน และหลายโรคมีอันตรายถึงชีวิต หมวดหมู่:ลิมโฟไซต์ หมวดหมู่:วิทยาภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:เซลล์.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและเซลล์ทีเฮลเปอร์

B symptoms

B symptoms เป็นอาการแสดงที่สำคัญ ในโรคมะเร็ง Hodgkin's lymphoma ซึ่งประกอบด้วยอาการที่สำคัญ 3 อาการ ได้แก่ มีไข้ น้ำหนักลด และ เหงื่อออกตอนกลางคืน หมวดหมู่:มะเร็ง หมวดหมู่:อาการ หมวดหมู่:มะเร็งต่อมน้ำเหลือง.

ดู มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินและB symptoms

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Hodgkin's lymphomaโรคฮอดจ์กิน