โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พยาธิวิทยา

ดัชนี พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

8 ความสัมพันธ์: พยาธิกายวิภาคพยาธิวิทยาคลินิกการชันสูตรพลิกศพอวัยวะปรสิตวิทยาโรคเซลล์ (ชีววิทยา)เนื้อเยื่อ

พยาธิกายวิภาค

วิทยากายวิภาค (Anatomical Pathology) เป็นวิชาว่าด้วยการเรียนรู้ร่างกายของมนุษย์โดยละเอียด เพื่อใช้วิเคราะห์สาเหตุแห่งความตายว่าเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บทั่วไป อาวุธประเภทใด ภาวะความผิดปกติของร่างกายหรือบาดแผลตามร่างกายอาจใช้บ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังความตาย สิ่งที่ทำให้เกิดความตาย เช่น ตายก่อนจมน้ำ หรือ จมน้ำตาย โดนวางยาหรือฆ่าตัวตายเอง เป็นต้น ลักษณะทางกายภาพของศพจะช่วยบอกเริ่มต้นว่าเป็นการตายธรรมดาหรือฆาตกรรม อันนำไปสู่การพิสูจน์ค้นหาผู้กระทำความผิดและนำไปลงโทษโดยตำรวจ นักนิติพยาธิวิทยากายวิภาค (FORENSIC PATHOLOGY) จึงต้องมีความเชี่ยวชาญด้านกายภาพ พยาธิสภาพ ลักษณะโรคและบาดแผลที่ทำให้เกิดบาดเจ็บหรือตาย เพราะความเห็นของพวกเขาจะเป็นประโยชน์ต่อตำรวจในการแยกแยะคดีอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่มักจะเป็นพยาธิแพทย์ด้านนิติเวชศาสตร์ซึ่งกฎหมายกำหนดหน้าที่ในการให้ความเห็นสาเหตุและพฤติการณ์ของการตายของเหยื่อไว้ ปัจจุบันแพทย์ด้านนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการระบุสาเหตุและพฤติการณ์การตาย จากนั้นจึงนำไปสู่การพิสูจน์ยืนยันความเห็นนั้นด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สาขาอื่นได้ นอกจากนั้นศาสตร์ด้านพยาธิวิทยากายวิภาคยังเน้นความรู้ด้านการบ่งชี้ความปกติหรือไม่ปกติของศพ เพศ เนื่องจากบางครั้งศพอาจอยู่ในสภาพเน่าเปื่อย มีแค่โครงกระดูก ยากจะบอกเบื้องต้นได้ว่าคนตายเป็นเพศใด อายุเท่าไร สาเหตุการตายจากโรค สารเคมี บาดแผลในหรือนอกร่างกาย นักพยาธิวิทยากายวิภาคจะเป็นผู้ชี้ชัดได้ว่า ศพเป็นเพศชายหรือหญิง ผ่านการผ่าตัดแปลงเพศหรือไม่ มีการเสริมแต่งส่วนใดในร่างกายที่มิใช่ธรรมชาติ โครงกระดูกบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือหญิง โดยอาจดูจากโหนกคิ้ว กระดูกเชิงกราน ก็ได้ ล้วนเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้พนักงานสอบสวนนำไปใช้สืบหาสาเหตุการตายและพยานหลักฐานต่อไปเพื่อนำผู้กระทำความผิดไปลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม.

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและพยาธิกายวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิวิทยาคลินิก

วิทยาคลินิก หรือเวชศาสตร์ชันสูตร (Clinical pathology or Laboratory Medicine) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคโดยอาศัยการวิเคระห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากสิ่งส่งตรวจเช่นสารน้ำในร่างกาย เลือด หรือปัสสาวะ โดยอาศัยความรู้ทางเคมีคลินิก จุลชีววิทยาคลินิก โลหิตวิทยา และพยาธิวิทยาโมเลกุล (molecular pathology) ซึ่งแพทย์ด้านนี้จะทำงานร่วมกันกับนักเทคนิคการแพทย์ โลหิตวิทยา: สเมียร์เลือดบนสไลด์แก้ว ย้อมสีเพื่อศึกษาใต้กล้องจุลทรรศน์ โลหิตวิทยา: ภาพจุลทรรศน์ของสเมียร์เลือดปกติ แสดง a:เม็ดเลือดแดง, b:นิวโทรฟิล, c:อีโอสิโนฟิล, d:ลิมโฟไซต์. วิทยาแบคทีเรีย: โคโลนีแบคทีเรียเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อ วิทยาแบคทีเรีย: ภาพจุลทรรศน์ของเชื้อผสมของแบคทีเรีย 2 ชนิดย้อมด้วยสีย้อมแกรม เคมีคลินิก: เครื่องวิเคราะห์เคมีของเลือดอัตโนมัติ เคมีคลินิก: ภาพจุลทรรศน์ของผลึกในปัสสาวะ พยาธิวิทยาคลินิกเป็นหนึ่งในสองแขนงวิชาหลักของพยาธิวิทยา ซึ่งได้แก่พยาธิกายวิภาคและพยาธิวิทยาคลินิก พยาธิแพทย์อาจต้องศึกษาทั้งสองสาขาวิชาซึ่งเรียกว่า พยาธิวิทยาทั่วไป (general pathology) พยาธิวิทยาคลินิกแบ่งออกได้อีกเป็นสาขาวิชาย่อยหลักๆ ได้แก่ เคมีคลินิก (clinical chemistry), โลหิตวิทยาคลินิก (clinical hematology), เวชศาสตร์การบริการโลหิตหรือธนาคารเลือด และจุลชีววิทยาคลินิก.

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและพยาธิวิทยาคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

การชันสูตรพลิกศพ

การชันสูตรพลิกศพ (Autopsy) คือการตรวจพิสูจน์เพื่อดูสภาพศพแต่เพียงภายนอก ค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายว่าผู้ตายคือใคร ตายเมื่อใด ถ้าตายโดยคนทำร้าย สงสัยว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดที่ทำให้เกิดการตายตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 129 ความว่า "ให้ทำการสอบสวนรวมทั้งการชันสูตรพลิกศพในกรณีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำผิดอาญาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการชันสูตรพลิกศพ ถ้าการชันสูตรพลิกศพยังไม่เสร็จ ห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหายังศาล" ซึ่งตามกฎหมายมีความมุ่งหมายให้แพทย์และพนักงานสอบสวนดำเนินการตรวจสอบในสถานที่พบศพ ยกเว้นแต่ว่าการชันสูตรพลิกศพ เพื่อตรวจดูสภาพศพในสถานที่เกิดเหตุนั้น อาจเป็นเหตุทำให้การจราจรติดขัดมาก อาจกลายเป็นสถานที่อุดจาตาจากสภาพศพ หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนทั่วไป แพทย์และพนักงานสอบสวนย่อมมีสิทธิ์ที่จะสามารถเคลื่อนย้ายศพ เพื่อนำไปทำการชันสูตรพลิกศพยังสถานที่อื่นที่เหมาะสมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ความว่า "เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยการประหารชีวิตตามกฎหมาย"มาตรา 148 การชันสูตรพลิกศพ, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, ร..ต.อ หญิง นัยนา เกิดวิชัย, สำนักพิมพ์นิตินัย, 2550 อาจเห็นได้ว่าสภาพการจราจรในปัจจุบันก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านจราจรเป็นจำนวนมาก เกือบทุกรายที่ประสบอุบัติเหตุจะเสียชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุเพื่อไปทำการชันสูตรพลิกศพและตรวจสอบสาเหตุการตายในสถานที่อื่นเช่น สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งก็มักจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการผ่าศพนั่นเอง.

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและการชันสูตรพลิกศพ · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

ปรสิตวิทยา

ปรสิตวิทยา (Parasitology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรสิต ซึ่งมีรูปแบบการดำรงชีพโดยเป็นตัวเบียนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน พยาธิใบไม้ หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและปรสิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและโรค · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: พยาธิวิทยาและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pathologyพยาธิสภาพพยาธิแพทย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »