โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มะกล่ำตาหนู

ดัชนี มะกล่ำตาหนู

''Abrus precatorius'' มะกล่ำตาหนู มะกล่ำเครือ หรือ ก่ำเคือ (Jequirity) เป็นพืชไม้เถาในวงศ์ถั่ว เมล็ดมีพิษ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Gunja" ในภาษาสันสกฤต เป็นพื้นพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย เติบโตได้ดีในเขตร้อนและใกล้เขตร้อน ทำให้มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นวัชพืชต่างถิ่นที่รุกรานในพื้นที่ที่มะกล่ำตาหนูถูกนำเข้ามา มะกล่ำตาหนูยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำเครือ มะกล่ำแดง มะแค๊ก (เชียงใหม่) เกมกรอม (สุรินทร์) ชะเอมเทศ ตากล่ำ (กลาง) มะขามเถา ไม้ไฟ (ตรัง) หมากกล่ำตาแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ).

16 ความสัมพันธ์: ชีวสังเคราะห์โปรตีนพืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงคู่ภาษาสันสกฤตภาษาทมิฬวงศ์ย่อยถั่ววงศ์ถั่วหลอดลมอักเสบอันดับถั่วคาโรลัส ลินเนียสประเทศอินโดนีเซียโปรตีนไรซินไรโบโซมเยื่อหุ้มเซลล์

ชีวสังเคราะห์โปรตีน

tRNA โปรตีนที่สังเคราะห์ใหม่ (''สีดำ'') จะถูกปรับแต่งต่อไป เช่น การเชื่อมต่อกับโมเลกุลเอฟเฟคเตอร์ (''สีส้ม'') กลายเป็นโมเลกุลที่แอกตีฟเต็มที่ต่อไป การสังเคราะห์ (Protein biosynthesis (Synthesis)) เป็นกระบวนการสร้างโปรตีนที่เกิดขึ้นใน เซลล์ กระบวนการสร้างโปรตีนมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ ทรานสคริปชั่นและจบที่ ทรานสเลชั่น การสังเคราะห์โปรตีนโดยทั่วไปถึงแม้จะเหมือนกันแต่ก็มีความแตกต่างกันในระหว่าง โปรแคริโอต และ ยูแคริโอต.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและชีวสังเคราะห์โปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและพืชใบเลี้ยงคู่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬ (தமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยถั่ว

วงศ์ย่อยถั่วหรือวงศ์ย่อยประดู่ หรือ Faboideaeเป็นวงศ์ย่อยของพืชมีดอกในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae บางครั้งเรียก Papilionoideae Faboideae เป็นได้ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม หรือไม้ล้มลุก ตัวอย่างสมาชิกได้แก่ ถั่วลันเตา ประดู่ พืชในวงศ์ย่อยนี้จะเกิดปมราก ดอกจะมีลักษณะเฉพาะที่เรียกดอกทรงดอกถั่ว.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและวงศ์ย่อยถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ถั่ว

ืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae เป็นพืชกลุ่มใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากพืชวงศ์ทานตะวัน (Compositae) และพืชวงศ์กล้วยไม้ มีสมาชิกประมาณ 550 สกุล 18,000 สปีชีส์ พบกระจายไปทั่วโลก.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและวงศ์ถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

หลอดลมอักเสบ

หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) เป็นการอักเสบที่หลอดลมของปอด ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล, จาม, หายใจลำบาก และเจ็บทรวงอก หลอดลมอักเสบสามารถจำแนกออกเป็นสองประเภทคือ: แบบเฉียบพลัน และ แบบเรื้อรัง หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันมักมีอาการไอเป็นระยะเวลาราวสามสัปดาห์ ซึ่งในผู้ป่วย 90% มักจะมีอาการอักเสบจากเชื้อไวรัสตามมา และไวรัสเหล่านี้สามารถแพร่กระจายผ่านอากาศเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม ซึ่งอาจทำให้ผู้คนรอบข้างติดเชื้อไปด้วย อีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันก็คือการสูบยา, ฝุ่น และ มลพิษทางอากาศ ทั้งนี้พบว่ามีผู้ป่วยบางส่วนซึ่งเป็นส่วนน้อย ได้รับแบคทีเรียจากการสูดมลพิษทางอากาศเข้าไปในปริมาณมาก วิธีรักษาหลอดลมอักเสบแบบเฉียบพลันได้แก่การพักผ่อน, รับประทานพาราเซตามอล และ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ จะช่วยบรรเทาลงได้ หลอดลมอักเสบแบบเรื้อรังมักจะปรากฏอาการไอมีเสมหะเป็นระยะเวลาตั้งแต่สามสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี หรืออย่างน้อยสองปี และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ร่วมด้วย การสูบยาเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของกรณีนี้ ในขณะที่มลพิษทางอากาศและพันธุกรรมเป็นสาเหตุส่วนน้อย วิธีรักษาคือการเลิกยาสูบ, การใช้วัคซีน, และทำการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด นอกจากนี้ยังต้องทานยาขยายหลอดลมและคอร์ติโคสตีรอยด์เป็นประจำ ในผู้ป่วยบางคนอาจทำการบำบัดด้วยออกซิเจนระยะยาวร่วมด้วย หลอดลมอักเสบเป็นหนึ่งในโรคสามัญที่พบได้เป็นส่วนมาก ในหนึ่งปีจะมีผู้ใหญ่ราว 5% และเด็กราว 6% ที่เป็นโรคนี้ ในปี 2010 มีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกราว 329 ล้านคน หรือคิดเป็น 5% ของประชากรโลก และในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ราว 2.7-2.9 ล้านคน.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและหลอดลมอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับถั่ว

''Desmodium gangeticum'' อันดับถั่วหรือ Fabales Bromhead เป็นอันดับของพืชมีดอกในกลุ่มโรสิด พืชใบเลี้ยงคู่แท้ ตามระบบ APG II ประกอบไปด้วยวงศ์ Fabaceae (มี 3 วงศ์ย่อยคือCaesalpinioideae Mimosoideae and Faboideae) Quillajaceae Polygalaceae (รวมวงศ์ Diclidantheraceae Moutabeaceae และ Xanthophyllaceae) และ Surianaceae.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและอันดับถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไรซิน

มล็ดละหุ่ง ไรซิน (Ricin) เป็นสารพิษประเภทโปรตีน สกัดได้จากเมล็ดละหุ่ง ปริมาณเฉลี่ยที่เป็นอันตรายถึงตายต่อร่างกายมนุษย์อยู่ที่ 0.2 มิลลิกรัม จัดว่ามีพิษรุนแรงเป็นสองเท่าของพิษงูเห่า หนังสือ Guinness World Records ปี 2007 (พ.ศ. 2550) ได้จัดอันดับให้ไรซินเป็นสารพิษจากพืชที่มีความรุนแรงมากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและไรซิน · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบโซม

หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นเล็ก 30s หน่วยย่อยของไรโบโซมชิ้นใหญ่50s ไรโบโซม (Ribosome มาจาก ribonucleic acid และคำใน"ภาษากรีก: soma (หมายถึงร่างกาย)") เป็นออร์แกแนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มเซลล์ มีขนาดเล็กที่สุดและมีมากสุดประกอบด้วยโปรตีน และ rRNA มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 20 nm (200 อังสตรอม) และประกอบด้วย ribosomal RNA 65% และ ไรโบโซมอล โปรตีน35% (หรือ ไรโบนิวคลีโอโปรตีน หรือ RNP)เป็นสารเชิงซ้อนของ RNA และ โปรตีน ที่พบใน เซลล์ทุกชนิด ไรโบโซมจาก แบคทีเรีย, อาร์เคีย และ ยูคาริโอตมีโครงสร้างและ RNA ที่แตกต่างกัน ไรโบโซมในไมโตคอนเดรียของเซลล์ยูคาริโอตมีลักษณะคล้ายกับไรโบโซมของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการบอกถึงวิวัฒนาการของออร์แกแนลล์ชนิดนี้ ในแบคทีเรียมี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 30S และ 50S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 70S ส่วนในยูคาริโอต มี 2 หน่วยย่อย คือ ขนาด 40S และ 60S ซึ่งจะรวมกันเป็นไรโบโซมขนาด 80S หน้าที่คือเป็นแหล่งที่เกิดการอ่านรหัสจากยีนในนิวเคลียส ซึ่งถูกส่งออกจากนิวเคลียสในรูป mRNA มาสร้างเป็นโปรตีน การทำงานของไรโบโซมในการแสดงออกของยีนไปสู่การสร้างโปรตีนเรียกทรานสเลชัน ไรโบโซมยังทำหน้าที่ในการต่อกรดอะมิโนเดี่ยวให้เป็นพอลิเพปไทด์ โดยต้องมีการจับกับ mRNA และอ่านข้อมูลจาก mRNA เพื่อกำหนดลำดับของกรดอะมิโนให้ถูกต้อง การนำโมเลกุลของกรดอะมิโนเข้ามาเป็นการทำงานของ tRNA ซึ่งจับอยู่กับโมเลกุลของกรดอะมิโนอยู่ก่อนแล้ว.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและไรโบโซม · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: มะกล่ำตาหนูและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Abrus precatoriusกํ่าเคือมะกลํ่าเครือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »