โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

ดัชนี อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์

อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale de Saint-Flour) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งแซ็ง-ฟลูร์ (Cathédrale Saint-Pierre de Saint-Flour) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลมุขมณฑลแซ็ง-ฟลูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-ฟลูร์ จังหวัดก็องตาล ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งในอาสนวิหารทั้งหมดสี่แห่งของภูมิภาคโอแวร์ญ ตั้งอยู่กลางใจเมืองเก่าของแซ็ง-ฟลูร์ และเป็นอาสนวิหารที่สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมกอทิกสร้างเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 15 บนที่ตั้งของบาซิลิกาแบบโรมาเนสก์เดิม หินที่ใช้สร้างมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสิ่งก่อสร้างทางคริสต์ศาสนาในแถบนี้ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟมีสีดำสนิทอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอาสนวิหาร ต่อมาภายหลังอาสนวิหารได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรมลงมากในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศส อาสนวิหารแห่งนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

55 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดพ.ศ. 1638พ.ศ. 1860พ.ศ. 1941พ.ศ. 2009พ.ศ. 2394พ.ศ. 2449พระเยซูการปฏิวัติฝรั่งเศสกางเขนมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)มุขนายกยอห์นผู้ให้บัพติศมารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสศาลเจ้าสมัยกลางสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2สถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสหอคอยหินบะซอลต์หินอ่อนออร์แกนอาสนวิหารอธิการอารามอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสฌอร์ฌ ปงปีดูผังอาสนวิหารฌาน ดาร์กจังหวัดก็องตาลทวีปยุโรปทองแดงคริสต์ศตวรรษที่ 11คริสต์ศตวรรษที่ 15คริสต์ศตวรรษที่ 18คริสต์ศตวรรษที่ 4ความตกลง ค.ศ. 1801คาทีดรางานกระจกสีซุ้มชิโบเรียมซีโมนเปโตรประเทศฝรั่งเศสปีเอตะป้อมสนามนรกแม่พระฉวีดำแว็งซ็อง เดอ ปอลแท่นบูชาแดนชำระ...แคว้นโอแวร์ญแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์โบสถ์น้อยโรมันคาทอลิกเรลิก ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และบริเวณกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และบริเวณร้องเพลงสวด · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1638

ทธศักราช 1638 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และพ.ศ. 1638 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1860

ทธศักราช 1860 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และพ.ศ. 1860 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1941

ทธศักราช 1941 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และพ.ศ. 1941 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2009

ทธศักราช 2009 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และพ.ศ. 2009 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2394

ทธศักราช 2394 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1851 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และพ.ศ. 2394 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2449

ทธศักราช 2449 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1906 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และพ.ศ. 2449 · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

กางเขน

กางเขนแบบที่ง่ายที่สุดเรียกว่ากางเขนละติน หรือ “crux ordinaria” ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขนตามความเชื่อในคริสต์ศาสนา กางเขน (Cross) เป็นเครื่องหมายทรงเรขาคณิตที่ประกอบด้วยแกนสองแกนตัดเป็นมุมฉากกัน ตามปกติแล้วแกนจะเป็นแนวตั้งขวางกับแนวนอน แต่ถ้าตัดทแยงกันก็จะเรียกว่ากางเขนไขว้ หรือ กางเขนนักบุญอันดรูว์ กางเขนเป็นสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้โดยมนุษย์ และใช้เป็นสัญลักษณ์ศาสนาหลายศาสนาที่รวมทั้งคริสต์ศาสนา กางเขนบ่อยครั้งจะเป็นสัญลักษณ์ของธาตุหลักทั้ง 4 ของโลก (เชวาลิเย์, ค.ศ. 1997) หรืออีกความหมายหนึ่งคือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเทพที่เป็นแกนตั้งและโลกที่คือแกนนอน (คอค, ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหาร (basilica) คำว่า “basilica” มาจากภาษากรีก “Stoa Basileios” ที่เดิมใช้ในการบรรยายสิ่งก่อสร้างสาธารณะในโรมโบราณ (เช่นในกรีซที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการศาล) ที่มักจะตั้งอยู่ในจัตุรัส (Roman forum) ของเมืองโรมัน ในเมืองกรีกมหาวิหารสาธารณะเริ่มสร้างกันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนั้น “มหาวิหาร” ก็ยังมีความหมายทางศาสนา ซากมหาวิหารตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ก็มีการพบมหาวิหารนีโอไพธากอเรียนที่ปอร์ตามัจโจเร (Porta Maggiore) ในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์) · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในเรขาคณิตระนาบ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ รูปหลายเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้าน ด้านทุกด้านยาวเท่ากัน และมุมภายในทุกมุมมีขนาดเท่ากัน ทำให้มุมแต่ละมุมเป็นมุมฉาก รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสามารถจัดได้ว่าเป็น รูปสี่เหลี่ยมปรกติ, รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก, รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, รูปสี่เหลี่ยมรูปว่าว, รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และ รูปสี่เหลี่ยมคางหมูหน้าจั่ว เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวเท่ากันและตัดกันเป็นมุมฉากที่จุดกึ่งกลาง ถ้าเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีความยาวเท่ากัน แสดงว่ารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนั้นจะต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านละ a หน่วย เท่ากับ a×a.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส · ดูเพิ่มเติม »

ศาลเจ้า

ักการสถานของโฮเดเกเทรีย มหาวิหารอัสสัมชัญในกรุงสโมเลงสค์ ประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1912 หีบสามกษัตริย์ของมหาวิหารโคโลญในเยอรมนีที่บรรจุกระดูกของโหราจารย์ถือกันว่าเป็น “หีบสักการะ” ภาพเขียน “The Shrine” โดยจอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์ ค.ศ. 1895 ศาลเจ้า ชาวคาทอลิกเรียกว่าสักการสถาน ตรงภาษาอังกฤษว่า “Shrine” มาจากภาษาละติน “Scrinium” ที่แปลว่า “หีบสำหรับหนังสือหรือเอกสาร” และภาษาฝรั่งเศสเก่า “escrin” ที่แปลว่า “กล่องหรือหีบ” คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อุทิศให้แก่บุคคลสำคัญทางศาสนา บรรพบุรุษ วีรบุรุษ มรณสักขี นักบุญ หรือบุคคลที่มีความสำคัญหรือเป็นที่นับถือผู้เป็นที่สักการะ ในศาลมักจะประกอบด้วยรูปเคารพ วัตถุมงคล หรือสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นที่สักการะ ศาลที่สร้างขึ้นเพื่อรับสิ่งสักการะเรียกว่า “แท่นบูชา” ศาลเจ้าเป็นสิ่งที่พบในศาสนาแทบทุกศาสนาในโลกที่รวมทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ศาสนาพื้นบ้านจีน และศาสนาชินโต และการใช้ในทางที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเช่นรำลึกสถานเกี่ยวกับสงคราม ศาลเจ้ามีลักษณะต่างกันไปหลายอย่าง ปูชนียสถานบางแห่งก็ตั้งอยู่ภายในโบสถ์ วัด สุสาน หรือแม้แต่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือบางครั้งก็จะเป็นแบบที่เคลื่อนย้ายได้ เช่นในลักษณะของ “หีบวัตถุมงคล” ศาลเจ้าบางครั้งก็อาจจะกลายมาเป็นศูนย์กลางที่ประดิษฐานเทวรูปต่าง.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และศาลเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) มีพระนามเดิมว่าโอโด ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1088 ถึง 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1099 พระองค์เป็นที่รู้จักจากการประกาศสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และก่อตั้งสภาปกครองโรมันขึ้นมีในฝ่ายคริสตจักรให้มีลักษณะอย่างราชสำนัก ราวปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ของสมัยกอทิกตอนกลางราว ค.ศ. 1194 ถึง ค.ศ. 1260 สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1140 จนถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

หอคอย

ตเกียวสกายทรี เป็นหอคอยที่สูงที่สุดของโลก หอคอย (Tower) เป็นอาคารสูงที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สำหรับคอยระวังเหตุและสังเกตการณ์ หอคอยมักสร้างขึ้นในลักษณะทางสูงและสามารถยืนอยู่ด้วยโครงสร้างของตัวเอง.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และหอคอย · ดูเพิ่มเติม »

หินบะซอลต์

หินบะซอลต์ บะซอลต์ (basalt) เป็นหินอัคนีพุที่พบได้โดยทั่วไป มักพบมีสีเทาถึงสีดำ มีเนื้อละเอียดเนื่องจากเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนพื้นผิวโลก อาจพบมีเนื้อสองขนาดที่มีผลึกขนาดโตกว่าอยู่ในพื้นเนื้อละเอียด หรือมีเนื้อเป็นโพรงข่าย หรือมีเนื้อเป็นตะกรันภูเขาไฟ (สคอเรีย) เนื้อหินบะซอลต์สดๆจะมีสีดำหรือสีเทา ปรกติหินบะซอลต์จะถูกนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์ ในโลกของเรานี้หินหนืด (แมกมา) เป็นวัตถุต้นกำเนิดของหินบะซอลต์ เกิดจากการพองตัวของวัตถุหลอมในชั้นเนื้อโลก หินบะซอลต์ก็เกิดได้บนดวงจันทร์ของโลกเรา รวมถึงบนดาวอังคาร ดาวศุกร์ และแม้แต่ดาวเคราะห์น้อย 4 เวสต้า หินต้นกำเนิดเพื่อการกึ่งหลอมละลายอาจจะเป็นทั้งเพริโดไทต์และไพรอกซีไนต์ (เช่น Sobolev et al., 2007) เปลือกโลกส่วนของมหาสมุทรโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ที่เกิดจากการปะทุขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านล่างตรงบริเวณเทือกเขากลางสมุทร คำว่าบะซอลต์บางครั้งก็ถูกใช้เรียกหินอัคนีแทรกซอนในระดับตื้นๆที่มีองค์ประกอบเป็นแบบหินบะซอลต์ แต่หินที่มีองค์ประกอบดังกล่าวที่มีเนื้อหยาบโดยทั่วไปจะเรียกว่าโดเลอไรต์ (อาจเรียกเป็นไดอะเบสหรือแกบโบร) หินบะซอลต์ที่มีแนวแตกเสาเหลี่ยมที่ชีฟอีสเตอร์ในเยลโลสโตน หินบะซอลต์มีเนื้อเป็นโพรงข่ายที่ซันเซ็ตเครเตอร์ อะริโซนา สหรัฐอเมริกา ใช้เหรียญ 25 เซนต์เทียบเป็นมาตราส่วน.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และหินบะซอลต์ · ดูเพิ่มเติม »

หินอ่อน

หินอ่อนในธรรมชาติ หินอ่อนเกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ที่สะสมอยู่ในท้องทะเลหรือมหาสมุทรมาก่อน กระทั่งเกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในบริเวณดังกล่าว คือที่ๆ เคยเป็นทะเลหรือมหาสมุทรกลับกลายเป็นภูเขาขึ้นมา และที่ๆ เคยเป็นบกเป็นภูเขามากลับ กลายเป็นทะเล รวมถึงผ่านกระบวนการทางธรณี เช่น เกิดมีแมกมาไหลออกมา และพอดีหินที่สะสมไว้ในทะเลไปโดนกับแมกมาเข้า สำคัญคือแมกมานั้นเต็มไปด้วยความร้อน ความดัน และก๊าซ จึงทำให้แคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ละลาย แล้วตกผลึก เกิดเป็นหินอ่อนขึ้นมาได้ในที่สุด แต่ในกรณีที่เกิดการหลอมละลาย แล้วตกผลึกไม่หมดทีเดียว ก็จะเกิดหินปูนคล้ายหินอ่อน และจะพบพวกซากเปลือกหอยทะเลต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่รวมกับตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต หมวดหมู่:หิน.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกน

ออร์แกน (Organ, กรีก: ὄργανον ออร์กานอน) เป็นเครื่องดนตรีสากล ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์ หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว หมวดหมู่:เครื่องลม หมวดหมู่:ออร์แกน.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และออร์แกน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อธิการอาราม

อธิการอาราม (abbot) เป็นสมณศักดิ์สำหรับนักพรตที่เป็นอธิการของอาราม พบในหลายศาสนารวมทั้งศาสนาคริสต์ ถ้าเป็นนักพรตหญิงเรียกว่าอธิการิณีอาราม ส่วนอธิการอารามในศาสนาพุทธเรียกว่า "เจ้าอาวาส" หรือ "สมภาร" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า abbot ซึ่งมาจากภาษาแอราเมอิก ܐܒܐ/אבא (อับบา) แปลว่า คุณพ่อ.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และอธิการอาราม · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

ตรา "อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส" อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส หรือ มอนูว์ม็องอิสตอริก (Monument historique) คือกระบวนการของรัฐในประเทศฝรั่งเศสในการจัดเครือข่ายสิ่งที่ควรได้รับการพิทักษ์ในฐานะที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง, กลุ่มสิ่งก่อสร้าง, หรืออาจจะเป็นประชาคมทั้งประชาคม, สวน, สะพาน หรือ โครงสร้างอื่นๆ เพราะความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรม สิ่งที่ได้รับฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" อาจจะเป็นได้ทั้งสิ่งที่เป็นของรัฐหรือเอกชนก็ได้ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่มีฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" ก็รวมทั้งหอไอเฟล, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย และแอบบี หรือ คริสต์ศาสนสถาน ที่รวมทั้งมหาวิหารเช่นมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส หรือพระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์ เช่น ปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ หลายแห่ง สิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเฉพาะภายนอก หรือ เฉพาะภายใน หรือทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่สิ่งก่อสร้างบางหลังอาจจะได้รับฐานะเฉพาะการตกแต่ง, "อร์นิเจอร์, ห้องเพียงห้องเดียว หรือ แม้แต่เพียงบันได ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับฐานะเพราะการตกแต่งก็ได้แก่ "Deux Garcons" ในแอ็กซ็องพรอว็องส์ที่ผู้อุปถัมภ์รวมทั้งอาลฟงส์ เดอ ลามาร์ตีน, เอมีล ซอลา และปอล เซซาน หรือสิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเพราะความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญ เช่น ตึก Auberge Ravoux ที่โอแวร์ซูว์รวซ เพราะเป็นสถานที่จิตรกรฟินเซนต์ ฟัน โคคใช้เวลาส่วนใหญ่ในบั้นปลายที่นั่น การระบุความสำคัญของสิ่งก่อสร้างมีรากฐานมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อรัฐบาลแต่งตั้งให้อเล็กซองเดรอ เลอนัวร์มีความรับผิดชอบในการระบุและพิทักษ์โครงสร้างที่มีความสำคัญ การจัดแบ่งประเภทจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนพรอสแพร์ เมอริมี ผู้เป็นผู้ตรวจการทั่วไปของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ ปงปีดู

จอร์จ จ็อง แรมง ปงปีดู (Georges Jean Raymond Pompidou, 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 2 เมษายน พ.ศ. 2517) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรี หมวดหมู่:ประธานาธิบดีฝรั่งเศส.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และฌอร์ฌ ปงปีดู · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน ดาร์ก

น ดาร์ก (IPA) หรือโจนออฟอาร์ก (ราว 6 มกราคม ค.ศ. 1412 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญโยนออฟอาร์ค เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนาที่เกิดทางตะวันออกของฝรั่งเศสและเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมื่ออายุ 19 ปี ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลแรก ศาลสรุปว่าฌานเป็นผู้บริสุทธิ์ และทางวาติกันประกาศให้ฌานเป็น “มรณสักขี”w:fr:Jeanne d'ArcAndrew Ward (2005) ในปี..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และฌาน ดาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดก็องตาล

ก็องตาล (Cantal; Cantal, Cantau, Chantal, Chantau) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ในประเทศฝรั่งเศส ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตอนใต้ตอนกลางของฝรั่งเศสโดยมีโอรียักเป็นเมืองหลัก จังหวัดก็องตาลตั้งตามชื่อภูเขาไฟที่ดับแล้วที่ครอบคลุมบริเวณนั้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และจังหวัดก็องตาล · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 11

ริสต์ศตวรรษที่ 11 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1001 ถึง ค.ศ. 1100.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และคริสต์ศตวรรษที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 15

ริสต์ศตวรรษที่ 15 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1401 ถึง ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และคริสต์ศตวรรษที่ 15 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 18

ริสต์ศตวรรษที่ 18 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และคริสต์ศตวรรษที่ 18 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 4

ริสต์ศตวรรษที่ 4 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 301 ถึง ค.ศ. 400.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และคริสต์ศตวรรษที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ความตกลง ค.ศ. 1801

วามตกลง..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และความตกลง ค.ศ. 1801 · ดูเพิ่มเติม »

คาทีดรา

ทีดราที่มหาวิหารโวลเทอร์ราในอิตาลี คาทีดราของพระสันตะปาปาในมุขโค้งด้านสกัดของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันซึ่งเป็นมหาวิหารของกรุงโรม คาทีดรา (cathedra) หรือ อาสนะบิชอป (bishop's throne) เป็นเก้าอี้ของบิชอป เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจในการเทศนาของบิชอปในคริสตจักรคาทอลิก คริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และกลุ่มอังกลิคัน คริสต์ศาสนสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของอาสนะบิชอปจึงเรียกว่า อาสนวิหาร (cathedral) คำว่า "cathedra" ปรากฏในวรรณกรรมคริสเตียนยุคแรกในวลี "cathedrae apostolorum" ซึ่งบ่งบอกถึงอำนาจที่รับมาโดยตรงจากอัครทูต.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และคาทีดรา · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ซุ้มชิโบเรียม

ซุ้มชิโบเรียม (Ciborium) เป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่เป็นซุ้มรองรับด้วยเสาสี่เสาที่ตั้งอยู่เหนือแท่นบูชาภายในบาซิลิกาหรือมหาวิหารหรือคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ซุ้มชิโบเรียมอาจจะเรียกอย่างไม่ถูกต้องนักว่าเบญจา ซุ้มชิโบเรียมที่มีชื่อเสียงที่สุดคือซุ้มเซนต์ปีเตอร์ ที่สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ทรงจ้างให้จานโลเรนโซ แบร์นินีให้ออกแบบโครงสร้างสำหรับตั้งเหนือที่ฝังศพนักบุญปีเตอร์ระหว่างการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ใหม่ในกรุงโรม แบร์นินีออกแบบซุ้มที่ประกอบด้วยเสาโซโลมอน (solomonic column) สี่เสาขนาดยักษ์รอบแท่นบูชาพร้อมด้วยหลังคา เสาโซโลมอนเดิมอุทิศให้แก่มหาวิหารโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ตามธรรมเนียมแล้วเชื่อกันว่าเป็นเสาที่มาจากวัดแห่งเยรุซาเล็ม แต่อันที่จริงแล้วเสาที่ว่าอาจจะมาจากวัดในไบแซนเทียม ส่วนล่างที่สุดของเสาของแบร์นินีเป็นร่องเกลียว ตอนกลางและตอนบนตกแต่งด้วยช่อมะกอกและใบเบย์ที่เต็มไปด้วยผึ้งและยุวเทพเล็กๆ ที่ฐานของเสาทุกเสามีตราอาร์มของสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 และของตระกูลบาร์แบรินิที่มีสัญลักษณ์เป็นผึ้ง การออกแบบทำให้สร้างความรู้สึกว่าเกลียวม้วนตัวกันขึ้นไปทางตอนบนของซุ้ม.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และซุ้มชิโบเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปีเอตะ

ปีเอตะ" โดย มีเกลันเจโล ปีเอตะโดยลุยส์ จิเมเนซ ปีเอตะ (Pietà; pietas) มาจากภาษาอิตาลี ที่แปลว่า ความสงสาร คือหัวเรื่องของศิลปะในศาสนาคริสต์ที่เป็นรูปพระแม่มารีย์ประคองร่างพระเยซูที่เพิ่งอัญเชิญลงจากกางเขน ส่วนใหญ่จะพบในงานประติมากรรม Pietà เป็นหัวเรื่องหนึ่งในชุด “แม่พระระทมทุกข์” (Our Lady of Sorrows) และเป็นฉากหนึ่งใน “พระทรมานของพระเยซู” ซึ่งเป็นฉากที่มีพระแม่มารีย์ นางมารีย์ชาวมักดาลา และบุคคลอื่นล้อมพระศพพระเยซู (หลังจากที่อัญเชิญลงจากกางเขน) ด้วยความความโศกเศร้า ฉากนี้ตามความเป็นจริงแล้วควรจะเรียกว่า “Lamentation” แต่บางที่ก็จะใช้คำว่า “Pietà” แทน คำว่า “pietas” สืบมาจากประเพณีของชาวโรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการตึอกชกหัวและ "แสดงอารมณ...ความรักอันใหญ่หลวงและความกลัวอำนาจของเทพเจ้าโรมัน" ปีเอตะเริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปีเอตะแบบเยอรมันและโปแลนด์จะเน้นรอยแผลของพระเยซู.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และปีเอตะ · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมสนาม

กำแพงเมืองจีน ที่มีหอสังเกตการณ์ประเป็นระยะๆ เป็น “ระบบป้อมปราการ” ชนิดหนึ่ง ป้อมสนาม (Fortification) คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่น การสร้างระบบป้อมปราการเป็นการก่อสร้างที่เริ่มทำกันมาเป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบที่เริ่มตั้งแต่เพียงโครงสร้างง่ายๆ มาจนเป็นระบบที่สลับซับซ้อน เช่นในการสร้างป้อมดาวในยุคกลาง ในภาษาอังกฤษ “Fortification” แผลงมาจากภาษาลาติน “Fortis” ที่แปลว่า “แข็งแรง” และคำว่า “Facere” ที่แปลว่า “สร้าง”.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และป้อมสนาม · ดูเพิ่มเติม »

นรก

แสดงนรก วาดโดย Herrad von Landsberg นรก (สันสกฤต: นรก; บาลี: นิรย; อาหรับ: นารฺ, ญะฮีม, ญะฮันนัม, สะก็อร; อังกฤษ hell) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม, คริสต์, พุทธและยูดาห์ อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และนรก · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระฉวีดำ

“แม่พระฉวีดำแห่งเชสโตโชวา” ในโปแลนด์ มหาวิหารซันตาเอวลาเลียที่บาร์เซโลนาในประเทศสเปน แม่พระฉวีดำ (Black Madonna) หรือพระนางพรหมจารีฉวีดำ (Black Virgin) เป็นประติมากรรมหรือจิตรกรรมของพระแม่มารีย์ที่มีพระฉวีเป็นสีคล้ำหรือดำ โดยเฉพาะที่ทำในยุโรปในยุคกลางหรือก่อนหน้านั้น ฉะนั้นในบริบทนี้ “แม่พระฉวีดำ” จึงมิได้หมายถึงรูปเคารพของพระแม่มารีย์ที่สร้างเป็นคนผิวดำอย่างจงใจในแอฟริกาที่เป็นที่นิยมกันในแอฟริกาเอง และภูมิภาคที่ผู้คนเป็นชนผิวดำอยู่หนาแน่นเช่นในสหรัฐอเมริกา ประติมากรรมบางชิ้นเป็นสีดำเพราะวัสดุที่ใช้ในการสร้าง เช่น ตะโกหรือไม้สีดำชนิดอื่น แต่ก็มีการโต้แย้งกันว่าการเลือกวัสดุสีดำนั้นมีความสำคัญอย่างไรหรือไม่ บ้างก็ว่าเดิมงานเป็นสีอ่อนแต่ค่อยคร่ำลงเมื่อเวลาผ่านไป เช่นอาจจะจากเขม่าเทียนที่ใช้ในการสักการะ คำอธิบายนี้เป็นคำอธิบายที่นิยมให้กับรูปเคารพของพระแม่มารีย์ที่เป็นสีดำที่ทำในยุคกลาง แต่ทฤษฎีดังกล่าวก็ได้รับการคัดค้านโดยผู้ที่เชื่อว่าเป็นสีดำมาแต่เดิม ที่ผู้สร้างแฝงความหมายอันไม่อาจจะอธิบายได้ “แม่พระฉวีดำ” มักจะเป็นรูปเคารพที่พบในโบสถ์โรมันคาทอลิก ประติมากรรมส่วนใหญ่จะทำด้วยไม้และบางครั้งก็จะเป็นหินที่มักจะทาสีสูงไปจนถึงราว 75 เซนติเมตร โดยทั่วไปแล้วจะสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ประติมากรรมแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ: ประติมากรรมยืน และ ประติมากรรมนั่งบนบัลลังก์ ถ้าเป็นภาพก็จะเป็นลักษณะของศิลปะที่เป็นแบบไบแซนไทน์ที่มักจะสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในอิตาลี พระพักตร์จะเป็นแบบยุโรป ในยุโรปมี “แม่พระฉวีดำ” อยู่ราว 450 ถึง 500 องค์ ในฝรั่งเศสมี “Vierges Noires” อยู่ราว 180 องค์ นอกจากนั้นก็ยังมีงานก็อปปีภายหลังยุคกลางอีกหลายร้อยองค์ งานบางชิ้นก็เป็นของพิพิธภัณฑ์ แต่ส่วนใหญ่แล้วยังคงตั้งอยู่ในคริสต์ศาสนสถานให้ประชาชนได้สักการะ รูปสัญลักษณ์บางรูปก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ที่ทำให้เป็นที่ดึงดูดของผู้แสวงบุญ.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และแม่พระฉวีดำ · ดูเพิ่มเติม »

แว็งซ็อง เดอ ปอล

แว็งซ็อง เดอ ปอล (Vincent de Paul; 24 เมษายน 1581 – 27 กันยายน 1660) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศสผู้ได้อุทิศตนทำงานด้านสังคมสงเคราะห์จนได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งนักสังคมสงเคราะห์”.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และแว็งซ็อง เดอ ปอล · ดูเพิ่มเติม »

แท่นบูชา

แท่นบูชา แท่นบูชา (altar) เป็นโต๊ะศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้วางสิ่งของที่ใช้ในพิธีมิสซาในคริสต์ศาสนสถาน ต้องจัดวางไว้ให้เด่นที่สุดในโบสถ์ และไม่ใช่เป็นโต๊ะวางสิ่งของจิปาถะ แท่นบูชาใช้วางผ้ารองศีล ผ้าเช็ดกาลิกส์ หนังสือมิสซา ถ้วยกาลิกส์ และแผ่นปัง แท่นบูชามีประโยชน์ใช้สอยทางสถาปัตยกรรมในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรม และไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องประดับตกแต่งอาคาร บนแท่นบูชานี้ จะต้องจัดให้สามารถนำภาชนะศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับภาคถวายมาวางไว้ได้อย่างสะดวกในเวลาประกอบพิธี เช่น จานรองศีล พร้อมแผ่นปัง กาลิกส์ที่มีเหล้าองุ่น นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิธีมิสซา ไมโครโฟน และสิ่งอื่นเท่าที่จำเป็น แท่นบูชาไม่ใช่โต๊ะวางของ จึงควรมีเฉพาะสิ่งที่จำเป็นสำหรับภาคถวายเท่านั้น แท่นบูชาของคริสตชนในสมัยแรกเป็นโต๊ะไม้เคลื่อนที่ได้ ต่อมาเป็นแบบตั้งอยู่กับที่ และในจารีตละตินให้เป็นแบบทำศิลาหรือหินเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมของพระศาสนจักรที่รับสืบทอดกันมา และให้สอดคล้องกับ สัญลักษณ์จากพระคัมภีร์เกี่ยวกับแท่นบูชาจะต้องทำด้วยหิน และหินธรรมชาติด้วย ซึ่งแท่นหรือหินเป็นรูปแบบที่ชาวอิสราเอลใช้เป็นที่ถวายเครื่องบูชาแด่พระเจ้า แท่นบูชามี 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และแท่นบูชา · ดูเพิ่มเติม »

แดนชำระ

แดนชำระ (Purgatory) หรือไฟชำระ คือ สภาวะหรือขั้นตอนที่วิญญาณได้รับการชำระให้บริสุทธิ์หรือการลงโทษชั่วคราว เป็นที่เชื่อกันว่าดวงวิญญาณที่ตายขณะได้รับการปลดปล่อยจะได้ไปสวรรค์ นี่เป็นความคิดเชิงทฤษฎีที่มีพื้นฐานและได้รับการยอมรับในศาสนาคริสต์ยุคแรก ในขณะที่ในแนวคิดเชิงวรรณกรรม แดนชำระคือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่ในความเชื่อและจินตนาการของคริสตชนสมัยกลาง แนวคิดเกี่ยวกับแดนชำระเชื่อมโยงกับคริสตจักรละตินในนิกายโรมันคาทอลิก (เป็นปรัชญาหลักในคริสตจักรที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือในทางพิธีกรรม ถึงแม้บ่อยครั้งจะไม่ได้ใช้ชื่อว่า "แดนชำระ" ก็ตาม) ชาวแองกลิคันแห่งแองโกลคาทอลิกมักถือตามนี้ จอห์น เวสลีย์ ผู้ก่อตั้งคณะเมทอดิสต์ เชื่อในสถานะกลางระหว่างความตายกับการพิพากษาครั้งสุดท้ายและเชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะมี "การเติบโตอย่างต่อเนื่องของพระคุณ" ณ ที่แห่งนั้น คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เชื่อในความเป็นไปได้ที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนสภาวะของดวงวิญญาณผู้ที่ตายไปแล้วผ่านทางผู้อธิษฐานและการสวดอ้อนวอนอันศักดิ์สิทธิ์ และชาวออร์โธด็อกซ์จำนวนมากโดยเฉพาะผู้บำเพ็ญตน หวังและภาวนาเพื่อฟื้นคืนความสัมพันธ์กับพระเจ้า อีกความเชื่อที่คล้ายกันคือเชื่อในโอกาสรอดครั้งสุดท้ายโดยชาวมอร์มอน ชาวยิวยังเชื่ออีกว่าเป็นไปได้ที่จะมีการชำระล้างหลังความตาย และยังใช้คำว่า "แดนชำระ" เพื่อสร้างความเข้าใจความหมายของคำว่า เกเฮนนา (ปลายทางของคนชั่วช้า-ในความหมายของชาวยิวและคริสเตียน) อย่างไรก็ตามความเชื่อเกี่ยวกับ "การชำระดวงวิญญาณ" อาจถูกปฏิเสธอย่างชัดเจนจากในประเพณีความเชื่ออื่น ๆ คำว่า purgatory ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาแอลโกล-นอร์แมน และภาษาฝรั่งเศสเก่า จากคำละตินว่า "purgatorium" ถูกใช้กันเป็นวงกว้างเพื่ออ้างถึงแนวคิดทางประวัติศาสตร์และแนวคิดสมัยใหม่ของ การทนทุกข์ทรมานสั้นๆ หลังความตายจากการสาปแช่งอันเป็นนิรันดร์ และถูกใช้อย่างไม่เฉพาะเจาะจงเพื่อหมายถึงสถานที่หรือสภาวะของความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวดที่ไม่ยืนยาว.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และแดนชำระ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโอแวร์ญ

โอแวร์ญ (Auvergne) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์) ตั้งอยู่บริเวณกลางประเทศฝรั่งเศสเยื้องลงมาทางทิศใต้ ทิศเหนือติดกับแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์และแคว้นบูร์กอญ ทิศตะวันตกติดกับแคว้นลีมูแซ็ง ทิศตะวันออกติดกับแคว้นโรนาลป์ ส่วนทางทิศใต้ติดกับแคว้นมีดี-ปีเรเนและแคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง หมวดหมู่:ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของฝรั่งเศส หมวดหมู่:จังหวัดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และแคว้นโอแวร์ญ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์

อแวร์ญ-โรนาลป์ (Auvergne-Rhône-Alpes) เป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และแคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เรลิก

รลิก (relic) คือชิ้นส่วนร่างกายของนักบุญหรือบุคคลที่เป็นที่นับถือ หรือศาสนวัตถุโบราณอื่นๆ ที่มีการเก็บรักษาไว้ให้ศาสนิกชนได้บูชา หรือเป็นเครื่องระลึกถึง ความเชื่อเกี่ยวกับเรลิกมีความสำคัญในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาฮินดู ลัทธิเชมัน ฯลฯ คำว่า relic มาจาก ภาษาละติน “reliquiae” แปลว่าสิ่งที่หลงเหลืออยู่ และคำว่า “reliquary” หมายถึงที่เก็บรักษาเรลิกซึ่งอาจเป็นหีบหรือตู้ หรือศาสนสถานสถานที่เช่นมหาวิหารหรือวั.

ใหม่!!: อาสนวิหารแซ็ง-ฟลูร์และเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิหารแซ็ง-ฟลูร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »