เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มหภาษา

ดัชนี มหภาษา

มาตรฐานสากล ISO 639-3 สำหรับกำหนดรหัสภาษา ได้มีการกำหนดรหัสส่วนหนึ่งเป็นประเภท มหภาษา (macrolanguage) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภาษาเอกเทศอื่นภายในมาตรฐาน มหภาษานี้ครอบคลุมกรณีก้ำกึ่งระหว่างภาษาสองภาษาที่ต่างกันซึ่งอาจพิจารณาได้ว่า ภาษาหนึ่งเป็นภาษาถิ่นของอีกภาษาหนึ่ง หรือเป็นภาษาเดียวกัน หรือเป็นภาษาที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกันมาก นอกจากนี้ยังใช้เมื่อมีภาษาหลายภาษาที่บางครั้งนับว่าเป็นภาษาเดียวกัน แต่บางครั้งนับว่าต่างกันสำหรับเหตุผลทางด้านชาติพันธุ์หรือการเมืองเป็นต้น มากกว่าเหตุผลทางภาษาศาสตร์ มีรหัสภาษาจำนวน 56 รหัสในมาตรฐาน ISO 639-2 ที่ถือว่าเป็นมหภาษาในมาตรฐาน ISO 639-3 ประเภทมหภาษาเริ่มนำมาใช้ในเอทโนล็อก (Ethnologue) ตั้งแต่การพิมพ์ครั้งที่ 16 อย่างไรก็ตาม มหภาษาบางรหัสก็ไม่มีภาษาเอกเทศใดรวมอยู่เลยใน ISO 639-2 (ตามที่กำหนดโดย 639-3) ตัวอย่างเช่น ara (ภาษาอาหรับ) แต่ 639-3 ได้จำแนกภาษาแปรผันที่ต่างกันของภาษาอาหรับเป็นภาษาแยกในสถานการณ์เช่นนี้ ส่วนมหภาษาอื่นเช่น nor (ภาษานอร์เวย์) ก็มีภาษาสองภาษารวมอยู่ได้แก่ nno (ภาษานือนอสก์) และ nob (ภาษาบุ๊กมอล) ซึ่งได้กำหนดไว้แล้วใน 639-2 ทั้งหมดนี้หมายความว่า บางภาษาที่ได้พิจารณาว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาอื่นใน 639-2 จะนำไปใช้กับ 639-3 ในบริบทเฉพาะที่ได้พิจารณาว่าเป็นภาษาเอกเทศนั้นเอง สิ่งนี้เป็นความพยายามที่จะต่อกรกับภาษาแปรผันซึ่งอาจแบ่งแยกออกไปได้ในทางภาษาศาสตร์ แต่ผู้พูดภาษาเหล่านั้นปฏิบัติต่อภาษาประหนึ่งว่าเป็นเพียงภาษาเดียวกันในรูปแบบต่าง ๆ ISO 639-2 ก็มีรหัสสำหรับการรวมกลุ่มของหลาย ๆ ภาษา แต่ไม่เหมือนมหภาษา การรวมกลุ่มภาษาเหล่านี้ถูกตัดออกใน ISO 639-3 เพราะมันไม่ได้อ้างถึงภาษาเอกเทศใด ๆ รหัสเช่นนั้นส่วนมากได้กำหนดไว้ใน ISO 639-5 แทน.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: ภาษาภาษาอาหรับภาษานอร์เวย์ISO 639-2ISO 639-3

  2. วิทยาภาษาถิ่น

ภาษา

ษาในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การพูดอะไรก็ได้ที่เป็นภาษาเช่น สวัสดี คน สวย ให้ พี่ ไป ส่ง ป่าว เป็นราก...

ดู มหภาษาและภาษา

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ดู มหภาษาและภาษาอาหรับ

ภาษานอร์เวย์

ภาษานอร์เวย์ เป็นภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก เป็นภาษาราชการของประเทศนอร์เวย์ และมีความใกล้ชิดกับภาษาสวีเดนและเดนมาร์ก ภาษานอร์เวย์มีรูปแบบการเขียน 2 แบบ คือ ภาษาบุ๊กมอล (Bokmål) (หมายถึง "ภาษาหนังสือ") และ ภาษานือนอชก์ (Nynorsk) (หมายถึง "ภาษานอร์เวย์ใหม่") หมวดหมู่:สแกนดิเนเวีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศนอร์เวย์.

ดู มหภาษาและภาษานอร์เวย์

ISO 639-2

ISO 639-2 เป็นส่วนที่สองของมาตรฐาน ISO 639 ที่จะใช้รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนภาษาต่างๆ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ประกอบด้วย กลุ่มของตัวอักษร 3 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แทนชื่อของภาษาที่ใช้ใน งานบรรณาณุกรม (bibliographic applications) และกลุ่มที่สองใช้ใน งานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ (terminology applications) รหัสที่ใช้แทนภาษาของทั้งสองกลุ่มเหมือนกันยกเว้นเพียง 23 ภาษา จากภาษาทั้งหมดมากกว่า 450 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขในการสร้างรหัสนั้น การใช้รหัสแทนภาษามาตรฐานนี้เริ่มต้นมาจากการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด การให้บริการข้อมูลต่างๆ ตลอดจนงานพิมพ์ ที่ต้องใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รหัสเหล่านี้ได้มีการใช้แพร่หลายในกลุ่มงานห้องสมุด และต่อมาได้มีการปรับนำมาใช้โดยกลุ่มของนักภาษาศาสตร์ และในกลุ่มงานที่ต้องการคำนิยามเฉพาะ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากความต้องการใช้ภาษานั้นๆที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่รวมถึงโปรแกรมภาษาလိၵ်ႈတၢႆးလိၵ်ႈထ.

ดู มหภาษาและISO 639-2

ISO 639-3

มาตรฐาน ISO 639-3 เป็นมาตรฐานกำหนดรหัสของภาษามนุษย์ทั้งหมดเท่าที่ทราบว่ามี โดยใช้ตัวอักษรละตินสามตัวเป็นรหัสแทนแต่ละภาษา ภาษาที่รวมใน ISO 639-3 นี้ รวมถึงภาษาที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ภาษาโบราณ ภาษาที่ไม่มีการใช้แล้ว ตลอดทั้งภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้น รวมถึงภาษาหลักและภาษารอง ทั้งที่มีตัวอักษรเขียนและที่ไม่มี.

ดู มหภาษาและISO 639-3

ดูเพิ่มเติม

วิทยาภาษาถิ่น