โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ISO 639-2

ดัชนี ISO 639-2

ISO 639-2 เป็นส่วนที่สองของมาตรฐาน ISO 639 ที่จะใช้รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนภาษาต่างๆ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ประกอบด้วย กลุ่มของตัวอักษร 3 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แทนชื่อของภาษาที่ใช้ใน งานบรรณาณุกรม (bibliographic applications) และกลุ่มที่สองใช้ใน งานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ (terminology applications) รหัสที่ใช้แทนภาษาของทั้งสองกลุ่มเหมือนกันยกเว้นเพียง 23 ภาษา จากภาษาทั้งหมดมากกว่า 450 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขในการสร้างรหัสนั้น การใช้รหัสแทนภาษามาตรฐานนี้เริ่มต้นมาจากการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด การให้บริการข้อมูลต่างๆ ตลอดจนงานพิมพ์ ที่ต้องใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รหัสเหล่านี้ได้มีการใช้แพร่หลายในกลุ่มงานห้องสมุด และต่อมาได้มีการปรับนำมาใช้โดยกลุ่มของนักภาษาศาสตร์ และในกลุ่มงานที่ต้องการคำนิยามเฉพาะ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากความต้องการใช้ภาษานั้นๆที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่รวมถึงโปรแกรมภาษาလိၵ်ႈတၢႆးလိၵ်ႈထ.

22 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาจีนภาษาบาลีภาษาบาสก์ภาษาบาหลีภาษาพม่าภาษาฝรั่งเศสภาษามลายูภาษามือภาษาลาวภาษาสันสกฤตภาษาอังกฤษภาษาอาหรับภาษาทิเบตภาษาดัตช์ภาษาไทยภาษาเบลารุสภาษาเช็กภาษาเยอรมันภาษาเอสเปรันโตISO 639ISO 639-1ISO 639-3

กลุ่มภาษาจีน

ัฒนาการของภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ แผ้นที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มคนพูดภาษาจีนต่างๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: ISO 639-2และกลุ่มภาษาจีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาสก์

ก์ (Basque) เป็นภาษาที่พูดโดยชาวบาสก์ซึ่งอาศัยอยู่แถบเทือกเขาพีเรนีสในตอนกลางของภาคเหนือของประเทศสเปน รวมทั้งในบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสที่มีอาณาเขตติดต่อกัน หรือลึกลงไปกว่านั้นคือ ชาวบาสก์ได้ครอบครองแคว้นปกครองตนเองที่มีชื่อว่าแคว้นประเทศบาสก์ (Basque Country autonomous community) ซึ่งมีวัฒนธรรมและอิสระในการปกครองตนเองทางการเมือง นอกจากนี้ก็ยังมีชาวบาสก์ที่อยู่ในเขตนอร์เทิร์นบาสก์ในฝรั่งเศสและแคว้นปกครองตนเองนาวาร์ในสเปนอีกด้วย ชื่อเรียกภาษาบาสก์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาตนเอง) คือ เออุสการา (euskara) ส่วนในรูปภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ เออุสเกรา (euskera) เอสกูอารา (eskuara) และ อุสการา (üskara) แม้ว่าในทางภูมิศาสตร์จะถูกล้อมรอบด้วยภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แต่ภาษาบาสก์กลับจัดเป็นภาษาโดดเดี่ยว (language isolate) ไม่ใช่ภาษาในตระกูลดังกล่าว.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาหลี

ษาบาหลี เป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ใช้พูดในเกาะชวา เกาะบาหลีและเกาะลอมบอก มีผู้พูด 3.8 ล้านคน คิดเป็น 2.1 % ของประชากรอินโดนีเซียทั้งประเทศ โดยที่ชาวบาหลีส่วนใหญ่จะพูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง เขียนด้วยอักษรบาหลีและอักษรละติน เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับภาษาซาซักและภาษากัมเบอราในเกาะซุมบาวา มีการแบ่งระดับชั้นภายในภาษ.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามือ

ษามือของตัว A-Z สำหรับผู้พิการทางหู ''Preservation of the Sign Language'' (1913) ภาษามือ (อังกฤษ: sign language) เป็นการ เป็นอวัจนภาษาอย่างหนึ่ง ที่ประกอบด้วย การสื่อสารด้วยมือ, การสื่อสารด้วยร่างกาย และการใช้ริมฝีปากในการสื่อความหมายแทนการใช้เสียงพูด การสื่อสารจะใช้ลักษณะของมือที่ทำเป็นสัญลักษณ์ การเคลื่อนไหวมือ แขนและร่างกาย และการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าเพื่อช่วยในการสื่อสารความคิดของผู้สื่อ ภาษาสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มักใช้ในกลุ่มผู้พิการทางหู ซึ่งรวมทั้งผู้พิการทางหูเอง ผู้ตีความหมาย (interpreter) ผู้ร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของผู้พิการทางหูซึ่งอาจจะพอได้ยินบ้างหรือไม่ได้ยินเล.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษามือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาว

ษาลาว (ลาว: ພາສາລາວ พาสาลาว) เป็นภาษาราชการของประเทศลาว เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ในภาษากลุ่มไท และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาอีสานของประเทศไทย ระบบการเขียนในภาษาลาวจะใช้อักษรลาว ซึ่งเป็นระบบอักษรสระประกอบ (ระบบการเขียนที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนพยัญชนะและตามด้วยสระที่จะอยู่ด้านหน้า หลัง บน ล่าง ของพยัญชนะ) และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรไท.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาลาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทิเบต

ษาทิเบตเป็นภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ภาษาทิเบตมีภาษาถิ่นหลายกลุ่มคือ ภาษากลาง อยู่ในเขตปกครองตนเองทิเบต เช่นที่ ลาซา สำเนียงคาม อยู่ในเขตแคว้นคาม สำเนียงอัมโด อยู่ในแคว้นอัมโด ภาษาถิ่นอื่น ๆ ได้แก่ภาษาของชนเชื้อสายทิเบตในเนปาล เช่นชาวเศรป.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบลารุส

ภาษาเบลารุส (беларуская мова) เป็นภาษาราชการของประเทศเบลารุส และยังพูดในบางส่วนของรัสเซีย ยูเครน และโปแลนด์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มสลาวิกซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก และภาษาเบลารุสยังคงเป็นภาษาที่คล้ายกับรัสเซียมากถึงแม้ว่าจะคล้ายมาก แต่ชาวเบลารุสยังรักษาภาษาของตนให้ดำรงไว้สืบทอดต่อคนรุ่นหลาน เบลารุส หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโปแลนด์ หมวดหมู่:ภาษาในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาเบลารุส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเช็ก

ภาษาเช็ก เป็นภาษาราชการของเช็กเกีย อยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก มีผู้พูดประมาณ 12 ล้านคน หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาเช็ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอสเปรันโต

ษาเอสเปรันโต (Esperanto) เป็นภาษาประดิษฐ์ในกลุ่มภาษาช่วยในการสื่อสารระดับสากลที่ใช้กันมากที่สุดในโลก คิดค้นโดย แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ (L.L. Zamenhof) จักษุแพทย์ชาวโปแลนด์ (ในช่วงที่รัสเซียปกครองโปแลนด์ โดยมีพ่อแม่เป็นชาวยิว) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 โดยต้องการให้ภาษาเอสเปรันโตเป็นภาษาที่เรียนง่าย และเป็นภาษาที่สองสำหรับการสื่อสารระดับนานาประเทศ ชื่อ เอสเปรันโต มาจากนามปากกา ดร.

ใหม่!!: ISO 639-2และภาษาเอสเปรันโต · ดูเพิ่มเติม »

ISO 639

ISO 639 คือหนึ่งในหลายๆ มาตรฐานนานาชาติขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) ที่กำหนดรหัสสำหรับชื่อภาษา ISO 639 ประกอบไปด้วยหลายส่วน.

ใหม่!!: ISO 639-2และISO 639 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 639-1

ISO 639-1 เป็นส่วนแรกของมาตรฐาน ISO 639 สำหรับรหัสภาษา ประกอบไปด้วย ตัวอักษรสองหลัก สำหรับในการแบ่งแยกภาษาหลักๆ ต่างภายในโลก รหัส ISO 639-1 เริ่มใช้เป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2545 โดยมีการเริ่มต้นพัฒนาในหลายปีก่อนหน้านั้น รหัสนี้ใช้ในการอ้างอิงภาษาต่างๆ เช่น.

ใหม่!!: ISO 639-2และISO 639-1 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 639-3

มาตรฐาน ISO 639-3 เป็นมาตรฐานกำหนดรหัสของภาษามนุษย์ทั้งหมดเท่าที่ทราบว่ามี โดยใช้ตัวอักษรละตินสามตัวเป็นรหัสแทนแต่ละภาษา ภาษาที่รวมใน ISO 639-3 นี้ รวมถึงภาษาที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ภาษาโบราณ ภาษาที่ไม่มีการใช้แล้ว ตลอดทั้งภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้น รวมถึงภาษาหลักและภาษารอง ทั้งที่มีตัวอักษรเขียนและที่ไม่มี.

ใหม่!!: ISO 639-2และISO 639-3 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »