โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มลพิษทางอากาศ

ดัชนี มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษโลก 2 ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places) ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี..

42 ความสัมพันธ์: บรรยากาศบรรยากาศของโลกฟลูออรีนพลังงานกรดซัลฟิวริกการกลั่นน้ำมันการลดลงของโอโซนการสื่อสารการเร่งปฏิกิริยาฝุ่นฝุ่นละอองภูมิอากาศระบบนิเวศสารหนูสารประกอบอินทรีย์สารประกอบอนินทรีย์สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสตราโทสเฟียร์หมอกหินหนืดอุตสาหกรรมองค์การอนามัยโลกธาตุของแข็งขนส่งคลอโรฟิลล์ควันตะกั่วซัลเฟอร์ไดออกไซด์ปฏิกูลแคดเมียมโมเลกุลชีวภาพโลกโอโซนไฮโดรคาร์บอนไฮโดรเจนซัลไฟด์ไนโตรเจนไนโตรเจนออกไซด์เชื้อเพลิงเกษตรกรรมเปลือกโลก

บรรยากาศ

มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและบรรยากาศ · ดูเพิ่มเติม »

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูออรีน

ฟลูออรีน (Fluorine) (จากภาษาละติน Fluere แปลว่า "ไหล") เป็นธาตุเคมีที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาได้มากที่สุด มีสัญลักษณ์ F และเลขอะตอม 9 เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นเบาที่สุดและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุด มันปรากฎอยู่ในรูปของแก๊สสีเหลืองที่ภาวะอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาได้เกือบทุกธาตุรวมทั้งแก๊สมีตระกูลบางตัว มีสมบัติเป็นอโลหะมากที่สุด (ถ้าไม่รวมแก๊สมีตระกูล).

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและฟลูออรีน · ดูเพิ่มเติม »

พลังงาน

ฟ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงาน รูปแบบหนึ่งที่สามารถมองเห็นได้ ฟ้าผ่าครั้งหนึ่ง อาจมีพลังงานศักย์ไฟฟ้า 500 megajoules ถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานแสง พลังงานเสียงและพลังงานความร้อน พลังงาน หมายถึงความสามารถซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้แรงงานได้ หรือ Energy เป็นกำลังงานที่ใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือระยะทางหนึ่ง มีค่าเป็น จูล หรือ Joule ในทางฟิสิกส์ พลังงานเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเชิงปริมาณพื้นฐานที่อธิบายระบบทางกายภาพหรือสถานะของวัตถุ พลังงานสามารถเปลี่ยนรูป (แปลงรูป) ได้หลายรูปแบบที่แต่ละแบบอาจจะชัดเจนและสามารถวัดได้ในหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน กฎของการอนุรักษ์พลังงานระบุว่า พลังงาน (ทั้งหมด) ของระบบสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยการถ่ายโอนเข้าหรือออกจากระบบเท่านั้น พลังงานทั้งหมดของระบบใด ๆ สามารถคำนวณได้โดยการรวมกันอย่างง่าย ๆ เมื่อมันประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ทั้งหลายหรือมีหลายรูปแบบของพลังงานที่แตกต่างกัน รูปแบบของพลังงานทั่วไปประกอบด้วยพลังงานจลน์ของวัตถุเคลื่อนที่, พลังงานที่แผ่รังสีออกมาโดยแสงและการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ และประเภทต่าง ๆ ของพลังงานศักย์ เช่นแรงโน้มถ่วงและความยืดหยุ่น ประเภททั่วไปของการถ่ายโอนและการเปลี่ยนแปลงพลังงานประกอบด้วยกระบวนการ เช่นการให้ความร้อนกับวัสดุ, การปฏิบัติงานทางกลไกบนวัตถุ, การสร้างหรือการใช้พลังงานไฟฟ้า และปฏิกิริยาทางเคมีจำนวนมาก หน่วยของการวัดพลังงานมักจะถูกกำหนดโดยผ่านกระบวนการของการทำงาน งานที่ทำโดยสิ่งหนึ่งบนอีกสิ่งหนึ่งถูกกำหนดไว้ในฟิสิกส์ว่า เป็นแรง (หน่วย SI: นิวตัน) ที่ทำโดยสิ่งนั้นคูณด้วย ระยะทาง (หน่วย SI: เมตร) ของการเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้กับแรงที่กระทำโดยฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น หน่วยพลังงานเป็นนิวตัน-เมตร หรือที่เรียกว่า จูล หน่วย SI ของกำลัง (พลังงานต่อหน่วยเวลา) เป็นวัตต์ หรือแค่ จูลต่อวินาที ดังนั้น จูลเท่ากับ วัตต์-วินาที หรือ 3600 จูลส์เท่ากับหนึ่งวัตต์-ชั่วโมง หน่วยพลังงาน CGS เป็น เอิร์ก, และหน่วยอิมพีเรียลและสหรัฐอเมริกาเป็น ฟุตปอนด์ หน่วยพลังงานอื่น ๆ เช่น อิเล็กตรอนโวลต์, แคลอรี่อาหารหรือกิโลแคลอรีอุณหพลศาสตร์ (ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำในกระบวนการให้ความร้อน) และ บีทียู ถูกใช้ในพื้นที่เฉพาะของวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ และมีปัจจัยการแปลงหน่วยที่เกี่ยวข้องให้เป็น จูล พลังงานศักย์เป็นพลังงานที่ถูกเก็บไว้โดยอาศัยอำนาจตามตำแหน่งของวัตถุในสนามพลังเช่นสนามแรงโน้มถ่วง, สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก ตัวอย่างเช่น การยกวัตถุที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงทำงานบนวัตถุและเก็บรักษาพลังงานที่มีศักยภาพของแรงโน้มถ่วง ถ้ามันตก แรงโน้มถ่วงไม่ได้ทำงานบนวัตถุซึ่งแปลงพลังงานศักย์ให้เป็นพลังงานจลน์ที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว บางรูปแบบเฉพาะของพลังงานได้แก่พลังงานยืดหยุ่นเนื่องจากการยืดหรือการเปลี่ยนรูปของวัตถุของแข็ง, พลังงานเคมีเช่นที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานความร้อน, พลังงานจลน์และพลังงานศักย์ขนาดเล็ก ๆ ของการเคลื่อนไหวที่ไม่มีทิศทางของอนุภาคทำให้เป็นเรื่องขึ้นมา ไม่ใช่ทั้งหมดของพลังงานในระบบจะสามารถถูกเปลี่ยนหรือถูกโอนโดยกระบวนการของงาน; ปริมาณที่สามารถจะถูกปลี่ยนหรือถูกโอนเรียกว่าพลังงานที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์จะจำกัดปริมาณของพลังงานความร้อนที่สามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานรูปอื่น ๆ พลังงานรูปแบบเชิงกลและอื่น ๆ สามารถถูกเปลี่ยนในทิศทางอื่น ๆ ให้เป็นพลังงานความร้อนโดยไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว วัตถุใด ๆ ที่มีมวลเมื่อหยุดนิ่ง (จึงเรียกว่ามวลนิ่ง) มีพลังงานนิ่งที่สามารถคำนวณได้โดยใช้สมการ ของ Albert Einstein E.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและพลังงาน · ดูเพิ่มเติม »

กรดซัลฟิวริก

กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid หรือ sulphuric acid) มีสูตรเคมีว่า H2SO 4 เป็นกรดแร่ (mineral acid) แก่ ละลายได้ในน้ำในทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี..

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและกรดซัลฟิวริก · ดูเพิ่มเติม »

การกลั่นน้ำมัน

การกลั่นน้ำมัน (Oil refinery) คือกระบวนการแปรรูปจากน้ำมันดิบ เป็น ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเตา โดยกระบวนการมีผลิตภัณฑ์อื่นๆเช่น สารเหลือค้าง (Residues) เช่น ถ่านโค้ก (Coke) แอสฟัลต์ (Asphalt) และ บิทูเม็น (Bitumen) หรือน้ำมันดิน (Tar) และขี้ผึ้ง.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและการกลั่นน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

การลดลงของโอโซน

องหลุมพร่องโอโซนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 บริเวณขั้วโลกใต้ การลดลงของโอโซน (ozone depletion) คือปรากฏการณ์การลดลงของชั้นโอโซนบนชั้นบรรยากาศระดับชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยทำการศึกษาการลดลงของชั้นโอโซนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและการลดลงของโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

การสื่อสาร

การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บางอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน การศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารอาจจำแนกได้หลายหมวดหมู.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและการสื่อสาร · ดูเพิ่มเติม »

การเร่งปฏิกิริยา

การเร่งปฏิกิริยา (Catalysis) คือ การทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยการใส่วัตถุที่ทำให้ปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงความเร็วเรียกว่า ตัวเร่งhttp://goldbook.iupac.org/C00876.html ซึ่งการเร่งปฏิกิรยาจะไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา มีทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เช่น โลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น เอนไซม.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและการเร่งปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

ฝุ่น

1935 ฝุ่น เป็นอนุภาคในอากาศที่มีแหล่งที่มาจากหลาย ๆ ที่ เช่น ฝุ่นจากดินที่ถูกลมพัดขึ้นมา ฝุ่นจากการระเบิดของภูเขาไฟ หรือจากมลภาวะต่างๆ ฝุ่นในที่พักอาศัย สำนักงาน หรือแม้แต่ ละอองเกสรของพืช เส้นผมหรือขนของคนและสัตว์ สิ่งทอ เส้นใย เศษผิวหนังของมนุษย์ สิ่งหลงเหลือจากอุกกาบาต และจากอีกหลายอย่าง หลายวัตถุ ในสภาพแวดล้อมทั่วไปKathleen Hess-Kosa, (2002), Indoor Air Quality: sampling methodologies, page 216.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและฝุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ฝุ่นละออง

นีตรวจมลพิษทางอากาศ ที่เมือง เอมเด็น ประเทศเยอรมนี ฝุ่นละออง หรือ ละอองธุลี คือ ของแข็งขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศหรือน้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์โดยนับเป็นมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำประเภทหนึ่ง ฝุ่นละอองมีที่มาหลากหลายทั้งจากธรรมชาติ อาทิเช่น ภูเขาไฟ พายุทราย ไฟป่า ไอเกลือ หรือการกระทำของมนุษย์เช่น ไอของเสียจากรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึง การเผาหญ้า และการเผาป่า ในประเทศกำลังพัฒนาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลายเช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากาก การกำจัดฝุ่นละอองนั้น ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะตกอยู่บนพื้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) จะลอยอยู่ในอากาศได้หลายสัปดาห์ และจะถูกกำจัดโดยฝนหรือหยาดน้ำฟ้าประเภทอื่น.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและฝุ่นละออง · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศ

ืดหินปะการังเป็นระบบนิเวศทะเลอย่างหนึ่ง ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นร.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและระบบนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

สารหนู

รหนู (arsenic) เป็นชื่อธาตุลำดับที่ 33 สัญลักษณ์ As ลักษณะเป็นของแข็ง มีสามอัญรูป คือ สารหนูสีเทา สารหนูสีดำ และสารหนูสีเหลือง หลายคนเข้าใจว่าสารหนูเป็นธาตุที่เป็นพิษ แต่ความจริงแล้วสารหนูบริสุทธิ์ไม่เป็นพิษแต่ประการใด มันจะเกิดพิษก็ต่อเมื่อ ไปรวมตัวกับธาตุอื่นเช่น Arsenic trioxide.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและสารหนู · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอินทรีย์

มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและสารประกอบอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์ เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัวถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง

งแวดล้อมสรรค์สร้าง (built environment) กล่าวถึงบริเวณโดยรอบที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ให้เหมาะสำหรับกิจกรรมของมนุษย์ โดยเริ่มจากระดับขอบเขตของคน ย่าน และเมือง โดยมักจะรวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้าหรือประปา ซึ่งในทางปฏิบัติคำนี้จะถูกกล่าวถึงในส่วนของ การออกแบบ การก่อสร้าง และ การจัดการ สิ่งโดยรอบให้เหมาะสมกับมนุษย์ ไม่ควรจำกัดจำเพาะแต่ว่าเป็นการทำเพื่อการปรับปรุง ออกแบบ ก่อสร้างเพื่อ "มนุษย์" เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสรรพชีวิตอื่น แต่ควรใช้กรอบแนวคิดที่เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และการคิดแบบองค์รวม (Sustainable Development & Holistic Thinking) จึงควรนิยามว่า "สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง" (lang-en|built environment) กล่าวถึงบริเวณโดยรอบที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ให้เหมาะสำหรับกิจกรรมการอยู่อาศัยของมนุษย์ที่กลมกลืนกับธรรมชาติและเอื้อต่อระบบนิเวศอย่างสมดุลตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มจากระดับขอบเขตของ คน ย่าน และเมือง โดยมุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Green Infrastructure) เช่น ระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า หรือ ประปา ระบบสาธารณูปการ เช่น โรงเรียน สถานที่ราชการ โรงบำบัดและกำจัดของเสีย สวนสาธารณะ พื้นที่อันควรสงวนคุ้มครองและอนุรักษ์ ซึ่งในทางปฏิบัติคำนี้จะถูกกล่าวถึงในส่วนของ การออกแบบ การก่อสร้าง และ การจัดการ สิ่งโดยรอบให้เหมาะสมกับมนุษ.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

น้ำตกโฮปตัน ในประเทศออสเตรเลีย ในช่วงเวลาที่ทางการอนุญาตให้เข้าชมได้ ทะเลสาบบัคอับบ์ ในเทือกเขาสวิสแอลป์ พื้นที่ที่เป็นภูเขาโดยทั่วไปจะได้รับผลกระทบจากผู้คนน้อยกว่าพื้นที่ราบ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าสิ่งแวดล้อม เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนโลกหรือบนภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยรวม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สามารถจำแนกโยดูกอนระบบธรรมชาติโการรบกวนของมนุษย์มากเกินไป ซึ่งรวมไปถึงพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ดิน หิน ชั้นบรยากา และปรชาติที่เกิขึ้นายใต้อบเขตของสิ่งดังกล่าว.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สตราโทสเฟียร์

ภาพแสดงชั้นบรรยากาศของโลก สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกชั้นที่สอง อยู่ระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และมีโซสเฟียร์ มีระยะตั้งแต่ความสูง 10 กิโลเมตร จนถึง 50 กิโลเมตร เครื่องบินๆในชั้นนี้ มีอากาศเบาบาง เมฆน้อยมาก เนื่องจากปริมาณไอน้ำน้อย อากาศไม่แปรปรวน มีแก๊สโอโซนมาก ส หมวดหมู่:อุตุนิยมวิทยา.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและสตราโทสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

หมอก

หมอกปกคลุมเมืองซานฟรานซิสโก หมอก (อังกฤษ: fog) คือกลุ่มละอองน้ำที่ลอยตัวอยู่ในระดับต่ำเหนือพื้นดิน ซึ่งเมฆบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมอก ตัวอย่างเช่น เมฆที่เคลื่อนตัวในอากาศระดับสูงจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นหมอก ขณะที่เมฆที่เคลื่อนตัวมาแบบสัมผัสกับพื้นดิน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ ที่มีความสูงขนาดหนึ่ง จะถูกพิจารณาว่าเป็นหมอกมากกว่าเมฆ ซึ่งหมอกแตกต่างจากละอองหมอก (mist) ก็เพียงเฉพาะความหนาแน่นเท่านั้น ผลกระทบของการเกิดหมอกที่เด่นชัดคือการทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง หมอกปกติทั่วไปอาจลดความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ส่วนละอองหมอกจะลดความสามารถในการมองเห็นให้เหลือในระยะ 1–2 กิโลเมตร มาตรฐานการบินของสหราชอาณาจักรกำหนดไว้ว่าประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ระยะ 999 เมตรถึง 2 กิโลเมตร จะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นละอองหมอก นอกจากนี้ละอองหมอกจะต้องมีระดับความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์หรือสูงกว่า หากมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เราจะพิจารณาสภาพนั้นว่าเป็นฟ้าหลัว สถานที่ที่ซึ่งเกิดหมอกมากที่สุดในโลกคือแกรนด์แบงค์นอกชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ แคนาดา สถานที่ที่ซึ่งกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์จากทางเหนือมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่นกัล์ฟสตรีมจากทางใต้ทำให้เกิดสภาวะหมอกมากที่สุดในโลก ส่วนสถานที่บนพื้นบกที่เกิดหมอกมากที่สุดในโลกได้แก่ เมโนโมนี รัฐวิสคอนซิน, พอยน์ตเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย, อาร์เจนเทีย รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ทั้งหมดที่กล่าวมามีวันที่หมอกหนามากกว่า 200 วันต่อปี แม้แต่ยุโรปใต้ที่มีอากาศอุ่นกว่าส่วนอื่นก็สามารถพบหมอกหนาตามพื้นที่ราบต่ำและหุบเขา เช่นที่ หุบเขาโปในอิตาลี หุบเขาตามแม่น้ำอาร์โนและแม่น้ำไทเบอร์ในอิตาลี และเช่นเดียวกับที่ราบสูงสวิสในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วงและปลายฤดูหนาว.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและหมอก · ดูเพิ่มเติม »

หินหนืด

หินหนืด หรือ หินแม็กมา (magma) เป็นสารเหลวที่อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก มีความหนืดหรือข้นมากกว่าปกติ เคลื่อนตัวได้ในวงจำกัด มีส่วนผสมของแข็ง ของเหลว หรือก๊าสรวมอยู่ด้วย มีอุณหภูมิที่สูงมาก เมื่อแทรกดันหรือพุ่งขึ้นจากผิวโลก จะเย็นตัวลงกลายเป็นหินแข็ง เรียกว่า หินอัคนี หินหนืดมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 650 - 1,200 องศาเซลเซียส ถูกอัดอยู่ภายใต้แรงดันสูง บางครั้งถูกดันขึ้นมาผ่านปล่องภูเขาไฟเป็นหินหลอมเหลว (lava) ผลลัพธ์จากการระเบิดของภูเขาไฟ มักจะได้ของเหลว ผลึก และก๊าส ที่ไม่เคยผุดขึ้นจากเปลือกโลกมาก่อน หินหนืดจะสะสมตัวอยู่ในช่องภายใต้เปลือกโลก โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ กันเล็กน้อยในพื้นที่ต่าง.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและหินหนืด · ดูเพิ่มเติม »

อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรม (Industry) เป็นคำจำกัดความที่ใช้กับกิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงาน เพื่อที่จะผลิตสิ่งของ หรือ จัดให้มีบริการ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ในยุควิกตอเรีย นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงเวลานั้นว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยมีการผลิตเครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ มากมาย และ ทำให้อุตสาหกรรมเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วและมีระเบียบ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด นอกจากนี้ การปฏิวัติอุตสาหกรรมยังเกี่ยวของกับลัทธิสังคมนิยมของคาร์ล มาร์กซ (ลัทธิมาร์กซ) อีกด้วย ในปัจจุบันอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์อย่างยิ่ง ด้วยว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาการผลิตสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน หรือเรียกรวมว่าปัจจัยสี่ โดยสิ่งที่สามารถผลิตปัจจัยสี่ให้ดี มีคุณภาพและไม่ก่ออันตราย หรือก่ออันตรายให้กับร่างกายและทรัพย์สินน้อยที่สุด การปั่นด้ายในโรงงานอุตสาหกรรมช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ของแข็ง

ของแข็ง (Soild) เป็นสถานะหนึ่งในสี่ของสถานะพื้นฐานของสสาร (สถานะอื่นได้แก่ ของเหลว แก๊ส พลาสมา) ซึ่งมีลักษณะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่วงหรือปริมาตร แตกต่างกับของเหลว วัตถุที่เป็นของแข็งไม่สามารถไหลได้และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรไปตามภาชนะที่บรรจุ อะตอมภายในโมเลกุลของของแข็งอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่หนาแน่นกับอนุภาคอื่น ๆ สาขาของฟิสิกส์มีสาขาหนึ่งที่มีเพื่อศึกษาของแข็งโดยเฉพาะ เรียกว่าฟิสิกส์ของแข็งและมันยังเป็นสาขาหลักของฟิสิกส์สสารอัดแน่น (ซึ่งจะมีการศึกษาเกี่ยวกับของเหลวรวมอยู่ด้วย) ของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลกคือ ซิลิกานาโนโฟม (silica nanofoam) มีความหนาแน่นประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ของแอโรเจล (aerogel) ที่ดูดอากาศออก หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:ของแข็ง หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและของแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ขนส่ง

นส่ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและขนส่ง · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรฟิลล์

ลอโรฟิลล์พบได้ตามคลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบของพืชนอกจากนี้ยังพบได้ที่แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ และยังพบได้ในสาหร่ายเกือบทุกชนิด นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) ภาคภูมิ พระประเสร.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและคลอโรฟิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ควัน

'''ควัน''' จากไฟป่า ควัน จัดเป็นคอลลอยด์ ที่เป็นอนุภาคของของแข็งหรือของเหลว กระจายอยู่ในตัวกลางที่เป็นแก๊สที่มีอยู่ในอากาศ จะถูกปล่อยออกมาเมื่อมีการเผาวัสดุหรือเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อน พร้อมกับปริมาณของอากาศหรือผสมในมวลสารชนิดอื่น ซึ่งเป็นส่วนเกินจากผลที่เกิดขึ้นจากความร้อน เช่น เตา, เทียนไข, ตะเกียงน้ำมัน และเตาไฟ แต่ก็อาจใช้สำหรับเป็นการกำจัดศัตรูพืช, การสื่อสารโดยใช้สัญญาณควัน, การป้องกันตัวโดยการสร้างฉากควัน, การทำอาหารเช่นแซลมอนรมควัน หรือเครื่องยาสูบชนิดต่างๆ ควันยังใช้ในพิธีกรรม, ธูปบูชา, ยางหอม ที่เผาเพื่อผลิตกลิ่น ในบางครั้งควันยังถูกนำไปใช้เป็นสารแต่งกลิ่น และเครื่องป้องกันสำหรับของกินต่างๆ ควันยังเป็นส่วนประกอบของไอเสียที่เกิดจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอเสียจากดีเซล ซึ่งควันจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ควันดำ คืออนุภาคของถ่านหรือคาร์บอนที่มีลักษณะเป็นผงและเขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นมาส่วนใหญ่ เช่น รถเมล์ รถปิกอัพดีเซล รถที่มีขนาดใหญ่ทั่วๆไป และจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควันดำนอกจากจะบดบังยังส่งผลต่อการมองเห็นและเกิดความสกปรกและยังสามารถเข้าไปสู่ปอดโดยการหายใจอีกด้วย และสะสมอยู่ในถุงลมปอดซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือเป็นตัวนำสารให้เกิดโรคมะเร็งปอดและทำให้หลอดลมอักเสบได้ ควันขาว เกิดจากเครื่องยนต์ที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี โดยเฉพาะรถจักยานยนต์เก่าๆ ควันขาวคือสารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ แล้วมีการปล่อยออกมาทาง ท่อไอเสีย โดยที่สารไฮโดรคาร์บอนนี้เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาในการสร้างก๊าซโอโซนซึ่งเป็นพิษภัยที่มีความรุนแรงการสูดควัน ถือเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอัคคีภัยในอาคารสถานที่ ควันสามารถสังหารผู้คนได้โดยความร้อน, สารพิษ และเข้าปอดจนเกิดการระคายเคืองโดยคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรเจนไซยาไนด์ และผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้อื่นๆ อนุภาคของควันจัดเป็นละอองลอยหรือหมอก ของอนุภาคของแข็งหรือหยดของเหลวที่แพร่กระจายไปในอากาศซึ่งมักมองเห็นได้เมื่อถูกกระทบกับแสง โดยปกติแล้วหมอกควันไม่ได้ขัดขวางต่อการมองภาพ หากแต่มันเป็นอนุภาคที่มีความละเอียดจนบดบังการมองเห็นแบบปกติไป.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและควัน · ดูเพิ่มเติม »

ตะกั่ว

ตะกั่ว (Lead) เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและตะกั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (สูตรทางเคมี SO2) เป็นออกไซด์ชนิดหนึ่งของกำมะถัน.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกูล

ปฏิกูล, ขยะ, ของเสีย หรือ ของทิ้ง (waste) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์ไม่ต้องการและหมดประโยชน์แล้ว ปฏิกูลคือสสารใด ๆ ที่ถูกทิ้งหลังจากใช้งานหลัก ไม่มีค่า มีตำหนิ หรือใช้การไม่ได้แล้ว คำว่าปฏิกูล หรือขยะ มักจะเป็นอัตวิสัย (เนื่องจากปฏิกูลของคนคนหนึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิกูลของอีกคนหนึ่ง) และบางครั้งไม่เป็นที่ถูกต้องตามปรวิสัย (ตัวอย่างเช่น การส่งเศษโลหะไปยังหลุมฝังกลบปฏิกูลเป็นการจัดให้เป็นปฏิกูลที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมันสามารถแปรใช้ใหม่ได้) ตัวอย่างปฏิกูลได้แก่ปฏิกูลจากชุมชน (ขยะจากบ้านเรือน) ปฏิกูลที่เป็นสารอันตราย น้ำเสีย (เช่น น้ำโสโครก ซึ่งประกอบด้วยของเสียจากร่างกาย (อุจจาระ และปัสสาวะ) และน้ำผิวดิน) ปฏิกูลกัมมันตรังสี และอื่น.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและปฏิกูล · ดูเพิ่มเติม »

แคดเมียม

แคดเมียม (cadmium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cd แคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี แคดเมียมใช้ประโยชน์ในการทำแบตเตอรี.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและแคดเมียม · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุลชีวภาพ

รงสร้างสามมิติของไมโอโกลบิน แสดงเกลียวแอลฟาที่เน้นสี โปรตีนนี้เป็นตัวแรกที่โครงสร้างได้รับการอธิบายโดยผลิกศาสตร์รังสีเอ็กซ์ (X-ray crystallography) โดย Max Perutz และ John Kendrew ใน ค.ศ. 1958 เป็นผลงานที่ทำให้ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี โมเลกุลชีวภาพ หรือ ชีวโมเลกุล (biomolecule) หมายถึง โมเลกุลใด ๆ ที่สิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ขึ้น รวมทั้ง มหโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน พอลิแซคคาไรด์ ลิพิด และกรดนิวคลีอิก และโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น เมทาบอไลต์ (metabolite) จัดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีโมเลกุลตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก มีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักแต่ละชนิดมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่ต่างกัน ทำให้มีหน้าทีและประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและโมเลกุลชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โอโซน

อโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840 โดยตั้งชื่อตามภาษากรีกคำว่า ozein ซึ่งแปลว่ากลิ่น โอโซนเข้มข้นมีสีฟ้าที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน (Standard Temperature and Pressure; STP) เมื่ออุณหภูมิลดลงถึง -112 °C โอโซนจะเป็นเป็นของเหลวสีน้ำเงิน และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำกว่า -193 °C ก็จะกลายเป็นของแข็งสีดำ มนุษย์ได้นำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น นำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเคมีภัณฑ์ นำไปใช้เป็นสารซักฟอก ใช้ฆ่าแบคทีเรีย เป็นต้น ก๊าซโอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การสูดดมก๊าซโอโซนเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งแตกต่างจากคำว่าโอโซนที่บางครั้งถูกใช้ในบริบทของการท่องเที่ยวหรือการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นในวลีว่า "สูดโอโซน", "รับโอโซน" หรือ "แหล่งโอโซน" เป็นต้น ถือว่าเป็นการใช้โอโซนผิดความหมาย เพราะความจริงแล้วโอโซนมีความเป็นพิษต่อมนุษย์ บริเวณที่มีโอโซนมากในประเทศไทย ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และย่านถนนสีลมในกรุงเทพมหานคร คำว่าโอโซนที่ใช้กันผิด ๆ จะหมายถึง ออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ซึ่งดีต่อระบบการหายใจ ไม่ใช่ก๊าซโอโซนที่เป็นพิษ มีอันตรายต่อ.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรคาร์บอน

ในเคมีอินทรีย์ ไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบขึ้นจากไฮโดรเจนและคาร์บอนทั้งหมด ไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมไฮโดรเจนหนึ่งอะตอมถูกนำออกเป็นหมู่ฟังก์ชัน เรียก ไฮโดรคาร์บิล ไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ เช่น อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (อะรีน) อัลเคน อัลคีน ไซโคลอัลเคนและอัลไคน์ ไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่ที่พบบนโลกเกิดตามธรรมชาติในน้ำมันดิบ ซึ่งสสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายให้คาร์บอนและไฮโดรเจนปริมาณมากซึ่งเมื่อสร้างพันธะสามารถเรียงต่อกันเพื่อสร้างสายที่ดูไม่มีที่สิ้น.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและไฮโดรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนซัลไฟด์

รเจนซัลไฟด์ (hydrogen sulfide หรือ hydrogen sulphide) หรือ ก๊าซไข่เน่า เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีเป็น H2S ไม่มีสี, เป็นพิษ และเป็นแก๊สไวไฟ มีกลิ่นเน่าเหม็นคล้ายไข่เน่า บ่อยครั้งเป็นผลจากแบคทีเรียย่อยสลายซัลไฟต์ในสารอนินทรีย์ในสภาวะขาดออกซิเจน เช่นใน หนองน้ำและท่อระบายน้ำ (การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน) นอกจากนั้นยังพบในแก๊สจากภูเขาไฟ ก๊าซธรรมชาติ และบ่อน้ำบางบ่อ กลิ่นของ H2S ไม่ใช่คุณสมบัติโดยทั่วไปของกำมะถัน ซึ่งในความจริงแล้วไม่มีกลิ่น.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและไฮโดรเจนซัลไฟด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจนออกไซด์

นโตรเจนออกไซด์ (NOx) หรือ กลุ่มก๊าซที่มี (Highly reactive gases) เป็นก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ยกเว้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับอนุภาคอื่น ๆ ในอากาศ จะเห็นคล้ายตดเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและไนโตรเจนออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิง

ม้ เชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง เชื้อเพลิง คือวัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมีเช่นการเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นการแตกตัวหรือการรวมตัวของนิวเคลียส อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสมบัติสำคัญของเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์คือพลังงานที่มีอยู่สามารถถูกบรรจุและปลดปล่อยได้ตามต้องการ และการปลดปล่อยนั้นถูกควบคุมในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้สร้างงานทางวิศวกรรมได้ สิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ทุกชนิด คือตั้งแต่จุลชีพไปจนถึงสัตว์รวมทั้งมนุษย์ ใช้เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงาน เซลล์ต่างๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เมแทบอลิซึม (metabolism) ซึ่งดึงเอาพลังงานออกมาจากอาหารหรือแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่สามารถใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนั้นมนุษย์ใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อแปรเปลี่ยนพลังงานรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการสร้างพลังงานก็เพื่อจุดประสงค์ที่มากไปกว่าพลังงานในร่างกายมนุษย์ การใช้พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกจากเชื้อเพลิงมีตั้งแต่ การทำความร้อนเพื่อการปรุงอาหาร การผลิตไฟฟ้า หรือแม้แต่การเพิ่มแสนยานุภาพของอาว.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและเชื้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ใหม่!!: มลพิษทางอากาศและเปลือกโลก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »