โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มนัส เศียรสิงห์

ดัชนี มนัส เศียรสิงห์

มนัส เศียรสิงห์ หรือ แดง (15 ตุลาคม พ.ศ. 2497 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) ศิลปิน นักวาดภาพ เป็นนักกิจกรรมในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา และถูกกระสุนปืนเสียชีวิต บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา มนัส เป็นชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายมณี เศียรสิงห์ และนางสงกรานต์ เกาะทอง สิงห์สนามหลวงสนทนา, เนชั่นสุดสัปดาห์, 2 มิถุนายน 2549 เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพที่ โรงเรียนกรุงเทพวิจิตรศิลป์ และเข้าร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและเดินขบวน ช่วงก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม..

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2497พ.ศ. 2519มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วสันต์ สิทธิเขตต์วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์สถาบันปรีดี พนมยงค์จังหวัดปทุมธานีเหตุการณ์ 14 ตุลาเหตุการณ์ 6 ตุลา15 ตุลาคม6 ตุลาคม

พ.ศ. 2497

ทธศักราช 2497 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1954.

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และพ.ศ. 2497 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วสันต์ สิทธิเขตต์

วสันต์ สิทธิเขตต์ โปสเตอร์หาเสียงของพรรคศิลปิน วสันต์ สิทธิเขตต์ (เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2500) ศิลปินและนักเคลื่อนไหวทางสังคม เกิดที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพี่ชายของวิสามัญเมือง สิทธิเขตต์ นักวาดและช่างถ่ายภาพเปลือย เรียนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรุงเทพฯ ระหว่าง..

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และวสันต์ สิทธิเขตต์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (Poh-Chang Academy of Arts, Rajamangala University of Technology Rattanakosin) เดิมคือ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ที่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีสีแดง–สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน เพาะช่างเป็นสถาบันศิลปะการช่าง ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถือเอาวันที่ 7 มกราคม..

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันปรีดี พนมยงค์

ันปรีดี พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ เป็นสถาบันไม่แสวงหากำไรที่มีจุดประสงค์ดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและราษฎรไทย ตามอุดมการณ์ของนายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสและผู้นำคณะราษฎรในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สถาบันก่อตั้งโดยมูลนิธิปรีดี พนมยงค์เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ปรีดี และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2538 จุดประสงค์ในการดำเนินงานของสถาบันคือ ส่งเสริมงานด้านวิชาการซึ่งเชื่อมโยงกับแนวความคิด อุดมการณ์สันติธรรมของนายปรีดี พนมยงค์ เพื่อให้ประสานสัมพันธ์กับคนรุ่นใหม่ และสภาพปัญหาสังคมปัจจุบัน เป็นเวทีทางด้านศิลปวัฒนธรรมทุกแขนง เพื่อเป็นสื่อให้ความดีและสัจจะทางสังคม ได้แสดงออกสู่สาธารณะอย่างงดงามมีสุนทรียภาพ และประสานงานและร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรอื่น ๆ ในเรื่องการวิจัย สัมมนา อบรม และกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ตั้งอยู่ที่ ซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 371 ตารางวา ซึ่งมูลนิธิไชยวนามอบให้.

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และสถาบันปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปทุมธานี

ังหวัดปทุมธานี (เดิมสะกดว่า ประทุมธานี) เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร เทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัด คือ เทศบาลเมืองปทุมธานี แต่เทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลนครรังสิต ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอธัญบุรี.

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และจังหวัดปทุมธานี · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 14 ตุลา

หตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึงการรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง.อ.ณรงค์ กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "3 ทรราช" เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นการลุกฮือของประชาชนครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ เกาหลีใต้ในเหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู เป็นต้นหนังสือ มาร์ค เขาชื่อ...

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และเหตุการณ์ 14 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ 6 ตุลา

หตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการHandley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej.

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และเหตุการณ์ 6 ตุลา · ดูเพิ่มเติม »

15 ตุลาคม

วันที่ 15 ตุลาคม เป็นวันที่ 288 ของปี (วันที่ 289 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 77 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และ15 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

6 ตุลาคม

วันที่ 6 ตุลาคม เป็นวันที่ 279 ของปี (วันที่ 280 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 86 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: มนัส เศียรสิงห์และ6 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »