โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มณฑลกุ้ยโจว

ดัชนี มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

65 ความสัมพันธ์: พวงร้อยกบฏสามเจ้าศักดินากลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะไดกลุ่มภาษากัม-ไทการบุกลงใต้ของจูกัดเหลียงการวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008กิ้งก่าจระเข้กุ้ยหยางภาษาม้งชัวภาษาม้งขาวภาษาม้งเขียวภาษาสุ่ยภาษาต้งภาษาปาเฮ็งภาษาปู้อีมิสแกรนด์จีนมณฑลยูนนานมณฑลหูหนานมณฑลเสฉวนม้งเขายาวรองเท้านารีฝาหอยรองเท้านารีเหลืองปราจีนรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากรรายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลกรายชื่อหอดูดาวรายชื่อเขตการปกครองสะพานเป่ยผานเจียงสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)สุยหู จิ่นเทาธงชาติสาธารณรัฐจีนท่าอากาศยานนานาชาติกุ้ยหยางหลงตงเป่าคาสต์ในจีนตอนใต้ค่างหัวมงกุฎงูพิษเฟียตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยนตั้งอึ๊งต้งฉงชิ่งซูโจวประเทศจีนปู้อีน้ำตกหฺวังกั่วชู่แผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีนแคะแนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไทโจว ซื่อหมิง...โจว เหว่ยตงไชนีสซูเปอร์ลีกไผ่ตงไดโนเซฟาโลซอรัสเมืองแมนแดนสันติเล่าปี่เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่นเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือเส้นเมริเดียนที่ 104 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออกเอื้องสายมรกตเขตการปกครองของประเทศจีนเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงEremochloa2 ขยายดัชนี (15 มากกว่า) »

พวงร้อย

วงร้อยเต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและพวงร้อย · ดูเพิ่มเติม »

กบฏสามเจ้าศักดินา

กบฏสามเจ้าศักดินา (三藩之乱) เกิดขึ้นในสมัยฮ่องเต้คังซี เจ้าพิชิตภาคตะวันตกอู๋ซานกุ้ย (平西王) เจ้าพิชิตภาคใต้ซ่างจือซิ่น (平南王) และ เจ้าสถาปนาสันติสุขแห่งภาคใต้เกิ่งจิงจง (靖南王) ก่อการจลาจลในภาคใต้และปลุกระดมต่อต้านราชวงศ์ชิงปี 1673-1681 กบฏสามเจ้าศักดินาจึงสิ้นสุดลง สามเจ้าศักดินาคือขุนนางหมิงที่ยอมแพ้ต่อราชวงศ์ชิงและช่วยราชสำนักปราบปรามกบฏทางใต้ เป็นผู้ที่มีความดีความชอบถูกตั้งบรรดาศักดิ์รักษามลฑลทางใต้ดังนี้.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและกบฏสามเจ้าศักดินา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได

กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได หรือบางครั้งเรียกว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไต-ไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มชาติพันธุ์ ไท-กะได กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้า หรือข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นการนับถือผี นับถือบรรพบุรุษ และบูชาแถน (ผีฟ้า หรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อย และ ไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย แสก คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ).

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและกลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษากัม-ไท

กลุ่มภาษากัม-ไท (Kam–Tai languages) หรือ กลุ่มภาษาจ้วง-ต้ง (Zhuang–Dong languages) เป็นสาขาภาษาหลักที่มีการเสนอให้จัดแบ่งขึ้นในตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาของชนชาติต่าง ๆ ในจีนตอนใต้และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณกว่าร้อยละ 80 ของภาษาทั้งหมดในตระกูลดังกล่าว กลุ่มภาษากัม-สุย, เบ และไท (ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาหลัก 3 ใน 5 กลุ่มของตระกูลไท-กะได) มักถูกจัดอยู่รวมกันในกลุ่มภาษากัม-ไทเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีผู้โต้แย้งโดยมองว่าเป็น "หลักฐานของการไม่มีจริง" (negative evidence) ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-สุย เป็นกลุ่มกะไดเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มกะไดใต้อีกทางหนึ่งแทน ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้ว.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและกลุ่มภาษากัม-ไท · ดูเพิ่มเติม »

การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง

การบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง (Zhuge Liang's Southern Campaign) สงครามในที่เกิดขึ้นในช่วง..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและการบุกลงใต้ของจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

การวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008

การคุ้มกันผู้วิ่งคบเพลิงที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ การวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เพื่อนำไปจุดในงานเปิดมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แผนการของการวิ่งนั้นได้ถูกประกาศเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ.2550) ภายใต้สโลแกนว่า "Journey of Harmony" (和諧之旅) และคาดว่าจะใช้เวลาวิ่ง 130 วัน ผ่าน 21 ประเทศรวมประเทศจีน ระยะทาง 137,000 ก.ม. (85,100 ไมล์) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการวิ่งคบเพลิงที่ยาวที่สุดนับตั้งแต่การวิ่งคบเพลิงครั้งแรก เมื่อปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและการวิ่งคบเพลิงในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่าจระเข้

ระวังสับสนกับ จิ้งเหลนจระเข้ กิ้งก่าจระเข้(Chinese crocodile lizard; 中国鳄蜥; พินอิน: zhōngguó è xī) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Shinisaurus crocodilurus จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ Shinisauridae และสกุล Shinisaurus (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Xenosauridae ที่พบในเม็กซิโกและกัวเตมาลา) เป็นกิ้งก่าที่มีรูปร่างลักษณะรวมถึงเกล็ดคล้ายคลึงกับจระเข้ มีเกล็ดเป็นตุ่มนูนไปจนถึงหาง ตัวผู้ตามบริเวณข้างลำตัวและใต้ท้องจะมีสีแดงปรากฏขึ้นมากกว่าตัวเมีย ในขณะที่ตัวเมียจะมีสีขึ้นประปราย มีความเต็มที่จรดปลายหาง 40-46 เซนติเมตร จะพบได้เฉพาะในป่าดิบที่มีอุณหภูมิต่ำ ตั้งแต่ -2 องศาเซลเซียส จนถึง 35 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูร้อน เฉพาะเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, หูหนาน, กุ้ยโจว ในประเทศจีนเท่านั้น โดยอาศัยในแหล่งน้ำในป่า โดยปรกติจะอยู่นิ่ง ๆ ในน้ำ แต่ก็สามารถปีนขึ้นมาอาบแดดได้บนต้นไม้ที่มีความสูงประมาณ 1 เมตร กินอาหารจำพวก ปลา, ลูกอ๊อด, หนอน และตัวอ่อนของแมลงปอ รวมถึงสัตว์บก เช่น หนูขนาดเล็กได้ ออกหากินในเวลากลางวัน หน้า 395, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0 สามารถที่จะผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นช่วงฤดูหนาวจนถึงต้นฤดูฝนของอีกปี โดยตัวผู้หลายตัวจะต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงตัวเมีย ตั้งท้องนานถึง 8-12 เดือน ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 5-20 ตัว เป็นสัตว์ที่ถือเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น และอยู่ในสถานะใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและกิ้งก่าจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ยหยาง

ทิวทัศน์เมืองกุ้ยหยาง กุ้ยหยาง (จีนตัวย่อ: 贵阳, จีนตัวเต็ม: 貴陽) คือเมืองหลวงของมณฑลกุ้ยโจว อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ซึ่งจัดเป็นเมืองตากอากาศเมืองหนึ่ง มีเอกลักษณ์ คำขวัญว่า "กุ้ยหยางหลากหลายสีสัน มนต์เสน่ห์แห่งกุ้ยหยาง เมืองแห่งป่าไม้ และเมืองตากอากาศ".

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและกุ้ยหยาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาม้งชัว

ษาม้งชัว (Hmong Shua หรือ Sinicized Miao) หรือภาษาม้งจีน มีผู้พูดทั้งหมด 252,000 คน พบในจีน 250,000 คน (พ.ศ. 2543) ทางตะวันตกของมณฑลกุ้ยโจว และตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลยูนนาน และตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกวางสี พบในเวียดนาม 2,000 คน (พ.ศ. 2543) ทางภาคเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน กลุ่มภาษาม้ง เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา มีเสียงวรรณยุกต์ 7-8 เสียง.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและภาษาม้งชัว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาม้งขาว

ษาม้งขาว หรือ ภาษาม้งเด๊อว (Hmong Daw) มีผู้พูดทั้งหมด 514,895 คน พบในจีน 232,700 คน (พ.ศ. 2547) ทางตะวันตกของกุ้ยโจว ทางใต้ของเสฉวน และยูนนาน พบในลาว 169,800 คน (พ.ศ. 2538) ทางภาคเหนือ พบในไทย 32,395 คน (พ.ศ. 2543) ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน พิษณุโลก เลย สุโขทัย กำแพงเพชร แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ ลำปาง ในเวียดนามพบทางภาคเหนือพบได้บ้างในจังหวีดทางภาคใต้เช่น จังหวัดดักลัก มีผู้พูดภาษานี้ในฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกาด้วย เข้าใจกันได้กับภาษาม้งเขียว จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง เป็นภาษาที่มีพยัญชนะมาก บางเสียงไม่มีในภาษาไทย ไม่มีเสียงตัวสะกด ไม่มีความต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว เสียงวรรณยุกต์ มี 8 เสียงคือ.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและภาษาม้งขาว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาม้งเขียว

ษาม้งเขียว หรือ ภาษาม้งจั๊ว (Hmong Njua) ภาษาม้งตะวันตก มีผู้พูดทั้งหมด 1,290,600 คน พบในจีน 1,000,000 คน (พ.ศ. 2525) ซึ่งรวมชาวบูนูที่เป็นชนกลุ่มเย้าแต่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 29,000 คนเข้าไปด้วย ในบริเวณกุ้ยโจว เสฉวน และยูนนาน พบในลาว 145,600 คน (พ.ศ. 2538)ทางภาคเหนือ พบในพม่า 10,000 คน (พ.ศ. 2530) พบในไทย 33,000 คน ในจังหวัดตาก น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เชียงราย พะเยา เลย สุโขทัย แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี พบในเวียดนาม ทางภาคเหนือ พบได้บ้างในจังหวีดทางภาคใต้เช่น จังหวัดดักลัก มีผู้พูดภาษานี้ในฝรั่งเศส และสหรัฐด้วย เข้าใจกันได้กับภาษาม้งขาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา มีวรรณยุกต์ 3 เสียง.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและภาษาม้งเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสุ่ย

ษาสุ่ย(Sui) หรือภาษาสวี หรือภาษาอ้ายสุ่ย (ภาษาจีน: 水語) พูดโดยชาวสุ่ยในมณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน มีผู้พูดทั้งหมด 406,902 คน พบในจีน 200,000 คน (พ.ศ. 2542) ในมณฑลกวางสี และทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน โดยมีถึง 100,000 คนที่พูดได้เพียงภาษาเดียว พบในเวียดนาม 120 คน (พ.ศ. 2545) ทางภาคเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษาคำ-ไต สาขาเบ-ไต สาขาย่อยไต-แสก ภาษานี้มีระบบพยัญชนะซับซ้อน สำเนียงซานดองมีเสียงพยัญชนะถึง 70 เสียง มีอักษรเป็นของตนเองเรียก ชุยชู มีการใช้มากในเขตปกครองตนเอง ใช้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาที่สอง การเขียนใช้ภาษาจีน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและภาษาสุ่ย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาต้ง

ษาต้ง หรือเรียกชื่อในภาษาของชาวต้งว่า ลิ๊กก๊ำ (leec Gaeml) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได พูดโดยชาวต้งในประเทศจีน แต่เดิมเคยเขียนด้วยอักษรจีน ต่อมาได้มีการพัฒนาการเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2501 แต่ไม่แพร่หลายมากนัก ภาษาต้งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาษาต้งเหนือ และภาษาต้งใต้.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและภาษาต้ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปาเฮ็ง

ษาปาเฮ็ง (Pa-Hng) มีผู้พูดทั้งหมด 32,370 คน พบในจีน 26,800 คน พูดได้ภาษาเดียว 10,000 คน พบในมณฑลกุ้ยโจว กวางสี พบในเวียดนาม 5,570 คน (พ.ศ. 2542) อยู่ทางภาคเหนือ จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เหมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง สาขาปาเฮ็ง ผู้พูดภาษานี้ในจีนจะพูดม้งจั๊วะ ภาษาต้งและภาษาจีนกลางได้ เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม มีสระนาสิกแต่ไม่มีตัวสะกดที่เป็นเสียงนาสิก.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและภาษาปาเฮ็ง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปู้อี

ษาปู้อี (ปู้อี: Haausqyaix หรืออาจพบสะกดเป็น Buyi, Bouyei, Tujia หรือ Puyi;; tiếng người Bố Y) มีผู้พูดทั้งหมด 2,649,205 คน พบในจีน 2,600,000 คน (พ.ศ. 2543) ในบริเวณที่ราบกุ้ยโจว-ยูนนาน ในมณฑลยูนนานและเสฉวน พบในเวียดนาม 49,100 คน (พ.ศ. 2542) มีบางส่วนในฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มภาษากัม-ไท สาขาเบ-ไท สาขาย่อยไท-แสก ส่วนใหญ่ใช้ในเขตปกครองตนเองของชาวปูยี มีการออกหนังสือพิมพ์ในภาษานี้ เขียนด้วยอักษรละติน ในจีนจะพูดภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง เรียงประโยคแบบประธาน–กริยา–กรรม ส่วนใหญ่เป็นพยางค์เดี่ยว มีวรรณยุกต์ 6 เสียงสำหรับคำเป็น และ 4 เสียงสำหรับคำต.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและภาษาปู้อี · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์จีน

มิสแกรนด์จีน (Miss Grand China) เป็นตำแหน่งในการประกวดนางงามระดับประเทศของจีน เพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล เริ่มจัดประกวดเพื่อคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและมิสแกรนด์จีน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูหนาน

มณฑลหูหนาน (จีน: 湖南省) ชื่อย่อ เซียง (湘)ตั้งอยู่บนลองจิจูด 108 องศา 47 ลิปดาถึง 114 องศา 45 ลิปดา ตะวันออก และละติจูด 24 องศา 39 ลิปดาถึง 30 องศา 28 ลิปดาเหนือ ทางตอนใต้ของทะเลสาบต้งถิง (洞庭湖) ทะเลสาบใหญ่ทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี มีเมืองหลวงชื่อ ฉางชา มีเนื้อที่ 211,800 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและมณฑลหูหนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ม้งเขายาว

ม้งเขายาว เป็นกลุ่มชนชาวม้งที่อาศัยในหมู่บ้านหลงกา ตำบลซัวก่า มณฑลกุ้ยโจว ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีประชากรประมาณ 4000 คน ใช้ชีวิตลึกลับแบบโบราณอยู่บนภูเขาสูง สาวชาวม้งเขายาวจะเกล้าผมยาวไว้บนเขาไม้ยาวอันหนึ่ง ดูลักษณะเหมือน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและม้งเขายาว · ดูเพิ่มเติม »

รองเท้านารีฝาหอย

รองเท้านารีฝาหอย เป็นกล้วยไม้ในประเทศไทย อยู่ในสกุลรองเท้านารี ค้นพบโดย Messrs Low และ Co.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรองเท้านารีฝาหอย · ดูเพิ่มเติม »

รองเท้านารีเหลืองปราจีน

รองเท้านารีเหลืองปราจีน เป็นกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี ถูกค้นพบโดย Mr.C. Parish ในปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรองเท้านารีเหลืองปราจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

นี่คือ รายชื่อมณฑลของจีนเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ข้อมูลเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่เรียงตามค่าจีดีพีต่อประชากร.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร

แผนที่มณฑลของจีนเรียงตามจำนวนประชากร ประชากรประเทศจีนปี 2004.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่

มณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดเนื้อที่ หมวดหมู่: มณฑลของประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามขนาดพื้นที่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร

แผนที่แสดงความหนาแน่นแต่ละพื้นที่ของจีน นี่คือ รายชื่อมณฑลของจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อมณฑลของประเทศจีนเรียงตามความหนาแน่นของประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก

นอะกะชิไคเกียว ญี่ปุ่น มีช่วงกลางของสะพานยาวที่สุดในทุกๆ รูปแบบของสะพานแขวน สะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก แสดงรายชื่อตามความยาวของช่วงกลาง (main span) ของสะพานเป็นหลัก (เช่น ความยาวของถนนระหว่างหอคอยของสะพาน) ความยาวของช่วงกลางหลักคือวิธีการทั่วไปส่วนใหญ่ในการเปรียบเทียบขนาดของสะพานแขวน ซึ่งมีความสัมพันธ์บ่อยครั้งกับความสูงของหอคอยและความซับซ้อนทางวิศวกรรม โดยเกี่ยวข้องกับการออกแบบและการก่อสร้างสะพานนั้น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหอดูดาว

นี่คือ รายชื่อหอดูดาว เรียงลำดับตามตัวอักษร รวมถึงวันเปิดปฏิบัติการและตำแหน่งที่ตั้ง รายชื่อนี้อาจรวมถึงวันปฏิบัติการวันสุดท้ายสำหรับหอดูดาวที่ได้ปิดตัวลง โดยรายชื่อนี้จะเป็นหอดูดาวซึ่งใช้ศึกษาด้านดาราศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อหอดูดาว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตการปกครอง

รายชื่อเขตปกครองในระดับบนสุดของประเทศต่าง ๆ ที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐหรือรัฐรวม รวมทั้งเขตการปกครองในระดับบนสุดของเอกรัฐหรือรัฐเดี่ยวบางแห่ง.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและรายชื่อเขตการปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเป่ยผานเจียง

นเป่ยผานเจียง (北盘江大桥) เป็นสะพานขึงแห่งหนึ่งในประเทศจีน เปิดใช้ในปลายปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและสะพานเป่ยผานเจียง · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)

รณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในเอเชียตะวันออกตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) · ดูเพิ่มเติม »

สุย

(ภาษาจีน:水族;พินอิน:Shuǐzú) เป็นชื่อของกลุ่มชนซึ่งมีถิ่นอยู่ มณฑลซานตู และมณฑลกุ้ยโจว ที่ตั้งถิ่นฐานและการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 499,000 คน โดยมากใช้ภาษาสุย ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำ-ไต ตระกูลภาษาไท-กะได และส่วนใหญ่นับถือลัทธิดั้งเดิม และลัทธิเต๋าปะปนกันกับคำสอนบางอย่างในศาสนาพุท.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและสุย · ดูเพิ่มเติม »

หู จิ่นเทา

หู จิ่นเทา (เกิด 21 ธันวาคม พ.ศ. 2485) เป็นหัวหน้าคณะผู้นำจีนรุ่นที่ 4 แห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน, ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและหู จิ่นเทา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐจีน

งชาติสาธารณรัฐจีน เป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีตั้งแต่สมัยที่สาธารณรัฐจีนยังอยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่ กระทั่งภายหลังได้ตั้งมั่นอยู่ที่เกาะไต้หวันนับแต่ พ.ศ. 2492 พรรคก๊กมินตั๋งได้เริ่มใช้ธงดังกล่าวเป็นครั้งแรกในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2460 และใช้เป็นธงชาติสาธารณรัฐจีนอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า ชิงเทียน ไป๋รื่อ หม่านตี้ หงฉี แปลว่า ธงท้องฟ้าสีคราม ตะวันสาดส่อง ปฐพีแดง แผ่นดินอุดม และมีชื่อที่รู้จักกันดีในภาษาอังกฤษว่า "Blue Sky, White Sun, and a Wholly Red Earth".

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและธงชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกุ้ยหยางหลงตงเป่า

ท่าอากาศยานนานาชาติกุ้ยหยางหลงตงเป่า เป็นท่าอากาศยานในเมืองกุ้ยหยาง เมืองศูนย์กลางของมณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและท่าอากาศยานนานาชาติกุ้ยหยางหลงตงเป่า · ดูเพิ่มเติม »

คาสต์ในจีนตอนใต้

ต์ในจีนตอนใต้ หมายถึงแหล่งมรดกโลกที่มีภูมิประเทศแบบคาสต์ ที่ตั้งอยู่ในเขตเมืองฉือหลิน ในมณฑลยูนนาน เมืองลี่โป ในมลฑลกุ้ยโจว และเมืองอู่หลง นครฉงชิ่ง ประเทศจีน ภูมิประเทศแบบคาสต์ หมายถึง พื้นที่หินปูนที่น้ำฝนน้ำท่า ชะละลายหินออกไป มากจนเป็นตะปุ่มตะป่ำ เต็มไปด้วยหลุมบ่อ ถ้ำ และทางน้ำใต้ดินที่น้ำละลายเอาเนื้อหินปูนแทรกซึมหายลงไป.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและคาสต์ในจีนตอนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ค่างหัวมงกุฎ

งหัวมงกุฎ หรือ ค่างฝรั่งเศส (อังกฤษ: Francois' langur, Francois' leaf monkey) เป็นค่างชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายค่างหงอก (T. cristala) และค่างดำมลายู (Presbytis femoralis) ขนตามลำตัวเป็นสีดำสนิท มีลักษณะเด่นคือ ขนบริเวณกลางกระหม่อมจะยาวฟูขึ้นไปแลดูคล้ายกับมงกุฎหรือหงอน ขนข้างแก้มตั้งแต่บริเวณใต้ใบหูลงไปจนถึงมุมปากเป็นสีขาว โดยมีขนสีดำขึ้นแทรกอยู่บ้าง ลูกที่เกิดขึ้นมีขนสีเหลืองทองแบบเดียวกับค่างชนิดอื่น ๆ และขนตามลำตัวจะค่อย ๆ กลายเมื่ออายุมากขึ้น ตัวผู้มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 54.8 เซนติเมตร ในขณะที่ตัวเมีย 55-59 เซนติเมตร ความยาวหางตัวผู้ 84.9 เซนติเมตร ตัวเมีย 85.2 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 5.66 กิโลกรัม ค่างหัวมงกุฎพบกระจายพันธุ์อยู่บริเวณภาคกลางของประเทศลาวและเวียดนาม รวมถึงในตอนล่างของจีนด้วย โดยพบเพียงแค่ 2 มณฑล คือ มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลกวางสีเท่านั้น มีพฤติกรรมมักอยู่รวมกันเป็นฝูงตามป่าบนเทือกเขาหินปูน ออกหากินในเวลากลางวัน โดยจะหากินอยู่บนต้นไม้เป็นหลัก นานครั้งถึงจะลงไปหากินบนพื้นดิน ใช้เวลาหากินอยู่ในช่วงระยะเวลาราว 07.00-10.00 น. และ 15.00-16.00 น. ในแต่ละวัน และกินน้ำที่ไหลออกมาตามหน้าผา และหลับนอนตามถ้ำบนเทือกเขาหินปูนในเวลากลางคืนเพื่อความปลอดภัย โดยที่มีเสียงร้องประกาศอาณาเขตที่ดังมาก และเมื่ออายุยังน้อยมีเสียงร้องที่แปลกเฉพาะตัว.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและค่างหัวมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

งูพิษเฟีย

งูพิษเฟีย (Fea's viper; 白頭蝰亞科) เป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อย Azemiopinae และสกุล Azemiops ในวงศ์ใหญ่ Viperidae งูชนิดนี้ถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ ลีโอนาร์โด เฟีย นักธรรมชาติวิทยาชาวอิตาเลียน โดยจอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ นักมีนวิทยาและนักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวฝรั่งเศส-เบลเยียม มีลักษณะโดยรวมคือ ระหว่างตาและช่องจมูกไม่มีแอ่งรับคลื่นอินฟราเรด กระดูกพาลาทีนมีก้านกระดูกโคเอนัลชิ้นใหญ่ ทางด้านท้ายของกระดูกฟรีฟอนทัลและค่อนไปทางด้านในมีก้านกระดูกออร์ไบทัล มีสีลำตัวที่โดดเด่นชัดเจนมาก โดยตามลำตัวเป็นสีฟ้าเทาอมดำและมีแต้มระหว่างเกล็ดเว้นระยะห่างกันประมาณ 1-2 ชิ้น มีลายแถบสีส้มขาว หัวมีขนาดเล็กเป็นสีส้มเหลืองตัดกับลำตัว ม่านตาเป็นสีส้มเหลืองในแนวตั้ง มีขนาดความยาวประมาณ 60-70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ตามกองใบไม้กิ่งไม้ตามพื้นดินของป่าที่มีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในป่าไผ่และป่าเฟิร์นบนภูเขาสูงในระดับ 800-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในเวลากลางคืนและกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบเทือกเขาตั้งแต่ตอนเหนือของเวียดนาม, ภาคใต้ของจีน (มณฑลฟูเจี้ยน, มณฑลกวางสี, มณฑลเจียงซี, มณฑลกุ้ยโจว, มณฑลยูนนาน, มณฑลเสฉวน และมณฑลเจ้อเจียง), ตอนใต้ของธิเบต และในรัฐคะฉิ่น ทางภาคเหนือของพม่า งูชนิดนี้มีพิษที่คล้ายคลึงกับพิษของงูชนิด Tropidolaemus wagleri และไม่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือ.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและงูพิษเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน

ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยนหรือแม้ว-เย้า เป็นตระกูลภาษาเล็กๆที่ใช้กันทางตอนใต้ของประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้พูดกันในแถบภูเขาสูงตอนใต้ของจีน เช่นในมณฑลกุ้ยโจว หูหนาน ยูนนาน เสฉวน กวางสี และมณฑลหูเป่ยที่เรียกกันว่าชาวเขาในขณะที่ชาวจีนฮั่นตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่น้ำ เมื่อ 300-400 ปีที่ผ่านมา ชาวม้งและเมี่ยนจำนวนมากได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ลาว เวียดนาม และพม่า และเนื่องจากสงครามอินโดจีน ชาวม้งบางส่วนได้ลี้ภัยจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศ ม ม ม.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

ตั้งอึ๊ง

ตั้งอึ๊ง หรือรูบาบจีน อยู่ในวงศ์ Polygonaceae ภาษาจีนกลางเรียกต้าหวางหรือย่างย่งต้าหวาง เป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ รากและเหง้าอ้วนสั้น เปลือกต้นเป็นร่องตามยาว พองตามข้อ ใบหยักเป็นแฉก ดอกช่อ ดอกย่อยออกเป็นกระจุก สีเขียวหรือขาวอมเหลือง ผลแห้ง เมล็ดล่อน เป็นพืชพื้นเมืองในจีนพบในมณฑลฝูเจี้ยน กุ้ยโจว เหอหนาน หูเป่ย์ ชานซี เสฉวน และยูนนาน ในจีนปลูกเพื่อใช้เป็นยา พืชชนิดนี้มีการศึกษาทางคลินิกในการใช้กำจัดไวรัสเฮปาทิทิสบี ซึ่งการใช้ร่วมกับอินเตอร์เฟียรอนให้ผลที่เป็นที่พอใ.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและตั้งอึ๊ง · ดูเพิ่มเติม »

ต้ง

ต้ง เป็นกลุ่มชนซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกุ้ยโจว ทางตอนใต้ของมณฑลหูหนาน และทางตะวันออกของเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วงของประเทศจีน พวกเขาเรียกพวกตนเองว่า ก๊ำ หรือ อ้ายก๊ำ หรือ ปู้ก๊ำ ซึ่งก็คือ ผู้คำ พวกเขาเชื่อว่าพวกตนเองสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่านก ชาวปู้ก๊ำ หรือ อ้ายก๊ำ มีจำนวนประชากร 2,960,293 คน พวกเขาใช้ภาษาต้งซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได (จ้วง-ต้ง) และส่วนมากจะใช้อักษรจีนในการเขียน ต่อมาใน ค.ศ. 1958 ก็มีการใช้อักษรละติน แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและต้ง · ดูเพิ่มเติม »

ฉงชิ่ง

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง เป็นเขตเทศบาลนคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว เสฉวนและส่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม.² มีประชากร (พ.ศ. 2548) 31,442,300 คน ความหนาแน่น 379/ก.ม.² จีดีพี (2005) (310) พันล้านหยวน รวมต่อประชากร 8,540 พันล้านหยวน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและฉงชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ซูโจว

ซูโจว (จีนตัวเต็ม: 蘇州; จีนตัวย่อ: 苏州) เป็นเมืองสำคัญทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศจีน อยู่ติดกับเขตการปกครองพิเศษเซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตอนปลายของแม่น้ำแยงซี ริมฝั่งทะเลสาบไท่หรือไท่หู (อังกฤษ: Lake Tai or Tai Hu; จีนตัวย่อ: 太湖) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 4 ล้านคนในเขตเมือง และมีประชากรรวมกว่า 10 ล้านคนในพื้นที่เขตปกครองทั้งหมด เมืองซูโจวยังถือได้ว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ศูนย์กลางการค้า และการขนส่ง นอกจากนี้ซูโจวยังเป็นเมืองสำคัญด้านวัฒนธรรม การศึกษา ศิลปะ และการคมนาคม เมืองซูโจวเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ 514 ปี ก่อนคริสตกาล มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,500 ปี ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก หรือเมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตกาล เมืองซูโจวเป็นหนึ่งในสิบเมืองใหญ่ที่สุดในโลกเนื่องจากมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่จำนวนมาก และในศตวรรษที่ 10 สมัยราชวงศ์ซ่ง เมืองซูโจวเคยเป็นเมืองศูนย์กลางด้านพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงกบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion) ในปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและซูโจว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปู้อี

ชาวปู้อี เรียกตัวเองว่า ปู้ใหญ่ ปู้จ่อง และปู้หม่าน มีถิ่นที่อยู่ที่มณฑลเจียงซู รวมจ้วงเหนือแถบเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว และตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ที่มักเรียกตนเองว่าปู้อี ไม่เรียกตนเองว่าจ้วง มีประชากรราว 2,049,203 คน มีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายจ้วง พูดภาษาไทและภาษาจีน นับถือลัทธิดั้งเดิม และบางส่วนก็หันไปนับถือคริสต์ศาสนา หมวดหมู่:ชาวไท หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน หมวดหมู่:กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเวียดนาม.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและปู้อี · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกหฺวังกั่วชู่

น้ำตกหฺวังกั่วชู่ (Huangguoshu Falls) ตั้งอยู่ห่างราว 45 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอันชุ่น ใกล้กับเมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีความกว้าง 101 เมตร สูงถึง 77.8 เมตร ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติน้ำตกหฺวังกั่วชู่ ซึ่งเป็นกลุ่มน้ำตกขนาดใหญ่จำนวน 18 แห่ง นับเป็นกลุ่มน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย โดยมีน้ำตกหฺวังกั่วชู่เป็นหลัก น้ำตกหฺวังกั่วชู่ ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นน้ำตกที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เสียงของน้ำตกได้ยินไปไกลถึง 4 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก น้ำตกได้รับน้ำจากแม่น้ำไป๋ซุ่ย มีกวีจีนแต่โบราณหลายคนได้รจนาความงามของน้ำตกแห่งนี้ ซู่ เซียเค่อ ในยุคราชวงศ์หมิงพรรณนาว่า น้ำที่นี่ไหลเป็นสีขาวราวไข่มุกหรือหยก ก่อให้เกิดเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม อาจมีบางแห่งที่สูงกว่าหรือชันกว่า แต่ไม่มีที่ใดที่จะกว้างเท่าที่นี่อีกแล้ว เล่ากันว่าเสมือนสายน้ำไหลบ่ามาจากสวรรค์สู่พสุธา มีตำนานหรือปกรณัมมากมายที่กล่าวถึงน้ำตกหฺวังกั่วชู่ โดยชื่อ หฺวังกั่วชู่ หมายถึง "น้ำตกต้นผลไม้เหลือง" มีที่มาจากตำนานพื้นบ้านที่เล่าถึงผลไม้ที่มีสีเหลืองที่ห้อยมาจากต้น มีชายชราผู้หนึ่งพยายามที่จะเก็บกินมัน แม้มีผู้ทักท้วง แต่ก็ไม่สำเร็จ และผลไม้นั้นก็ได้ตกลงไปในน้ำทำให้ได้ชื่อว่า หฺวังกั่วชู่ ในที่สุด ตำนานหนึ่งเล่ากันว่า เมื่อคืนหนึ่งที่ท้องฟ้ากระจ่างสามารถมองเห็นทางช้างเผือกได้ชัดเจน ทางช้างเผือกก็ได้ตกลงมาสู่โลกมนุษย์กลายเป็นน้ำตกหฺวังกั่วชู่ ถ้ำหลังม่านน้ำตก ชื่อ ชุยเหลียงตง (水帘洞) เป็นถ้ำที่มีความยาวประมาณ 134 เมตร เล่ากันว่า ที่นี่เป็นที่อยู่และปกครองบริวารลิงของหงอคง หรือเห้งเจีย ตัวละครเอกจากวรรณคดีเรื่องไซอิ๋ว ที่เป็นที่รู้จักกันดี ในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำของน้ำตกจะลดน้อยลงตามธรรมชาติ ทำให้เห็นหินรูปร่างประหลาดต่าง ๆ น้อยใหญ่ที่เรียงรายอยู่รอบ ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งความสวยงามของที่นี่ แต่เสียงของน้ำตกก็ยังดังกึกก้องไปทั่งบริเวณ ขณะที่ช่วงฤดูฝนราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน เสียงของน้ำตกจะได้ยินดังไปไกลถึงอีกหมู่บ้านหนึ่ง อีกความงามของที่นี่ คือ รุ้งที่เกิดจากละอองน้ำที่สะท้อนกับแสงแดดที่เหนือทะเลสาบเบื้องล่างของน้ำตก จุดนี้เป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยว มีการสร้างสะพานสำหรับยืนชมหรือถ่ายภาพโดยเฉ.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและน้ำตกหฺวังกั่วชู่ · ดูเพิ่มเติม »

แผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน

ตเศรษฐกิจใหญ่ทั้งสี่ของจีน ไฟล์:Zhongguo jingji bankuai.png ตะวันออก ตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง แผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน (ซีปู้ต้าไคฟา; China Western Development) คือนโยบายที่เสนอโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน โดยกินพื้นที่ร้อยละ 71.4 ประชากรร้อยละ 28.8 และเศรษฐกิจร้อยละ 16.8 ของประเทศ ปกคลุมอาณาเขตของ 6 มณฑล (กานสู้ กุ้ยโจว ชิงไห่ ฉ่านซี เสฉวน ยูนนาน) 5 เขตปกครองตนเอง (กวางสี มองโกเลียใน หนิงเซี่ย ทิเบต) และ 1 เทศบาลนคร (นครฉงชิ่ง) รถไฟใต้ดินนครฉงชิ่ง และทางรถไฟชิงไห่ คือตัวอย่างของโครงการนี้ หมวดหมู่:ประเทศจีน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและแผนพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน · ดูเพิ่มเติม »

แคะ

แคะ หรือ ฮากกา (客家 คำว่า แคะ ในภาษาไทยถูกเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า แขะแก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ส่วนในภาษาจีนแคะเอง เรียกว่า ขักก๊า หรือ ฮากกา) คือ ชนกลุ่มจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกล่าวกันว่ามีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนานและซานซี ทางตอนเหนือของจีนเมื่อราว 2,700 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของชาวจีนแคะอพยพลงใต้ เนื่องจากความไม่สงบทางสังคม การลุกฮือ และการรุกรานจากผู้ยึดครองต่างชาติตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265-420) กระแสการอพยพครั้งต่อ ๆ มาเกิดขึ้นเมื่อยุคสิ้นราชวงศ์ถัง เมื่อประเทศจีนแตกออกเป็นส่วน ๆ และช่วงราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรทางภาคเหนือลดลง.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและแคะ · ดูเพิ่มเติม »

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท ประกอบด้วยแนวคิดทั้งหลายซึ่งอธิบายถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน โดยมีอยู่หลากหลายแนวคิด เช่น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและแนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท · ดูเพิ่มเติม »

โจว ซื่อหมิง

ว ซื่อหมิง (มักนิยมเรียกกันว่า ซู ชิหมิงมวยสยามรายวัน. ปีที่ 20 ฉบับที่ 6926. วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555. หน้า 7; เกิดวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 ที่เมืองซุนอี้ มณฑลกุ้ยโจว) เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ชนะรายการระดับโลกใน..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและโจว ซื่อหมิง · ดูเพิ่มเติม »

โจว เหว่ยตง

ว เหวยถง (周韦彤) เป็นนักแสดงสาวชาวจีนที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษที่คนทั่วไปรู้จักคือ ซิก้า โจว (Cica Zhou).

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและโจว เหว่ยตง · ดูเพิ่มเติม »

ไชนีสซูเปอร์ลีก

นีสซูเปอร์ลีก, ซูเปอร์ลีกที่ถูกสร้างขึ้นโดยสมาคมฟุตบอลจีนมาแทนลีกเดิมที่มีชื่อว่า เจีย-เอลีก (Jia-A League) ในปี 2547 โดยเริ่มต้นมีเพียง 12 ทีมเข้าร่วมการแข่ง จนกระทั่งในปี 2552 ได้เพิ่มจำนวนทีเข้าร่วมเป็น 16 ทีม.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและไชนีสซูเปอร์ลีก · ดูเพิ่มเติม »

ไผ่ตง

ผ่ตง เป็นไผ่สกุลหนึ่งในวงศ์หญ้า (Poaceae) ชื่อสกุลมีที่มาจากภาษากรีกว่า "δένδρον" (déndron) แปลว่า "ต้นไม้" และ "κάλαμος" แปลว่า "พืชจำพวกกกหรืออ้อย" รวมหมายถึง "อ้อยที่เป็นกอคล้ายต้นไม้" จึงสื่อถึงลักษณะของไผ่สกุลนี้ที่มีขนาดใหญ่และนิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ ไผ่สกุลนี้มีประมาณ 50 ชนิด ในจำนวนนี้พบในไทย 4 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเขตอินเดีย จีน อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปิน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและไผ่ตง · ดูเพิ่มเติม »

ไดโนเซฟาโลซอรัส

นเซฟาโลซอรัส (ความหมาย: "สัตว์เลื้อยคลานที่มีหัวน่ากลัว") เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิก (ราว 245 ล้านปีก่อน) เป็นไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งที่มีส่วนคอเรียวยาว มีเท้าที่มีครีบหรือพังผืดระหว่างนิ้วเท้า มีส่วนหัวที่เล็ก โดยตัวอย่างต้นแบบถูกค้นพบที่มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน เมื่อปี..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและไดโนเซฟาโลซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

เมืองแมนแดนสันติ

มืองแมนแดนสันติ เป็นชื่อรัฐซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาลในประเทศจีนตั้งแต..

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเมืองแมนแดนสันติ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น

ตะขอเข็มขัด ตอกและสลักด้วยการออกแบบตามหลักของสัตว์และนกในตำนาน ราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 220) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในยุคโบราณ ปรากฏช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองและถดถอยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ราชวงศ์ฮั่นเหนือ (ปี 206 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 9) ราชวงศ์ซิน (ปี ค.ศ. 9 – 23) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ปี ค.ศ. 25 – 220) ระบอบการปกครองของราชวงศ์ซินก่อตั้งโดยจักรพรรดิซินเกาจู่ (หวัง หมั่ง) เป็นระบอบการปกครองช่วงระหว่างภาวะสุญญากาศทางการเมืองคั่นกลางระหว่างการปกครองที่ยาวนานของราชวงศ์ฮั่น หลังจากที่การปกครองของจักรพรรดิซินเกาจู่ล่มสลายลง เมืองหลวงของราชวงศ์ฮั่นถูกย้ายไปทางทิศตะวันออกจากเมืองฉางอานไปยังเมืองลั่วหยาง ด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์จึงเรียกยุคก่อนและหลังว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันตกและราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตามลำดับ เศรษฐกิจสมัยราชวงศ์ฮั่นถูกกำหนดโดยการเติบโตของประชากรอย่างแพร่หลาย การกลายเป็นเมืองเพิ่มขึ้น การเติบโตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของอุตสาหกรรมและการค้า และการทดลองของรัฐบาลโดยแปลงสินทรัพย์ของเอกชนให้เป็นสินทรัพย์ของรัฐ ในยุคนี้ระดับของการทำเหรียญและการไหลเวียนของเหรียญเงินตราเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ รูปแบบของพื้นฐานทางระบบการเงินที่มั่นคง เส้นทางสายไหมช่วยอำนวยความสะดวกในการสถาปนาการค้าและแลกเปลี่ยนเครื่องบรรณาการกับต่างประเทศทั่วทวีปยูเรเชีย หลายสิ่งนี้ไม่เคยเป็นที่รับรู้ของชาวจีนยุคโบราณมาก่อน เมืองหลวงของราชวงศ์ทั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ฉางอาน) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ลั่วหยาง) ตั้งอยู่ท่ามกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นทั้งด้านประชากรและด้านพื้นที่ โรงงานของรัฐบาลผลิตเครื่องตกแต่งสำหรับพระราชวังของจักรพรรดิและผลิตสินค้าสำหรับสามัญชน รัฐบาลควบคุมการก่อสร้างถนนและสะพานหลายแห่งซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจของรัฐบาลอย่างเป็นทางการและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางการค้า ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น นักอุตสาหกรรม ผู้ค้าส่งและพ่อค้า จากพ่อค้าปลีกรายย่อยไปจนถึงนักธุรกิจที่มั่งคั่งสามารถมีส่วนร่วมในความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการค้าที่หลากหลายทั้งภายในประเทศ ในแวดวงสาธารณะ และแม้แต่ทหาร ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่น ชาวนาที่อาศัยอยู่พื้นที่ชนบทพึ่งพาตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่พวกเขาเริ่มพึ่งพาการแลกเปลี่ยนทางการค้าอย่างหนักกับเจ้าของที่ดินการเกษตรขนาดใหญ่ที่มั่งคั่ง ชาวนาชาวไร่จำนวนมากมีหนี้สินลดลงและถูกบังคับให้กลายเป็นแรงงานจ้างหรือไม่ก็เป็นผู้อยู่อาศัยที่ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับชนชั้นเจ้าของที่ดิน รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นพยายามให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับชาวนาที่ยากจนอย่างต่อเนื่อง พวกชาวนาต้องแข่งขันกับขุนนาง เจ้าของที่ดินและผู้ประกอบการค้าที่ทรงอำนาจและอิทธิพล รัฐบาลพยายามจำกัดอำนาจของกลุ่มคนที่มั่งคั่งเหล่านี้โดยการเก็บภาษีและออกกฎระเบียบทางราชการอย่างหนัก ถึงแม้ว่ารัฐบาลของจักรพรรดิฮั่นอู่ (ปี 141 – 87 ก่อนคริสตกาล) ได้แปรรูปอุตสาหกรรมเหล็กและเกลือให้กลายเป็นกิจการของรัฐ อย่างไรก็ตาม การผูกขาดของรัฐบาลเหล่านี้ถูกยกเลิกในระหว่างยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก การแทรกแซงของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นในด้านเศรษฐกิจภาคเอกชนระหว่างปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ส่งผลให้ชนชั้นพ่อค้าเชิงพาณิชย์อ่อนแอลงอย่างหนัก การแทรกแซงของรัฐบาลช่วยให้เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งเพิ่มอำนาจพวกเขาและรับประกันความต่อเนื่องของเศรษฐกิจที่ครอบงำการเกษตร เจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งครอบงำกิจกรรมด้านการค้าได้เป็นอย่างดี ปรับปรุงอำนาจการปกครองให้อยู่เหนือชาวนาที่อยู่ในชนบททั้งหมด ผู้ซึ่งรัฐบาลไว้วางใจเพราะรายได้จากการจัดเก็บภาษี กำลังทางทหารและแรงงานสาธารณะ โดยในปีคริสต์ทศวรรษที่ 180 วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองเป็นเหตุให้รัฐบาลของราชวงศ์ฮั่นกระจายอำนาจมากขึ้น ขณะที่เจ้าของที่ดินรายใหญ่มีอิสระและมีอำนาจในชุมชนของพวกเขามากขึ้น.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเศรษฐกิจจีนยุคราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 25 องศาเหนือ

้นขนานที่ 25 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 25 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ทวีปอเมริกาเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นชายแดนจุดเหนือสุดของมาลีซึ่งแบ่งกับมอริเตเนีย ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 13 ชั่วโมง 42 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 10 ชั่วโมง 35 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 104 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 104 องศาตะวันออก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจาก ขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก, ทวีปเอเชีย, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรใต้, และทวีปแอนตาร์กติกาเข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 104 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 76 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเส้นเมริเดียนที่ 104 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 75 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเส้นเมริเดียนที่ 105 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เอื้องสายมรกต

อิ้องสายมรกต เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่ง เป็นพืชพื้นเมืองในจีน (กว่างซีจ้วง กุ้ยโจว ทิเบต และยูนนาน) อินโดจีน ไทย และเขตเทือกเขาหิมาลัย เช่น เนปาล ภูฏาน อัสสัม ภาษาจีนกลางเรียกหวงเฉ่าสือหู ก้านใช้ทำยาที่เรียกสือหูหรือเจี่ยฮก แก้ท้องผูก เบื่ออาหาร.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเอื้องสายมรกต · ดูเพิ่มเติม »

เขตการปกครองของประเทศจีน

ตการปกครองของจีน เขตการปกครองของจีน มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ มณฑล อำเภอ และ ตำบล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มมาอีก 2 ระดับ คือ จังหวัด และ หมู่บ้าน ซึ่งถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเขตการปกครองของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

Eremochloa

Eremochloa คือพืชสกุลหนึ่งในวงศ์หญ้า (Poaceae) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และออสเตรเลี.

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและEremochloa · ดูเพิ่มเติม »

2

2 (สอง) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 1 (หนึ่ง) และอยู่ก่อนหน้า 3 (สาม).

ใหม่!!: มณฑลกุ้ยโจวและ2 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GuizhouKweichowกุ้ยโจว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »