โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มงกุฎอิมพีเรียลสเตต

ดัชนี มงกุฎอิมพีเรียลสเตต

มงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสหราชอาณาจักร มงกุฎอิมพิเรียลสเตตนี้มีการสร้างทดแทนขึ้นหลายยุคสมัยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ซึ่งรุ่นล่าสุดนี้มีลักษณะคล้ายมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดอยู่ไม่น้อย ตัวมงกุฎนั้นมีฐานประกอบด้วยกางเขนแพตตี (cross pattée) จำนวนสี่กางเขน สลับกับเฟลอ-เดอ-ลีส์ (fleur-de-lis) หรือดอกลิลลี่จำนวนสี่ดอก ส่วนเหนือจากฐานขึ้นไปเป็นโค้งจำนวนสี่โค้งตัดกันที่มียอดเป็นด้านบนจุดตัดเป็นกางเขนอีกหนึ่ง ภายในตรงกลางมงกุฎเป็นหมวกกำมะหยี่ที่มีขอบเป็นขนเออร์มิน มงกุฎฝังด้วยอัญมณีหลายชนิดที่รวมทั้ง: เพชร 2,868 เม็ด, ไข่มุก 273 เม็ด, แซฟไฟร์ 17 เม็ด, มรกต 11 เม็ด, และทับทิม 5 เม็ด มงกุฎอิมพิเรียลสเตตประกอบด้วยอัญมณีที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น กางเขนบนมงกุฎฝังอัญมณีที่เรียกว่าแซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ดที่นำมาจากแหวน (หรือ จุลมงกุฎ) ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ, ทับทิมเจ้าชายดำ (Black Prince's Ruby) (ความจริงแล้วคือสปิเนล ที่ฝังอยู่บริเวณกางเขนด้านหน้าของมงกุฎ และเพชรคัลลินันที่ฝังด้านหน้ามงกุฎบริเวณฐาน ด้านหลังฝังด้วยแซฟไฟร์สจวตหนัก 104 กะรัต (20.8 กรัม) บนขอบ นอกจากนี้ยังมีไข่มุกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธประดับอีกด้ว.

29 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2480พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรพระราชวังเวสต์มินสเตอร์พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรกางเขนแพตตีมรกตมงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดรัฐบาลสหราชอาณาจักรรัฐสภาสหราชอาณาจักรสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรสปิเนลหอคอยแห่งลอนดอนทับทิมทับทิมเจ้าชายดำแซฟไฟร์แซฟไฟร์สจวตแซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ดไข่มุกเพชรเพชรคูลลิแนนเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เออร์มินเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์สถานที่ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีราชาภิเษกพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร เป็นพระราชพิธีซึ่งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ตลอดจนรัฐในเครือจักรภพ รวมทั้งคู่อภิเษกสมรสของพระองค์ จะทรงประกอบเพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดเหนือประเทศเหล่านั้น พระราชพิธีราชาภิเษกนี้มีจัดขึ้นในทุกประเทศที่ปกครองโดยมีระบบกษัตริย์เป็นประมุข แม้แต่พระสันตะปาปาแห่งนครรัฐวาติกันก็ทรงประกอบพิธีนี้เช่นกัน พระราชพิธีนี้โดยมากมักจะจัดขึ้นหลังจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนเสด็จสวรรคตไปแล้วพอสมควร เพื่อที่จะได้มีเวลาพอสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพสำหรับกษัตริย์พระองค์ก่อน และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับกษัตริย์พระองค์ใหม่ด้วย ดังเช่นสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 แต่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2496, พระราชพิธีนี้มีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประธาน ในฐานะศาสนาจารย์อาวุโสสูงสุดของคริสตจักรแห่งอังกฤษ พระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีของทุกประเทศจะเข้าร่วมในพระราชพิธีนี้ รวมทั้งอาจมีแขกของรัฐบาลอีกเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเวสต์มินสเตอร์

ระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือ ตึกรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Palace of Westminster หรือ Houses of Parliament หรือ Westminster Palace) เป็นสถานที่ที่สภาสองสภาของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร (สภาขุนนาง และสภาสามัญชน) ประชุม พระราชวังตั้งอยู่บนฝั่งเหนือของแม่น้ำเทมส์ในนครเวสต์มินสเตอร์ของลอนดอนบะระห์ไม่ไกลจากพระราชวังไวท์ฮอลล์ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ สร้างในปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่

ระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (George I of Great Britain, George I von Großbritannien) (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 – 11 มิถุนายน ค.ศ. 1727) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์สมัยราชวงศ์แฮโนเวอร์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร (George IV of the United Kingdom หรือ George Augustus Frederick) (12 สิงหาคม ค.ศ. 1762 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1830) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์ฮาโนเวอร์ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ และพระเจ้าแผ่นดินแห่งฮาโนเวอร์ แห่งราชอาณาจักรฮาโนเวอร์ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี หรือนักบุญเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี (Edward the Confessor หรือ Saint Edward the Confessor) (ราว ค.ศ. 1003/1004 – 4 มกราคม ค.ศ. 1066) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เวสเซ็กซ์แห่งราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด; 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2384 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ประมุขแห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเป็นพระประมุขพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระองค์ทรงครองราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ก่อนการเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และทรงมีลักษณะเด่นพิเศษที่เป็นรัชทายาทในรัชบัลลังก์ยาวนานกว่าใครในประวัติศาสตร์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นบันทึกสถิติที่เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์องค์ปัจจุบันไล่ตามมาอย่างรวดเร็ว รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเรียกว่า สมัยเอ็ดเวิร์ด (Edwardian Period) ทำให้เห็นถึงการยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2448 พระองค์เป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2451 ถึงแม้ว่าทรงปฏิเสธที่จะเสด็จเยือนในปี พ.ศ. 2449 (เพราะว่าโปรดสภาดูมามากกว่าซาร์) พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากองทัพเรืออังกฤษให้ทันสมัยขึ้นและการปฏิรูปหน่วยการแพทย์ในกองทัพบกอังกฤษหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอังกฤษกับนานาประเทศของทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ของพระองค์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า "ผู้สร้างสันติภาพ" (Peacemaker) ได้ถูกทำให้ผิดแผกแปลกไปอย่างน่าเศร้าจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2457.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนแพตตี

กางเขนแพตตี (Cross Pattée, Cross Patty, Cross Pate) เป็นสัญลักษณ์รูปแบบหนึ่งของกางเขนคริสเตียน ซึ่งมีลักษณะของแขนแคบเข้าตรงช่วงกลางของกางเขน โดยจะเริ่มจากเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง และจะค่อยๆ กว้างออกที่บริเวณช่วงปลายทั้งสี่ด้าน โดยได้พบหลักฐานการใช้สัญลักษณ์กางเขนแพตตีในงานศิลปะยุคกลางตอนต้น อาทิเช่น งานปกสมุดทำด้วยโลหะซึ่งจัดสร้างโดยพระราชินีเธโอเดลินดา เพื่อใช้ถวายให้กับมหาวิหารมอนซา ในปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและกางเขนแพตตี · ดูเพิ่มเติม »

มรกต

มรกต (สูตรเคมี: Be3Al2(SiO3)6) เป็นแร่รัตนชาติหรืออัญมณี สีเขียวเกิดจากธาตุโครเมียมและวานาเดียม มรกตจัดอยู่ในแร่ตระกูลเบริล ซึ่งเบริลเป็นแร่ที่มีหลายวาไรตี ได้แก่ แอควะมะรีน (aquarmarine) มีสีฟ้า โกลเดนเบริลหรือเฮลิโอดอร์มีสีเหลือง สีแดงเรียกเร็ดเบริล สีชมพูเรียกว่ามอร์แกไนต์ คุณภาพของมรกตอยู่ที่สีหากมีสีเขียวทั่วทั้งเม็ดก็จัดว่าคุณภาพสูง ส่วนตำหนินั้นมรกตธรรมชาติทุกชิ้นจะต้องมีทั้งสิ้น ลักษณะเป็นเส้น ริ้วสีขาว จุดสีดำ สีสนิม ฝ้าขาวขุ่นตามธรรมชาติ รอยริ้วที่ดูคล้ายรากผักชีเรียกว่า "สวน" (jardin) มรกตคุณภาพดีหรือไม่ดีก็มีทั้งสิ้น แต่พิจารณาปริมาณและการวางตัวของตำหนิ (ต้องเลือกที่ไม่มีตำหนิต่อเนื่องราวมาจนถึงหน้าพลอย หรือจากขอบหนึงไปถึงขอบหนึ่ง เพราะจะมีผลต่อการนำไปใช้ อาจไม่คงทน) ซึ่งอาจจะมีผลกับการส่องประกายแสงออกมาจากมรกต หากมีมากไปพลอยจะดูทึบแสง ไม่มีประกายซึ่งมักได้รับการเจียระไนแบบหลังเบี้ยหรือหลังเต่า หากทึบจนตันแสงไม่ส่องผ่านเลยและมีสีเขียวซีดจะจัดเป็นมรกตคุณภาพต่ำที่สุด มรกตมีการทำเลียนแบบ สังเคราะและปรับปรุงคุณภาพ (อาบนำมันบ้าง ชุบสี ซ่านสี เคลื่อบสี แช่สารเคมีเฉพาะ) ดังนั้นจึงควรตรวจสอบก่อนการซื้อเพราะจัดเป็นพลอยที่มีราคาสูงมาก (ถ้าคุณภาพดีมากและขนาดใหญ่ด้วยแล้ว) บางกรณีนั้นแยกแทบไม่ออกด้วยตาเปล่าต้องส่งห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือช่วยตรวจสอบ มรกตนั้นมีหลายเฉดสี แหล่งที่สำคัญมากและโด่งดังไปทั่วโลกคือ มรกตจากโคลอมเบีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่างามที่สุดในโลกราคามักสูงกว่าแหล่งอื่น ๆ และถูกกล่าวอ้างถึงบ่อย ๆ มีเหมืองสำคัญซึ่งผลิตมรกตสีต่างกันคือ เหมืองชิบอร์ (Chivor) มีมรกตสีเขียวสดอมเหลือง และเหมืองมูโซ (Muzo) ให้มรกตสีเขียวอมฟ้าคล้ายสีของน้ำทะเล การดูแลรักษาไม่ควรใส่ทำงานหนัก เพราะทนแรงกระแทกได้ไม่ดีนักมีความเปราะ หลีกเลี่ยงสารเคมี น้ำหอม และสเปรย์แต่งผม.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและมรกต · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1

มงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1 (State Crown of George I) เป็นมงกุฎแห่งรัฐ (state crown) ที่จัดทำสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 1 เมื่อคราที่พระเจ้าจอร์จที่ 1 เสวยราชย์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่และ พระมหากษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ในปีค.ศ. 1714 ได้มีความคิดที่จะจัดถวายมงกุฎองค์ใหม่สำหรับใช้ในรัฐพิธีต่างๆ (เช่น รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา) เพื่อใช้แทนมงกุฎองค์เก่าที่สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ในปีค.ศ. 1661 ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมและเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมคืนสภาพเดิมได้ โดยรัตนชาติและแก้วต่างๆที่ประดับนั้นได้ถูกย้ายมาอยู่บนมงกุฎองค์ใหม่แทน มงกุฎองค์นี้ในปัจจุบันเหลือแต่โครงเปล่าที่ทำจากทองคำ และลูกโลกประดับบนยอดที่ทำจากอะความารีน ทั้งสองอย่างนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร '''สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่''' และมงกุฎองค์นี้อยู่บริเวณเบื้องขวาของพระอง.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและมงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง และเป็นมงกุฎที่ใช้เป็นมงกุฎราชาภิเษก (Coronation crown) อย่างเป็นทางการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของสหราชอาณาจักร มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎองค์เดิม ซึ่งสร้างในปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลสหราชอาณาจักร

รัฐบาลในสมเด็จฯ (Her Majesty's Government, ย่อ: HMG) มักเรียก รัฐบาลบริติช เป็นรัฐบาลกลางของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและรัฐบาลสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหราชอาณาจักร

รัฐสภาสหราชอาณาจักร หรือ รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ (Parliament of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland หรือ Parliament of the United Kingdom) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติสูงสุดในสหราชอาณาจักรและดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร โดยมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษเป็นระบบสองสภา (Bicameralism) ซึ่งประกอบไปด้วย “สภาสูง” หรือ สภาขุนนาง (House of Lords) และ “สภาล่าง” หรือ สภาสามัญชน (House of Commons) พระมหากษัตริย์เป็นองค์ประกอบที่สามของรัฐสภา สภาทั้งสองสภาประชุมแยกกันในห้องประชุมรัฐสภาภายในพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ตึกรัฐสภา” ที่นครเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอน ตามปกติแล้วรัฐมนตรีของรัฐบาลทั้งหมดรวมทั้งนายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาสามัญชน แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่เป็นสมาชิกของสภาขุนนาง ที่ประชุมรัฐสภา ณ พระราชวังเวสมินเตอร์ รัฐสภาสหราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและรัฐสภาสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 6 (George VI of the United Kingdom; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 — 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ และเครือจักรภพอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สปิเนล

ปิเนล (Spinel) เป็นแร่รัตนชาติ ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของแม็กเนเซียมและอะลูมิเนียม มีสูตรเคมีว่า MgAl2O4 โดยเฉพาะสีแดง จะลักษณะคล้ายทับทิมมาก จนเรียก "ทับทิมสปิเนล" (ruby spinel) ส่วน บาลัส รูบี้ หรือ ทับทิมบาลัส เป็นชื่อเดิมของสปิเนลที่มีสีกุหลาบ สปิเนลมีรูปผลึกชัดแบบออกตระฮีดรอน ระดับความแข็งถึง 8 มีความวาวแบบแก้ว สปิเนลแตกต่างจากแร่แมกเนไทท์ ตรงที่ ไม่มีสมบัติเป็นแม่เหล็ก และมีสีผงละเอียดสีขาว ไม่หลอมละลาย และไม่ละลายในกร.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและสปิเนล · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและหอคอยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ทับทิม

ทับทิม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและทับทิม · ดูเพิ่มเติม »

ทับทิมเจ้าชายดำ

ทับทิมเจ้าชายดำ (Black Price Ruby) หรือ ทับทิมแบล็กพรินซ์ คือ สปิเนลซึ่งเป็นรัตนชาติอันมีลักษณะคล้ายทับทิม หนักประมาณ 170 กะรัต (34 กรัม) ขนาดประมาณไข่ไก่ ทับทิมเจ้าชายดำในปัจจุบันประดับอยู่ตรงกลางกางเขนแพตตี เหนือเพชรคูลลิแนน 2 ที่มีขนาดถึง 317.40 กะรัต (63.48 กรัม) ซึ่งทั้งสองนี้ประดับอยู่บนตัวเรือน "มงกุฎอิมพีเรียลสเตต" ทับทิมเจ้าชายดำ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของสหราชอาณาจักรชิ้นหนึ่งที่มีความเก่าแก่ที่สุดทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 และยังอยู่ในความครอบครองของพระมหากษัตริย์อังกฤษตั้งแต่ได้ขึ้นทูลเกล้าถวายในปีค.ศ. 1367 แด่เอ็ดเวิร์ดแห่งวูดสตอก ("เจ้าชายดำ").

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและทับทิมเจ้าชายดำ · ดูเพิ่มเติม »

แซฟไฟร์

แซฟไฟร์ (Sapphire) เป็นพลอยตระกูลคอรันดัม มีหลายสี แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงเฉพาะที่มีสีน้ำเงิน ในประเทศไทย เดิมเรียกว่า นิลกาฬ (นิลก็ยังหมายถึงพลอยอีกชนิดหนึ่ง) แต่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า ไพลิน ตามชื่อของแหล่งกำเนิดจากเหมืองพลอย ในจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา ที่ในช่วงหนึ่งมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก แซฟไฟร์จัดเป็นแร่ในประเภท (Species) คอรันดัม (Corundum) เช่นเดียวกับทับทิม (Ruby) ซึ่งพลอยคอรันดัมนี้เป็นพลอยที่มีความแข็งรองลงมาจากเพชร จึงทำให้แซฟไฟร์ เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำไปทำเครื่องประดับ ชาวเปอร์เซียโบราณเชื่อกันว่าแซฟไฟร์ คือ "หินที่มาจากฟ้า" เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าโลก ตั้งอยู่บน แซฟไฟร์ ขนาดมหึมา จึงทำให้สะท้อนแสงแดด ออกไปสู่ท้องฟ้ามีสีน้ำเงิน ตามตำนานกล่าวว่า แซฟไฟร์เป็นพลอยของกษัตริย์ที่ใช้สวมใส่เพื่อป้องกันภัยอันตราย ทำให้เชื่อกันว่าผู้ที่สวมใสแซฟไฟร์จะมีชีวิตที่สดใส มีพลังในการดำรงชีวิต และแซฟไฟร์นี้สามารถปกป้องอันตรายแก่ผู้ที่สวมใส่ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังถือเอาแซฟไฟร์นี้เป็นสัญลักษณ์ของความจริงใจ และมั่นคงอีกด้วย ปัจจุบันหากพูดถึงแซฟไฟร์ คำเดียวจะหมายถึง Blue Sapphire หรือ ไพลิน มาจากภาษาเปอร์เชีย "Saffir" หรือจากภาษากรีก "Sappheiros" แปลว่า สีน้ำเงิน หรือจากภาษาสันสกฤต "ศนิปฺริย" (ศน.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและแซฟไฟร์ · ดูเพิ่มเติม »

แซฟไฟร์สจวต

แซฟไฟร์สจวต (Stewart Sapphire, Stuart Sapphire) คือแซฟไฟร์ที่เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ได้ชื่อมาจากราชวงศ์สจวตแห่งสก็อตแลนด์ ตามเจ้าของพระองค์แรก ซึ่งคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎราชาภิเษกของพระองค์ในปีค.ศ. 1214 และต่อมาในปีค.ศ. 1296 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษทรงอ้างสิทธิ์ครอบครองอัญมณีชิ้นนี้พร้อมกับหินแห่งสโคนในคราวที่ทรงยกทัพบุกสก็อตแลนด์ ในภายหลังจากได้ทรงครอบครองแล้ว ได้พระราชทานให้กับพระเทวัน(น้องเขย)ของพระองค์ คือ พระเจ้าเดวิดที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ ซึ่งเพื่อเป็นการตอบแทน พระองค์จึงได้พระราชทานต่อให้กับพระขนิษฐาของพระองค์ คือ มาร์โจรี บรูซ และต่อมา มาร์โจรี ได้สมรสกับวอลเตอร์ สจวตซึ่งมีบุตรซึ่งในภายหลังได้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์สจวต คือ พระเจ้าโรเบิร์ตที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ จึงเป็นที่มาของชื่ออัญมณีนี้ว่า "แซฟไฟร์สจวต" ในช่วงสมัยสาธารณรัฐของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ในฐานะของ "เจ้าผู้พิทักษ์" ได้ให้ขายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด และต่อมาภายหลังการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษขึ้นใหม่ แซฟไฟร์เม็ดนี้ได้กลับมาสู่ความครอบครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งแซฟไฟร์นี้ได้ถูกบันทึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรลิกของราชวงศ์สจวตที่ทรงนำไปที่ฝรั่งเศสเพื่อลี้ภัยด้วย ภายหลังจากเสด็จสวรรคตแล้ว ได้ตกทอดถึงพระโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์ เจมส์ สจวต หรือเรียกกันว่า ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ซึ่งต่อมาได้ตกทอดให้กับบุตรคนโต คือ เฮนรี เบเนดิกท์ สจวต พระคาร์ดินัล ดยุคแห่งยอร์ค หลังจากมรณภาพแล้วได้มอบให้กับพระเจ้าจอร์จที่ 3 ในปีค.ศ. 1838 พระราชินีวิกตอเรีย ทรงให้ปรับปรุงมงกุฎอิมพีเรียลสเตตของเดิม โดยให้ประดับแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้บริเวณฐานของมงกุฎตรงกลาง ข้างใต้ทับทิบเจ้าชายดำ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงให้สร้างมงกุฎอิมพีเรียลสเตตขึ้นใหม่ทั้งองค์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายของเดิมที่สุด โดยทรงให้ย้ายแซฟไฟร์เม็ดนี้ไว้ประดับบนมงกุฎองค์ใหม่ บริเวณฐานด้านหน้าของมงกุฎ และต่อมาเมื่อมีการค้นพบเพชรคูลลิแนน แซฟไฟร์สจวตได้ถูกย้ายไปอยู่ด้านหลังแทน เพื่อให้เพชรคูลลิแนน 2 ทรงเหลี่ยมขอบมนที่มีขนาดถึง 315 กะรัต แม้กระทั่งแซฟไฟร์นี้จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ แต่ความสำคัญของอัญมณีนี้มิได้อยู่ที่มูลค่า แต่มีความหมายอย่างยิ่งทางประวัติศาสตร์อันยาวนานในตัวของมันเอง.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและแซฟไฟร์สจวต · ดูเพิ่มเติม »

แซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ด

แซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.) คือแซฟไฟร์ที่เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร โดยได้ชื่อมาจากผู้สวม ซึ่งคือ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ซึ่งเคยประดับอยู่บนพระธำมรงค์ของพระองค์ กล่าวกันว่าแซฟไฟร์ชิ้นนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและแซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ไข่มุก

มุก เป็นอัญมณี มีสีขาว เงินยวง ชมพูและสีทอง โดยนำมาจากสัตว์จำพวกหอยนางรม อาจจะนับได้ว่าเป็นอัญมณีชนิดเดียวในโลกที่เกิดมาจากสัตว์ ไข่มุกสามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำมาบดในการใช้เป็นเครื่องสำอาง ความเชื่อของไข่มุก เป็นอัญมณีแห่งสายน้ำ เสริมสง่าราศีให้กับเพศหญิงก่อให้เกิดความนุ่มนวล อ่อนหวาน แก้ปัญหาทางด้านอารมณ์ ในปัจจุบันนี้ ประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ของการส่งไข่มุกออกสู่ตลาดโลก ไข่มุกที่คุณภาพดีนั้น ควรมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 8 เดือน ถึง 2 ปี ยิ่งเลี้ยงไว้ได้นาน ความสวยงามแวววาวยิ่งมีมากขึ้น แต่ส่วนมากที่พบในตลาดไข่มุกนั้น จะมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 2-5 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย เช่น มลภาวะทางน้ำ อุณหภูมิ และความอุดมสมบูรณ์ของทะเล.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและไข่มุก · ดูเพิ่มเติม »

เพชร

รดิบ เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและเพชร · ดูเพิ่มเติม »

เพชรคูลลิแนน

รคูลลิแนน (Cullinan diamond) เป็นเพชรคุณภาพอัญมณีดิบ (rough gem-quality) ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ หนัก 3,106.75 กะรัต (621.35 กรัม) มีความยาวประมาณ 10.5 ซม.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและเพชรคูลลิแนน · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์

วสต์มินสเตอร์แอบบีย์ (Westminster Abbey) เดิมเป็นแอบบีย์ แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในนครเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและเออร์มิน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร

ัลลังก์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ต่างๆ เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร (Crown Jewels of the United Kingdom) หมายถึงกกุธภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรและพิธีที่เป็นทางการใหญ่ๆ อื่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรหมายถึงสิ่งต่อไปนี้: มงกุฎ, คทาที่มีกางเขนหรือนกพิราบ, ลูกโลกประดับกางเขน (Orb หรือ globus cruciger), ดาบ, แหวน, เดือย, ฉลองพระองค์โคโลเบียมซินโดนิสทูนิค (Colobium sindonis), ฉลองพระองค์ดาลเมติคทูนิค (dalmatic), กำไลอาร์มิลล์ (armill) และเสื้อคลุม และกกุธภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้ในพิธี.

ใหม่!!: มงกุฎอิมพีเรียลสเตตและเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Imperial State Crownมงกุฏอิมพีเรียลสเตทมงกุฎอิมพิเรียลสเตตมงกุฎอิมพีเรียลสเตท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »