โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาฟิลิสไตน์

ดัชนี ภาษาฟิลิสไตน์

ษาฟิลิสไตน์ เป็นภาษาที่เคยใช้พูดในฟิลิสไตน์ ซึ่งอยู่ที่ ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของคานาอัน สำเนียงหนึ่งของภาษานี้ มีอ้างถึงในไบเบิลว่า “Ashdodit” มาจากชื่อเมืองแอชดอด (Ashdod) ข้อมูลที่แสดงความเกี่ยวข้อง กับภาษาอื่นมีน้อย บางทฤษฎีกล่าวว่าภาษานี้ พัฒนามาจากสำเนียงหนึ่ง ในภาษาคานาอันไนต์ หรืออาจเกี่ยวข้องกับภาษากรีกสำเนียงไมซีเนีย ไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการเชื่อมโยงภาษาในฟิลิสไตน์กับภาษาอื่นๆ มีความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้กับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน โดยเฉพาะภาษากรีกสำเนียงไมซีเนีย ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าผู้อพยพเข้ามาในฟิลิสไตน์เป็นกลุ่มชนที่อาศัยตามชายทะเลมาก่อน หลักฐานจากจารึกสั้นๆในยุคเหล็ก แสดงให้เห็นว่าในบริเวณนั้นเมื่ออยู่ในยุคเหล็ก ใช้ภาษาและอักษรที่เป็นสาขาหนึ่งของภาษาคานาอันไนต์ ต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยภาษาทางการค้าที่แพร่มาจากบริเวณอื่นๆ จนกระทั่งสิ้นสุดยุคเหล็กเมื่อ 257 - 157 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษาเขียนที่เป็นภาษาแรกในฟิลิสไตน์คือสำเนียงของภาษาคานาอันไนต์ที่เขียนด้วยอักษรอราเมอิกตะวันตกหรือที่เรียกว่าอักษรฟิลิสไตน์ใหม่ จนราว..

13 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาเซมิติกกลุ่มภาษาเซมิติกกลางกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือภาษากรีกภาษาฮิตไทต์ภาษาฮีบรูภาษาแอราเมอิกยุคเหล็กคัมภีร์ไบเบิลคานาอันตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยภาษาอาหรับและกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (รวม ภาษาคานาอันไนต์ ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก และภาษายูการิติก)ในบางครั้ง ในกลุ่มนี้ ยังแบ่งเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลางใต้ (รวมภาษาอาหรับและภาษาฮีบรู) กับภาษาอราเมอิก การแบ่งแยกระหว่างภาษาอาหรับกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือคือการสร้างรูปพหูพจน์ ภาษาอาหรับสร้างโดยการแทรกสระ ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือสร้างด้วยปัจจัย เช่น.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก (West Semitic languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและได้รับการสนับสนุนจาก Robert Hetzron และ John Huehnergard ผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มภาษาเซมิติก ซึ่งแบ่งกลุ่มภาษาเซมิติกออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออกและตะวันตก กลุ่มตะวันออกประกอบด้วยภาษาเอ็บลาไอต์ และภาษาอัคคาเดีย ส่วนกลุ่มตะวันตกเป็นกลุ่มใหญ่ของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยกลุ่มย่อยได้แก่ กลุ่มเอธิโฮปิก กลุ่มอาระเบียใต้ ภาษาอาหรับ และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (ภาษายูการิติก ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก) กลุ่มภาษาเอธิโอปิกและอาระเบียใต้ มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก บางครั้งรวมกันเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ การจัดตำแหน่งของภาษาอาหรับภายในกลุ่มเซมิติกยังสับสน บางครั้งจัดให้อยู่ในกลุ่มเซมิติกใต้ บางครั้งรวมกับกลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง หมวดหมู่:กลุ่มภาษาเซมิติก.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Semitic languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก มีผู้พูดประมาณ 8 ล้านคนในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 สาขา คือ ภาษายูการิติก (ตายแล้ว) ภาษาคานาอันไนต์ (รวมภาษาฮีบรู) และภาษาอราเมอิก บางครั้งรวมกลุ่มภาษานี้เข้ากับภาษาอาหรับแล้วจัดเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง ภาษายูการิติกที่ตายแล้วเป็นหลักฐานรุ่นแรกสุดของกลุ่มภาษานี้ ภาษายูการิติกไม่มีเสียง /dˤ/ (ḍ) แต่แทนที่ด้วยเสียง /sˤ/ (ṣ) (ลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในภาษาอัคคาเดีย) เสียงนี้กลายเป็นเสียง /ʕ/ ในภาษาอราเมอิก (ในภาษาอราเมอิกโบราณ เสียงนี้เขียนด้วยอักษรกอฟ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษายูการิติกไม่ได้เป็นภาษาต้นแบบของกลุ่มนี้ ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงนี้พบได้ในคำว่า “โลก”: ภาษายูการิติก /ʔarsˤ/ (’arṣ), ภาษาฮีบรู /ʔɛrɛsˤ/ (’ereṣ) และภาษาอราเมอิก /ʔarʕaː/ (’ar‘ā’) ภาษายูการิติกต่างจากภาษาในกลุ่มเดียวกันตรงที่ว่ายังคงมีคำที่ขึ้นต้นด้วย /w/ ในขณะที่ภาษาที่เหลือแทนที่ด้วย /y/ แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของภาษานี้ได้แก่บริเวณที่ในปัจจุบันเป็นประเทศอิสราเอล ซีเรีย จอร์แดน เลบานอนและคาบสมุทรไซนาย การเลื่อนเสียงสระจาก /aː/ เป็น /oː/ เป็นการแยกภาษาคานาอันไนต์ออกจากภาษายูการิติก ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียง ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮิตไทต์

ษาฮิตไทต์ (Hittite language) จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนหรืออินเดีย-ยุโรป ในอานาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไทต์ จัดเป็นภาษาที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวีย ภาษาลิเดีย ภาษาไลเซีย และภาษาปาลา เคยใช้พูดโดยชาวฮิตไทต์ กลุ่มชนที่สร้างจักรวรรดิฮิตไทต์มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮัตตูซาสในอานาโตเลียภาคกลางตอนเหนือ (ตุรกีปัจจุบัน) ภาษานี้ใช้พูดในช่วง 1,057 – 557 ปีก่อนพุทธศักราช มีหลักฐานแสดงว่าภาษาฮิตไทต์และภาษาที่เกี่ยวข้องได้ใช้พูดต่อมาอีก 200 -300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไทต์ ภาษาฮิตไทต์จัดเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนรุ่นแรกๆ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมและเป็นพี่น้องกับภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และภาษาฮิตไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาแอราเมอิก

ษาแอราเมอิก (Aramaic language) เป็นภาษาตระกูลเซมิติกที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 3,000 ปืเป็นภาษากลางของบริเวณตะวันออกใกล้ในช่วง 157 ปีก่อนพุทธศักราชถึง..

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และภาษาแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเหล็ก

หล็ก เกิดหลังจากยุคสำริดสิ้นสุดลงในช่วง 1206-1150 ปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เหล็กในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ยุคต่อมาหลังยุคเหล็ก คือ สมัยโบราณ.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และยุคเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

คานาอัน

แผนที่ประเทศอิสราเอลปัจจุบัน ตามคัมภีร์ฮีบรู คานาอันคือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยเส้นสีแดง คานาอัน (ฟินิเชีย: 𐤊‏𐤍‏𐤏‏𐤍‏, Kana'n; כְּנָעַן‎ kna-an; كنعان Kanaʿān) คือ ดินแดนของชนเผ่าที่พูดภาษาเซมิติกราวปลายสหัสวรรตที่ 2 ก่อนคริสต์กาล ปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ลิแวนต์ใต้ในตะวันออกกลาง ตรงกับบริเวณที่ตั้งประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ และบางส่วนของประเทศซีเรียและประเทศอียิปต์ มีชายฝั่งทางทิศตะวันตกจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คำว่า คานาอัน ปรากฏอยู่บ่อยครั้งในคัมภีร์ไบเบิ้ล หรือพันธสัญญาเดิม โดยบรรยายว่าเป็นดินแดนที่พระยาห์เวห์สัญญามอบให้แก่วงศ์วานอิสราเอล หมวดหมู่:ตะวันออกกลาง หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และคานาอัน · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: ภาษาฟิลิสไตน์และปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »