โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาตามังอิก

ดัชนี กลุ่มภาษาตามังอิก

กลุ่มภาษาตามังอิก (Tamangic languages) เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าที่ใช้พูดในเขตเทือกเขาหิมาลัยของเนปาล ภาษาในกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาตามัง (มีสองสำเนียง ผู้พูดราวล้านคน) ภาษากูรุง (มีสามสำเนียง ที่เข้าใจกันได้น้อยมาก ภาษาทากาลี (รวมสำเนียงเซเกของชาวตามัง) และภาษาที่ใกล้เคียงอย่างภาษามานัง ภาษากยาซัมโด และภาษานัรพู ภาษาฆาเลที่พูดโดยชาวฆาเล ใกล้เคียงกับกลุ่มภาษานี้ แต่การจัดจำแนกยังไม่แน่นอน.

8 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารีกลุ่มภาษาโบดิชภาษากูรุงภาษาตามางภาษานัรพูตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าประเทศเนปาลเทือกเขาหิมาลัย

กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารี

กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารี (Tibeto-Kanauri languages) หรือกลุ่มภาษาโบดิช-หิมาลัย เป็นการจัดจำแนกในระดับกลางของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มภาษาทิเบตและภาษากาเนารี แตกต่างกันไปตามความเห็นของนักภาษาศาสตร์แต่ละคน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและกลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโบดิช

กลุ่มภาษาโบดิช (Bodish languages) มาจากภาษาทิเบต bod ซึ่งเป็นชื่อของภาษาทิเบตในความหมายอย่างกว้าง ซึ่งมาจากการที่กลุ่มผู้พูดภาษาเหล่านี้มักถือว่าตนเป็นชาวทิเบต การแบ่งกลุ่มภาษาโบดิชให้เป็นกลุ่มย่อยมีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ถือว่าภาษาทิเบตแยกต่างหากจากภาษาโบดิชตะวันออก Bradley (1997) ได้ให้กลุ่มภาษาโบดิชรวมถึงกลุ่มภาษาหิมาลัยตะวันตก กลุ่มภาษาซังลา กลุ่มภาษาตามันกิก ทำให้คำว่ากลุ่มภาษาโบดิชมีความหมายเท่ากับกลุ่มภาษาทิเบต-กิเนารีในการแบ่งแบบอื่น ทำให้กลุ่มภาษาโบดิชแยกเป็นสองฝ่ายชัดเจน คือกลุ่มโบดิชตะวันออกกับภาษาทิเบต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและกลุ่มภาษาโบดิช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากูรุง

ษากูรุง หรือ ภาษาตมุ กยี (Gurung หรือ Tamu Kyi,อักษรเทวนาครี:तमु क्यी ตมุ กยี) เป็นคำที่ใช้เรียก รวมภาษากูรุงตะวันตก (Western Gurung ISO 639-3: gvr) และภาษากูรุงตะวันออก (Eastern Gurung ISO 639-3: ggn) แม้ว่าการเข้าใจกันได้ของภาษาทั้งสองจะจำกัด ผู้พูดภาษากูรุงทั้งหมดในเนปาลมี 227,918 (พ.ศ. 2534) ภาษานี้อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ชาวกูรุงเป็นชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลเนปาล.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและภาษากูรุง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาตามาง

ษาตามาง (Tamang; อักษรเทวนาครี:तामाङ) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงกลุ่มของสำเนียงที่ใช้พูดในเนปาลและสิกขิม ประกอบด้วย ตามางตะวันออก (ผู้พูด 759,257 คนในเนปาล) ตามางตะวันตกเฉียงเหนือ (ผู้พูด 55,000 คน) ตามางตะวันตกเฉียงใต้(ผู้พูด 109,051 คน) ตามางกุรข่าตะวันออก (ผู้พูด 3,977 คน) และตามางตะวันตก (ผู้พูด 322,598 คน) ความคล้ายคลึงระหว่างตามางตะวันออกกับตามางสำเนียงอื่นๆ อยู่ระหว่าง 81% ถึง 63% ภาษานี้เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่ากลุ่มใหญ่ที่สุดในเนปาล.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและภาษาตามาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษานัรพู

ษานัรพู เป็นตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าใช้พูดในหมู่บ้านนัรและหมู่บ้านพูในหุบเขานัรโพลา ตำบลมานัง ประเทศเนปาล.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและภาษานัรพู · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พูดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง พม่า ทิเบต ภาคเหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฏาน อินเดียและปากีสถาน ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษา ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผู้พูดภาษาทิเบตทุกสำเนียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคนเช่น George van Driem เสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าขึ้นเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนมาเป็นกลุ่มย่อยแทนแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาตามังอิกและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษากลุ่มตามังอิกภาษาตามังอิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »