โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารี

ดัชนี กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารี

กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารี (Tibeto-Kanauri languages) หรือกลุ่มภาษาโบดิช-หิมาลัย เป็นการจัดจำแนกในระดับกลางของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มภาษาทิเบตและภาษากาเนารี แตกต่างกันไปตามความเห็นของนักภาษาศาสตร์แต่ละคน.

5 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาทิเบตกลุ่มภาษาตามังอิกกลุ่มภาษาโบดิชภาษาเลปชาตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

กลุ่มภาษาทิเบต

กลุ่มภาษาทิเบต (Tibetan languages) เป็นกลุ่มย่อยของภาษาที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ ของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ที่พูดโดยชาวทิเบตที่อยู่ในบริเวณเอเชียกลางติดต่อกับเอเชียใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ภาคเหนือของอินเดียในบัลติสถาน ลาดัก เนปาล สิกขิม และภูฏาน ส่วนใหญ่ใช้ในการเขียนงานทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธ ด้วยเหตุผลทางการเมือง สำเนียงของภาษาทิเบตกลาง (รวมทั้งลาซา) คาม และอัมโดในจีน ถือเป็นภาษาทิเบตเพียงภาษาเดียว ในขณะที่ภาษาซองคา ภาษาสิกขิม ภาษาเศรปาและภาษาลาดัก ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก แม้ว่าผู้พูดภาษาดังกล่าวจะถือตนว่าเป็นชาวทิเบตด้วย ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาซองคาและภาษาเศรปามีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสำเนียงลาซามากกว่าสำเนียงคามและอัมโด มีผู้พูดกลุ่มภาษาทิเบตทั้งหมดราว 6 ล้านคน ภาษาทิเบตสำเนียงลาซามีผู้พูดประมาณ 150,000 คนที่เป็นผู้ลี้ภัยในอินเดียและประเทศอื่นๆ ภาษาทิเบตใช้พูดโดยชนกลุ่มน้อยในทิเบตที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวทิเบตมากว่าศตวรรษ แต่ไม่สามารถรักษาภาษาและวัฒนธรรมของตนไว้ได้ ชาวเกวียงในคามนั้น รัฐบาลจีจัดให้เป็นชาวทิเบต แต่ภาษาเกวียงอิกไม่ใช่กลุ่มภาษาทิเบต แม้จะอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ภาษาทิเบตคลาสสิกไม่ใช่ภาษาที่มีวรรรยุกต์ แต่บางสำเนียง เช่น ทิเบตกลางและคาม ได้พัฒนาเสียงวรรณยุกต์ขึ้น ส่วนสำเนียงอัมโดและลาดัก และภาษาบัลติไม่มีวรรณยุกต์ ลักษณะของภาษาทิเบตในปัจจุบันเป็นแบบรูปคำติดต่อแม้ว่าจะไม่พบลักษณะนี้ในภาษาทิเบตคลาสสิก.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารีและกลุ่มภาษาทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาตามังอิก

กลุ่มภาษาตามังอิก (Tamangic languages) เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่าที่ใช้พูดในเขตเทือกเขาหิมาลัยของเนปาล ภาษาในกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาตามัง (มีสองสำเนียง ผู้พูดราวล้านคน) ภาษากูรุง (มีสามสำเนียง ที่เข้าใจกันได้น้อยมาก ภาษาทากาลี (รวมสำเนียงเซเกของชาวตามัง) และภาษาที่ใกล้เคียงอย่างภาษามานัง ภาษากยาซัมโด และภาษานัรพู ภาษาฆาเลที่พูดโดยชาวฆาเล ใกล้เคียงกับกลุ่มภาษานี้ แต่การจัดจำแนกยังไม่แน่นอน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารีและกลุ่มภาษาตามังอิก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาโบดิช

กลุ่มภาษาโบดิช (Bodish languages) มาจากภาษาทิเบต bod ซึ่งเป็นชื่อของภาษาทิเบตในความหมายอย่างกว้าง ซึ่งมาจากการที่กลุ่มผู้พูดภาษาเหล่านี้มักถือว่าตนเป็นชาวทิเบต การแบ่งกลุ่มภาษาโบดิชให้เป็นกลุ่มย่อยมีความแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่ถือว่าภาษาทิเบตแยกต่างหากจากภาษาโบดิชตะวันออก Bradley (1997) ได้ให้กลุ่มภาษาโบดิชรวมถึงกลุ่มภาษาหิมาลัยตะวันตก กลุ่มภาษาซังลา กลุ่มภาษาตามันกิก ทำให้คำว่ากลุ่มภาษาโบดิชมีความหมายเท่ากับกลุ่มภาษาทิเบต-กิเนารีในการแบ่งแบบอื่น ทำให้กลุ่มภาษาโบดิชแยกเป็นสองฝ่ายชัดเจน คือกลุ่มโบดิชตะวันออกกับภาษาทิเบต.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารีและกลุ่มภาษาโบดิช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเลปชา

ษาเลปชา(อักษรเลปชา: ไฟล์:ᰛᰩᰵ་ᰛᰧᰶᰵ.SVG; Róng ríng)เป็นภาษาที่พูดโดยชาวเลปชา ในรัฐสิกขิม อินเดีย รวมทั้งบางส่วนของเนปาลและภูฏาน เขียนด้วยอักษรเลปชา ต้นกำเนิดของอักษรนี้ยังคลุมเครือ เริ่มแรกเขียนในแนวตั้งแบบเดียวกับอักษรจีน จัดเป็นภาษาท้องถิ่นในบริเวณที่ใช้พูด มีผู้พูดราว 50,000 คน.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารีและภาษาเลปชา · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า

ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พูดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง พม่า ทิเบต ภาคเหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฏาน อินเดียและปากีสถาน ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษา ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผู้พูดภาษาทิเบตทุกสำเนียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคนเช่น George van Driem เสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าขึ้นเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนมาเป็นกลุ่มย่อยแทนแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง.

ใหม่!!: กลุ่มภาษาทิเบต-กาเนารีและตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษากลุ่มทิเบต-กาเนารี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »