เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาดาเมลี

ดัชนี ภาษาดาเมลี

ษาดาเมลี เป็นภาษาที่มีผู้พูดราว 5,000 คนในหุบเขาโคเมลในตำบลชิตรัล จังหวัดฟรอนเทียร์ตะวันตกเฉียงเหนือ ประเทศปากีสถาน หุบเขานี้มีระยะทางสิบไมล์จากทางใต้ของโดรสไปจนถึงด้านตะวันตกของแม่น้ำชิตรัล ภาษาดาเมลีเป็นภาษาสำคัญในบริเวณนั้น ผู้ชายส่วนใหญ่พูดภาษาพาชตูเป็นภาษาที่สองและมีบางส่วนพูดภาษาโควาร์หรือภาษาอูรดู.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านภาษาพัชโตภาษาอูรดูภาษาโควาร์ประเทศปากีสถาน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน หรืออินโด-อิราเนียนเป็นสาขาทางตะวันออกสุดของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนประกอยด้วย 3 กลุ่มย่อย คือ กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน กลุ่มภาษาอิราเนียน และกลุ่มภาษาดาร์ดิก มีการใช้คำว่า "อารยัน" ในการอ้างถีงกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านจากทฤษฎีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการอพยพของชาวอารยัน คนที่พูดภาษาโปรโต-อินโด-อิราเนียนที่เรียกตัวเองว่าอารยัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้และตะวันออกของทะเลสาบแคสเปียนในอินเดียเหนือ ปากีสถาน อิหร่าน และอัฟกานิสถาน คาดว่าการแพร่กระจายเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์รถม้.

ดู ภาษาดาเมลีและกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่าน

ภาษาพัชโต

ษาพัชโต (Pashto, Pashtoe, Pushto, Pukhto; پښتو, pax̌tō) หรือ ภาษาปุกโต หรือเรียกในเชิงประวัติศาสตร์ว่า ภาษาอัฟกัน (Afghani; افغاني, afğānī) และ ภาษาปาทาน (Pathani) เป็นภาษาแม่ของชาวปาทาน (Pashtun) ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศอัฟกานิสถานและแคว้นทางตะวันตกของประเทศปากีสถาน.

ดู ภาษาดาเมลีและภาษาพัชโต

ภาษาอูรดู

ษาอูรดู (اردو) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน ซึ่งพัฒนามาจากหลายภาษารวมกันคือ ภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับ ฮินดี และ สันสกฤต นิยมใช้กันมากในช่วงสมัยรัฐสุลต่านเดลฮี และจักรวรรดิโมกุล (ค.ศ.๑๒๐๐ - ๑๘๐๐) ภาษาอูรดู อยู่ในอันดับที่ ๒๐ ของภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาแม่ และเป็นภาษาราชการของประเทศปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหนึ่งในภาษาราชการ ๒๓ ภาษา ของประเทศอินเดี.

ดู ภาษาดาเมลีและภาษาอูรดู

ภาษาโควาร์

ษาโควาร์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มดาร์ดิก มีผู้พูด 400,000 คน ในชิตรัล ประเทศปากีสถานทางตะวันตกฉียงเหนือ ในหุบเขายาซินและคูปิส ในคลิกิส บางส่วนของสวัตตอนบน เป็นภาษาที่สองในคลิกิสและฮันซา เชื่อกันว่ามีผู้พูดภาษาโควาร์จำนวนเล็กน้อยในอัฟกานิสถาน จีน อินเดีย ทาจิกิสถานและในกรุงอิสตันบูล ภาษาโควาร์มีลักษณะของภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นการใช้สรรพนาม.

ดู ภาษาดาเมลีและภาษาโควาร์

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ดู ภาษาดาเมลีและประเทศปากีสถาน