โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ดัชนี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Faculty of Education Ramkhamhaeng University) เป็นหนึ่งในสี่คณะแรกที่ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514.

7 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2514มหาวิทยาลัยรามคำแหงรายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทยคณบดีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม26 กุมภาพันธ์

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง (Ramkhamhaeng University; ชื่อย่อ: ม.ร. - RU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งรับบุคคลเข้าศึกษาโดยไม่สอบคัดเลือกและไม่จำกัดจำนวน ทำการเรียนการสอนแบบตลาดวิชา คือมีการเรียนการสอนในชั้นเรียนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยปกติ แต่ไม่บังคับเข้าชั้นเรียน อันเป็นระบบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในอดีต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และมีชื่อเสียงในด้านนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อย่างมาก.

ใหม่!!: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาด้านศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ (ยกเว้นวิชาด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย).

ใหม่!!: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและรายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

คณบดี

ณบดี หมายถึง หัวหน้าคณะวิชาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอื่นที่มีสถานะเทียบเท่ากัน มีความหมายตามตัวอักษรว่าผู้เป็นใหญ่ในคณะ โดยปรกติแล้ว กฎหมายไทยจะบัญญัติให้มีคณบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของคณะวิชาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอื่นที่มีสถานะเทียบเท่ากัน โดยจะให้มีรองคณบดีเป็นผู้ช่วยปฏิบัติการด้วยก็ได้ อนึ่ง คณบดีย่อมเป็นผู้แทนในกิจการทั่วไปของคณะ และรองคณบดีมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณบดีมอบหมาย คุณสมบัติทั่วไปของคณบดี ได้แก่ (1) ต้องได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง และ (2) ได้ทำการสอนมาแล้วรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง ส่วนของรองคณบดีนั้น ได้แก่ (1) ต้องได้ทำการสอนมาแล้วรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง หรือ (2) เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี คณบดี โดยปรกติมาจากการเลือกตั้งโดยคณาจารย์ในคณะนั้น ๆ จากผู้สมัครเข้ารับคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภามหาวิทยาลัยนั้นกำหนด เมื่อผ่านการเลือกตั้งแล้วจะได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย ส่วนการถอดถอนคณบดีเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัย การแต่งตั้งและถอนถอนรองคณบดีนั้นเป็นอำนาจของอธิการบดีซึ่งกระทำตามคำแนะนำของคณบดี กฎหมายมักกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการศูนย์ หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มเวลา และจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเกินหนึ่งตำแหน่งในขณะเดียวกันไม่ได้ แต่สามารถรักษาการแทนกันโดยไม่เกินเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ อนึ่ง คณบดียังเป็นชื่อหนึ่งของพระพิฆเนศอีกด้ว.

ใหม่!!: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและคณบดี · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง

รงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ตั้งอยู่ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษา (ชาย - หญิง).

ใหม่!!: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม

รงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ศาสตราจารย์ประจำรังสรรค์ แสงสุข อธิการบดี ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มอบนโยบายให้ รองศาสตราจารย์นพคุณ คุณาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายสวัสดิการสมัยนั้น จัดตั้งโครงการพัฒนาเด็กเล็กขึ้นในระยะแรก เพื่อลดปัญหาผู้ปกครองที่ไม่สามารถนำบุตรหลาน ไปฝากเรียนในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็กในบริเวณใกล้เคียงที่พักได้ และเพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี 2537 จึงได้เปิดรับนักเรียนในชั้นบริบาล 2 ห้อง อนุบาล 1 ห้อง โรงเรียนได้พัฒนาด้านวิชาการและด้านบุคลากรตลอดเวลาจนประสบผลสำเร็จ โครงการพัฒนาเด็กเล็ก จึงได้เปลี่ยนรูปเป็นโรงเรียนอนุบาลรามคำแหง ในปี 2538 หลังจากนั้น เป็นต้นมา โรงเรียนได้รับการสนับสนุน จากมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่มาโดยตลอด และพัฒนาทุกด้านอย่างรวดเร็ว จนถึงชั้นอนุบาล 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ผู้ปกครองที่เป็นบุคลากร ของมหาวิทยาลัยก็ประสบปัญหาในการหาโรงเรียนให้บุตร จึงได้เรียกร้องให้โรงเรียนเปิดสอน ชั้นประถมศึกษาต่อไป โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย รามคำแหง (ฝ่ายประถม) จึงได้จัดตั้งขึ้น โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 และเปิดรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2541 เป็นต้นมา และได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2546 การดำเนินงานในระยะแรก มหาวิทยาลัยอนุมัติ ให้ปรับปรุงอาคารเชลียง เป็นอาคารเรียนระดับปฐมวัย และปรับปรุงอาคารสองแควและอาคารตรีบูร เป็นอาคารเรียน ระดับประถมศึกษา ในปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้เปิดสอนโครงการภาคภาษาอักฤษ ชั้นอนุบาล1 โดยจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ (Integration) แบบ 2 ภาษา (Bilingual) เน้นภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ พร้อมทั้งสอนภาษาจีนควบคู่ด้วย และในปีการศึกษา 2547 โรงเรียนได้ขยาย ชั้นเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปัจจุบัน ปีการศึกษา 2549 ขยายชั้นเรียน ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ มีความเป็นสากล ภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย ในปีการศึกษา 2548 โรงเรียนได้เปิดสอนโครงการศูนย์ ์การศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและเด็กที่มีปัญหาความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ โดยทางโรงเรียนจัดให้นักเรียนได้มีโอกาสในการเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติ ทั้งนี้เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมได้สมวัย หรือสามารถพัฒนาได้สูงสุดตามศักยภาพ ในด้านวิชาการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จะเป็นต้นแบบของการจัดการเรียนการสอนแบบเตรียมความพร้อม จะเอื้อประโยชน์ให้กับอาจารย์ ข้าราชการ และ นักศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ให้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้า วิจัยและทดลองปฏิบัติการสอน เพื่อพัฒนางานวิชาการให้กว้างขวางออกไป ตลอดจนเปิดโอกาสให้ บุคลากรภายนอกที่สนใจงานวิชาการด้านนี้ ได้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อ นำความรู้ไปใช้ ในการพัฒนาเยาวชน ให้เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) ได้ทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ให้บริการทั้งด้านสวัสดิการและวิชาการ ได้อย่างครบถ้วน คณาจารย์ทุกคนมีความมุ่งมั่นพยายามจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้วิสัยทัศน์และนโยบายของโรงเรียน ผู้บริหาร คณาจารย์ นักเรียน และบุคลากรทุกคนช่วยกัน ระดมความคิดวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย อุปสรรค ปัญหา โอกาส เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนต่อไป ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหารามคำแหง เขตพื้นที่ส่วนกลาง แขวงหัวหมากเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม · ดูเพิ่มเติม »

26 กุมภาพันธ์

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 57 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 308 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและ26 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »