โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟีฟ่า 16

ดัชนี ฟีฟ่า 16

ฟีฟ่า 16 (FIFA 16) เป็นวิดีโอเกมจำลองฟุตบอล จัดจำหน่ายโดย อีเอ สปอร์ต ในแพลต์ฟอร์ม ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์ 360, และ เอกซ์บอกซ์ วัน.

10 ความสัมพันธ์: ฟุตบอลวิดีโอเกมหลายผู้เล่นวิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียวแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไอโอเอสเพลย์สเตชัน 3เพลย์สเตชัน 4เอกซ์บอกซ์ 360เอกซ์บอกซ์วัน

ฟุตบอล

ฟุตบอล หรือ ซอกเกอร์ เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ โดยกฎกติกาการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2406 ได้กำเนิดกติกาฟุตบอลขึ้นเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่า ซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี.

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกมหลายผู้เล่น

วิดีโอเกมหลายผู้เล่น (Multiplayer video game) หรือ โหมดผู้เล่นหลายคน เป็นการเล่นที่ผู้เล่นหลายคนสามารถเล่นได้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันภายในเกมได้มากกว่าหนึ่งคน ไม่เหมือนกับเกมประเภทอื่น ๆ เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมมักจะมีเนื้อหาในโหมดผู้เล่นคนเดียว ซึ่งเป็นการเล่นระหว่างผู้เล่นกับการท้าทายที่มีการเขียนโปรแกรมมากแล้วก่อนหน้านี้ หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมักจะขาดซึ่งความยืดหยุ่นและมีความฉลาดไม่เท่ากับการคิดของมนุษย์ องค์ประกอบของการเล่นหลายคนทำให้ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้เล่นคนอื่น อาจอยู่ในรูปแบบของการร่วมมือกัน การแข่งขันกันหรือคู่ปรับกัน และทำให้ผู้เล่นมีการติดต่อสื่อสารทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในโหมดผู้เล่นคนเดียว ในเกมหลายผู้เล่นจำนวนมาก ผู้เล่นอาจดำเนินการแข่งขันกับผู้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไปอย่างเป็นคู่แข่งกัน ทำงานร่วมกันกับเพื่อนที่เป็นผู้เล่นคนอื่นเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน การดูแลกิจกรรมของผู้เล่นคนอื่น หรืออาจมีลักษณะของเกมที่ผสมผสานการเล่นทั้งหมดดังที่กล่าวมา เกมหลายผู้เล่นจำเป็นจะต้องมีการแบ่งปันทรัพยากรของระบบผู้เล่นคนเดียว หรือใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อให้ผู้เล่นสามารถเล่นด้วยกันได้ แม้จะอยู่ห่างไกลกันมากก็ตาม.

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และวิดีโอเกมหลายผู้เล่น · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว

วิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว (Single-player video game) หรือ โหมดผู้เล่นคนเดียว คือโหมดการเล่นมาตรฐานแบบหนึ่งของเกมคอมพิวเตอร์แบบออฟไลน์ทั่วไป ซึ่งตัวเกมจะรองรับให้ผู้เล่นคนเดียวดำเนินบทบาทตามเนื้อเรื่องจนจบ คำว่า "เกมผู้เล่นคนเดียว" มักจะหมายถึง เกมที่สามารถเล่นได้เพียงคนเดียว ในขณะที่ "โหมดผู้เล่นคนเดียว" หมายถึง ผู้เล่นสามารถปรับเลือกที่จะเล่นโหมดหลายผู้เล่นได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในยุคเริ่มต้นมักจะเป็นเกมผู้เล่นคนเดียว ขณะที่เกมสองผู้เล่นได้ปรากฏขึ้นพร้อมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และในปี ค.ศ. 1978 ก็ได้ถือกำเนิดเกมหลายผู้เล่นขึ้น และในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็เริ่มมีระบบแลน.

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และวิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี..

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอเอส

อโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสเท็นซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอปพลิเคชันเฟรมเวริค์ต่างๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสเท็นที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปล่อยตัว iOS 10 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 13 มิถุนายน..

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และไอโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 3

ลย์สเตชัน 3 (อังกฤษ PlayStation 3, ญี่ปุ่น プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB.

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และเพลย์สเตชัน 3 · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 4

ลย์สเตชัน 4 หรือ PS4 (PlayStation 4) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 4 ของบริษัทโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เปิดตัวต่อจากเพลย์สเตชัน 3 ที่งานแถลงข่าวรอบสื่อมวลชนในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013 และเริ่มวางจำหน่ายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2013 ในทวีปอเมริกาเหนือ และต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2013 จึงวางจำหน่ายในยุโรปและออสเตรเลีย เพลย์สเตชัน 4 มีคู่แข่งที่สำคัญคือ Wii U ของนินเทนโด และ Xbox One ของไมโครซอฟท์ ทั้งนี้ ณ เดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และเพลย์สเตชัน 4 · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์บอกซ์ 360

อกซ์บอกซ์ 360 (XBox 360) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นที่สองถัดจากเอกซ์บอกซ์ของไมโครซอฟท.

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และเอกซ์บอกซ์ 360 · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์บอกซ์วัน

อกซ์บอกซ์วัน (Xbox One) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมผลิตโดยไมโครซอฟท์ เป็นเครื่องเล่นต่อจากเอกซ์บอกซ์ 360 และเป็นรุ่นที่ 3 ในตระกูลเอกซ์บอกซ.

ใหม่!!: ฟีฟ่า 16และเอกซ์บอกซ์วัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »