เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฟลูออรีน (พีเอเอช)

ดัชนี ฟลูออรีน (พีเอเอช)

ำหรับความหมายอื่นดู ฟลูออรีน ฟลูออรีนหรือ9H-fluorene เป็นสารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ระเหิดได้เช่นเดียวกับแนฟทาลีน เรืองแสงสีม่วงใต้แสงยูวี ไม่ละลายในน้ำแต่ละลายได้ในเบนซีน และอีเทอร.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: ฟลูออรีนอีเทอร์แนฟทาลีนโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโพแทสเซียมโซเดียมเบนซีน

  2. โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

ฟลูออรีน

ฟลูออรีน (Fluorine) (จากภาษาละติน Fluere แปลว่า "ไหล") เป็นธาตุเคมีที่เป็นพิษและทำปฏิกิริยาได้มากที่สุด มีสัญลักษณ์ F และเลขอะตอม 9 เป็นธาตุแฮโลเจนที่เป็นเบาที่สุดและมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากที่สุด มันปรากฎอยู่ในรูปของแก๊สสีเหลืองที่ภาวะอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาได้เกือบทุกธาตุรวมทั้งแก๊สมีตระกูลบางตัว มีสมบัติเป็นอโลหะมากที่สุด (ถ้าไม่รวมแก๊สมีตระกูล).

ดู ฟลูออรีน (พีเอเอช)และฟลูออรีน

อีเทอร์

รงสร้างทั่วไปของอีเทอร์ อีเทอร์ (Ether) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็น หมู่แอลคอกซี (alcoxy, R–O–R’) มีสูตรทั่วไปเป็น ROR’ มีสูตรโมเลกุลเหมือนแอลกอฮอล์และฟีนอล จึงเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับแอลกอฮอล์และฟีนอล ตัวอย่างของอีเทอร์ เช่น เมทอกซีมีเทนหรือมีชื่อสามัญคือไดเมทิลอีเทอร์ (CH3OCH3) ซึ่งเป็นไอโซเมอร?โครงสร้างกับเอทานอล (CH3CH2OH).

ดู ฟลูออรีน (พีเอเอช)และอีเทอร์

แนฟทาลีน

แนฟทาลีน, หรือnaphthalinหรือ bicyclodeca-1,3,5,7,9-pentene หรือ antimite แต่เป็นสารคนละชนิดกับแนปทา (naphtha),เป็นสารที่เป็นผลึก มีกลิ่น สีขาว เป็นไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของแข็ง สูตรโมเลกุลเป็นC10H8 โครงสร้างประกอบด้วยวงเบนซีนสองวงเชื่อต่อกัน เป็นส่วนประกอบของลูกเหม็น ระเหิดได้ที่อุณหภูมิห้อง เกิดเป็นไอที่ติดไฟ ตรวจพบความเข้มข้นต่ำสุดในอากาศเป็น 0.08 ppt.

ดู ฟลูออรีน (พีเอเอช)และแนฟทาลีน

โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

ีเอเอชที่พบทั่วไปตามเข็มนาฬิกาจากบนลงล่าง: เบนอีอะซีฟีแนนไทรลีน, ไพรีน และ ไดเบนเอเอชแอนทราซีน pages.

ดู ฟลูออรีน (พีเอเอช)และโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ดู ฟลูออรีน (พีเอเอช)และโพแทสเซียม

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ดู ฟลูออรีน (พีเอเอช)และโซเดียม

เบนซีน

เบนซีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีสูตรทางเคมีคือ C6H6 บางครั้งอาจเขียนเป็นตัวย่อเป็น Ph–H เบนซีนไม่มีสีแต่ไวไฟและมีกลิ่นหอมหวาน เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งจึงไม่นิยมใช้เป็นสารเติมแต่งน้ำมันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสารนี้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา พลาสติก ยางสังเคราะห์และสีย้อม เบนซีนเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของปิโตรเลียมและสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียอื่นๆ เบนซีนเป็นสารประกอบอะโรมาติกชนิดหนึ่ง หมวดหมู่:สารก่อมะเร็ง หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:สารเคมี หมวดหมู่:อาชีวอนามัยและความปลอดภัย.

ดู ฟลูออรีน (พีเอเอช)และเบนซีน

ดูเพิ่มเติม

โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fluorene