โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โอวาลีน

ดัชนี โอวาลีน

อวาลีน (Ovalene) เป็น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน มีสูตรโครงสร้าง C32H14 โครงสร้างคล้าย โคโรนีน เป็นสารสีแดงอมส้ม ละลายในตัวทำละลายเช่น เบนซีน โทลูอีน และ ไดคลอโรมีเทน สารละลายเรืองแสงสีเขียว ใต้แสงยูวี ในธรรมชาติพบในแถบน้ำอุ่นใต้ทะเลลึก และบริเวณที่มีการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม.

5 ความสัมพันธ์: ปิโตรเลียมโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโทลูอีนไดคลอโรมีเทนเบนซีน

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: โอวาลีนและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

ีเอเอชที่พบทั่วไปตามเข็มนาฬิกาจากบนลงล่าง: เบนอีอะซีฟีแนนไทรลีน, ไพรีน และ ไดเบนเอเอชแอนทราซีน pages.

ใหม่!!: โอวาลีนและโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

โทลูอีน

ทลูอีน หรือที่รู้จักกันในชื่อ เมทิลเบนซีน หรือ ฟีนิลมีเทน เป็นของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ กลิ่นคล้ายสีทาบ้าน เป็นสารประกอบอะโรมาติกที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเป็นสารตั้งต้นและเป็นตัวทำละลาย เช่นเดียวกับตัวทำละลายอื่นๆ โทลูลีนเป็นสารระเหยที่มีคนสูดดมและเกิดอาการเสพติดได้.

ใหม่!!: โอวาลีนและโทลูอีน · ดูเพิ่มเติม »

ไดคลอโรมีเทน

ลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ (Dichloromethane หรือ Methylene chloride) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง มีสูตรเป็น CH2Cl2 เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารประกอบคลอโรคาร์บอนที่มีอันตรายน้อยที่สุดชนิดหนึ่ง การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิต.

ใหม่!!: โอวาลีนและไดคลอโรมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

เบนซีน

เบนซีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีสูตรทางเคมีคือ C6H6 บางครั้งอาจเขียนเป็นตัวย่อเป็น Ph–H เบนซีนไม่มีสีแต่ไวไฟและมีกลิ่นหอมหวาน เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งจึงไม่นิยมใช้เป็นสารเติมแต่งน้ำมันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสารนี้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา พลาสติก ยางสังเคราะห์และสีย้อม เบนซีนเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของปิโตรเลียมและสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียอื่นๆ เบนซีนเป็นสารประกอบอะโรมาติกชนิดหนึ่ง หมวดหมู่:สารก่อมะเร็ง หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:สารเคมี หมวดหมู่:อาชีวอนามัยและความปลอดภัย.

ใหม่!!: โอวาลีนและเบนซีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ovalene

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »